ปีใหม่นี้เตือนระวัง "ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันในช่วงเทศกาล" หรือ Holiday Heart Syndrome คนพักผ่อนน้อย ปาร์ตี้หนัก อันตรายที่สุด
ช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หลายคนคงตั้งหน้าตั้งตารอคอยจะได้พบเจอและสังสรรค์กับเพื่อนฝูง แต่อาจไม่รู้ว่าในช่วงเวลาแห่งความสุข อาจแฝงด้วยโรคร้ายอันตรายถึงชีวิต อย่างภาวะโรคหัวใจเฉียบพลัน หรือ Holiday Heart Syndrome หากไม่ระวังสุขภาพให้ดี
รู้จัก Holiday Heart Syndrome
Holiday Heart Syndrome สัมพันธ์โดยตรงกับคนหนุ่มสาวอายุน้อยที่พักผ่อนน้อย อดนอน สังสรรค์ปาร์ตี้หนักติดต่อกันหลายคืน โดยเฉพาะคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากในเวลารวดเร็ว หรือติดต่อกันเป็นเวลานานหลายวัน ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะดังกล่าวก่อนที่จะเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว ควรทราบถึงปัจจัยเสี่ยงก่อนว่าเข้าข่ายของกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ อาจต้องมีการตรวจร่างกายและสืบหาความเสี่ยงเหล่านั้นด้วย
Holiday Heart Syndrome เป็นภาวะของโรคหัวใจที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน ผู้ป่วยมักไม่มีสัญญาณของโรคหรือรู้ตัวมาก่อน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาล โดยที่ผ่านมาอาจเคยได้ยินดีข่าวของคนที่ดูเหมือนแข็งแรง แต่ปาร์ตี้ปีใหม่อยู่ดีๆ ก็เกิดอาการหัวใจวาย และเสียชีวิต
แม้ส่วนใหญ่ของภาวะหัวใจดังกล่าวจะเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว แต่ก็สามารถระบุปัจจัยเสี่ยงได้ โดยสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงาน ที่ผ่านการทำงานหนัก พักผ่อนน้อย มาก่อน เมื่อเข้าสู่ช่วงเทศกาลจึงเป็นช่วงเวลาที่ปลดปล่อยอย่างเต็มที่ การรับประทานอาหารมากเกินไป อาหารรสจัด บรรยากาศการสังสรรค์ ดื่มหนัก นอนน้อย แม้แต่ความเครียดเมื่อต้องเจอบรรดาญาติๆ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งเร้าให้เกิดภาวะโรคหัวใจเฉียบพลัน
ภาวะโรคหัวใจเฉียบพลันที่พบบ่อย ตัวอย่างเช่น
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน
โรคเส้นเลือดใหญ่ที่ขั้วหัวใจแตกฉุกเฉิน
และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเฉียบพลัน
โรคเหล่านี้แม้ไม่เคยตรวจเจอความผิดปกติหรืออาการนำมาก่อน ก็สามารถเกิดขึ้นได้
เพื่อดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจาก Holiday Heart Syndrome ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารหวานจัดหรือเค็มจัดมากเกินไป อาหารที่ไม่ค่อยกินตลอดทั้งปี แต่มีให้ทานในช่วงเทศกาลให้ทานแต่พอดี
นอกจากนี้ การวางแผนการทานอาหาร เช่น ทานมื้อเช้าและเที่ยงน้อยลง เมื่อรู้ว่าต้องร่วมงานเลี้ยงมื้อค่ำ ที่สำคัญ มีสติและควบคุมการกินในงานเลี้ยงให้ดี ก็ช่วยให้ความเสี่ยงที่เกิดโรคหัวใจแบบเฉียบพลันลดลงได้
ที่มา:
https://www.tnnthailand.com/news/health/184862/
Holiday Heart Syndrome ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันในช่วงเทศกาล
ช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หลายคนคงตั้งหน้าตั้งตารอคอยจะได้พบเจอและสังสรรค์กับเพื่อนฝูง แต่อาจไม่รู้ว่าในช่วงเวลาแห่งความสุข อาจแฝงด้วยโรคร้ายอันตรายถึงชีวิต อย่างภาวะโรคหัวใจเฉียบพลัน หรือ Holiday Heart Syndrome หากไม่ระวังสุขภาพให้ดี
รู้จัก Holiday Heart Syndrome
Holiday Heart Syndrome สัมพันธ์โดยตรงกับคนหนุ่มสาวอายุน้อยที่พักผ่อนน้อย อดนอน สังสรรค์ปาร์ตี้หนักติดต่อกันหลายคืน โดยเฉพาะคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากในเวลารวดเร็ว หรือติดต่อกันเป็นเวลานานหลายวัน ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะดังกล่าวก่อนที่จะเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว ควรทราบถึงปัจจัยเสี่ยงก่อนว่าเข้าข่ายของกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ อาจต้องมีการตรวจร่างกายและสืบหาความเสี่ยงเหล่านั้นด้วย
Holiday Heart Syndrome เป็นภาวะของโรคหัวใจที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน ผู้ป่วยมักไม่มีสัญญาณของโรคหรือรู้ตัวมาก่อน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาล โดยที่ผ่านมาอาจเคยได้ยินดีข่าวของคนที่ดูเหมือนแข็งแรง แต่ปาร์ตี้ปีใหม่อยู่ดีๆ ก็เกิดอาการหัวใจวาย และเสียชีวิต
แม้ส่วนใหญ่ของภาวะหัวใจดังกล่าวจะเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว แต่ก็สามารถระบุปัจจัยเสี่ยงได้ โดยสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงาน ที่ผ่านการทำงานหนัก พักผ่อนน้อย มาก่อน เมื่อเข้าสู่ช่วงเทศกาลจึงเป็นช่วงเวลาที่ปลดปล่อยอย่างเต็มที่ การรับประทานอาหารมากเกินไป อาหารรสจัด บรรยากาศการสังสรรค์ ดื่มหนัก นอนน้อย แม้แต่ความเครียดเมื่อต้องเจอบรรดาญาติๆ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งเร้าให้เกิดภาวะโรคหัวใจเฉียบพลัน
ภาวะโรคหัวใจเฉียบพลันที่พบบ่อย ตัวอย่างเช่น
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน
โรคเส้นเลือดใหญ่ที่ขั้วหัวใจแตกฉุกเฉิน
และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเฉียบพลัน
โรคเหล่านี้แม้ไม่เคยตรวจเจอความผิดปกติหรืออาการนำมาก่อน ก็สามารถเกิดขึ้นได้
เพื่อดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจาก Holiday Heart Syndrome ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารหวานจัดหรือเค็มจัดมากเกินไป อาหารที่ไม่ค่อยกินตลอดทั้งปี แต่มีให้ทานในช่วงเทศกาลให้ทานแต่พอดี
นอกจากนี้ การวางแผนการทานอาหาร เช่น ทานมื้อเช้าและเที่ยงน้อยลง เมื่อรู้ว่าต้องร่วมงานเลี้ยงมื้อค่ำ ที่สำคัญ มีสติและควบคุมการกินในงานเลี้ยงให้ดี ก็ช่วยให้ความเสี่ยงที่เกิดโรคหัวใจแบบเฉียบพลันลดลงได้
ที่มา: https://www.tnnthailand.com/news/health/184862/