ผู้จัดการห้องยา ที่ดูแลบริหารงานในส่วนของทีมงานเภสัชกร
มีพฤติกรรม เอาเปรียบ เภสัชกร (ผู้ใต้บังคับบัญชา) โดยมีการเอื้อผลประโยชน์ให้กับ เพื่อนสนิท (เภสัชกรคนหนึ่งในทีม) ทั้งในส่วนค่าแรง, ภาระงาน, กำหนดช่วงเวลาทำงานมากเกินควร
และ ปรับเปลี่ยนกฎระเบียบตามอำเภอใจโดยไม่สร้างประสิทธิผลของทีมงานแต่กลับสร้างความลำบากในการปฏิบัติงาน
พฤติกรรมดังกล่าว มีดังนี้
1. ในวันที่ 5 ต.ค. 2567 มีการลงตารางงานให้เพื่อนสนิท (เภสัชกรคนหนึ่งในทีม) ได้จำนวนชั่วโมงการทำงานมากกว่าที่ทำจริง ทำให้ได้รับค่าแรงเกินความเป็นจริง
2. ในวันที่ 12-13 ธ.ค.2567 มีการจัดตารางงานไว้แบบหนึ่ง แต่เมื่อปฏิบัติจริง กลับเอื้อผลประโยชน์ให้เพื่อนสนิท (เภสัชกรคนหนึ่งในทีม) ได้ทำงานแค่งานเอกสาร
ซึ่งกระทบกับการขาดแคลน เภสัชกรในตำแหน่งการจ่ายยา ทำให้เภสัชกรที่เหลือ ต้องทำงาน overload เพื่อทดแทนคนที่ขาด อย่างต่อเนื่องถึง 34 ชั่วโมงติดกัน
3. ตั้งแต่ ต้นเดือน ต.ค. 2567 เป็นต้นมา ได้มีการกำหนดตำแหน่งงาน เวรลอย ให้กับ เพื่อนสนิท (เภสัชกรคนหนึ่งในทีม) โดยอ้างว่า ให้ไปทำงานเอกสาร ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ ว่าทำจริงหรือไม่
แต่การกำหนดเวรลอยนี้ ทำให้เภสัชกรคนอื่นๆ ในทีม จำเป็นต้องรับภาระงานประจำแทนที่คนที่ขาด ซึ่งจะมีบางวัน (2-3 ครั้งต่อเดือน) ที่จะมีเภสัชกรจำเป็นต้องทำงาน 36 ชั่วโมงต่อเนื่อง ไม่ได้หยุดพัก
เพื่อไม่ให้ตำแหน่งงานจ่ายยาขาดคนปฏิบัติงาน
4. บังคับเภสัชกรให้ใส่เสื้อแขนยาวที่ต้องซื้อจาก ทาง รพ. (ตรายี่ห้อ รพ.) โดยไม่มีสวัสดิการนี้ให้ เภสัชกรต้องซื้อด้วยตนเอง (450 บาทต่อตัว)
หากพนักงานใส่เสื้อกันหนาวอื่นๆ ก็จะลงโทษโดยการออกใบเตือน (โดยยังไม่ได้ มีการตักเตือนด้วยวาจา ก่อนหน้าเลย)
5. ตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค.2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ ภายในแผนก เภสัชกรรม2 (เท่านั้น) อาทิ เช่น
- การลา ในเวรช่วงเช้า อนุญาติให้ลาได้แค่ เดือนละ 1 ครั้ง รวมวันที่เป็น OT หากเกิด การลา หรือ มาสายในวันที่เป็น OT
จะปรับวันนั้นให้กลับเป็นวันทำงานปกติ ไม่ยอมให้หักค่าแรงในชัวโมงที่มาสาย (ตามเดิม) ซึ่งจะเป็นการจำกัดสิทธิ์การใช้วันลา และลิดรอนสิทธิในการวางแผนวันทำงานของพนักงาน
- เปลี่ยนเกณฑ์การประเมินผลงานของเภสัชกร อย่างไม่สนเหตุสมผล เช่น ต้องเชื่อฟังคำสั่งของหัวหน้างานเท่านั้น ถึงจะได้คะแนนดี
6. การออกตารางเวรเพื่อระบุวันทำงานของเภสัชกร จะออกมาเป็นรายเดือน โดยมักจะออก ล่วงหน้าเพียงแค่ 1 วันก่อนจะเริ่มเดือนใหม่ ซึ่งทำให้การวางแผน
ชีวิตในวันหยุด หรือธุระต่างๆ เภสัชกรไม่สามารถวางแผนล่วงหน้าได้เลย กระทบทั้งตัวเภสัชกร และครอบครัวด้วย
โดยกลุ่มเภสัชกรในทีมที่ได้รับผลกระทบ ได้ทำงานยื่นจดหมายร้องเรียนให้กับฝ่ายบุคคลได้รับรู้ เพื่อตรวจสอบไปแล้ว แต่กลับไม่ได้รับการแจ้งกลับ หรือเรียกสอบสวนพนักงานแต่อย่างใด
ด้วยความเคารพอย่างสูง
