ขนมอี๊ (บัวลอย) กับเทศกาลตังโจ็ยะ(冬节)
อีกไม่กี่วันก็จะถึงเทศกาล “ตังโจ็ยะ” (วันไหว้ขนมบัวลอย) ถือเป็นหนึ่งในแปดเทศกาลสำคัญของชาวจีนแต้จิ๋ว ซึ่งวันไหว้ขนมบัวลอยปีนี้ ตรงกับวันเสาร์ที่ 21 ธค. 2567
ในบรรดาขนมมงคลหลากหลายของชาวจีนแต้จิ๋ว “อี๊” (圆)หรือขนมบัวลอยจัดได้ว่าอยู่ในฐานะขนมอภิมหามงคล ในโอกาสมงคลสำคัญ ๆ ในวิถีชีวิตของชาวจีนแต้จิ๋วไม่ว่าจะเป็น งานแต่งงาน งานแซยิก การต้อนรับพี่น้องที่กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด ก็ล้วนแต่จำเป็นต้องใช้อี๊เป็นขนมมงคลในการเลี้ยงสังสรรค์กันทุกครั้ง
“อี๊” หรือขนมบัวลอยจัดเป็นขนมที่ได้รับความนิยมสูงสุดประเภทหนึ่งของชาวจีนแต้จิ๋ว วัตถุดิบในการทำเรียบง่าย ใช้แป้งข้าวเหนียวนวดผสมกับน้ำแล้วปั้นให้เป็นลูกกลมๆโดยมีขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกันไป มีการใส่สีแดงผสมลงไปในตัวขนมเพื่อสื่อถึงความเป็นสิริมงคล เมื่อนำไปต้มจนสุกก็ใส่น้ำตาลลงไปให้พอได้รสหวานตามชอบ แค่นี้ก็ได้อี๊ไว้เลี้ยงญาติสนิทมิตรสหายแล้ว เป็นขนมที่ทำง่ายแต่มีคุณค่ายิ่ง
ปกติแล้วสำหรับลูกหลานจีนในไทยถ้าพูดถึงอี๊หรือขนมบัวลอยจะนึกถึงเทศกาลไหว้ขนมบัวลอยหรือที่ในสำเนียงแต้จิ๋วเรียกว่า “ตังโจ็ยะ” (冬节)วันตังโจ็ยะเป็นคำที่ย่อมาจาก“ตังจี่โจ็ยะ” (冬至节)แปลว่าเทศกาลตงจื๊อหรือเทศกาลเหมายัน ปัจจุบันคนไทยรู้จักเทศกาลนี้ในนามเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย บัวลอยที่ทำไหว้เจ้าในเทศกาลตังโจ็ยะก็มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “ตังโจ็ยะอี๊” (冬至圆) “ตงจื๊อ” ในสำเนียงจีนกลางแปลว่าจุดสูงสุดในฤดูหนาว เป็นอุตุปักษ์สำคัญในอุตุปักษ์ทั้ง ๒๔ ของจีน ในวันตงจื๊อนี้เป็นวันที่กลางคืนยาวสุดกลางวันสั้นสุด ตรงกับวันที่ ๒๒ หรือ ๒๓ ธันวาคม ของทุกปี เนื่องจากเป็นวันที่กลางคืนยาวสุดกลางวันสั้นสุดในรอบปีโลกจึงได้รับไอเย็นหรือพลังยินสูงสุด ในวันตังโจ็ยะนี้ในสมัยโบราณถือเป็นวันปีใหม่มีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงยกเอาปีใหม่ไปฉลองกันช่วงตรุษจีน วันตังโจ็ยะจึงค่อยๆถูกลดความสำคัญลง แต่ชาวจีนทางใต้ไม่ว่าจะเป็นแต้จิ๋ว ฮกเกี้ยนหรือไต้หวัน ก็ล้วนแต่ยังคงรักษาประเพณีฉลองเทศกาลนี้ไว้ได้เป็นอย่างดี
