เมื่อ 6 หน่วย อย่างกรมการท่องเที่ยว สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การแก้ปัญหาการประกอบธุรกิจท่องเที่ยว โดยใช้คนไทยเป็นตัวแทนอำพราง (NOMINEE) โดยใช้ชื่อย่อว่า “ศปต.” ซึ่งเป็นการทำงานบูรณาการร่วมกันแก้ไขปัญหา ตั้งแต่ปลายปี 2566 ที่ผ่านมา
โดยทำงานภายใต้กรอบความร่วมมือ 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการจดทะเบียนและการอนุญาตประกอบธุรกิจ 2.ด้านการประสานแลกเปลี่ยนข้อมูล 3.ด้านการกำกับ ดูแล และป้องปราม และ 4.ด้านการส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน และภายใต้กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
ใครเข้าข่ายนอมินี
สำหรับแนวทางการตรวจสอบธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่เข้าข่ายมีนอมินี ในเบื้องต้นจะเน้นการตรวจสอบบริษัทที่มีความเสี่ยง เช่น มีผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างชาติ ซึ่งต้องตรวจสอบว่าถือหุ้นไม่เกินสัดส่วนที่กำหนด 49.99% หรือไม่ ถ้าไม่เกินต้องดูต่อไปอีกว่ามีอำนาจการบริหารจัดการภายในบริษัท และมีสิทธิในการออกเสียงมากกว่าผู้ถือหุ้นคนไทยที่มีสัดส่วนการถือหุ้น 51% หรือไม่ ถ้ามีมากกว่าก็อาจเข้าข่ายเป็นนอมินี
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า ผลการตรวจสอบนอมินีในปี 2566 กรมได้ตรวจสอบนิติบุคคลที่มีความเสี่ยงรวม 15,000 ราย เมื่อตรวจสอบแล้ว เห็นว่าต้องตรวจสอบเชิงลึกประมาณ 400 ราย จึงได้ตรวจสอบ จนพบพฤติกรรมน่าสงสัย และได้ส่งดำเนินคดีรวม 8 ราย ตามความผิดของ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
ซึ่งจะมีบทลงโทษตาม มาตรา 36 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับ 1 แสน ถึง 1 ล้านบาท และหากยังฝ่าฝืนต่อมีโทษปรับวันละ 10,000-50,000 บาทด้วย
ส่วนรายอื่น ๆ ที่ไม่ผิดกฎหมายนี้ แต่ผิดกฎหมายของหน่วยงานอื่น เช่น การตรวจคนเข้าเมือง หรือภาษี ได้ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อ
แผนตรวจสอบนอมินีปี’67
ส่วนแผนในปี 2567 การตรวจสอบธุรกิจที่มีแนวโน้มเข้าข่ายลักษณะเป็นนอมินี หรือการให้คนไทยถือหุ้นแทนคนต่างด้าว เพื่อหลีกเลี่ยงการขออนุญาตประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
กรมได้เริ่มตรวจสอบการประกอบธุรกิจตั้งแต่ขั้นตอนการจดทะเบียน พร้อมทั้งเอกสารที่ธนาคารออกให้ เพื่อรับรอง หรือแสดงฐานะการเงินของผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นคนไทยที่ลงทุน หรือถือหุ้นในนิติบุคคลร่วมกับคนต่างด้าว
“จะพิจารณาจากการถือหุ้นของคนต่างด้าวตั้งแต่ 40% ขึ้นไป เป็นธุรกิจที่มีคนต่างด้าวเป็นผู้มีอำนาจกระทำการ มีการกำหนดให้สิทธิคนต่างด้าวมากกว่าคนไทยไหม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิการออกเสียงลงคะแนน สิทธิการรับเงินปันผล รวมทั้งสิทธิการรับคืนทุนเมื่อเลิกกิจการ เป็นต้น รวมไปถึงเรื่องแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น การกู้ยืม หรือให้กู้ยืมเงินแก่คนต่างด้าว โดยมีเงื่อนไขที่ผิดปกติในทางการค้า หรือทางธุรกิจการเงินทั่วไป มาประกอบการพิจารณาด้วย”
เปิด 6 ธุรกิจเสี่ยง
