ฟังคลิปเสียง :
https://www.dhammahome.com/audio/topic/5453
_______________________________________________
อ. สุจินต์ : "แล้วความรู้ก็ต้องเป็นความรู้ที่มากขึ้น เพิ่มขึ้นเจริญขึ้นด้วยจึงจะละได้ไม่ใช่นิดๆ หน่อยๆ นะคะ ก็ไปรู้ผิดๆ ถูกๆ โดยที่ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริงแล้วก็ไม่ตรงกับที่ได้ทรงแสดงไว้ อย่าง”นามสั่ง” ท่านอาจจะเข้าใจจนชิน คิดว่า นามสั่งรูป แต่ผู้เจริญสติ นามอะไรสั่งบ้างไหม ระลึกรู้นามสั่งอันไหนบ้างไหม ระลึกรู้นามที่สั่งบ้างไหม มีไหม ไม่มี เพราะเหตุว่า นามที่สั่งไม่มีจริง
นามเป็นปัจจัยให้เกิดรูป ท่านใช้คำว่า “
เป็นปัจจัย” แต่ไม่ใช่นามสั่ง อย่างนั่งอยู่นี่ต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งอยู่ที่อื่น
โลภมูลจิตความต้องการสิ่งนั้นเกิดขึ้นในทางอกุศล หรือว่ากุศลจิตความต้องการที่จะทำให้เป็นไปในทานหรือเป็นไปในศีลเกิดขึ้น ก็ทำให้รูปไหวไป จิตนั่นเองเป็นปัจจัยให้รูปนั้นไหวไป ไม่ใช่มีนามสั่งให้รูปลุกขึ้นยืน
เวลาที่นั่งนอนยืนเดินวันหนึ่งวันหนึ่ง เกิดนามสั่งขึ้นก่อนหรือเปล่า เกิดนามสั่งขึ้นก่อนหรือเปล่า กำลังนั่งอยู่นี้ ลุกขึ้นลุกมาแล้วเกิดนามสั่งขึ้นก่อนหรือเปล่าว่า ให้รูปลุกขึ้น แต่ขอให้ทราบถึงความจริง ผู้เจริญสติเป็นผู้ที่รู้ความจริง รู้ของจริง สิ่งที่มีจริง ใครจะยกมือ ใครจะเดินไป ใครจะหยิบ ใครจะทำอะไร ก่อนที่จะเคลื่อนไหวไปแต่ละครั้ง มีนามสั่งเกิดขึ้นที่สติไม่รู้หรือเปล่า ไม่มี เพราะเหตุว่าไม่มีนามที่สั่ง
ถ้าเกิดนึกขึ้นมาว่าจะยืนเป็นนามคิดนึก รูปยังไม่ได้ยืน เป็นนามที่คิดนึก แต่รูปยังนั่งอยู่ และนามคิดนึกก็ดับไป ส่วนความต้องการจะยืนก็มีนามที่มีความต้องการเป็นปัจจัยให้รูปนั้นไหว แต่ไม่ใช่สั่ง นี้เป็นสิ่งที่ท่านผู้ฟังจะต้องเจริญสติ เข้าใจพยัญชนะอรรถให้ตรงตามความเป็นจริง
ถ้ามิฉะนั้นแล้วก็จะเคลื่อนไปนิดๆ หน่อยๆ เล็กๆ น้อยๆ ทำให้ท่านไม่สามารถที่จะรู้แจ้งลักษณะของนาม และรูป ตามความเป็นจริงได้ อย่างนามนึกคิดไม่รู้เลยใช่ไหม ก็ไปเป็นนามสั่งเสีย แต่ว่าความจริงแล้วที่คิดว่าจะลุกขึ้น หรือจะทำอะไรนั่น ก็เป็นแต่เพียงนามธรรมที่นึก แต่ว่ารูปก็ยังอยู่อย่างนั้น ส่วนที่จะเดินไป จะพูดไปนั่น ก็เป็นนามที่ทำให้รูปนั้นไหวไป แต่ไม่ใช่ว่าต้องสั่ง"