ในวันตังโจ็ยะถือเป็นวันที่ชาวจีนแต้จิ๋วนิยมกลับบ้านมาเซ่นไหว้บรรพบุรุษ บางทีอาจกล่าวได้ว่าสำคัญมากกว่าตรุษจีนกับเช็งเม้งเสียอีก ในสมัยโบราณถึงกับมีคำกล่าวเปรียบเปรยไว้ว่า “ตังโจ็ยะไม่กลับบ้านถือว่าเป็นคนไม่มีบรรพบุรุษ ตรุษจีนไม่กลับบ้านถือว่าเป็นคนไม่มีเมีย” โดยในปัจจุบันตังโจ็ยะถือเป็นหนึ่งในแปดเทศกาลสำคัญของชาวจีนแต้จิ๋ว ในสมัยก่อนชาวจีนโพ้นทะเลมักจะกลับบ้านไปไหว้บรรพบุรุษในช่วงนี้ แล้วเมื่อเดินทางไปถึงบ้านเกิด ญาติก็จะทำขนมอี๊ไว้ต้อนรับ ด้วยรูปทรงที่กลมและชื่อเรียก “อี๊” ที่มีความหมายไปพ้องกับคำว่า “ถ่วงอี๊” ที่แปลว่าพร้อมหน้าพร้อมตา สามัคคี ขนมชนิดนี้จึงกลายเป็นขนมที่นิยมใช้เซ่นไหว้และใช้เป็นของกินรับญาติมิตรได้เป็นอย่างดี และต่อมาจึงกลายเป็นธรรมเนียมที่ไม่ว่าจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดช่วงไหนก็ต้องทำอี๊เลี้ยงทุกครั้งไป ทั้งนี้นิยมใส่ไข่ต้มทั้งฟองลงไปด้วย เนื่องจากทั้งอี๊และไข่ต้มเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาลที่ยังไม่แยกออกจากกันและการอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา
ขนมอี๊เป็นขนมที่มีมานานแล้ว เดิมทีกินได้ทุกโอกาสไม่จำกัดเทศกาล พอถึงสมัยราชวงศ์ซ่งจึงนิยมทำในเทศกาลหยวนเซียว ซึ่งในปัจจุบันชาวจีนทางเหนือก็เรียกขนมบัวลอยหรือขนมอี๊นี้ว่าขนมหยวนเซียว ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง ชาวจีนทางฝั่งใต้แม่น้ำแยงซีลงมาทั้งหมดนิยมทำขนมชนิดนี้เป็นขนมไหว้เจ้าและไหว้บรรพบุรุษในวันตังโจ็ยะ สมัยก่อนแยกขนมบัวลอยออกเป็นสองชนิดคือขนมบัวลอยลูกใหญ่มีไส้กับขนมบัวลอยลูกเล็กธรรมดาทั่วไป ขนมบัวลอยลูกใหญ่มีไส้ก็คือขนมบัวลอยไส้งาดำในปัจจุบันนี่เอง ขนมชนิดนี้เทียบได้กับทังหยวนของจีนทางตอนเหนือแต่เป็นสูตรดั้งเดิมของชาวจีนแต้จิ๋วโดยมีชื่อเรียกเป็นสำเนียงแต้จิ๋วว่า “อ๊ะบ๋อเหนี่ยม” (鸭母捻)แปลว่าแม่เป็ดลอยน้ำ สันนิฐานว่าชื่อนี้น่าจะมาจากลักษณะของขนมที่เหมือนแม่เป็ดกำลังลอยตัวอยู่ในแม่น้ำ ในสมัยก่อนชาวจีนแต้จิ๋วนิยมใช้อ๊ะบ๋อเหนี่ยมไหว้บรรพบุรุษในตอนช่วงค่ำ ๆ ของคืนตังโจ็ยะ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมแล้ว ส่วนมากจะใช้ขนมอี๊แบบปกติทั่วไปไหว้รวมกันทั้งเทพเจ้าและบรรพบุรุษในช่วงเช้า
