- โดยรวมชอบ ถึงชอบน้อยกว่าเรื่องอื่นที่ดูมาอย่าง Peppermint Candy (1999) , Oasis (2002) หรือ Burning (2018) ด้วยความที่ว่ามันยาวกว่า 2 ชั่วโมง 19 นาทีที่สุ่มเสี่ยงต่อการเรียกหาที่นอนระหว่างทางแล้วในส่วนของโทนมันก็ดูสามัญเรียบง่ายไปจนไม่น่าสนใจและเดาไม่ถูกว่าจะลุ้นกี่โมง ? ทั้งที่เปิดหัวมาได้น่าสนใจด้วยการเห็นศพเด็กสาวลอยกลางแม่น้ำก็คิดแล้วว่า เฮ้ย มีเรื่องให้พูดแล้ว ดูไปสักพักมันก็ยังวนอยู่แต่กิจวัตรของคุณยายมิจาแต่ยอมรับว่าแต่ละประโยคที่พรรณนามาใช้คำได้น่าค้นหาดี ขณะเดียวกันก็มีประเด็นอื่นเข้ามาแทรกเป็นระยะแต่รู้สึกว่ามันยังไม่เน้นทีก็เลยเริ่มจะฝืนไม่ไหว พอดูต่อไปเรื่อย ๆ เห็นว่ามันยังวนอยู่เหมือนเดิมอีกเลยขอตัววูบหลับไปตอนที่คุณยายมิจาพบกับแก็งค์ผู้ปกครองเด็กแล้วก็ฟื้นกลับมาตอนคุณยายมิจากลับถึงบ้านแล้วเรียกหาหลานชายจากนั้นก็เริ่มที่จะจูนติดด้วยความอยากรู้ว่าเหตุการณ์มันจะไปยังไงต่อ ?
- ด้วยความที่คุณ Lee Chang-Dong เคยเป็นนักเขียนเขาให้ความสำคัญกับสารทุกสรรพสิ่งแล้วนำมาเรียบเรียงเป็นถ้อยคำเพื่อให้ตัวบทมีความเป็นมนุษย์ที่เข้าถึงได้ในความเป็นจริงแต่เรื่องนี้จะเด่นตรงเขาใส่ตัวตนความชอบลงไปในตัวคุณยายมิจาแต่ไม่ได้เจาะลึกลงไปในรากเหง้าเลยนึกไม่ออกว่าตัวตนของคุณยายเป็นคนอย่างไร ? ด้วยความที่เพศ , วัย , หรือ สถานะที่เป็นข้อจำกัดในสังคมจึงอนุมานลำบากว่าเธอคิดอะไร ? ซึ่งต่างจากเรื่องอื่นแค่ดูหน้าปุ๊ปก็รู้เลยว่าไอ้นี่เป็นคนแบบไหน ? แทนที่จะได้เห็นการไฝว้ตรง ๆ กลายมาเป็นต้องค่อย ๆ ประคับประคองไปด้วยความเอ็นดูและสงสารเมื่อเธอต้องมาเจอปัญหารายล้อมในชีวิตบั้นปลาย ถึงบางอย่างที่ทำจะผิดศีลธรรมแต่ด้วยระบบกลไกของมนุษย์เมื่อเกิดเรื่องกระทบถึงตัวจึงจำเป็นต้องทำเพื่อเอาตัวรอดหรือช่วยคนที่รักซึ่งนั่นก็คือ หลาน ของเธอ
- กระทั่งพอไปเตะปมสำคัญในตอนที่คุณยายไปหาหมอแล้วตรวจอาการพบว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ปุ๊ปกลายเป็นว่าประเด็นที่เหลืออย่างคดีเด็กสาวตุยก็ดีหรือการเข้าคอร์สเขียนบทกวีก็ตามต่างถาโถมพร้อมกันเหมือนนัดกันมา ไม่ว่าจะเป็น การที่แก็งค์ผู้ปกครองเด็กวานให้ช่วยไปเจรจากับแม่เด็กสาวผู้เสียชีวิตในเรื่องค่าเสียหาย , นายจ้างพิการที่อยากจะขึ้นสวรรค์ กระทั่ง พฤติกรรมลับลมคมในของหลานชายตัวดีย์ ทุกอย่างล้วนเป็นตัวเร่งให้คุณยายมิจาตัดสินใจทำอะไรบางอย่างที่คาดไม่ถึงรวมถึงการนึกอะไรเห็นอะไรแล้วหยิบปากกาขึ้นมาเขียนเช่นกัน
