เจียะอี๊ ตั่วแกเจ็กนี้ (กินขนมบัวลอย โตขึ้นอีกปี)
วันไหว้ขนมบัวลอยใกล้เข้ามาทุกที เสาร์ที่ 21 ธค. นี้แล้ว อีกสองวันแม่นันจะนำสูตรมาให้ทำกันค่ะ ขนมบัวลอยหรือที่คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่า “อี๊” ทำง่าย แค่นำแป้งข้าวเหนียวมาปั้นเป็นเม็ดกลมๆแล้วนำมาต้มใส่น้ำเชื่อมก็ทานได้แล้ว สมัยเด็กๆพวกเราไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตารอคอยกิน “อี๊” แต่พวกเราสนุกกับการ “ซออี๊” มากกว่า
พูดถึง “ซออี๊” เพื่อนๆเริ่มนึกถึงอดีตกันแล้วใช่มั้ยคะ อาม่าจะปั้นไปพูดไปขณะนั่งล้อมวงซออี๊กับเด็กๆว่า "เจียะอี๊ตั่วแกเจ็กนี้/ซออี๊เจ็กฉื่อ ตั่วแกเจ็กห่วย" กินขนมบัวลอย โตขึ้นอีกหนึ่งขวบปีแล้วนะ พวกเราช่วยปั้นไปบ่นไป “ไม่อยากโตเลย ไม่อยากโตเลย ไม่กินได้มั้ย” แป้งบัวลอยที่อาม้า อาม่าปั้นจะเป็นลูกกลมๆสีขาว สีชมพูสวยเรียงเต็มตั่งปั๊ว (ถาดกลมๆมีลายดอกไม้สวยตรงกลาง สมัยนี้ไม่ค่อยใช้กันแล้วค่ะ) ปั้นไปได้สักพัก.อาม่าขยับจะหันมาชมพวกเราว่าเด็กๆ "ซออี๊" เก่งจัง แต่อาม่ากลับต้องอ้าปากค้าง เพราะแทนที่อาม่าจะเห็น "อี๊กลมๆ" กลับเห็นมนุษย์ต่างดาว ยืนเรียงเต็มตั่งปั๊ว “อัยย่ะ เชาะโนวเกี้ย ซอไล้ซอขื่อ จ๊อหนี่บ่วยเหยี่ยงอี๊” ปั้นไปปั้นมาทำไมไม่เหมือนบัวลอยล่ะเด็กๆ อาม่าอดขำไม่ได้
ชุมชนชาวจีนที่บ้านติดๆกัน "ชูปีเถ่าบ้วย" ไม่ว่าจะเป็นอาอี๊ อาซ่อ อาโกว อาแจ้ พอเห็นบ้านไหนเริ่ม “ซออี๊” ตัวเองก็จะเข้าบ้านถือถาดแป้งออกมาพร้อมเก้าอี้ส่วนตัว (เก้าอี้ไม้ตัวเล็กๆ) มานั่งล้อมวงร่วมปั้นอี๊ แล้ววงสนทนาก็จะเริ่มดังขึ้นใหญ่ขึ้น ปั้นไปคุยไปนินทาไป พอปั้นเสร็จก็แยกย้ายบ้านใครบ้านมัน (ไม่ลืมที่จะหนีบเก้าอี้ส่วนตัวไปด้วย) เช้าวันไหว้นำเจ้าเม็ดบัวลอยออกมาต้มใส่น้ำเชื่อมสีแดงๆ “ไป๊เหล่าเอี๊ย” (ไหว้เจ้า)
สมัยแม่นันตัวน้อยๆ จะชอบช่วยอาอึ้ม (คุณแม่) “ซออี๊” ปั้นเสร็จก็โยนใส่ตั่งปั๊ว เล็กบ้างใหญ่บ้าง ไม่เท่ากันสักเม็ด แป๊บเดียวก็เต็มถาด เป็นที่สนุกสนาน พอวันรุ่งขึ้นอาอึ้มก็นำมาต้มใส่น้ำเชื่อมหวานๆ ไหว้เจ้า ไหว้เสร็จก็จะตักให้กินคนละถ้วย หวานมาก แม่นันไม่ค่อยชอบหรอกค่ะ แต่พออาอึ้มบอกว่า "เจี้ยะเหลาะโน๊ว เจียะตีตี ฮอกากี่ เจียะเลี่ยวตั่วแกเจ็กนี้" (กินซะลูก เจียะตีตี แล้วดีกับตัวเองนะ โตขึ้นอีกปีแล้วนะลูก) เจียะตีตี ในที่นี้หมายถึงกินเป็นธรรมเนียม ชีวิตจะได้ตีตีหวานๆสดชื่นไม่มีอะไรติดขัด กินแล้วโตขึ้นอีกขวบปีแล้วนะ "ไม่เห็นอยากโตเลย" แม่นันตัวน้อยคิดในใจ