ผลการตรวจสอบนอมินี 8 เดือนแรก ปี 2567 พบว่ามีธุรกิจเป้าหมายเข้าข่าย 26,019 ราย ใน 4 กลุ่มธุรกิจคือ 1.ภัตตาคาร ร้านอาหาร 2.ค้าที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ 3.โรงแรม รีสอร์ต และ 4.ขนส่ง โลจิสติกส์ ซึ่งประกอบการอยู่ ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ชลบุรี ภูเก็ต ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และกรุงเทพฯ
กรมจึงได้ติดตามข้อมูล เช่น งบการเงิน สถานที่ตั้ง การประกอบธุรกิจ พร้อมยังได้มีการออกหนังสือให้ นิติบุคคลชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและการลงทุนทั้งหมด 498 ราย โดยมีการยุติการตรวจสอบ 371 ราย เนื่องจากไม่เข้าข่าย ไม่มีความผิดปกติ ส่งผลให้ยังเหลือ 127 รายที่ยังต้องมีการตรวจสอบ และในจำนวนนี้ 64 ราย มีการตรวจสอบแล้ว แต่ไม่มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติม จากที่ขอข้อมูลทางบัญชีเข้ามาให้มีการชี้แจงเพิ่มเติม แต่ก็ไม่ได้ชี้แจงกลับมา จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาไปในการกระทำผิดทางบัญชี อีกทั้งได้ส่งให้กรมสรรพากรดำเนินการต่อไป
ส่วนอีก 63 รายนั้น มีการขยายผลตามกฎหมาย ซึ่งพบในจำนวนนี้ 4 ราย อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สุราษฎร์ธานี และประจวบคีรีขันธ์ ที่ประกอบกิจการนำเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ที่เข้าข่ายกระทำผิด ซึ่งจะมีการดำเนินการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงต่อไป
ธุรกิจเป้าหมาย
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบกลุ่มเป้าหมาย ผลปรากฏว่า มีคนต่างด้าว สัญชาติที่เข้ามา 6 อันดับแรก ได้แก่ 1.จีน 2.รัสเซีย 3.อังกฤษ 4.ฝรั่งเศส 5.เกาหลีใต้ และ 6.อินเดีย
โดยการประกอบธุรกิจมีหลายประเภทเน้นไปที่ธุรกิจตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.ต่างด้าว 2542 ธุรกิจที่คนต่างด้าวสนใจเข้ามาลงทุน ได้แก่ ธุรกิจซื้อขาย ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ นายหน้าตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจท่องเที่ยว ร้านอาหาร เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
และขยายขอบเขตการตรวจสอบธุรกิจนอมินี ในธุรกิจเป้าหมาย 5 ธุรกิจเพิ่ม ได้แก่ ค้าส่ง-ค้าปลีก, คลังสินค้า, ก่อสร้าง, วิศวกรรม และค้าเหล็ก ซึ่งเป็นธุรกิจที่เข้าข่ายให้มีการตรวจสอบ
โดยการตรวจสอบ กรมจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ดีเอสไอ, ปปง., กทม., ตำรวจ เป็นต้น ในการเข้าตรวจสอบพื้นที่และกิจการที่เข้าข่ายหรือน่าสงสัย เพื่อไม่ให้เกิดการสนับสนุนการประกอบกิจการที่ผิดกฎหมาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการเอาผิดอย่างจริงจัง ทั้งนี้ เป็นการปกป้องผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยซึ่งมี 99% ของผู้ประกอบการภายในประเทศ
อย่างไรก็ดี การตรวจสอบเน้นลงพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งก็มีการลงพื้นที่แล้ว เช่น ย่านห้วยขวาง ตลาดสำเพ็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยง โดยกรมก็เข้าตรวจสอบภายใต้กฎหมายการประกอบกิจการของคนต่างด้าว หากเข้าข่ายหรือเกี่ยวข้องก็จะตรวจสอบเชิงลึกและส่งต่อให้กับหน่วยงานที่ดูแลต่อไป
ขยายผลออนไลน์
