พีมูฟ เคลื่อนมวลชน ปิดทางเข้าทำเนียบ จี้รัฐบาลแก้ปัญหา 5 ข้อ ขู่ชุมนุมยืดเยื้อ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9449429
“พีมูฟ” กดดันรัฐบาล เคลื่อนมวลชนปิดประตูเข้าทำเนียบ จี้รัฐบาล แก้ปัญหา 5 ข้อเรียกร้อง หลังไม่คืบ ขู่ ชุมนุมยืดเยื้อ ถ้าไม่มีการตอบสนอง
เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 8 ต.ค. 2567 ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) นำโดย นาย
ธีรเนตร ไชยสุวรรณ นาย
จำนงค์ หนูพันธ์ และนาย
สินชัย รู้เพราะจีน รองประธานพีมูฟ เคลื่อนมวลชนปิดทางเข้าทำเนียบรัฐบาล บริเวณประตู 3 , 4 และ 5 เพื่อทวงถามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา 5 ข้อ ที่ยื่นให้กับรัฐบาลก่อนหน้านี้
นาย
สินชัย กล่าวว่า ผ่านมาแล้ว 14 วันนับจากวันที่ตัวแทนรัฐบาลรับหนังสือข้อเสนอของพีมูฟ ที่ผ่านมานับตั้งแต่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดปัจจุบันให้ดำเนินการบริหารประเทศ พีมูฟได้พยายามยื่นข้อเรียกร้องและเปิดการเจรจาแล้วอย่างน้อย 5 ครั้ง
ซึ่งทุกครั้งจะได้รับการตอบรับจากทั้งตัวแทนพรรคเพื่อไทยและตัวแทนรัฐบาลว่าจะเร่งดำเนินการให้ แต่ในทางปฏิบัติยังถือว่าล่าช้า ความล่าช้าดังกล่าวได้สร้างความเดือดร้อนและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก
วันนี้พีมูฟยังยืนยันข้อเรียกร้องที่รัฐบาลต้องดำเนินการ ดังนี้
1. นายกฯ ต้องสั่งการให้นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกฯ และรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ และได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
และนาย
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และรมว.คมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการโฉนดชุมชน และกำกับดูแลสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาของพีมูฟโดยตรง เป็นตัวแทนรัฐบาล เพื่อเจรจากำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกับตัวแทนพีมูฟ และนำข้อสรุปเสนอให้นายกฯ ทราบและพิจารณาดำเนินการต่อไปโดยเร็วที่สุด
2. ลงนามในร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ซึ่งมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ตามที่พี่มูฟได้เสนอ รวมถึงข้อเสนออื่นๆ ตามรายละเอียดที่ได้ยื่นหนังสือเมื่อวันที่ 24 ก.ย.67
3. เพื่อการแก้ไขปัญหาของพีมูฟดำเนินการต่อไปอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ให้นายกฯ นำข้อสรุปตามข้อ 1 และ 2 แจ้งให้ที่ประชุมครม.ได้พิจารณาและเห็นชอบ และแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป
4. เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีเร่งด่วนเฉพาะหน้า ได้แก่ กรณีชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย จ.เพชรบุรี โดยขอให้ยุติหรือชะลอการสั่งฟ้องชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย 28 ราย และที่เร่งด่วน คือ อัยการเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเพชรบุรีได้มีนัดหมาย ส่งฟ้องเยาวชนชาวบางกลอย 2 คน ได้แก่ นายพื้อกีดี้ จีโบ้ง และนายตาเปอะเลอะ แครจี ต่อที่ศาลจังหวัดเพชรบุรี ในวันที่ 10 ต.ค.67
กรณีชาวแลเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล ที่ถูกคุกคามฟ้องร้อง ขับไล่ และศาลมีคำสั่งให้รื้อถอนบ้าน ซึ่งเหลือระยะเวลาตามคำสั่งศาลอีกประมาณ 30 วัน และกรณีข่มขู่ คุกคาม ลิดรอนสิทธิ และมุ่งหวังให้เกิดอันตรายต่อชีวิตทรัพย์สิน แกนนำชุมชนคลองไทรพัฒนา จ.สุราษฎร์ธานี
5. ติดตามการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ซึ่งเครือข่ายชาวเลอันดามันได้มีการยื่นหนังสือและปักหลักติดตามตั้งแต่วันที่ 4 ต.ค.67
“
เรายืนยันจะปักหลักชุมนุมยืดเยื้ออย่างไม่มีกำหนด และจะระดมกำลังพี่น้องขึ้นมาสมทบอย่างต่อเนื่อง จนกว่ารัฐบาลจะตอบสนองข้อเรียกร้องทุกข้อ และขอประกาศตอบสาธารณะชน พี่น้องเครือข่ายภาคประชาชน สื่อมวลชน และพรรคการเมือง ให้ร่วมจับตาการเคลื่อนไหวของพีมูฟอย่างใกล้ชิด และติดตาม ตรวจสอบ การทำงานของรัฐบาลน.ส.แพทองธารต่อไปว่าจะจริงใจแก้ปัญหาความเดือดร้อนประชาชนหรือไม่” นาย
สินชัย กล่าว
ปธ.วิปฝ่ายค้าน ไม่เข้าใจ ยื้อรายงานนิรโทษ มีประโยชน์ตรงไหน ย้ำหน้าที่ส.ส.หาจุดตรงกลาง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4834223
‘ปกรณ์วุฒิ’ ถามยื้อ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมได้ประโยชน์อะไร แนะยอมรับความขัดแย้งทางการเมืองเป็นบาดแผลใหญ่มีมานาน ชี้เป็นหน้าที่ ส.ส.นำมาพูดคุยกันอย่างมีวุฒิภาวะ บอกถือเป็นบันไดขั้นแรก
เมื่อเวลา 09.50 น. วันที่ 8 ตุลาคม ที่รัฐสภา นาย
ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมวิปฝ่ายค้านถึงความคืบหน้ารัฐบาลเตรียมเรียกหัวหน้าพรรคการเมืองพูดคุยหลักการนิรโทษกรรมว่า ตอนนี้ยังไม่มีใครติดต่อมาพูดคุยอะไร แต่หากใครอ่านโพสต์ของ นาย
ชัยธวัช ตุลาธน อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ก็ถือเป็นบันไดขั้นแรกที่เราควรเอารายงานฉบับนี้ ที่มีคณะกรรมาธิการ (กมธ.) จากทุกพรรคการเมืองเข้ามาพูดคุยกัน
นาย
ปกรณ์วุฒิกล่าวต่อว่า รายงานฉบับนี้ไม่ได้เป็นการเสนอกฎหมาย แต่เป็นการพูดถึงแนวทางว่าจะมีทางเลือกไหนบ้าง ดังนั้น คิดว่าเป็นบันไดขั้นแรกที่ดีที่เราจะเอามาพูดคุยกันในรัฐสภาอย่างมีวุฒิภาวะ ส่วนการเลื่อนระเบียบวาระออกไปนั้น ตนก็ยังไม่เข้าใจว่าตอนนี้พยายามจะเลื่อนเพราะอะไร และไม่แน่ใจว่าไม่พร้อมเรื่องอะไร ซึ่งทุกฝ่ายควรยอมรับกันได้แล้วว่าความขัดแย้งทางการเมืองใน 4-5 ที่ผ่านมาถือเป็นบาดแผลใหญ่ที่ทำให้สังคมเกิดความขัดแย้งถึงร้าวลึก
นาย
