--------------------------------------------------------------------------------------------
"บทความนี้เคยโพสไปแล้ว แต่เอามาเรียบเรียงใหม่
ความตั้งใจยังเหมือนเดิม คือ อยากให้ทุกคนหันมาสนใจเรื่องความมั่นคงทางการเงินของตนเอง
ความผิดพลาดที่ผ่านมา คือ โพสๆ หายๆ เรื่องไม่ประติดประต่อ
สิ่งที่ยังคงมีในใจคือ ไฟในใจที่ยังไม่ยอมแพ้ (แม้จะเริ่มใหม่หลายครั้งแล้ว)
สิ่งที่หวัง เป็นกำลังใจให้ผมทำความตั้งใจของตัวเองให้สำเร็จสักที ^ ^"
--------------------------------------------------------------------------------------------
เราทุกคนรู้จักเงิน รู้จักหา และรู้จักใช้ดีกว่ารู้จักหาเสียอีก แต่เราเคยสงสัย หรืออยากรู้ไหมครับ ว่า เงินมันก็เส้นทางการเดินทางของมันเช่นกัน
พวกเราชอบทำในสิ่งที่เราอยากเป็น อยากได้ อยากมี
"เงิน" มันมีเส้นทางการเดินทางของมันเช่นกัน คือ
มันจะเดินทางจากผลตอบแทนน้อย —--------> ไปหาผลตอบแทนมาก
มันจะเดินทางจากความเสี่ยงสูง —-------> ไปความเสี่ยงต่ำ
มันจะเดินทางจากโอกาสที่น้อย —-------> ไปโอกาสที่มากกว่า
แล้วใครละที่ทำให้เงินเดินทาง ก็คนเรานี่แหละครับ โดยผ่าน ระบบการเงิน
ระบบการเงิน ระบบการเงินคืออะไร
ระบบการเงิน ก็คือ ตัวกลางในการแลกเปลี่ยนการลงทุนระหว่างคน 2 กลุ่ม คือ
- คนที่มีรายได้มากกว่ารายจ่าย หรือพูดเข้าใจอีกนัย คือ เงินเหลือ ต้องการจะเอาเงินมาลงุทน
- คนที่ต้องการเงินลงทุน หรือ พูดง่ายๆ คือ คนที่อยากได้เงินลงทุนเพื่อเอาเงินไปลงทุนตามที่ตนต้องการ
โดยคนสองกลุ่มนี้ จะมาเจอและแลกเปลี่ยนกัน ผ่าน ระบบการเงิน โดยผ่าน เงินลงทุน
เงินลงทุน
เงินลงทุน สามารถแบ่งได้ตามลักษณะของสินทรัพย์ ได้ 2 ประเภท คือสินทรัพย์มีตัวตน และ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์มีตัวตน คือ สินทรัพย์ที่จับต้องได้ เช่น รถยนต์ ทองคำ ที่ดิน อาคาร
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน คือ ที่เราเรียกกันว่า สินทรัพย์ทางการเงิน (Financial Asset)
ลักษณะสำคัญของเงินลงทุน
เงินลงทุนจะมีลักษณะเด่นๆ อยู่ 3 ประการ คือ
เคลื่อนย้ายได้
ย่างที่กล่าวข้างต้น เงินทุนจะไหลจากความเสี่ยงสูงไปต่ำ ตามผลตอบแทนน้อยไปมาก และตามโอกาสของการลงทึน
ไวต่อสิ่งเร้า
สิ่งเร้าในทางการเงิน เช่น เศรษกิจ การเมือง
ขาดแคลน
ลักษณะที่ถือว่าเด่นเลย ของ เงินลงทุน คือ เงินลงทุนมีอย่างจำกัด ซึ่งสวนทางกับความต้องการทางการเงินในระบบ ซึ่งมีไม่
จำกัดเงินหมุนยังไง
เมื่อเราเอาเงินมาลงทุน โดยเราอาจจะลงทุนในบริษัท เมื่อมีการลงทุนการสร้างงาน ก็จะมีการจ้างงานมากขึ้น เมื่อมีการจ้างงาน ก็จะมีคนที่มีรายได้จากการทำงาน เมื่อมีเงินมากขึ้น เศรษกิจของครอบครัวตัวเองดีขึ้น ก็จะทำไปอุปปโภค บริโภค และเมื่อมีเงินเหลือจากชีวิตประจำวัน ก็จะทำเงินส่วนเกินไปลงทุน
"เมื่อเกิดการใช้จ่าย เกิดการจ้างงาน ก็เกิดธุรกิจใหม่ มันก็จะวนลูปไปมา ก่อให้เกิดรายได้และการลงทุน วนไปไม่สิ้นสุด"
โดยเมื่อมีการลงทุน มีการจ้างการ มีการค้าขาย ในตลาดย่อมมีทั้งคนดี คนไม่ดี เข้ามา ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินไปของระบบเศรษฐกิจ มีความเป็นธรรม และสามารถดำเนินต่อไปโดยไม่ล่มสลายเสียก่อน เราจึงมีหน่วยงานต่างๆ ในการกำกับดูแล เพื่อให้ระบบการเงินสามารถดำเนินไปได้
องค์กรที่กำกับดูแลระบบการเงิน
องค์กรที่กำกับดูแลระบบการเงินของเรา มีหลักๆคือ
- รัฐบาล
- กระทรวงการคลัง
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
- ก.ล.ต.