นอกจากนี้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง 28 หน่วยงานประชุมหารือแก้ปัญหาการนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าไม่ได้มาตรฐานและราคาต่ำ และป้องกันและกำกับดูแลทั้งสินค้าและธุรกิจที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ควบคู่กับการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs และ e-Commerce ไทยปรับตัวได้ในโลกการค้ายุคใหม่ เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา
“แม้จะไม่ใช่การตรวจสอบธุรกิจนอมินีโดยตรง แต่เป็นแนวทางสำคัญในการดูแลผู้ประกอบกิจการภายในประเทศ เพื่อให้ได้มาตรฐาน และดูแลผู้บริโภคให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและเป็นธรรม”
พร้อมได้มอบให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมการค้าต่างประเทศ ตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและปราบปรามสินค้าและธุรกิจฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน และที่ประชุมยังได้ข้อสรุปร่วมกันสำหรับมาตรการที่หน่วยงานรัฐต้องดำเนินการ 5 มาตรการหลัก แยกเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการทันที และมาตรการยั่งยืน รวม 63 มาตรการย่อยที่จะดำเนินการต่อไป
“ผู้ประกอบการไทยหากสงสัยหรือมีข้อมูลสามารถส่งข้อมูลมาให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ เพื่อที่จะดำเนินการตรวจสอบเชิงลึกต่อไป กรมก็พร้อมที่จะประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ตรวจสอบด้วย”
อย่างไรก็ดี การตรวจสอบธุรกิจก็จะพิจารณาถึงพฤติกรรมของการทำธุรกิจ หรือมีการทำนิติกรรมอำพรางหรือไม่ หากผู้ใดพบว่าเข้าข่ายก็สามารถแจ้งได้ แต่ปัจจุบันนี้ยังไม่ได้รับการแจ้งข้อมูลมาแต่อย่างไร ซึ่งการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เพื่อประโยชน์และต้องการปกป้องธุรกิจภายในประเทศ...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/economy/news-1665388
สแกน “นอมินี” ปี’67 จับตา 4 ธุรกิจเสี่ยง 2.6 หมื่นราย
โดยทำงานภายใต้กรอบความร่วมมือ 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการจดทะเบียนและการอนุญาตประกอบธุรกิจ 2.ด้านการประสานแลกเปลี่ยนข้อมูล 3.ด้านการกำกับ ดูแล และป้องปราม และ 4.ด้านการส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน และภายใต้กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
ใครเข้าข่ายนอมินี
สำหรับแนวทางการตรวจสอบธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่เข้าข่ายมีนอมินี ในเบื้องต้นจะเน้นการตรวจสอบบริษัทที่มีความเสี่ยง เช่น มีผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างชาติ ซึ่งต้องตรวจสอบว่าถือหุ้นไม่เกินสัดส่วนที่กำหนด 49.99% หรือไม่ ถ้าไม่เกินต้องดูต่อไปอีกว่ามีอำนาจการบริหารจัดการภายในบริษัท และมีสิทธิในการออกเสียงมากกว่าผู้ถือหุ้นคนไทยที่มีสัดส่วนการถือหุ้น 51% หรือไม่ ถ้ามีมากกว่าก็อาจเข้าข่ายเป็นนอมินี
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า ผลการตรวจสอบนอมินีในปี 2566 กรมได้ตรวจสอบนิติบุคคลที่มีความเสี่ยงรวม 15,000 ราย เมื่อตรวจสอบแล้ว เห็นว่าต้องตรวจสอบเชิงลึกประมาณ 400 ราย จึงได้ตรวจสอบ จนพบพฤติกรรมน่าสงสัย และได้ส่งดำเนินคดีรวม 8 ราย ตามความผิดของ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
ซึ่งจะมีบทลงโทษตาม มาตรา 36 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับ 1 แสน ถึง 1 ล้านบาท และหากยังฝ่าฝืนต่อมีโทษปรับวันละ 10,000-50,000 บาทด้วย