ปกรณ์วุฒิกล่าวว่า ดังนั้น ในการเปิดประตูบานแรกด้วยพูดคุยถึงการนิรโทษกรรมของผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย โดยมีเหตุจูงใจทางการเมืองถือเป็นก้าวแรกที่ดี ที่จะมีความสามัคคีและปรองดองในสังคม ย้ำว่า ทั้งหมดนี้เป็นรายงานการศึกษา ไม่ใช่กฎหมาย การนำมาพูดคุยกันในสภาในสมัยประชุมนี้ ซึ่งตนก็คาดหวังว่าจะเป็นวันที่ 10 ตุลาคมนี้ แต่ก็มีการเลื่อนออกไปอีก และจะเป็นเรื่องตลกมากที่ 2 สัปดาห์ที่เหลือ ประธาน กมธ.ขอเลื่อนไปเรื่อยๆ ถือว่าไม่สม
เมื่อถามว่า ที่มีการเลื่อนออกไปเพราะจะมีการพูดคุยกับหัวหน้าพรรคการเมือง แต่ยังไม่มีท่าทีที่จะคุยกัน มองว่าเป็นการยื้อหรือไม่ นายปกรณ์วุฒิกล่าวว่า ถ้ามองก็มองได้ว่าเป็นการยื้อ เพราะตนก็ไม่แน่ใจว่ายื้อไปแล้วมีประโยชน์อย่างไร เห็นว่ามีการพูดคุยกันว่าทุกฝ่ายก็พร้อมแล้ว
เมื่อถามว่า ฝ่ายรัฐบาลอาจจะเป็นกังวลเพราะในเรื่องมาตรา 112 นั้น นาย
ปกรณ์วุฒิกล่าวว่า ประเด็นนี้ต้องเอาเข้ามาพูดคุยกัน การเข้ามาเห็นชอบกับรายงานไม่ได้แปลว่าทุกฝ่ายเห็นชอบกับการนิรโทษกรรม อาจจะมีความกังวลมากเกินไปหรือไม่ ความขัดแย้งที่มีอยู่ข้างนอกคือหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรที่จะหยิบยกเข้ามาถึงวุฒิภาวะความคิดเห็น แตกต่าง หลากหลาย ไม่เห็นด้วยได้ หาจุดตรงกลางที่คิดว่าจะดีกับสังคมในระยะยาว
"ปกรณ์วุฒิ" ยังหวังทำประชามติทันต้นปี 68 เล็งชงเปิดวิสามัญฯเร่งเครื่องทันลต.นายกอบจ.
https://siamrath.co.th/n/572106
วันที่ 8 ต.ค.2567 เวลา 09.50 น.ที่รัฐสภา นาย
ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒนสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือวิปฝ่ายค้าน ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมวิปฝ่ายค้านถึงการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 9-10 ต.ค.นี้ว่า วันที่ 9 ต.ค.ลาคมจะมีรายงานที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม 4 ฉบับ, กฎหมายเกี่ยวกับประมวลที่ดิน ที่นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรค ปชน. เป็นผู้เสนอ รวมถึงร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมที่ทางวุฒิสภาแก้ไขกลับมาเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติจะรับตามที่ สว.แก้ หรือจะยืนยันร่างของ สส. ส่วนกระทู้ถามในวันที่ 10 ตุลาคมนั้น ต้องรอติดตาม
เมื่อถามว่า แนวทางต่อจากนี้ สส. มองทางออกเรื่องประชามติอย่างไร นาย
ปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า เท่าที่มีการพูดคุยกันวิปรัฐบาลก็เห็นตรงกับวิปฝ่ายค้าน ซึ่งเราคงมีการยืนยันในหลักการของร่างที่ สส.ส่งไปให้ และคงต้องมีการตั้ง กมธ.ร่วมกันเพื่อเข้าไปพิจารณาว่าท้ายที่สุดแล้วจะออกมาเป็นเช่นไร
“
