นักวิชาการห่วงการศึกษาไทย ตกต่ำ หลักสูตรเก่า ไม่พัฒนา จี้ศธ. ปฏิรูป มอบจังหวัดจัดการศึกษามากขึ้น
https://www.matichon.co.th/education/news_4817501
นักวิชาการห่วงการศึกษาไทย ตกต่ำ หลักสูตรเก่า ไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน จี้ศธ. เร่งปฏิรูป กระจายอำนาจจังหวัดจัดการศึกษามากขึ้น
เมื่อวันที่ 29 กันยายน นาย
เอกชัย กี่สุขพันธ์ อดีตประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า คุณภาพการศึกษาของไทย อยู่ในระดับที่น่ากังวล โดยเฉพาะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ยังมีปัญหาทั้งเรื่องการคิดวิเคราะห์ การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษที่ใช้ในการสื่อสารอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ เห็นได้จากคะแนนการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ ปิซ่า ที่นักเรียนไทยได้คะแนนต่ำในทุกรายวิชา ทั้งนี้ เมื่อการเรียนการสอนขาดคุณภาพตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว ก็มีผลกระทบไปถึงการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ทั้งอาชีวศึกษา อุดมศึกษา โดยเฉพาะระดับอาชีวะ ที่มีปัญเรื่องคุณภาพ หลักสูตรล้าสมัย เป็นหลักสูตรเก่าที่ใช้มานานกว่า 10 ปี รวมถึงยังมีปัญหาขาดแคลนครู ในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ
“
ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอเข้ามามีบทบาท ในการเรียนการสอนอย่างมาก แต่เด็กไทย ยังไม่สามารถเข้าถึงเรื่องเหล่านี้ ส่วนหนึ่งเพราะครู ขาดทักษะ ไม่สามารถแนะนำเด็ก ให้เรียนรู้การใช้เอไอได้ โดยเอไอเป็นเทคโนโลยีที่รวบรวมฐานข้อมูลไว้เยอะมากหากสามารถนำมาใช้ในการหาข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการค้นคว้าข้อมูลในการเรียนการสอน การวิจัย ก็จะมีประโยชน์กับการเรียนมากยิ่งขึ้น” นาย
เอกชัย กล่าว
นาย
เอกชัย กล่าวต่อว่า การจะยกระดับคุณภาพการศึกษาในปัจจุบันจะต้องเริ่มจากการมีความรู้ และนำความรู้มาทำซ้ำจนเกิดเป็นทักษะพัฒนาไปสู่ความสามารถที่เหนือกว่าทักษะ กลายเป็นสมรรถนะ ซึ่งสิ่งที่น่ากังวลในระดับอาชีวะและระดับอุดมศึกษาคือเรื่องของธุรกิจ เพราะ บุคลากรที่ผลิตออกไปสู่ตลาดแรงงานยังมีทักษะที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด เช่น วิศวกรที่มีความสามารถในการทำงานแต่ขาดในเรื่องของการสื่อสารภาษาอังกฤษ เป็นหนึ่งในปัญหาที่ทำให้การศึกษาไทยล้าหลัง ฉะนั้นตอนนี้อาจจะถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนให้การเรียนการสอนในระดับมัธยมขึ้นไปใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอนหลักเหมือนกับสาธารณรัฐสิงคโปร์ที่พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดเพราะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งนอกจากการใช้สื่อสารยังสามารถใช้ในการหาข้อมูลที่มาจากศูนย์กลางของโลกได้ ทำให้การเรียนการสอนพัฒนาขึ้นด้วยเช่นกัน
นาย
เอกชัย กล่าวต่อว่า ขณะที่ระดับอุดมศึกษาประเทศไทยกำลังประสบปัญหากับหลักสูตรวิชาที่ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่ตามยุคของโลก เพราะอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ปัจจุบันยังยึดหลักสูตรที่ตัวเองเรียนมานำมาสอนต่อให้นักศึกษา ซึ่งอาจารย์เหล่านี้ควรจะใช้ทักษะความรู้เดิมที่มีมาพัฒนาหลักสูตรให้เข้ากับโลกยุคปัจจุบัน เช่น อาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที สามารถนำเรื่องของเอไอมาพัฒนาเป็นหลักสูตรใหม่ขึ้นมาได้ เมื่อมีผู้ที่เข้ามาเรียนก็จะเกิดการส่งต่อความรู้และพัฒนาระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่องและต้องสร้างให้นักศึกษาไม่เก่งเฉพาะในศาสตร์ที่เรียนเพียงอย่างเดียวแต่ต้องเก่งในศาสตร์ที่เชื่อมโยงไปยังศาสตร์อื่นได้ด้วยเพื่อให้มีบุคลากรที่สามารถพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆขึ้นมาได้ต่อไปในอนาคต