ส่วนรายอื่น ๆ ที่ไม่ผิดกฎหมายนี้ แต่ผิดกฎหมายของหน่วยงานอื่น เช่น การตรวจคนเข้าเมือง หรือภาษี ได้ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อ
แผนตรวจสอบนอมินีปี’67
ส่วนแผนในปี 2567 การตรวจสอบธุรกิจที่มีแนวโน้มเข้าข่ายลักษณะเป็นนอมินี หรือการให้คนไทยถือหุ้นแทนคนต่างด้าว เพื่อหลีกเลี่ยงการขออนุญาตประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
กรมได้เริ่มตรวจสอบการประกอบธุรกิจตั้งแต่ขั้นตอนการจดทะเบียน พร้อมทั้งเอกสารที่ธนาคารออกให้ เพื่อรับรอง หรือแสดงฐานะการเงินของผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นคนไทยที่ลงทุน หรือถือหุ้นในนิติบุคคลร่วมกับคนต่างด้าว
“จะพิจารณาจากการถือหุ้นของคนต่างด้าวตั้งแต่ 40% ขึ้นไป เป็นธุรกิจที่มีคนต่างด้าวเป็นผู้มีอำนาจกระทำการ มีการกำหนดให้สิทธิคนต่างด้าวมากกว่าคนไทยไหม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิการออกเสียงลงคะแนน สิทธิการรับเงินปันผล รวมทั้งสิทธิการรับคืนทุนเมื่อเลิกกิจการ เป็นต้น รวมไปถึงเรื่องแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น การกู้ยืม หรือให้กู้ยืมเงินแก่คนต่างด้าว โดยมีเงื่อนไขที่ผิดปกติในทางการค้า หรือทางธุรกิจการเงินทั่วไป มาประกอบการพิจารณาด้วย”
เปิด 6 ธุรกิจเสี่ยง
ผลการตรวจสอบนอมินี 8 เดือนแรก ปี 2567 พบว่ามีธุรกิจเป้าหมายเข้าข่าย 26,019 ราย ใน 4 กลุ่มธุรกิจคือ 1.ภัตตาคาร ร้านอาหาร 2.ค้าที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ 3.โรงแรม รีสอร์ต และ 4.ขนส่ง โลจิสติกส์ ซึ่งประกอบการอยู่ ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ชลบุรี ภูเก็ต ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และกรุงเทพฯ
กรมจึงได้ติดตามข้อมูล เช่น งบการเงิน สถานที่ตั้ง การประกอบธุรกิจ พร้อมยังได้มีการออกหนังสือให้ นิติบุคคลชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและการลงทุนทั้งหมด 498 ราย โดยมีการยุติการตรวจสอบ 371 ราย เนื่องจากไม่เข้าข่าย ไม่มีความผิดปกติ ส่งผลให้ยังเหลือ 127 รายที่ยังต้องมีการตรวจสอบ และในจำนวนนี้ 64 ราย มีการตรวจสอบแล้ว แต่ไม่มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติม จากที่ขอข้อมูลทางบัญชีเข้ามาให้มีการชี้แจงเพิ่มเติม แต่ก็ไม่ได้ชี้แจงกลับมา จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาไปในการกระทำผิดทางบัญชี อีกทั้งได้ส่งให้กรมสรรพากรดำเนินการต่อไป
ส่วนอีก 63 รายนั้น มีการขยายผลตามกฎหมาย ซึ่งพบในจำนวนนี้ 4 ราย อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สุราษฎร์ธานี และประจวบคีรีขันธ์ ที่ประกอบกิจการนำเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ที่เข้าข่ายกระทำผิด ซึ่งจะมีการดำเนินการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงต่อไป
ธุรกิจเป้าหมาย
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบกลุ่มเป้าหมาย ผลปรากฏว่า มีคนต่างด้าว สัญชาติที่เข้ามา 6 อันดับแรก ได้แก่ 1.จีน 2.รัสเซีย 3.อังกฤษ 4.ฝรั่งเศส 5.เกาหลีใต้ และ 6.อินเดีย