อาตั่วแจ้ของแม่นัน สืบทอดประเพณีต่อเกือบทุกเทศกาล
อาตั่วแจ้เคยเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนบ้านเราเวลาไหว้ขนมบัวลอยที เป็นอะไรที่วุ่นวายแกมตลกมาก พอไหว้เจ้าเสร็จ อาป๊ะ (คุณพ่อ) ก็บอกให้เด็กๆเอาเจ้าเม็ดบัวลอยไปเสียบตรงหมึ่งซิ้ง (เทพ/เทวดาประจำประตู) ข้างละเม็ด เสร็จแล้วก็ให้แปะโต๊ะ แปะเก้าอี้ แปะนู่นแปะนี่ แปะเต็มไปหมด ตอนยกถ้วยบัวลอยลา “ตี่จู๋เอี๊ย” (ศาลเจ้าที่) ก็ต้องเอาเม็ดบัวลอยเสียบตรงระเบียงด้านข้างของศาลข้างละเม็ดด้วย แทนความเป็นปึกแผ่น เหนียวแน่น สมัครสมานสามัคคี
แอบบอกค่ะว่าแม่นันก็ทำตามอย่างอาป๊ะตามที่อาตั่วแจ้เล่าให้ฟังมาหลายปีแล้วนะคะ พอไหว้เสร็จแม่นันก็นำเจ้าเม็ดบัวลอยสองสามเม็ดมาแปะตรงเลขที่บ้านหน้าประตูรั้ว (หวังว่าหวยจะออกตรงๆสามตัวสักงวด ๕๕) ของปีที่แล้วยังแข็งโป๊กติดอยู่ที่เดิมเลยค่ะ ปีนี้ไหว้เสร็จก็จะนำเม็ดใหม่ไปแปะแทน ไว้จะเก็บภาพมาให้ดูค่ะ
เจียะอี๊ ตั่วแกเจ็กนี้ (กินขนมบัวลอย โตขึ้นอีกปี)
พูดถึง “ซออี๊” เพื่อนๆเริ่มนึกถึงอดีตกันแล้วใช่มั้ยคะ อาม่าจะปั้นไปพูดไปขณะนั่งล้อมวงซออี๊กับเด็กๆว่า "เจียะอี๊ตั่วแกเจ็กนี้/ซออี๊เจ็กฉื่อ ตั่วแกเจ็กห่วย" กินขนมบัวลอย โตขึ้นอีกหนึ่งขวบปีแล้วนะ พวกเราช่วยปั้นไปบ่นไป “ไม่อยากโตเลย ไม่อยากโตเลย ไม่กินได้มั้ย” แป้งบัวลอยที่อาม้า อาม่าปั้นจะเป็นลูกกลมๆสีขาว สีชมพูสวยเรียงเต็มตั่งปั๊ว (ถาดกลมๆมีลายดอกไม้สวยตรงกลาง สมัยนี้ไม่ค่อยใช้กันแล้วค่ะ) ปั้นไปได้สักพัก.อาม่าขยับจะหันมาชมพวกเราว่าเด็กๆ "ซออี๊" เก่งจัง แต่อาม่ากลับต้องอ้าปากค้าง เพราะแทนที่อาม่าจะเห็น "อี๊กลมๆ" กลับเห็นมนุษย์ต่างดาว ยืนเรียงเต็มตั่งปั๊ว “อัยย่ะ เชาะโนวเกี้ย ซอไล้ซอขื่อ จ๊อหนี่บ่วยเหยี่ยงอี๊” ปั้นไปปั้นมาทำไมไม่เหมือนบัวลอยล่ะเด็กๆ อาม่าอดขำไม่ได้
แอบบอกค่ะว่าแม่นันก็ทำตามอย่างอาป๊ะตามที่อาตั่วแจ้เล่าให้ฟังมาหลายปีแล้วนะคะ พอไหว้เสร็จแม่นันก็นำเจ้าเม็ดบัวลอยสองสามเม็ดมาแปะตรงเลขที่บ้านหน้าประตูรั้ว (หวังว่าหวยจะออกตรงๆสามตัวสักงวด ๕๕) ของปีที่แล้วยังแข็งโป๊กติดอยู่ที่เดิมเลยค่ะ ปีนี้ไหว้เสร็จก็จะนำเม็ดใหม่ไปแปะแทน ไว้จะเก็บภาพมาให้ดูค่ะ