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โดยแต่ละหน่วยงาน จะมีบทบาทในการกำกับดูแลในแต่ละส่วนแตกต่างกันไป ดังนี้
รัฐบาล
มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กำกับดูแลในภาพกว้าง โดยปกติ รัฐบาลจะไม่เข้าไปแทรกแซงในตลาด จะแทรกแซงในกรณีจำเป็นเท่านั้น
กระทรวงการคลัง
มีหน้าที่ในการดำเนินนโยบายการคลัง , นโยบายเศรษฐกิจ, จัดการายได้ให้รัฐบาล(สรรพากร) ทำหน้าที่เป็นบัญชีให้รัฐบาล(กรมบัญชี
กลาง), และบริหารหนี้สาธารณะของประเทศ
โดยเครื่องมือในการกำกับดูแลระบบการเงินของกระทรวงการคลัง คือ การดำเนินนโยบายการคลัง
นโยบายการคลัง คือ นโยบายเกี่ยวกับ รายรับ/ รายจ่ายของรัฐบาล
รายรับ ก็คือ นโยบายในการหารายได้ เช่น นโยบายทางด้านภาษี
รายจ่าย ในการดำเนินนโยบายด้านรายจ่าย แบ่งได้เป็น งบประมาณขาดดุล / งบประมาณเกินดุล
อย่างที่เราได้ยินกันบ่อยๆ โดย ยกตัวอย่างการดำเนินนโยบายการคลังดังนี้
นโยบายการคลังแบบขาดดุล
คือรัฐบาลเน้นการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะโดยการออกพันธบัตร เงินกู้ เพื่อหาเงินมาลงทุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
นโยบายการคลังแบบเกินดุล
คือการที่รัฐบาลต้องการลดการขยายตัวของ ศก. หรือต้องการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ โดยการลดการใช้จ่ายเงินของคน อาจจะโดยการจำกัดการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ แทนที่จะใช้จ่าย เป็นการดึงเงินออกจากระบบทางหนึ่ง
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
มีหน้าที่ในการ
- ให้คำปรึกษากับรัฐบาล (เชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้)
- กำกับดูแลตลาดเงิน
- พิมพ์พันธบัตร
- ดูแลเงินเฟ้อ
- เป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล
การดำเนินนโยบายทางการเงินของ ธนาคารแห่งประเทศไทย
การดำเนินนโยบายทางการเงิน จะต่างกับการดำเนินนโยบายทางการคลังของกระทรวงการคลัง คือ การดำเนินนโยบายการคลัง จะเห็นผลข้า แต่การดำเนินนโยบายทางการเงินจะเห็นผลไวกว่า โดยจะมีผลต่อพฤติกรรมแบบฉับพลัน
โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย จะส่งสัญญาน โดย “อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน”
ธปท. จะประเมินเศรษฐกิจและคาดการณ์แน้วโน้มทุก 6 สัปดาห์
ยกตัวอย่างการใช้ นโยบายทางการเงิน เช่น
- ต้องการกระตุ้น เศรษฐกิจ โดยการเพิ่มเงินเข้าระบบ อาจจะผ่านการลดดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อจูงใจ ให้คนถอนเงินมาลงทุน เพื่อเพิ่มเงินในระบบเศรษฐกิจ
- ต้องการชลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจ กลับกัน คือ การเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อจูงใจให้คนเอาเงินไปฝาก ดึงเงินออกจากระบบ
- เพิ่ม/ลด อัตราเงินสำรอง เพื่อ ควบคุมปริมาณเงินในระบบ
- การซื้อ / ขาย พันธบัตรแบงค์ชาติ เพื่อ เพิ่มหรือลดเงินในระบบ
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ทำหน้าที่เป็นผู้คุมกฎ ดูแล และสร้างประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในนักลงทุน นั้นเอง
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
มีหน้าที่หลักในการเสริมสร้างการลงทุนระยะยาว ดูแลผลประโยชน์ของผู้ลงทุน และดูแลระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ นั้นเอง
ไว้ต่อรอบหน้าครับ