สิ่งที่ผมกังวลและตั้งข้อสังเกตไว้คือ ไทม์ไลน์ตอนแรกวางแผนกันไว้ว่าจะทำประชามติพร้อมกับการเลือกตั้งนายก อบจ. ที่จะเกิดขึ้นในช่วงต้นปีหน้า และเกิดขึ้นพร้อมกันในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งหากทำประชามติพร้อมกับการเลือกตั้งนายก อบจ. ในคราวเดียวกันก็น่าจะประหยัดงบประมาณได้เยอะ และสะดวกกับประชาชนในการออกมาใช้สิทธิ์ หากมีการตั้ง กมธ.ร่วมกันอาจจะกระทบไทม์ไลน์ แต่ผมยังมั่นใจว่าหากทุกฝ่ายเห็นพ้องกัน เป็นประตูบานแรกที่จะนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นฉบับของประชาชนจริงๆ และหากทุกคนที่เข้าไปเป็น กมธ.ร่วม พิจารณาด้วยความรวดเร็วและรอบคอบเพื่อให้ทัน ตนคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ หากจำเป็นต้องใช้เวลาและเป็นช่วงที่คาบเกี่ยวกับช่วงปิดสมัยประชุมสภาฯ ผมคิดว่าสภาฯ ควรพิจารณาเปิดสมัยประชุมวิสามัญ เพื่อให้การประชามติสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงต้นปีหน้า” นาย
ปกรณ์วุฒิ กล่าว
เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่หากประชามติไม่ทันช่วงต้นปีหน้า แล้วต้องจัดเอง อาจทำให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์น้อย นาย
ปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า ตนคิดว่าขั้นแรกเราพยายามทำให้ทันก่อน และคิดว่าหากทุกฝ่ายไม่มีเจตนาที่จะถ่วงเวลาแล้วร่วมกัน ก็สามารถทำได้อยู่แล้ว หาก กมธ.พิจารณาเสร็จเร็วแล้ว สภาฯ สามารถขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญได้ ก็มั่นใจว่าประชามติสามารถเสร็จทันท่วงทีได้ เพราะทาง สว.ก็ไม่ได้แก้หลายประเด็น
เมื่อถามว่า มีการประสานไปยังพรรครัฐบาลหรือประธานสภาฯ เปิดประชุมสภาฯ สมัยวิสามัญแล้วหรือไม่ นาย
ปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า ตนคิดว่าหลังวันที่ 9 ต.ค.คงต้องมีการพูดคุยกับ กมธ.ร่วมก่อน หากการวางแผนเป็นไปได้ด้วยดี วางแผนได้ว่าจะเสร็จสิ้นช่วงไหน ก็สามารถพูดคุยกับประธานสภาฯ ต่อได้ ตนคิดว่าไม่น่ามีปัญหา และสส.ทั้งสภาฯ ก็น่าจะเห็นพ้องต้องกัน
เมื่อถามถึง กรณีที่ สว. มองว่าหาก สส.อยากแก้ ก็สามารถใช้กฎหมายประชามติฉบับปัจจุบันดำเนินการได้เลย นาย
ปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า ตนมองว่าอยากให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์พร้อม น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า ยืนยันว่ายังเป็นไปได้อยู่
เมื่อถามต่อว่า การไม่ใช้กฎหมายประชามติปี 64 เพราะกังวลว่าอาจจะไม่ผ่านใช่หรือไม่ นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า หากเราใช้ฉบับใหม่น่าจะมีความชอบธรรมกว่า เพราะมีหลายประเด็นที่ สส.ได้แก้ไข และยืนยันว่ายังมั่นใจว่าประเด็นที่ สว.แก้ไขมานั้น ไม่ต้องใช้เวลานาน
เมื่อถามว่า หากท้ายที่สุดแล้ว การมาตั้ง กมธ.ร่วม แล้วนำกฎหมายกลับไปที่แต่ละสภาฯ แต่ยังมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน ทำให้กฎหมายฉบับนี้ต้องพักไป 6 เดือน นาย
ปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า เรื่องนี้คงต้องพิสูจน์ความจริงใจ เพราะที่ผ่านมาก็มีคนครหาว่าเป็นการถ่วงเวลาหรือไม่ เพื่อไม่ให้มีการประชามติ ไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ซึ่งต้องตั้งเป็นข้อสังเกตว่าแต่ละฝ่ายมีความจริงใจเรื่องนี้อย่างไรบ้าง