ในเมืองจีนนั้นช่วงตังโจ็ยะอากาศหนาวมาก คนแก่มักทนหนาวไม่ไหวเจ็บป่วยตายไปเสียก่อน ถ้าหากอยู่รอดชีวิตได้มาจนถึงวันนี้ก็เชื่อได้ว่าน่าจะอยู่ต่อไปได้อีกปี ถือเป็นสิริมงคลต่อครอบครัวอีกประการหนึ่งจึงนิยมทำขนมอี๊นี้ขึ้นมาเฉลิมฉลองเป็นสัญลักษณ์ของความพร้อมหน้าพร้อมตากันในครอบครัว การที่ได้กินบัวลอยในเทศกาลตังโจ็ยะก็ถือได้ว่ามีอายุเพิ่มขึ้นมาอีกปีหนึ่งโดยไม่ต้องรอให้พ้นปีใหม่หรือเทศกาลตรุษจีน เนื่องจากเหตุผลสองประการ ประการแรกเพราะในสมัยโบราณถือว่าวันนี้เป็นวันปีใหม่ของฟ้าตามหลักดาราศาสตร์ และในสมัยโบราณถือวันนี้เป็นวันฉลองปีใหม่ ฉะนั้นการกินอี๊ในวันเปลี่ยนผ่านปีตามหลักดาราศาสตร์ และในสมัยโบราณถือวันนี้เป็นวันฉลองปีใหม่ ฉะนั้นการกินอี๊ในวันเปลี่ยนผ่านปีตามหลักโบราณนี้จึงถือว่าได้เพิ่มอายุไปอีก ๑ ขวบปี ประการที่สอง ในสมัยโบราณจะงดประหารนักโทษในวันตังโจ็ยะเนื่องจากอากาศหนาวเย็นทำให้เลือดไหลช้าตายยากเป็นการทรมานต่อผู้ถูกประหารและถือเป็นวันปีใหม่ไม่สมควรมีการประหาร สำหรับนักโทษลหุโทษอาจได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวให้กลับไปฉลองตังโจ่ยะกับครอบครัว ฉะนั้นครอบครัวจึงทำอี๊เพื่อฉลองการกลับมาอยู่พร้อมหน้ากันอีกครั้ง นอกจากการกินอี๊และการไหว้อี๊ในเทศกาลตังโจ็ยะแล้ว ในบางครอบครัวยังมีธรรมเนียมเอาอี๊ไปติดแต้มไว้ตามวงกบประตู เครื่องเรือน รวมไปถึงติดตามตัววัว เขาวัวบ้าง ท้องวัวบ้าง เป็นนัยว่าให้ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงมีแต่ความร่มเย็น แคล้วคลาด มีสุขภาพดีและเจริญรุ่งเรือง โดยอีกความเชื่อหนึ่งก็อธิบายว่าเพื่อรับพลังหยาง เนื่องด้วยเชื่อว่าพลังหยางมีลักษณะกลม
ถึงแม่ว่าขนมอี๊จะมีกรรมวิธีที่ง่ายดายไม่ซับซ้อนเหมือนขนมแบบฉบับแต้จิ๋วยอดฮิตชนิดอื่น ๆ แต่ก็แฝงไปด้วยคุณค่าทางจิตใจและความใส่ใจในทุกรายละเอียดของชาวจีนแต้จิ๋วที่มักจะมีคำสอนเรื่องความกตัญญูปรากฏอยู่บ่อย ๆ ในส่วนของขนมอี๊สิ่งที่สะท้อนคำสอนเรื่องความกตัญญูไม่ใช่เพียงแค่การที่นำขนมไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษเท่านั้น แต่การปั้นอี๊ก็สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อความกตัญญูรู้คุณและการมีสัมมาคารวะได้ด้วย