ภาพกว๊าง….กว้าง ของเส้นทางการเงิน (EP.1)
"บทความนี้เคยโพสไปแล้ว แต่เอามาเรียบเรียงใหม่
ความตั้งใจยังเหมือนเดิม คือ อยากให้ทุกคนหันมาสนใจเรื่องความมั่นคงทางการเงินของตนเอง
ความผิดพลาดที่ผ่านมา คือ โพสๆ หายๆ เรื่องไม่ประติดประต่อ
สิ่งที่ยังคงมีในใจคือ ไฟในใจที่ยังไม่ยอมแพ้ (แม้จะเริ่มใหม่หลายครั้งแล้ว)
สิ่งที่หวัง เป็นกำลังใจให้ผมทำความตั้งใจของตัวเองให้สำเร็จสักที ^ ^"
--------------------------------------------------------------------------------------------
เราทุกคนรู้จักเงิน รู้จักหา และรู้จักใช้ดีกว่ารู้จักหาเสียอีก แต่เราเคยสงสัย หรืออยากรู้ไหมครับ ว่า เงินมันก็เส้นทางการเดินทางของมันเช่นกัน
พวกเราชอบทำในสิ่งที่เราอยากเป็น อยากได้ อยากมี
"เงิน" มันมีเส้นทางการเดินทางของมันเช่นกัน คือ
มันจะเดินทางจากผลตอบแทนน้อย —--------> ไปหาผลตอบแทนมาก
มันจะเดินทางจากความเสี่ยงสูง —-------> ไปความเสี่ยงต่ำ
มันจะเดินทางจากโอกาสที่น้อย —-------> ไปโอกาสที่มากกว่า
แล้วใครละที่ทำให้เงินเดินทาง ก็คนเรานี่แหละครับ โดยผ่าน ระบบการเงิน
ระบบการเงิน ระบบการเงินคืออะไร
ระบบการเงิน ก็คือ ตัวกลางในการแลกเปลี่ยนการลงทุนระหว่างคน 2 กลุ่ม คือ
- คนที่มีรายได้มากกว่ารายจ่าย หรือพูดเข้าใจอีกนัย คือ เงินเหลือ ต้องการจะเอาเงินมาลงุทน
- คนที่ต้องการเงินลงทุน หรือ พูดง่ายๆ คือ คนที่อยากได้เงินลงทุนเพื่อเอาเงินไปลงทุนตามที่ตนต้องการ
โดยคนสองกลุ่มนี้ จะมาเจอและแลกเปลี่ยนกัน ผ่าน ระบบการเงิน โดยผ่าน เงินลงทุน
เงินลงทุน
เงินลงทุน สามารถแบ่งได้ตามลักษณะของสินทรัพย์ ได้ 2 ประเภท คือสินทรัพย์มีตัวตน และ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์มีตัวตน คือ สินทรัพย์ที่จับต้องได้ เช่น รถยนต์ ทองคำ ที่ดิน อาคาร
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน คือ ที่เราเรียกกันว่า สินทรัพย์ทางการเงิน (Financial Asset)
ลักษณะสำคัญของเงินลงทุน
เงินลงทุนจะมีลักษณะเด่นๆ อยู่ 3 ประการ คือ
เคลื่อนย้ายได้
ย่างที่กล่าวข้างต้น เงินทุนจะไหลจากความเสี่ยงสูงไปต่ำ ตามผลตอบแทนน้อยไปมาก และตามโอกาสของการลงทึน
ไวต่อสิ่งเร้า
สิ่งเร้าในทางการเงิน เช่น เศรษกิจ การเมือง
ขาดแคลน
ลักษณะที่ถือว่าเด่นเลย ของ เงินลงทุน คือ เงินลงทุนมีอย่างจำกัด ซึ่งสวนทางกับความต้องการทางการเงินในระบบ ซึ่งมีไม่
จำกัดเงินหมุนยังไง
เมื่อเราเอาเงินมาลงทุน โดยเราอาจจะลงทุนในบริษัท เมื่อมีการลงทุนการสร้างงาน ก็จะมีการจ้างงานมากขึ้น เมื่อมีการจ้างงาน ก็จะมีคนที่มีรายได้จากการทำงาน เมื่อมีเงินมากขึ้น เศรษกิจของครอบครัวตัวเองดีขึ้น ก็จะทำไปอุปปโภค บริโภค และเมื่อมีเงินเหลือจากชีวิตประจำวัน ก็จะทำเงินส่วนเกินไปลงทุน
"เมื่อเกิดการใช้จ่าย เกิดการจ้างงาน ก็เกิดธุรกิจใหม่ มันก็จะวนลูปไปมา ก่อให้เกิดรายได้และการลงทุน วนไปไม่สิ้นสุด"
โดยเมื่อมีการลงทุน มีการจ้างการ มีการค้าขาย ในตลาดย่อมมีทั้งคนดี คนไม่ดี เข้ามา ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินไปของระบบเศรษฐกิจ มีความเป็นธรรม และสามารถดำเนินต่อไปโดยไม่ล่มสลายเสียก่อน เราจึงมีหน่วยงานต่างๆ ในการกำกับดูแล เพื่อให้ระบบการเงินสามารถดำเนินไปได้
องค์กรที่กำกับดูแลระบบการเงิน
องค์กรที่กำกับดูแลระบบการเงินของเรา มีหลักๆคือ
- รัฐบาล
- กระทรวงการคลัง
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
- ก.ล.ต.