ผู้จัดการห้องยา ปฏิบัติไม่เป็นธรรมกับพนักงาน
มีพฤติกรรม เอาเปรียบ เภสัชกร (ผู้ใต้บังคับบัญชา) โดยมีการเอื้อผลประโยชน์ให้กับ เพื่อนสนิท (เภสัชกรคนหนึ่งในทีม) ทั้งในส่วนค่าแรง, ภาระงาน, กำหนดช่วงเวลาทำงานมากเกินควร
และ ปรับเปลี่ยนกฎระเบียบตามอำเภอใจโดยไม่สร้างประสิทธิผลของทีมงานแต่กลับสร้างความลำบากในการปฏิบัติงาน
พฤติกรรมดังกล่าว มีดังนี้
1. ในวันที่ 5 ต.ค. 2567 มีการลงตารางงานให้เพื่อนสนิท (เภสัชกรคนหนึ่งในทีม) ได้จำนวนชั่วโมงการทำงานมากกว่าที่ทำจริง ทำให้ได้รับค่าแรงเกินความเป็นจริง
2. ในวันที่ 12-13 ธ.ค.2567 มีการจัดตารางงานไว้แบบหนึ่ง แต่เมื่อปฏิบัติจริง กลับเอื้อผลประโยชน์ให้เพื่อนสนิท (เภสัชกรคนหนึ่งในทีม) ได้ทำงานแค่งานเอกสาร
ซึ่งกระทบกับการขาดแคลน เภสัชกรในตำแหน่งการจ่ายยา ทำให้เภสัชกรที่เหลือ ต้องทำงาน overload เพื่อทดแทนคนที่ขาด อย่างต่อเนื่องถึง 34 ชั่วโมงติดกัน
3. ตั้งแต่ ต้นเดือน ต.ค. 2567 เป็นต้นมา ได้มีการกำหนดตำแหน่งงาน เวรลอย ให้กับ เพื่อนสนิท (เภสัชกรคนหนึ่งในทีม) โดยอ้างว่า ให้ไปทำงานเอกสาร ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ ว่าทำจริงหรือไม่
แต่การกำหนดเวรลอยนี้ ทำให้เภสัชกรคนอื่นๆ ในทีม จำเป็นต้องรับภาระงานประจำแทนที่คนที่ขาด ซึ่งจะมีบางวัน (2-3 ครั้งต่อเดือน) ที่จะมีเภสัชกรจำเป็นต้องทำงาน 36 ชั่วโมงต่อเนื่อง ไม่ได้หยุดพัก
เพื่อไม่ให้ตำแหน่งงานจ่ายยาขาดคนปฏิบัติงาน
4. บังคับเภสัชกรให้ใส่เสื้อแขนยาวที่ต้องซื้อจาก ทาง รพ. (ตรายี่ห้อ รพ.) โดยไม่มีสวัสดิการนี้ให้ เภสัชกรต้องซื้อด้วยตนเอง (450 บาทต่อตัว)
หากพนักงานใส่เสื้อกันหนาวอื่นๆ ก็จะลงโทษโดยการออกใบเตือน (โดยยังไม่ได้ มีการตักเตือนด้วยวาจา ก่อนหน้าเลย)
5. ตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค.2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ ภายในแผนก เภสัชกรรม2 (เท่านั้น) อาทิ เช่น
- การลา ในเวรช่วงเช้า อนุญาติให้ลาได้แค่ เดือนละ 1 ครั้ง รวมวันที่เป็น OT หากเกิด การลา หรือ มาสายในวันที่เป็น OT
จะปรับวันนั้นให้กลับเป็นวันทำงานปกติ ไม่ยอมให้หักค่าแรงในชัวโมงที่มาสาย (ตามเดิม) ซึ่งจะเป็นการจำกัดสิทธิ์การใช้วันลา และลิดรอนสิทธิในการวางแผนวันทำงานของพนักงาน
- เปลี่ยนเกณฑ์การประเมินผลงานของเภสัชกร อย่างไม่สนเหตุสมผล เช่น ต้องเชื่อฟังคำสั่งของหัวหน้างานเท่านั้น ถึงจะได้คะแนนดี
6. การออกตารางเวรเพื่อระบุวันทำงานของเภสัชกร จะออกมาเป็นรายเดือน โดยมักจะออก ล่วงหน้าเพียงแค่ 1 วันก่อนจะเริ่มเดือนใหม่ ซึ่งทำให้การวางแผน
ชีวิตในวันหยุด หรือธุระต่างๆ เภสัชกรไม่สามารถวางแผนล่วงหน้าได้เลย กระทบทั้งตัวเภสัชกร และครอบครัวด้วย
โดยกลุ่มเภสัชกรในทีมที่ได้รับผลกระทบ ได้ทำงานยื่นจดหมายร้องเรียนให้กับฝ่ายบุคคลได้รับรู้ เพื่อตรวจสอบไปแล้ว แต่กลับไม่ได้รับการแจ้งกลับ หรือเรียกสอบสวนพนักงานแต่อย่างใด
ด้วยความเคารพอย่างสูง