5 ความเชื่อยอดนิยมของการกินลำไยที่หลายคนอาจสงสัย มีดังนี้
1. กินลำไยมากทำให้ร้อนในจริงหรือ?
หลายคนคงเคยได้ยินความเชื่อที่ว่าหากกินลำไยในปริมาณมากเกินไปจะก่อให้เกิดอาการร้อนในตามมา บ้างก็ว่าเกิดจากยางของลำไย สำหรับข้อเท็จจริงในด้านนี้ไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลที่ระบุว่าลำไยมียางหรือเป็นสาเหตุของอาการร้อนในจริง
ทั้งนี้ สถาบันโภชนาการแห่งมหาวิทยาลัยมหิดลอธิบายว่าอาจเป็นเพราะลำไยเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง ทำให้มีน้ำตาลตกค้างอยู่ภายในปากหลังกิน ซึ่งน้ำตาลเหล่านี้เป็นอาหารของแบคทีเรียและเป็นสาเหตุให้มีแบคทีเรียสะสมมากขึ้น ทำให้เสี่ยงเกิดแผลร้อนในตามมาในที่สุด ดังนั้น อาหารที่มีน้ำตาลมากจึงล้วนส่งผลให้เป็นร้อนในได้ ไม่ใช่เพียงแต่ลำไยเท่านั้น
นอกจากนี้ แผลร้อนในภายในปากยังอาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันแรง ๆ การใช้ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง การเผลอกัดโดนเยื่อบุช่องปาก การขาดสารอาหารบางชนิด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนช่วงมีประจำเดือน รวมถึงการกินอาหารที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น กาแฟ ช็อกโกแลต ไข่ ชีส ถั่ว หรืออาหารรสเผ็ดหรือผักผลไม้ที่มีกรดอย่างสตรอว์เบอร์รี่ ส้ม มะนาว และสับปะรด เป็นต้น
2. กินลำไยทำให้เจ็บคอ เป็นไข้ และตาแฉะ
หลายคนอาจเคยได้ยินคำเตือนเหล่านี้เกี่ยวกับการกินลำไยบ่อย ๆ โดยอ้างว่าในลำไยมีสารบางอย่างที่ก่อให้เกิดอาการดังกล่าว แต่แท้จริงแล้วไม่ปรากฏงานวิจัยที่ระบุข้อมูลนี้ รวมถึงความเชื่อที่ว่าอาการเจ็บคออาจเกิดจากลำไยมีน้ำตาลมาก ซึ่งการกินอาหารที่มีน้ำตาลหรือหวานมากกับอาการเจ็บคอนั้นมีความเกี่ยวโยงกันหรือไม่ อย่างไร ทางวิทยาศาสตร์ก็ยังให้คำตอบไม่ได้
3. ผู้ป่วยเบาหวานควรเลี่ยงการกินลำไย
แม้ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยจำกัดการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง แต่ก็ไม่จำเป็นต้องงดการกินลำไยหรือผลไม้อื่น ๆ ที่มีคุณค่าทางสารอาหารแต่มีน้ำตาลสูงเสมอไป เพียงลดปริมาณและความถี่ในการกินให้น้อยลงกว่าผู้มีสุขภาพดีทั่วไป โดยผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับน้ำตาลจากอาหารไม่เกินวันละ 3-4 ช้อนชา และควรกินลำไยประมาณ 3-5 ผลต่อมื้ออาหารเท่านั้น ในขณะที่ผู้มีสุขภาพดีควรกินลำไยไม่เกิน 10 ผลต่อมื้ออาหาร
4. คนท้องกินลำไยได้หรือไม่
การกินผักผลไม้ให้หลากหลายจะช่วยให้ว่าที่คุณแม่ได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่ครบถ้วนและเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการของลูกน้อย อีกทั้งมีเส้นใยอาหารสูง ช่วยป้องกันท้องผูกได้ดี ลำไยจึงไม่ใช่ของต้องห้ามที่ไม่ควรกินระหว่างตั้งครรภ์แต่อย่างใด ทว่าเช่นเดียวกับผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงชนิดอื่น ๆ อย่างทุเรียน กล้วย หรือสับปะรด ไม่ควรกินลำไยเพียงอย่างเดียวในปริมาณมาก เพราะอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงและเสี่ยงเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้
5. การล้างลำไยก่อนกินช่วยชะล้างยาฆ่าแมลงบนเปลือก
การล้างผักผลไม้ด้วยน้ำสะอาดหรือแช่น้ำเกลือช่วยขจัดยาฆ่าแมลงและเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนตามเปลือกผลจริง แต่อาจไม่ทั้งหมด หลายคนเสี่ยงได้รับยาฆ่าแมลงจากกินลำไยเพราะใช้ปากกัดเปลือกลำไย ทางที่ดีจึงควรใช้มือหรือมีดแกะผลลำไยแทน
ขอบคุณข้อมูลจาก พบแพทย์
มาดูข้อสงสัยกับความเชื่อเรื่องการกิน "ลำไย"
1. กินลำไยมากทำให้ร้อนในจริงหรือ?