การปั้นอี๊ของชาวจีนแต้จิ๋วในเทศกาลตังโจ็ยะมักจะทำกันตอนหัวค่ำก่อนถึงวันตังโจ่ยะหนึ่งวัน โดยการมานั่งล้อมวงกันของผู้หญิงในบ้านและบรรดาเด็ก ๆ การปั้นอี๊ถือเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งแสดงถึงความตั้งใจและพร้อมใจกันของคนในครอบครัว โดยการปั้นอี๊จะไม่ปั้นให้แต่ละลูกมีขนาดเท่ากัน แต่จะปั้นให้เล็กบ้างใหญ่บ้างผสมกันไป การปั้นอี๊ในลักษณะนี้มีคำเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า “แป๋จื้อกงซุงอี๊” (父子公孙圆)แปลได้ว่าขนมอี๊พ่อลูกปู่หลานสามชั่วอายุคนที่อยู่ในครอบครัว เป็นเคล็ดว่าให้ปู่ย่าพ่อแม่ลูกหลานอยู่ร่วมบ้านกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง นอกจากนี้การปั้นอี๊ให้มีขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากันยังมีนัยอีกประการหนึ่งคือให้รู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่มีสัมมาคารวะ ไม่ใช่ปั้นให้เท่ากันทุกเม็ดจนเรียกได้ว่า “บ่อตั่วบ่อโส่ย” (无大无小)ซึ่งนอกจากจะแปลได้ว่าไม่มีเล็กไม่มีใหญ่แล้วยังมีอีกความหมายหนึ่งคือไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ ซึ่งรายละเอียดเล็กน้อยเหล่านี้ก็ถือเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการปลูกฝังให้เด็กรู้จักมีสัมมาคารวะนั่นเอง
ขอบคุณเนื้อหาดีๆ: เขียนและค้นคว้าโดย อจ. จักรกฤษณ์ เกษกาญจนานุช สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ขนมอี๊ (บัวลอย) กับเทศกาลตังโจ็ยะ(冬节)
อีกไม่กี่วันก็จะถึงเทศกาล “ตังโจ็ยะ” (วันไหว้ขนมบัวลอย) ถือเป็นหนึ่งในแปดเทศกาลสำคัญของชาวจีนแต้จิ๋ว ซึ่งวันไหว้ขนมบัวลอยปีนี้ ตรงกับวันเสาร์ที่ 21 ธค. 2567
ในบรรดาขนมมงคลหลากหลายของชาวจีนแต้จิ๋ว “อี๊” (圆)หรือขนมบัวลอยจัดได้ว่าอยู่ในฐานะขนมอภิมหามงคล ในโอกาสมงคลสำคัญ ๆ ในวิถีชีวิตของชาวจีนแต้จิ๋วไม่ว่าจะเป็น งานแต่งงาน งานแซยิก การต้อนรับพี่น้องที่กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด ก็ล้วนแต่จำเป็นต้องใช้อี๊เป็นขนมมงคลในการเลี้ยงสังสรรค์กันทุกครั้ง
“อี๊” หรือขนมบัวลอยจัดเป็นขนมที่ได้รับความนิยมสูงสุดประเภทหนึ่งของชาวจีนแต้จิ๋ว วัตถุดิบในการทำเรียบง่าย ใช้แป้งข้าวเหนียวนวดผสมกับน้ำแล้วปั้นให้เป็นลูกกลมๆโดยมีขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกันไป มีการใส่สีแดงผสมลงไปในตัวขนมเพื่อสื่อถึงความเป็นสิริมงคล เมื่อนำไปต้มจนสุกก็ใส่น้ำตาลลงไปให้พอได้รสหวานตามชอบ แค่นี้ก็ได้อี๊ไว้เลี้ยงญาติสนิทมิตรสหายแล้ว เป็นขนมที่ทำง่ายแต่มีคุณค่ายิ่ง