โดยการประกอบธุรกิจมีหลายประเภทเน้นไปที่ธุรกิจตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.ต่างด้าว 2542 ธุรกิจที่คนต่างด้าวสนใจเข้ามาลงทุน ได้แก่ ธุรกิจซื้อขาย ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ นายหน้าตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจท่องเที่ยว ร้านอาหาร เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
และขยายขอบเขตการตรวจสอบธุรกิจนอมินี ในธุรกิจเป้าหมาย 5 ธุรกิจเพิ่ม ได้แก่ ค้าส่ง-ค้าปลีก, คลังสินค้า, ก่อสร้าง, วิศวกรรม และค้าเหล็ก ซึ่งเป็นธุรกิจที่เข้าข่ายให้มีการตรวจสอบ
โดยการตรวจสอบ กรมจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ดีเอสไอ, ปปง., กทม., ตำรวจ เป็นต้น ในการเข้าตรวจสอบพื้นที่และกิจการที่เข้าข่ายหรือน่าสงสัย เพื่อไม่ให้เกิดการสนับสนุนการประกอบกิจการที่ผิดกฎหมาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการเอาผิดอย่างจริงจัง ทั้งนี้ เป็นการปกป้องผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยซึ่งมี 99% ของผู้ประกอบการภายในประเทศ
อย่างไรก็ดี การตรวจสอบเน้นลงพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งก็มีการลงพื้นที่แล้ว เช่น ย่านห้วยขวาง ตลาดสำเพ็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยง โดยกรมก็เข้าตรวจสอบภายใต้กฎหมายการประกอบกิจการของคนต่างด้าว หากเข้าข่ายหรือเกี่ยวข้องก็จะตรวจสอบเชิงลึกและส่งต่อให้กับหน่วยงานที่ดูแลต่อไป
ขยายผลออนไลน์
นอกจากนี้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง 28 หน่วยงานประชุมหารือแก้ปัญหาการนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าไม่ได้มาตรฐานและราคาต่ำ และป้องกันและกำกับดูแลทั้งสินค้าและธุรกิจที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ควบคู่กับการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs และ e-Commerce ไทยปรับตัวได้ในโลกการค้ายุคใหม่ เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา
“แม้จะไม่ใช่การตรวจสอบธุรกิจนอมินีโดยตรง แต่เป็นแนวทางสำคัญในการดูแลผู้ประกอบกิจการภายในประเทศ เพื่อให้ได้มาตรฐาน และดูแลผู้บริโภคให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและเป็นธรรม”
พร้อมได้มอบให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมการค้าต่างประเทศ ตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและปราบปรามสินค้าและธุรกิจฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน และที่ประชุมยังได้ข้อสรุปร่วมกันสำหรับมาตรการที่หน่วยงานรัฐต้องดำเนินการ 5 มาตรการหลัก แยกเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการทันที และมาตรการยั่งยืน รวม 63 มาตรการย่อยที่จะดำเนินการต่อไป
“ผู้ประกอบการไทยหากสงสัยหรือมีข้อมูลสามารถส่งข้อมูลมาให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ เพื่อที่จะดำเนินการตรวจสอบเชิงลึกต่อไป กรมก็พร้อมที่จะประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ตรวจสอบด้วย”
อย่างไรก็ดี การตรวจสอบธุรกิจก็จะพิจารณาถึงพฤติกรรมของการทำธุรกิจ หรือมีการทำนิติกรรมอำพรางหรือไม่ หากผู้ใดพบว่าเข้าข่ายก็สามารถแจ้งได้ แต่ปัจจุบันนี้ยังไม่ได้รับการแจ้งข้อมูลมาแต่อย่างไร ซึ่งการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เพื่อประโยชน์และต้องการปกป้องธุรกิจภายในประเทศ...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/economy/news-1665388