พบว่า ท่านห้ามกระเทียมตรงๆ ไม่ได้มีระบุเจาะจงว่าแบบไหนฉันได้หรือไม่ได้ ระบุแต่ว่าห้ามฉันกระเทียม
เลยไปเปิดอรรถกถาดู ก็ไม่มีอธิบายเรื่องนี้
ก็ยังคิดว่า คงไม่ห้ามกระเทียมทุกแบบหรอก เพราะพระไทยก็ฉันอาหารไทยกันปกติ ไม่ได้รังเกียจว่าอาบัติ
คิดว่าคงมีรายละเอียดปลีกย่อย
พระไตรปิฎก
๕๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ฉันกระเทียม เป็นปาจิตตีย์.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๕๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า กระเทียม ได้แก่ กระเทียมที่เขาเรียกกันว่าเกิดในแคว้นมคธ.
ภิกษุณีรับประเคนด้วยหมายใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๑๕๒] กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่ากระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กระเทียม ภิกษุณีสงสัย ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่กระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่ากระเทียม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่า ไม่ใช่กระเทียม ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร (ข้อยกเว้นว่าไม่อาบัติ)
[๑๕๓] กระเทียมเหลือง ๑ กระเทียมแดง ๑ กระเทียมเขียว ๑ กระเทียม
ต้นไม่มีเยื่อ ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในแกง ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในเนื้อ ๑ กระเทียมเจียว
น้ำมัน ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในน้ำพุทรา ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในแกงอ่อม ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=03&A=2243&Z=2314
อรรถกถา
บัณฑิตพึงทราบความแตกต่างกันแห่งกระเทียมเหลืองเป็นต้น โดยสีหรือโดยเยื่อใน. ว่าด้วยสีก่อน ชื่อว่า กระเทียมเหลือง ย่อมมีสีเหลือง กระเทียมแดง มีสีแดง กระเทียมเขียวมีใบสีเขียว.
แต่ว่าโดยเยื่อใน (หรือกลีบ) กระเทียมเหลืองมีเยื่อในชั้นเดียว. กระเทียมแดงมีเยื่อใน ๒ ชั้น. กระเทียมเขียวมีเอื่อใน ๓ ชั้น กระเทียมต้น ไม่มีเยื่อใน.
จริงอยู่ กระเทียมนั้น เป็นเพียงหน่อเท่านั้น. แต่ในมหาปัจจรีเป็นต้นกล่าวไว้ว่า กระเทียมเหลืองมีเยื่อใน (มีกลีบ) ๓ ชั้น กระเทียมแดงมีเยื่อใน ๒ ชั้น กระเทียมเขียวมีเยื่อในชั้นเดียว. กระเทียมเหลืองเป็นต้นนั่น ย่อมควร โดยสภาพทีเดียว.
แต่ในการต้มแกงเป็นต้น แม้กระเทียมมคธก็ควร. ความจริง จะใส่กระเทียมมคธนั้นลง ในแกงถั่วเป็นต้นซึ่งกําลังแกงก็ดี ในกับข้าวชนิดที่ปรุงด้วยปลาเนื้อก็ดี ในนํ้ามันก็ดี ในนํ้าปานะมีนํ้าพุทราเป็นต้นก็ดี ในแกงผักดองที่เปรี้ยวเป็นต้นก็ดี ในแกงอ่อมก็ดี ในแกงอย่างใดอย่างหนึ่ง ชั้นที่สุดแม้ในยาคูและภัตก็ควร
พระพุทธห้ามภิกษุ ภิกษุณี ฉันกระเทียม
เลยไปเปิดอรรถกถาดู ก็ไม่มีอธิบายเรื่องนี้
ก็ยังคิดว่า คงไม่ห้ามกระเทียมทุกแบบหรอก เพราะพระไทยก็ฉันอาหารไทยกันปกติ ไม่ได้รังเกียจว่าอาบัติ
คิดว่าคงมีรายละเอียดปลีกย่อย
พระไตรปิฎก
๕๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ฉันกระเทียม เป็นปาจิตตีย์.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๕๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า กระเทียม ได้แก่ กระเทียมที่เขาเรียกกันว่าเกิดในแคว้นมคธ.
ภิกษุณีรับประเคนด้วยหมายใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๑๕๒] กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่ากระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กระเทียม ภิกษุณีสงสัย ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่กระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่ากระเทียม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่า ไม่ใช่กระเทียม ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร (ข้อยกเว้นว่าไม่อาบัติ)
[๑๕๓] กระเทียมเหลือง ๑ กระเทียมแดง ๑ กระเทียมเขียว ๑ กระเทียม
ต้นไม่มีเยื่อ ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในแกง ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในเนื้อ ๑ กระเทียมเจียว
น้ำมัน ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในน้ำพุทรา ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในแกงอ่อม ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=03&A=2243&Z=2314
อรรถกถา
บัณฑิตพึงทราบความแตกต่างกันแห่งกระเทียมเหลืองเป็นต้น โดยสีหรือโดยเยื่อใน. ว่าด้วยสีก่อน ชื่อว่า กระเทียมเหลือง ย่อมมีสีเหลือง กระเทียมแดง มีสีแดง กระเทียมเขียวมีใบสีเขียว.
แต่ว่าโดยเยื่อใน (หรือกลีบ) กระเทียมเหลืองมีเยื่อในชั้นเดียว. กระเทียมแดงมีเยื่อใน ๒ ชั้น. กระเทียมเขียวมีเอื่อใน ๓ ชั้น กระเทียมต้น ไม่มีเยื่อใน.
จริงอยู่ กระเทียมนั้น เป็นเพียงหน่อเท่านั้น. แต่ในมหาปัจจรีเป็นต้นกล่าวไว้ว่า กระเทียมเหลืองมีเยื่อใน (มีกลีบ) ๓ ชั้น กระเทียมแดงมีเยื่อใน ๒ ชั้น กระเทียมเขียวมีเยื่อในชั้นเดียว. กระเทียมเหลืองเป็นต้นนั่น ย่อมควร โดยสภาพทีเดียว.
แต่ในการต้มแกงเป็นต้น แม้กระเทียมมคธก็ควร. ความจริง จะใส่กระเทียมมคธนั้นลง ในแกงถั่วเป็นต้นซึ่งกําลังแกงก็ดี ในกับข้าวชนิดที่ปรุงด้วยปลาเนื้อก็ดี ในนํ้ามันก็ดี ในนํ้าปานะมีนํ้าพุทราเป็นต้นก็ดี ในแกงผักดองที่เปรี้ยวเป็นต้นก็ดี ในแกงอ่อมก็ดี ในแกงอย่างใดอย่างหนึ่ง ชั้นที่สุดแม้ในยาคูและภัตก็ควร