ปกติแล้วสำหรับลูกหลานจีนในไทยถ้าพูดถึงอี๊หรือขนมบัวลอยจะนึกถึงเทศกาลไหว้ขนมบัวลอยหรือที่ในสำเนียงแต้จิ๋วเรียกว่า “ตังโจ็ยะ” (冬节)วันตังโจ็ยะเป็นคำที่ย่อมาจาก“ตังจี่โจ็ยะ” (冬至节)แปลว่าเทศกาลตงจื๊อหรือเทศกาลเหมายัน ปัจจุบันคนไทยรู้จักเทศกาลนี้ในนามเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย บัวลอยที่ทำไหว้เจ้าในเทศกาลตังโจ็ยะก็มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “ตังโจ็ยะอี๊” (冬至圆) “ตงจื๊อ” ในสำเนียงจีนกลางแปลว่าจุดสูงสุดในฤดูหนาว เป็นอุตุปักษ์สำคัญในอุตุปักษ์ทั้ง ๒๔ ของจีน ในวันตงจื๊อนี้เป็นวันที่กลางคืนยาวสุดกลางวันสั้นสุด ตรงกับวันที่ ๒๒ หรือ ๒๓ ธันวาคม ของทุกปี เนื่องจากเป็นวันที่กลางคืนยาวสุดกลางวันสั้นสุดในรอบปีโลกจึงได้รับไอเย็นหรือพลังยินสูงสุด ในวันตังโจ็ยะนี้ในสมัยโบราณถือเป็นวันปีใหม่มีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงยกเอาปีใหม่ไปฉลองกันช่วงตรุษจีน วันตังโจ็ยะจึงค่อยๆถูกลดความสำคัญลง แต่ชาวจีนทางใต้ไม่ว่าจะเป็นแต้จิ๋ว ฮกเกี้ยนหรือไต้หวัน ก็ล้วนแต่ยังคงรักษาประเพณีฉลองเทศกาลนี้ไว้ได้เป็นอย่างดี
ในวันตังโจ็ยะถือเป็นวันที่ชาวจีนแต้จิ๋วนิยมกลับบ้านมาเซ่นไหว้บรรพบุรุษ บางทีอาจกล่าวได้ว่าสำคัญมากกว่าตรุษจีนกับเช็งเม้งเสียอีก ในสมัยโบราณถึงกับมีคำกล่าวเปรียบเปรยไว้ว่า “ตังโจ็ยะไม่กลับบ้านถือว่าเป็นคนไม่มีบรรพบุรุษ ตรุษจีนไม่กลับบ้านถือว่าเป็นคนไม่มีเมีย” โดยในปัจจุบันตังโจ็ยะถือเป็นหนึ่งในแปดเทศกาลสำคัญของชาวจีนแต้จิ๋ว ในสมัยก่อนชาวจีนโพ้นทะเลมักจะกลับบ้านไปไหว้บรรพบุรุษในช่วงนี้ แล้วเมื่อเดินทางไปถึงบ้านเกิด ญาติก็จะทำขนมอี๊ไว้ต้อนรับ ด้วยรูปทรงที่กลมและชื่อเรียก “อี๊” ที่มีความหมายไปพ้องกับคำว่า “ถ่วงอี๊” ที่แปลว่าพร้อมหน้าพร้อมตา สามัคคี ขนมชนิดนี้จึงกลายเป็นขนมที่นิยมใช้เซ่นไหว้และใช้เป็นของกินรับญาติมิตรได้เป็นอย่างดี และต่อมาจึงกลายเป็นธรรมเนียมที่ไม่ว่าจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดช่วงไหนก็ต้องทำอี๊เลี้ยงทุกครั้งไป ทั้งนี้นิยมใส่ไข่ต้มทั้งฟองลงไปด้วย เนื่องจากทั้งอี๊และไข่ต้มเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาลที่ยังไม่แยกออกจากกันและการอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา
ขนมอี๊เป็นขนมที่มีมานานแล้ว เดิมทีกินได้ทุกโอกาสไม่จำกัดเทศกาล พอถึงสมัยราชวงศ์ซ่งจึงนิยมทำในเทศกาลหยวนเซียว ซึ่งในปัจจุบันชาวจีนทางเหนือก็เรียกขนมบัวลอยหรือขนมอี๊นี้ว่าขนมหยวนเซียว ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง ชาวจีนทางฝั่งใต้แม่น้ำแยงซีลงมาทั้งหมดนิยมทำขนมชนิดนี้เป็นขนมไหว้เจ้าและไหว้บรรพบุรุษในวันตังโจ็ยะ สมัยก่อนแยกขนมบัวลอยออกเป็นสองชนิดคือขนมบัวลอยลูกใหญ่มีไส้กับขนมบัวลอยลูกเล็กธรรมดาทั่วไป ขนมบัวลอยลูกใหญ่มีไส้ก็คือขนมบัวลอยไส้งาดำในปัจจุบันนี่เอง ขนมชนิดนี้เทียบได้กับทังหยวนของจีนทางตอนเหนือแต่เป็นสูตรดั้งเดิมของชาวจีนแต้จิ๋วโดยมีชื่อเรียกเป็นสำเนียงแต้จิ๋วว่า “อ๊ะบ๋อเหนี่ยม” (鸭母捻)แปลว่าแม่เป็ดลอยน้ำ สันนิฐานว่าชื่อนี้น่าจะมาจากลักษณะของขนมที่เหมือนแม่เป็ดกำลังลอยตัวอยู่ในแม่น้ำ ในสมัยก่อนชาวจีนแต้จิ๋วนิยมใช้อ๊ะบ๋อเหนี่ยมไหว้บรรพบุรุษในตอนช่วงค่ำ ๆ ของคืนตังโจ็ยะ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมแล้ว ส่วนมากจะใช้ขนมอี๊แบบปกติทั่วไปไหว้รวมกันทั้งเทพเจ้าและบรรพบุรุษในช่วงเช้า
ในเมืองจีนนั้นช่วงตังโจ็ยะอากาศหนาวมาก คนแก่มักทนหนาวไม่ไหวเจ็บป่วยตายไปเสียก่อน ถ้าหากอยู่รอดชีวิตได้มาจนถึงวันนี้ก็เชื่อได้ว่าน่าจะอยู่ต่อไปได้อีกปี ถือเป็นสิริมงคลต่อครอบครัวอีกประการหนึ่งจึงนิยมทำขนมอี๊นี้ขึ้นมาเฉลิมฉลองเป็นสัญลักษณ์ของความพร้อมหน้าพร้อมตากันในครอบครัว การที่ได้กินบัวลอยในเทศกาลตังโจ็ยะก็ถือได้ว่ามีอายุเพิ่มขึ้นมาอีกปีหนึ่งโดยไม่ต้องรอให้พ้นปีใหม่หรือเทศกาลตรุษจีน เนื่องจากเหตุผลสองประการ ประการแรกเพราะในสมัยโบราณถือว่าวันนี้เป็นวันปีใหม่ของฟ้าตามหลักดาราศาสตร์ และในสมัยโบราณถือวันนี้เป็นวันฉลองปีใหม่ ฉะนั้นการกินอี๊ในวันเปลี่ยนผ่านปีตามหลักดาราศาสตร์ และในสมัยโบราณถือวันนี้เป็นวันฉลองปีใหม่ ฉะนั้นการกินอี๊ในวันเปลี่ยนผ่านปีตามหลักโบราณนี้จึงถือว่าได้เพิ่มอายุไปอีก ๑ ขวบปี ประการที่สอง ในสมัยโบราณจะงดประหารนักโทษในวันตังโจ็ยะเนื่องจากอากาศหนาวเย็นทำให้เลือดไหลช้าตายยากเป็นการทรมานต่อผู้ถูกประหารและถือเป็นวันปีใหม่ไม่สมควรมีการประหาร สำหรับนักโทษลหุโทษอาจได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวให้กลับไปฉลองตังโจ่ยะกับครอบครัว ฉะนั้นครอบครัวจึงทำอี๊เพื่อฉลองการกลับมาอยู่พร้อมหน้ากันอีกครั้ง นอกจากการกินอี๊และการไหว้อี๊ในเทศกาลตังโจ็ยะแล้ว ในบางครอบครัวยังมีธรรมเนียมเอาอี๊ไปติดแต้มไว้ตามวงกบประตู เครื่องเรือน รวมไปถึงติดตามตัววัว เขาวัวบ้าง ท้องวัวบ้าง เป็นนัยว่าให้ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงมีแต่ความร่มเย็น แคล้วคลาด มีสุขภาพดีและเจริญรุ่งเรือง โดยอีกความเชื่อหนึ่งก็อธิบายว่าเพื่อรับพลังหยาง เนื่องด้วยเชื่อว่าพลังหยางมีลักษณะกลม