- ถึงปมแต่ละอย่างจะเริ่มเข้มข้นพร้อมกับตัวหนังก็เริ่มขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันคือปมของเด็กสาวจนอยากรู้แล้วว่าบทสรุปจะเป็นอย่างไร ? แต่ด้วยสไตล์การเล่าของคุณ Lee ที่ทราบแก่ใจว่าดูไปเรื่อย ๆ แวะหา Details ที่กูโปรยข้างทางก่อนเดี๋ยวก็ถึงเวลาที่รอคอยเองจนกระทั่งเข้าถึงโค้งสุดท้ายที่คุณยายมิจากระทำไปไม่ได้พีคถึงขั้นกระชากอารมณ์แต่ลำดับไม่ถูกว่าจะให้สาแก่ใจอย่างงดงามหรือจุกอกอย่างสุดซึ้งดี แค่คำถามที่คุณยายมิจามักถามครูนักเขียนเป็นระยะว่า การเขียนกวีต้องทำอย่างไร ? ผมก็รู้สึกเอะใจขึ้นมาทันที ไม่ใช่เพราะว่าอยากรู้คำตอบ แต่เป็นสัญญะจากการตั้งคำถามในเชิงเยินยอหรือเสียดสีโลกทุนนิยมก็สุดแท้แต่ ซึ่งท้ายที่สุดมันก็เป็นเพียงคำพูดไว้เพื่อปลอบประโลมหรือหาแสงเพื่อยกระดับสถานะให้คนฟังหลงเคลิ้มไปตามลมมากกว่าจะมองถึงใจความที่ซ่อนอยู่ข้างในที่เขาต้องการจะสื่อหรือผลักดันให้เป็นเรื่องของอาชีพที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like & Share บทความของผม EMistique เพื่อเป็นกำลังใจในการพรรณนาครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
[CR] ์No.124 Poetry (2010) : บทกวีลิขีดชีวิต
- โดยรวมชอบ ถึงชอบน้อยกว่าเรื่องอื่นที่ดูมาอย่าง Peppermint Candy (1999) , Oasis (2002) หรือ Burning (2018) ด้วยความที่ว่ามันยาวกว่า 2 ชั่วโมง 19 นาทีที่สุ่มเสี่ยงต่อการเรียกหาที่นอนระหว่างทางแล้วในส่วนของโทนมันก็ดูสามัญเรียบง่ายไปจนไม่น่าสนใจและเดาไม่ถูกว่าจะลุ้นกี่โมง ? ทั้งที่เปิดหัวมาได้น่าสนใจด้วยการเห็นศพเด็กสาวลอยกลางแม่น้ำก็คิดแล้วว่า เฮ้ย มีเรื่องให้พูดแล้ว ดูไปสักพักมันก็ยังวนอยู่แต่กิจวัตรของคุณยายมิจาแต่ยอมรับว่าแต่ละประโยคที่พรรณนามาใช้คำได้น่าค้นหาดี ขณะเดียวกันก็มีประเด็นอื่นเข้ามาแทรกเป็นระยะแต่รู้สึกว่ามันยังไม่เน้นทีก็เลยเริ่มจะฝืนไม่ไหว พอดูต่อไปเรื่อย ๆ เห็นว่ามันยังวนอยู่เหมือนเดิมอีกเลยขอตัววูบหลับไปตอนที่คุณยายมิจาพบกับแก็งค์ผู้ปกครองเด็กแล้วก็ฟื้นกลับมาตอนคุณยายมิจากลับถึงบ้านแล้วเรียกหาหลานชายจากนั้นก็เริ่มที่จะจูนติดด้วยความอยากรู้ว่าเหตุการณ์มันจะไปยังไงต่อ ?