“
ภาพรวมในเรื่องนี้ถือว่าเป็นไปในทิศทางที่ดี มหาวิทยาลัยมีความตื่นตัวในการสร้างหลักสูตรใหม่ๆมากยิ่งขึ้นและในปัจจุบันยังมีอาจารย์ที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่เล็งเห็นปัญหานี้มากขึ้นด้วยเช่นกัน เพียงแต่สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่คือเรื่องการเรียนการสอนที่ยังใช้วิธีบรรยายเพียงอย่างเดียวทำให้กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นได้เพียงเล็กน้อย ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับอุดมศึกษา เมื่อได้ลงมือทำก็จะต้องหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ทำให้จำได้จากการเอาไปใช้จริง ” นาย
เอกชัย กล่าว
นาย
เอกชัย กล่าวต่อว่า สำหรับสิ่งที่ควรจะเร่งปฏิรูป กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะต้องเร่งดำเนินการโดยด่วนคือการกระจายอำนาจให้จังหวัดมีส่วนในการดูแลการศึกษาของจังหวัดมากยิ่งขึ้น เพราะคนในแต่ละพื้นที่จะรู้ดีว่าสิ่งที่พื้นที่ตนเองกำลังต้องการคืออะไรและสามารถนำมาปรับเปลี่ยนเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อผลิตกำลังคนเพื่อมาพัฒนาสิ่งที่ต้องการในพื้นที่ได้
“
ควรให้แต่ละจังหวัดมีกรรมการนโยบายการศึกษาจังหวัดที่เข้ามากำกับดูแลและปรับอัตราส่วนของหลักสูตรแกนกลางที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนให้ลดลงเหลือเพียง 40% และเพิ่มหลักสูตรที่เหมาะกับท้องถิ่นเข้าไปในส่วนที่เหลือ อย่างเช่นในจังหวัดเชียงใหม่อาจจะมุ่งเน้นในการเรียน เรื่องของการเกษตร การท่องเที่ยว โดยไม่จำเป็นจะต้องผลิตบุคลากรในระดับปริญญาตรีเพียงอย่างเดียว อาจจะเพิ่มในส่วนของระดับอาชีวะให้เพิ่มขึ้น” นาย
เอกชัย กล่าว
นาย
เอกชัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้การประเมินครูในจังหวัดต่างๆต้องให้ทางจังหวัดเข้ามาดูแลในส่วนนี้ และส่วนกลางมีหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพื่อส่งให้ทุกจังหวัดแต่งตั้งกรรมการ ซึ่งอาจจะเป็นอาจารย์ตามภูมิภาคต่างๆในมหาวิทยาลัย ขึ้นมาดูผลงานครูตามหลักเกณฑ์เหล่านั้นเพื่อประเมินวิทยฐานะ โดยระบบนี้ในช่วงแรกอาจจะเจอปัญหาในการคัดเลือกคนไม่มีคุณภาพเข้ามา แต่เมื่อระบบทำงานไปสักพักคนที่ไม่มีคุณภาพเหล่านั้นก็จะถูกคัดออกไปเรื่อยๆ จนเหลือเพียงแต่คนที่มีคุณภาพในที่สุด
นาย
เอกชัย กล่าวต่อว่า อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญคือต้องปรับเปลี่ยน คือ รูปแบบของศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ให้กลายเป็นการจ้างงานแบบพนักงานราชการโดยให้เงินเดือนที่ระดับเทียบเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) และสัญญาจ้างทั้งหมด 4 ปีเพื่อเข้ามาดูแลคุณภาพการศึกษาของจังหวัดโดยเฉพาะ ซึ่งกรรมการนโยบายการศึกษาจังหวัดที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาจะต้องเข้ามาประเมินผลงานของ ศธจ. ที่ถูกจ้าง หากไม่สามารถยกระดับของโรงเรียนในจังหวัดให้มีคุณภาพได้ก็เลิกจ้างได้ทันที เช่นเดียวกับผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ที่จะต้องไม่ถูกควบคุมโดยส่วนกลางแต่ควรจะอยู่ในการกำกับดูแลของจังหวัดเพราะเมื่อเกิดปัญหาจะสามารถจัดการได้ทันที ถ้าทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นจริงได้ ต่อไปนี้จะมีคนเข้ามารับผิดชอบการศึกษาของจังหวัดอย่างแท้จริง
ลุ้นวันนี้ สว.ถก กม.ประชามติ จ่อใช้เสียง ข้างมากสองชั้น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4818635
ลุ้นวันนี้ สว.ถก กม.ประชามติ จ่อใช้เสียงข้างมากสองชั้น
เมื่อวันที่ 29 กันยายน รายงานข่าวแจ้งว่า วันที่ 30 กันยายนนี้ จะมีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ… วุฒิสภา ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว กมธ.เสียงส่วนมากแก้ไขหลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติ ต้องใช้เสียงสองชั้น ต่างจากร่างของส.ส.