JJNY : พีมูฟจี้แก้ปัญหา 5 ข้อ│ปธ.วิปฝ่ายค้าน ไม่เข้าใจ ยื้อรายงานนิรโทษ│"ปกรณ์วุฒิ" ยังหวังทำประชามติทัน│ดับสะสม 52 ราย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9449429
“พีมูฟ” กดดันรัฐบาล เคลื่อนมวลชนปิดประตูเข้าทำเนียบ จี้รัฐบาล แก้ปัญหา 5 ข้อเรียกร้อง หลังไม่คืบ ขู่ ชุมนุมยืดเยื้อ ถ้าไม่มีการตอบสนอง
เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 8 ต.ค. 2567 ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) นำโดย นายธีรเนตร ไชยสุวรรณ นายจำนงค์ หนูพันธ์ และนายสินชัย รู้เพราะจีน รองประธานพีมูฟ เคลื่อนมวลชนปิดทางเข้าทำเนียบรัฐบาล บริเวณประตู 3 , 4 และ 5 เพื่อทวงถามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา 5 ข้อ ที่ยื่นให้กับรัฐบาลก่อนหน้านี้
นายสินชัย กล่าวว่า ผ่านมาแล้ว 14 วันนับจากวันที่ตัวแทนรัฐบาลรับหนังสือข้อเสนอของพีมูฟ ที่ผ่านมานับตั้งแต่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดปัจจุบันให้ดำเนินการบริหารประเทศ พีมูฟได้พยายามยื่นข้อเรียกร้องและเปิดการเจรจาแล้วอย่างน้อย 5 ครั้ง
ซึ่งทุกครั้งจะได้รับการตอบรับจากทั้งตัวแทนพรรคเพื่อไทยและตัวแทนรัฐบาลว่าจะเร่งดำเนินการให้ แต่ในทางปฏิบัติยังถือว่าล่าช้า ความล่าช้าดังกล่าวได้สร้างความเดือดร้อนและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก
วันนี้พีมูฟยังยืนยันข้อเรียกร้องที่รัฐบาลต้องดำเนินการ ดังนี้
1. นายกฯ ต้องสั่งการให้นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกฯ และรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ และได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และรมว.คมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการโฉนดชุมชน และกำกับดูแลสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาของพีมูฟโดยตรง เป็นตัวแทนรัฐบาล เพื่อเจรจากำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกับตัวแทนพีมูฟ และนำข้อสรุปเสนอให้นายกฯ ทราบและพิจารณาดำเนินการต่อไปโดยเร็วที่สุด
2. ลงนามในร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ซึ่งมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ตามที่พี่มูฟได้เสนอ รวมถึงข้อเสนออื่นๆ ตามรายละเอียดที่ได้ยื่นหนังสือเมื่อวันที่ 24 ก.ย.67
3. เพื่อการแก้ไขปัญหาของพีมูฟดำเนินการต่อไปอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ให้นายกฯ นำข้อสรุปตามข้อ 1 และ 2 แจ้งให้ที่ประชุมครม.ได้พิจารณาและเห็นชอบ และแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป
4. เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีเร่งด่วนเฉพาะหน้า ได้แก่ กรณีชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย จ.เพชรบุรี โดยขอให้ยุติหรือชะลอการสั่งฟ้องชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย 28 ราย และที่เร่งด่วน คือ อัยการเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเพชรบุรีได้มีนัดหมาย ส่งฟ้องเยาวชนชาวบางกลอย 2 คน ได้แก่ นายพื้อกีดี้ จีโบ้ง และนายตาเปอะเลอะ แครจี ต่อที่ศาลจังหวัดเพชรบุรี ในวันที่ 10 ต.ค.67
กรณีชาวแลเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล ที่ถูกคุกคามฟ้องร้อง ขับไล่ และศาลมีคำสั่งให้รื้อถอนบ้าน ซึ่งเหลือระยะเวลาตามคำสั่งศาลอีกประมาณ 30 วัน และกรณีข่มขู่ คุกคาม ลิดรอนสิทธิ และมุ่งหวังให้เกิดอันตรายต่อชีวิตทรัพย์สิน แกนนำชุมชนคลองไทรพัฒนา จ.สุราษฎร์ธานี
5. ติดตามการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ซึ่งเครือข่ายชาวเลอันดามันได้มีการยื่นหนังสือและปักหลักติดตามตั้งแต่วันที่ 4 ต.ค.67
“เรายืนยันจะปักหลักชุมนุมยืดเยื้ออย่างไม่มีกำหนด และจะระดมกำลังพี่น้องขึ้นมาสมทบอย่างต่อเนื่อง จนกว่ารัฐบาลจะตอบสนองข้อเรียกร้องทุกข้อ และขอประกาศตอบสาธารณะชน พี่น้องเครือข่ายภาคประชาชน สื่อมวลชน และพรรคการเมือง ให้ร่วมจับตาการเคลื่อนไหวของพีมูฟอย่างใกล้ชิด และติดตาม ตรวจสอบ การทำงานของรัฐบาลน.ส.แพทองธารต่อไปว่าจะจริงใจแก้ปัญหาความเดือดร้อนประชาชนหรือไม่” นายสินชัย กล่าว
ปธ.วิปฝ่ายค้าน ไม่เข้าใจ ยื้อรายงานนิรโทษ มีประโยชน์ตรงไหน ย้ำหน้าที่ส.ส.หาจุดตรงกลาง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4834223
‘ปกรณ์วุฒิ’ ถามยื้อ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมได้ประโยชน์อะไร แนะยอมรับความขัดแย้งทางการเมืองเป็นบาดแผลใหญ่มีมานาน ชี้เป็นหน้าที่ ส.ส.นำมาพูดคุยกันอย่างมีวุฒิภาวะ บอกถือเป็นบันไดขั้นแรก
เมื่อเวลา 09.50 น. วันที่ 8 ตุลาคม ที่รัฐสภา นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมวิปฝ่ายค้านถึงความคืบหน้ารัฐบาลเตรียมเรียกหัวหน้าพรรคการเมืองพูดคุยหลักการนิรโทษกรรมว่า ตอนนี้ยังไม่มีใครติดต่อมาพูดคุยอะไร แต่หากใครอ่านโพสต์ของ นายชัยธวัช ตุลาธน อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ก็ถือเป็นบันไดขั้นแรกที่เราควรเอารายงานฉบับนี้ ที่มีคณะกรรมาธิการ (กมธ.) จากทุกพรรคการเมืองเข้ามาพูดคุยกัน
นายปกรณ์วุฒิกล่าวต่อว่า รายงานฉบับนี้ไม่ได้เป็นการเสนอกฎหมาย แต่เป็นการพูดถึงแนวทางว่าจะมีทางเลือกไหนบ้าง ดังนั้น คิดว่าเป็นบันไดขั้นแรกที่ดีที่เราจะเอามาพูดคุยกันในรัฐสภาอย่างมีวุฒิภาวะ ส่วนการเลื่อนระเบียบวาระออกไปนั้น ตนก็ยังไม่เข้าใจว่าตอนนี้พยายามจะเลื่อนเพราะอะไร และไม่แน่ใจว่าไม่พร้อมเรื่องอะไร ซึ่งทุกฝ่ายควรยอมรับกันได้แล้วว่าความขัดแย้งทางการเมืองใน 4-5 ที่ผ่านมาถือเป็นบาดแผลใหญ่ที่ทำให้สังคมเกิดความขัดแย้งถึงร้าวลึก