- ด้วยความที่คุณ Lee Chang-Dong เคยเป็นนักเขียนเขาให้ความสำคัญกับสารทุกสรรพสิ่งแล้วนำมาเรียบเรียงเป็นถ้อยคำเพื่อให้ตัวบทมีความเป็นมนุษย์ที่เข้าถึงได้ในความเป็นจริงแต่เรื่องนี้จะเด่นตรงเขาใส่ตัวตนความชอบลงไปในตัวคุณยายมิจาแต่ไม่ได้เจาะลึกลงไปในรากเหง้าเลยนึกไม่ออกว่าตัวตนของคุณยายเป็นคนอย่างไร ? ด้วยความที่เพศ , วัย , หรือ สถานะที่เป็นข้อจำกัดในสังคมจึงอนุมานลำบากว่าเธอคิดอะไร ? ซึ่งต่างจากเรื่องอื่นแค่ดูหน้าปุ๊ปก็รู้เลยว่าไอ้นี่เป็นคนแบบไหน ? แทนที่จะได้เห็นการไฝว้ตรง ๆ กลายมาเป็นต้องค่อย ๆ ประคับประคองไปด้วยความเอ็นดูและสงสารเมื่อเธอต้องมาเจอปัญหารายล้อมในชีวิตบั้นปลาย ถึงบางอย่างที่ทำจะผิดศีลธรรมแต่ด้วยระบบกลไกของมนุษย์เมื่อเกิดเรื่องกระทบถึงตัวจึงจำเป็นต้องทำเพื่อเอาตัวรอดหรือช่วยคนที่รักซึ่งนั่นก็คือ หลาน ของเธอ
- กระทั่งพอไปเตะปมสำคัญในตอนที่คุณยายไปหาหมอแล้วตรวจอาการพบว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ปุ๊ปกลายเป็นว่าประเด็นที่เหลืออย่างคดีเด็กสาวตุยก็ดีหรือการเข้าคอร์สเขียนบทกวีก็ตามต่างถาโถมพร้อมกันเหมือนนัดกันมา ไม่ว่าจะเป็น การที่แก็งค์ผู้ปกครองเด็กวานให้ช่วยไปเจรจากับแม่เด็กสาวผู้เสียชีวิตในเรื่องค่าเสียหาย , นายจ้างพิการที่อยากจะขึ้นสวรรค์ กระทั่ง พฤติกรรมลับลมคมในของหลานชายตัวดีย์ ทุกอย่างล้วนเป็นตัวเร่งให้คุณยายมิจาตัดสินใจทำอะไรบางอย่างที่คาดไม่ถึงรวมถึงการนึกอะไรเห็นอะไรแล้วหยิบปากกาขึ้นมาเขียนเช่นกัน
- ถึงปมแต่ละอย่างจะเริ่มเข้มข้นพร้อมกับตัวหนังก็เริ่มขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันคือปมของเด็กสาวจนอยากรู้แล้วว่าบทสรุปจะเป็นอย่างไร ? แต่ด้วยสไตล์การเล่าของคุณ Lee ที่ทราบแก่ใจว่าดูไปเรื่อย ๆ แวะหา Details ที่กูโปรยข้างทางก่อนเดี๋ยวก็ถึงเวลาที่รอคอยเองจนกระทั่งเข้าถึงโค้งสุดท้ายที่คุณยายมิจากระทำไปไม่ได้พีคถึงขั้นกระชากอารมณ์แต่ลำดับไม่ถูกว่าจะให้สาแก่ใจอย่างงดงามหรือจุกอกอย่างสุดซึ้งดี แค่คำถามที่คุณยายมิจามักถามครูนักเขียนเป็นระยะว่า การเขียนกวีต้องทำอย่างไร ? ผมก็รู้สึกเอะใจขึ้นมาทันที ไม่ใช่เพราะว่าอยากรู้คำตอบ แต่เป็นสัญญะจากการตั้งคำถามในเชิงเยินยอหรือเสียดสีโลกทุนนิยมก็สุดแท้แต่ ซึ่งท้ายที่สุดมันก็เป็นเพียงคำพูดไว้เพื่อปลอบประโลมหรือหาแสงเพื่อยกระดับสถานะให้คนฟังหลงเคลิ้มไปตามลมมากกว่าจะมองถึงใจความที่ซ่อนอยู่ข้างในที่เขาต้องการจะสื่อหรือผลักดันให้เป็นเรื่องของอาชีพที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like & Share บทความของผม EMistique เพื่อเป็นกำลังใจในการพรรณนาครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้