นาง
อังคณา นีละไพจิตร สว. กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรก เพราะการใช้เสียงข้างมากสองชั้นนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงที่ทุกคนเห็นร่วมกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความจำเป็นต้องแก้ไข แปลกใจ เพราะการพิจารณากมธ.เห็นด้วยกับร่างของสส.มาโดยตลอด จนมาถึงการประชุมครั้งสุดท้าย เป็นการสรุปร่างพ.ร.บ. กลับมีคนเสนอมติ แปลกมากว่าเกิดอะไรขึ้น สว.มีอิสระจริงหรือไม่ สว.พิจารณาตามผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักหรือไม่
“
ยืนยันชัดเจนว่าดิฉันไม่อาจจะเห็นด้วยได้ เพราะการกลับมติที่เคยมี การไม่เห็นด้วยกับร่างสส. จะทำให้ร่างพ.ร.บ.ประชามติล่าช้า ไม่ทันการเลือกตั้ง อบจ.เดือนกุมภาพันธ์ ไม่ทันการแก้ไขรัฐธรรมนูญในรัฐบาลชุดนี้ที่แถลงไว้ชัดเจนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่หากตั้งแต่จุดเริ่มต้นคือพ.ร.บ.ประชามติไม่ผ่านก็จบ ถามว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร” นาง
อังคณา กล่าว
เมื่อถามว่า ได้มีการคุยกับเพื่อนสมาชิกนอกรอบบ้างหรือไม่ ว่าเห็นประเด็นนี้อย่างไรบ้าง นางอังคณา กล่าวว่า ได้พูดคุยกับกลุ่มอิสระหลายคน รวมถึงได้คุยกับกมธ.มาจากกลุ่มอิสระ แม้จะอภิปรายในชั้นกมธ.ไม่เห็นด้วยกับการใช้เสียงข้างมาก แต่เมื่อถึงเวลาโหวตกลับยกมือโหวตให้ ตนก็งงว่าจุดยืนของเขาอยู่ตรงไหน การโหวตวาระ 2-3 เขาจะโหวตอย่างไร
เมื่อถามว่า มองอย่างไรหากต้องตั้งกมธ.ร่วมระหว่างสว.กับสส. นาง
อังคณา กล่าวว่า อยู่ทั้งสส.และสว.ที่เป็นกมธ.ร่วมจะทำให้ยืดเยื้อหรือเร่งรัด ต้องใช้เวลา หากกมธ.ร่วมพิจารณาเสร็จแล้ว แล้วโชคดีเห็นตามร่างของสส. ก็ต้องใช้เวลาอีก 60 วัน พ.ร.บ.ฉบับนี้จึงจะมีผลบังคับใช้ นั่นคือต้องพิจารณาเสร็จและประกาศใช้ภายในต้นเดือนธันวาคม จึงจะใช้ได้ทันการเลือกตั้งอบจ.เดือนกุมภาพันธ์
นาย
วิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกมธ.พิจารณาร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ พ.ศ. วุฒิสภา เสียงข้างมาก แก้ไขหลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติต้องใช้เสียงสองชั้นต่างจากร่างของสส.ว่า ตนไม่ขอวิจารณ์การทำงานของสว. เพราะถือเป็นหน้าที่เขา แต่หากที่สุดแล้วที่ประชุมสว.มีมติอะไรต่างจากร่างสส.เสนอ ก็ต้องตั้งกมธ.ร่วมของรัฐสภา เพื่อให้ได้กฎหมายที่มีความเห็นร่วมของทั้งสองสภา อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้การดำเนินการอะไรในสภาฯ ต้องให้หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลคุยกันก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าจะเสนอกฎหมายอะไร อย่างไร เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากนั้นจึงนำเข้าสู่ที่ประชุมวิปรัฐบาลเพื่อเป็นมติ จะได้ไม่มีปัญหาอีก แต่ตนเชื่อว่าทุกอย่างจะจบได้ด้วยการเจรจา
เปิดตลาดวันนี้ บาทแข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 32.37 ชี้หลุดทุกโซนแนวรับ ที่เคยประเมินไว้ หวั่นแตะ 32 บาท