นายปกรณ์วุฒิกล่าวว่า ดังนั้น ในการเปิดประตูบานแรกด้วยพูดคุยถึงการนิรโทษกรรมของผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย โดยมีเหตุจูงใจทางการเมืองถือเป็นก้าวแรกที่ดี ที่จะมีความสามัคคีและปรองดองในสังคม ย้ำว่า ทั้งหมดนี้เป็นรายงานการศึกษา ไม่ใช่กฎหมาย การนำมาพูดคุยกันในสภาในสมัยประชุมนี้ ซึ่งตนก็คาดหวังว่าจะเป็นวันที่ 10 ตุลาคมนี้ แต่ก็มีการเลื่อนออกไปอีก และจะเป็นเรื่องตลกมากที่ 2 สัปดาห์ที่เหลือ ประธาน กมธ.ขอเลื่อนไปเรื่อยๆ ถือว่าไม่สม
เมื่อถามว่า ที่มีการเลื่อนออกไปเพราะจะมีการพูดคุยกับหัวหน้าพรรคการเมือง แต่ยังไม่มีท่าทีที่จะคุยกัน มองว่าเป็นการยื้อหรือไม่ นายปกรณ์วุฒิกล่าวว่า ถ้ามองก็มองได้ว่าเป็นการยื้อ เพราะตนก็ไม่แน่ใจว่ายื้อไปแล้วมีประโยชน์อย่างไร เห็นว่ามีการพูดคุยกันว่าทุกฝ่ายก็พร้อมแล้ว
เมื่อถามว่า ฝ่ายรัฐบาลอาจจะเป็นกังวลเพราะในเรื่องมาตรา 112 นั้น นายปกรณ์วุฒิกล่าวว่า ประเด็นนี้ต้องเอาเข้ามาพูดคุยกัน การเข้ามาเห็นชอบกับรายงานไม่ได้แปลว่าทุกฝ่ายเห็นชอบกับการนิรโทษกรรม อาจจะมีความกังวลมากเกินไปหรือไม่ ความขัดแย้งที่มีอยู่ข้างนอกคือหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรที่จะหยิบยกเข้ามาถึงวุฒิภาวะความคิดเห็น แตกต่าง หลากหลาย ไม่เห็นด้วยได้ หาจุดตรงกลางที่คิดว่าจะดีกับสังคมในระยะยาว
"ปกรณ์วุฒิ" ยังหวังทำประชามติทันต้นปี 68 เล็งชงเปิดวิสามัญฯเร่งเครื่องทันลต.นายกอบจ.
https://siamrath.co.th/n/572106
วันที่ 8 ต.ค.2567 เวลา 09.50 น.ที่รัฐสภา นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒนสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือวิปฝ่ายค้าน ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมวิปฝ่ายค้านถึงการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 9-10 ต.ค.นี้ว่า วันที่ 9 ต.ค.ลาคมจะมีรายงานที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม 4 ฉบับ, กฎหมายเกี่ยวกับประมวลที่ดิน ที่นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรค ปชน. เป็นผู้เสนอ รวมถึงร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมที่ทางวุฒิสภาแก้ไขกลับมาเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติจะรับตามที่ สว.แก้ หรือจะยืนยันร่างของ สส. ส่วนกระทู้ถามในวันที่ 10 ตุลาคมนั้น ต้องรอติดตาม
เมื่อถามว่า แนวทางต่อจากนี้ สส. มองทางออกเรื่องประชามติอย่างไร นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า เท่าที่มีการพูดคุยกันวิปรัฐบาลก็เห็นตรงกับวิปฝ่ายค้าน ซึ่งเราคงมีการยืนยันในหลักการของร่างที่ สส.ส่งไปให้ และคงต้องมีการตั้ง กมธ.ร่วมกันเพื่อเข้าไปพิจารณาว่าท้ายที่สุดแล้วจะออกมาเป็นเช่นไร