ถึงแม่ว่าขนมอี๊จะมีกรรมวิธีที่ง่ายดายไม่ซับซ้อนเหมือนขนมแบบฉบับแต้จิ๋วยอดฮิตชนิดอื่น ๆ แต่ก็แฝงไปด้วยคุณค่าทางจิตใจและความใส่ใจในทุกรายละเอียดของชาวจีนแต้จิ๋วที่มักจะมีคำสอนเรื่องความกตัญญูปรากฏอยู่บ่อย ๆ ในส่วนของขนมอี๊สิ่งที่สะท้อนคำสอนเรื่องความกตัญญูไม่ใช่เพียงแค่การที่นำขนมไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษเท่านั้น แต่การปั้นอี๊ก็สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อความกตัญญูรู้คุณและการมีสัมมาคารวะได้ด้วย
การปั้นอี๊ของชาวจีนแต้จิ๋วในเทศกาลตังโจ็ยะมักจะทำกันตอนหัวค่ำก่อนถึงวันตังโจ่ยะหนึ่งวัน โดยการมานั่งล้อมวงกันของผู้หญิงในบ้านและบรรดาเด็ก ๆ การปั้นอี๊ถือเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งแสดงถึงความตั้งใจและพร้อมใจกันของคนในครอบครัว โดยการปั้นอี๊จะไม่ปั้นให้แต่ละลูกมีขนาดเท่ากัน แต่จะปั้นให้เล็กบ้างใหญ่บ้างผสมกันไป การปั้นอี๊ในลักษณะนี้มีคำเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า “แป๋จื้อกงซุงอี๊” (父子公孙圆)แปลได้ว่าขนมอี๊พ่อลูกปู่หลานสามชั่วอายุคนที่อยู่ในครอบครัว เป็นเคล็ดว่าให้ปู่ย่าพ่อแม่ลูกหลานอยู่ร่วมบ้านกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง นอกจากนี้การปั้นอี๊ให้มีขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากันยังมีนัยอีกประการหนึ่งคือให้รู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่มีสัมมาคารวะ ไม่ใช่ปั้นให้เท่ากันทุกเม็ดจนเรียกได้ว่า “บ่อตั่วบ่อโส่ย” (无大无小)ซึ่งนอกจากจะแปลได้ว่าไม่มีเล็กไม่มีใหญ่แล้วยังมีอีกความหมายหนึ่งคือไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ ซึ่งรายละเอียดเล็กน้อยเหล่านี้ก็ถือเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการปลูกฝังให้เด็กรู้จักมีสัมมาคารวะนั่นเอง
ขอบคุณเนื้อหาดีๆ: เขียนและค้นคว้าโดย อจ. จักรกฤษณ์ เกษกาญจนานุช สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์