นามสั่งรูปไม่มี มีแต่นามเป็นปัจจัยให้รูปเกิด
_______________________________________________
อ. สุจินต์ : "แล้วความรู้ก็ต้องเป็นความรู้ที่มากขึ้น เพิ่มขึ้นเจริญขึ้นด้วยจึงจะละได้ไม่ใช่นิดๆ หน่อยๆ นะคะ ก็ไปรู้ผิดๆ ถูกๆ โดยที่ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริงแล้วก็ไม่ตรงกับที่ได้ทรงแสดงไว้ อย่าง”นามสั่ง” ท่านอาจจะเข้าใจจนชิน คิดว่า นามสั่งรูป แต่ผู้เจริญสติ นามอะไรสั่งบ้างไหม ระลึกรู้นามสั่งอันไหนบ้างไหม ระลึกรู้นามที่สั่งบ้างไหม มีไหม ไม่มี เพราะเหตุว่า นามที่สั่งไม่มีจริง นามเป็นปัจจัยให้เกิดรูป ท่านใช้คำว่า “เป็นปัจจัย” แต่ไม่ใช่นามสั่ง อย่างนั่งอยู่นี่ต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งอยู่ที่อื่น โลภมูลจิตความต้องการสิ่งนั้นเกิดขึ้นในทางอกุศล หรือว่ากุศลจิตความต้องการที่จะทำให้เป็นไปในทานหรือเป็นไปในศีลเกิดขึ้น ก็ทำให้รูปไหวไป จิตนั่นเองเป็นปัจจัยให้รูปนั้นไหวไป ไม่ใช่มีนามสั่งให้รูปลุกขึ้นยืน
เวลาที่นั่งนอนยืนเดินวันหนึ่งวันหนึ่ง เกิดนามสั่งขึ้นก่อนหรือเปล่า เกิดนามสั่งขึ้นก่อนหรือเปล่า กำลังนั่งอยู่นี้ ลุกขึ้นลุกมาแล้วเกิดนามสั่งขึ้นก่อนหรือเปล่าว่า ให้รูปลุกขึ้น แต่ขอให้ทราบถึงความจริง ผู้เจริญสติเป็นผู้ที่รู้ความจริง รู้ของจริง สิ่งที่มีจริง ใครจะยกมือ ใครจะเดินไป ใครจะหยิบ ใครจะทำอะไร ก่อนที่จะเคลื่อนไหวไปแต่ละครั้ง มีนามสั่งเกิดขึ้นที่สติไม่รู้หรือเปล่า ไม่มี เพราะเหตุว่าไม่มีนามที่สั่ง ถ้าเกิดนึกขึ้นมาว่าจะยืนเป็นนามคิดนึก รูปยังไม่ได้ยืน เป็นนามที่คิดนึก แต่รูปยังนั่งอยู่ และนามคิดนึกก็ดับไป ส่วนความต้องการจะยืนก็มีนามที่มีความต้องการเป็นปัจจัยให้รูปนั้นไหว แต่ไม่ใช่สั่ง นี้เป็นสิ่งที่ท่านผู้ฟังจะต้องเจริญสติ เข้าใจพยัญชนะอรรถให้ตรงตามความเป็นจริง ถ้ามิฉะนั้นแล้วก็จะเคลื่อนไปนิดๆ หน่อยๆ เล็กๆ น้อยๆ ทำให้ท่านไม่สามารถที่จะรู้แจ้งลักษณะของนาม และรูป ตามความเป็นจริงได้ อย่างนามนึกคิดไม่รู้เลยใช่ไหม ก็ไปเป็นนามสั่งเสีย แต่ว่าความจริงแล้วที่คิดว่าจะลุกขึ้น หรือจะทำอะไรนั่น ก็เป็นแต่เพียงนามธรรมที่นึก แต่ว่ารูปก็ยังอยู่อย่างนั้น ส่วนที่จะเดินไป จะพูดไปนั่น ก็เป็นนามที่ทำให้รูปนั้นไหวไป แต่ไม่ใช่ว่าต้องสั่ง"