“สิ่งที่ผมกังวลและตั้งข้อสังเกตไว้คือ ไทม์ไลน์ตอนแรกวางแผนกันไว้ว่าจะทำประชามติพร้อมกับการเลือกตั้งนายก อบจ. ที่จะเกิดขึ้นในช่วงต้นปีหน้า และเกิดขึ้นพร้อมกันในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งหากทำประชามติพร้อมกับการเลือกตั้งนายก อบจ. ในคราวเดียวกันก็น่าจะประหยัดงบประมาณได้เยอะ และสะดวกกับประชาชนในการออกมาใช้สิทธิ์ หากมีการตั้ง กมธ.ร่วมกันอาจจะกระทบไทม์ไลน์ แต่ผมยังมั่นใจว่าหากทุกฝ่ายเห็นพ้องกัน เป็นประตูบานแรกที่จะนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นฉบับของประชาชนจริงๆ และหากทุกคนที่เข้าไปเป็น กมธ.ร่วม พิจารณาด้วยความรวดเร็วและรอบคอบเพื่อให้ทัน ตนคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ หากจำเป็นต้องใช้เวลาและเป็นช่วงที่คาบเกี่ยวกับช่วงปิดสมัยประชุมสภาฯ ผมคิดว่าสภาฯ ควรพิจารณาเปิดสมัยประชุมวิสามัญ เพื่อให้การประชามติสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงต้นปีหน้า” นายปกรณ์วุฒิ กล่าว
เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่หากประชามติไม่ทันช่วงต้นปีหน้า แล้วต้องจัดเอง อาจทำให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์น้อย นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า ตนคิดว่าขั้นแรกเราพยายามทำให้ทันก่อน และคิดว่าหากทุกฝ่ายไม่มีเจตนาที่จะถ่วงเวลาแล้วร่วมกัน ก็สามารถทำได้อยู่แล้ว หาก กมธ.พิจารณาเสร็จเร็วแล้ว สภาฯ สามารถขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญได้ ก็มั่นใจว่าประชามติสามารถเสร็จทันท่วงทีได้ เพราะทาง สว.ก็ไม่ได้แก้หลายประเด็น
เมื่อถามว่า มีการประสานไปยังพรรครัฐบาลหรือประธานสภาฯ เปิดประชุมสภาฯ สมัยวิสามัญแล้วหรือไม่ นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า ตนคิดว่าหลังวันที่ 9 ต.ค.คงต้องมีการพูดคุยกับ กมธ.ร่วมก่อน หากการวางแผนเป็นไปได้ด้วยดี วางแผนได้ว่าจะเสร็จสิ้นช่วงไหน ก็สามารถพูดคุยกับประธานสภาฯ ต่อได้ ตนคิดว่าไม่น่ามีปัญหา และสส.ทั้งสภาฯ ก็น่าจะเห็นพ้องต้องกัน
เมื่อถามถึง กรณีที่ สว. มองว่าหาก สส.อยากแก้ ก็สามารถใช้กฎหมายประชามติฉบับปัจจุบันดำเนินการได้เลย นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า ตนมองว่าอยากให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์พร้อม น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า ยืนยันว่ายังเป็นไปได้อยู่
เมื่อถามต่อว่า การไม่ใช้กฎหมายประชามติปี 64 เพราะกังวลว่าอาจจะไม่ผ่านใช่หรือไม่ นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า หากเราใช้ฉบับใหม่น่าจะมีความชอบธรรมกว่า เพราะมีหลายประเด็นที่ สส.ได้แก้ไข และยืนยันว่ายังมั่นใจว่าประเด็นที่ สว.แก้ไขมานั้น ไม่ต้องใช้เวลานาน
เมื่อถามว่า หากท้ายที่สุดแล้ว การมาตั้ง กมธ.ร่วม แล้วนำกฎหมายกลับไปที่แต่ละสภาฯ แต่ยังมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน ทำให้กฎหมายฉบับนี้ต้องพักไป 6 เดือน นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า เรื่องนี้คงต้องพิสูจน์ความจริงใจ เพราะที่ผ่านมาก็มีคนครหาว่าเป็นการถ่วงเวลาหรือไม่ เพื่อไม่ให้มีการประชามติ ไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ซึ่งต้องตั้งเป็นข้อสังเกตว่าแต่ละฝ่ายมีความจริงใจเรื่องนี้อย่างไรบ้าง