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โดยแต่ละหน่วยงาน จะมีบทบาทในการกำกับดูแลในแต่ละส่วนแตกต่างกันไป ดังนี้
รัฐบาล
มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กำกับดูแลในภาพกว้าง โดยปกติ รัฐบาลจะไม่เข้าไปแทรกแซงในตลาด จะแทรกแซงในกรณีจำเป็นเท่านั้น
กระทรวงการคลัง
มีหน้าที่ในการดำเนินนโยบายการคลัง , นโยบายเศรษฐกิจ, จัดการายได้ให้รัฐบาล(สรรพากร) ทำหน้าที่เป็นบัญชีให้รัฐบาล(กรมบัญชี
กลาง), และบริหารหนี้สาธารณะของประเทศ
โดยเครื่องมือในการกำกับดูแลระบบการเงินของกระทรวงการคลัง คือ การดำเนินนโยบายการคลัง
นโยบายการคลัง คือ นโยบายเกี่ยวกับ รายรับ/ รายจ่ายของรัฐบาล
รายรับ ก็คือ นโยบายในการหารายได้ เช่น นโยบายทางด้านภาษี
รายจ่าย ในการดำเนินนโยบายด้านรายจ่าย แบ่งได้เป็น งบประมาณขาดดุล / งบประมาณเกินดุล
อย่างที่เราได้ยินกันบ่อยๆ โดย ยกตัวอย่างการดำเนินนโยบายการคลังดังนี้
นโยบายการคลังแบบขาดดุล
คือรัฐบาลเน้นการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะโดยการออกพันธบัตร เงินกู้ เพื่อหาเงินมาลงทุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
นโยบายการคลังแบบเกินดุล
คือการที่รัฐบาลต้องการลดการขยายตัวของ ศก. หรือต้องการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ โดยการลดการใช้จ่ายเงินของคน อาจจะโดยการจำกัดการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ แทนที่จะใช้จ่าย เป็นการดึงเงินออกจากระบบทางหนึ่ง
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
มีหน้าที่ในการ
- ให้คำปรึกษากับรัฐบาล (เชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้)
- กำกับดูแลตลาดเงิน
- พิมพ์พันธบัตร
- ดูแลเงินเฟ้อ
- เป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล
การดำเนินนโยบายทางการเงินของ ธนาคารแห่งประเทศไทย
การดำเนินนโยบายทางการเงิน จะต่างกับการดำเนินนโยบายทางการคลังของกระทรวงการคลัง คือ การดำเนินนโยบายการคลัง จะเห็นผลข้า แต่การดำเนินนโยบายทางการเงินจะเห็นผลไวกว่า โดยจะมีผลต่อพฤติกรรมแบบฉับพลัน
โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย จะส่งสัญญาน โดย “อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน”
ธปท. จะประเมินเศรษฐกิจและคาดการณ์แน้วโน้มทุก 6 สัปดาห์
ยกตัวอย่างการใช้ นโยบายทางการเงิน เช่น
- ต้องการกระตุ้น เศรษฐกิจ โดยการเพิ่มเงินเข้าระบบ อาจจะผ่านการลดดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อจูงใจ ให้คนถอนเงินมาลงทุน เพื่อเพิ่มเงินในระบบเศรษฐกิจ
- ต้องการชลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจ กลับกัน คือ การเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อจูงใจให้คนเอาเงินไปฝาก ดึงเงินออกจากระบบ
- เพิ่ม/ลด อัตราเงินสำรอง เพื่อ ควบคุมปริมาณเงินในระบบ
- การซื้อ / ขาย พันธบัตรแบงค์ชาติ เพื่อ เพิ่มหรือลดเงินในระบบ
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ทำหน้าที่เป็นผู้คุมกฎ ดูแล และสร้างประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในนักลงทุน นั้นเอง
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
มีหน้าที่หลักในการเสริมสร้างการลงทุนระยะยาว ดูแลผลประโยชน์ของผู้ลงทุน และดูแลระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ นั้นเอง
ไว้ต่อรอบหน้าครับ