หลายคนคงเคยได้ยินความเชื่อที่ว่าหากกินลำไยในปริมาณมากเกินไปจะก่อให้เกิดอาการร้อนในตามมา บ้างก็ว่าเกิดจากยางของลำไย สำหรับข้อเท็จจริงในด้านนี้ไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลที่ระบุว่าลำไยมียางหรือเป็นสาเหตุของอาการร้อนในจริง
ทั้งนี้ สถาบันโภชนาการแห่งมหาวิทยาลัยมหิดลอธิบายว่าอาจเป็นเพราะลำไยเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง ทำให้มีน้ำตาลตกค้างอยู่ภายในปากหลังกิน ซึ่งน้ำตาลเหล่านี้เป็นอาหารของแบคทีเรียและเป็นสาเหตุให้มีแบคทีเรียสะสมมากขึ้น ทำให้เสี่ยงเกิดแผลร้อนในตามมาในที่สุด ดังนั้น อาหารที่มีน้ำตาลมากจึงล้วนส่งผลให้เป็นร้อนในได้ ไม่ใช่เพียงแต่ลำไยเท่านั้น
นอกจากนี้ แผลร้อนในภายในปากยังอาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันแรง ๆ การใช้ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง การเผลอกัดโดนเยื่อบุช่องปาก การขาดสารอาหารบางชนิด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนช่วงมีประจำเดือน รวมถึงการกินอาหารที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น กาแฟ ช็อกโกแลต ไข่ ชีส ถั่ว หรืออาหารรสเผ็ดหรือผักผลไม้ที่มีกรดอย่างสตรอว์เบอร์รี่ ส้ม มะนาว และสับปะรด เป็นต้น
2. กินลำไยทำให้เจ็บคอ เป็นไข้ และตาแฉะ
หลายคนอาจเคยได้ยินคำเตือนเหล่านี้เกี่ยวกับการกินลำไยบ่อย ๆ โดยอ้างว่าในลำไยมีสารบางอย่างที่ก่อให้เกิดอาการดังกล่าว แต่แท้จริงแล้วไม่ปรากฏงานวิจัยที่ระบุข้อมูลนี้ รวมถึงความเชื่อที่ว่าอาการเจ็บคออาจเกิดจากลำไยมีน้ำตาลมาก ซึ่งการกินอาหารที่มีน้ำตาลหรือหวานมากกับอาการเจ็บคอนั้นมีความเกี่ยวโยงกันหรือไม่ อย่างไร ทางวิทยาศาสตร์ก็ยังให้คำตอบไม่ได้
3. ผู้ป่วยเบาหวานควรเลี่ยงการกินลำไย
แม้ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยจำกัดการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง แต่ก็ไม่จำเป็นต้องงดการกินลำไยหรือผลไม้อื่น ๆ ที่มีคุณค่าทางสารอาหารแต่มีน้ำตาลสูงเสมอไป เพียงลดปริมาณและความถี่ในการกินให้น้อยลงกว่าผู้มีสุขภาพดีทั่วไป โดยผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับน้ำตาลจากอาหารไม่เกินวันละ 3-4 ช้อนชา และควรกินลำไยประมาณ 3-5 ผลต่อมื้ออาหารเท่านั้น ในขณะที่ผู้มีสุขภาพดีควรกินลำไยไม่เกิน 10 ผลต่อมื้ออาหาร
4. คนท้องกินลำไยได้หรือไม่
การกินผักผลไม้ให้หลากหลายจะช่วยให้ว่าที่คุณแม่ได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่ครบถ้วนและเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการของลูกน้อย อีกทั้งมีเส้นใยอาหารสูง ช่วยป้องกันท้องผูกได้ดี ลำไยจึงไม่ใช่ของต้องห้ามที่ไม่ควรกินระหว่างตั้งครรภ์แต่อย่างใด ทว่าเช่นเดียวกับผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงชนิดอื่น ๆ อย่างทุเรียน กล้วย หรือสับปะรด ไม่ควรกินลำไยเพียงอย่างเดียวในปริมาณมาก เพราะอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงและเสี่ยงเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้
5. การล้างลำไยก่อนกินช่วยชะล้างยาฆ่าแมลงบนเปลือก
การล้างผักผลไม้ด้วยน้ำสะอาดหรือแช่น้ำเกลือช่วยขจัดยาฆ่าแมลงและเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนตามเปลือกผลจริง แต่อาจไม่ทั้งหมด หลายคนเสี่ยงได้รับยาฆ่าแมลงจากกินลำไยเพราะใช้ปากกัดเปลือกลำไย ทางที่ดีจึงควรใช้มือหรือมีดแกะผลลำไยแทน
ขอบคุณข้อมูลจาก พบแพทย์