https://www.matichon.co.th/economy/news_4818891
เปิดตลาดวันนี้ บาทแข็งค่าขึ้นอีก แตะระดับ 32.37 ชี้หลุดทุกโซนแนวรับที่เคยประเมินไว้ หวั่นแตะ 32 บาทสัปดาห์นี้ รอลุ้นตัวเลขจ้างงานสหรัฐ
เมื่อวันที่ 30 กันยายน นาย
พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 32.37 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย” จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 32.40 บาทต่อดอลลาร์
โดยนับตั้งแต่ช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาทโดยรวมเคลื่อนไหวในกรอบ sideways แต่ก็มีจังหวะแข็งค่าขึ้น จนทะลุโซนแนวรับ 32.30 บาทต่อดอลลาร์
(แกว่งตัวในกรอบ 32.27-32.42 บาทต่อดอลลาร์) ตามจังหวะการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ที่มาพร้อมการปรับตัวขึ้นบ้างของราคาทองคำ หลังอัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐฯ เดือนสิงหาคม ชะลอตัวลงต่อเนื่อง และออกมาต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงมีความหวังต่อแนวโน้มการเร่งลดดอกเบี้ยของเฟด อย่างไรก็ดี เงินบาทก็พลิกกลับมาอ่อนค่าลงบ้าง หลังเงินดอลลาร์ทยอยแข็งค่าขึ้นตามบรรยากาศในตลาดการเงินสหรัฐฯ ที่ผู้เล่นในตลาดยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ส่วนราคาทองคำก็ปรับตัวลงราว -20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตามแรงขายทำกำไรและจังหวะการปรับตัวขึ้นของเงินดอลลาร์ เปิดโอกาสให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนยังคงทยอยเข้าซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ยังคงร้อนแรงอยู่ อีกทั้ง ผู้เล่นในตลาดต่างคงคาดหวังว่าเฟดจะสามารถเร่งลดดอกเบี้ยได้มากกว่าที่ระบุไว้ใน Dot Plot ล่าสุด
JJNY : นักวิชาการจี้ศธ. ปฏิรูป│ลุ้นวันนี้ สว.ถก กม.ประชามติ│บาทแข็งค่าขึ้น ชี้หลุดทุกโซน│ยอดเสียชีวิตเฮลีนเพิ่มเป็น 90
https://www.matichon.co.th/education/news_4817501
นักวิชาการห่วงการศึกษาไทย ตกต่ำ หลักสูตรเก่า ไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน จี้ศธ. เร่งปฏิรูป กระจายอำนาจจังหวัดจัดการศึกษามากขึ้น
เมื่อวันที่ 29 กันยายน นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ อดีตประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า คุณภาพการศึกษาของไทย อยู่ในระดับที่น่ากังวล โดยเฉพาะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ยังมีปัญหาทั้งเรื่องการคิดวิเคราะห์ การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษที่ใช้ในการสื่อสารอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ เห็นได้จากคะแนนการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ ปิซ่า ที่นักเรียนไทยได้คะแนนต่ำในทุกรายวิชา ทั้งนี้ เมื่อการเรียนการสอนขาดคุณภาพตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว ก็มีผลกระทบไปถึงการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ทั้งอาชีวศึกษา อุดมศึกษา โดยเฉพาะระดับอาชีวะ ที่มีปัญเรื่องคุณภาพ หลักสูตรล้าสมัย เป็นหลักสูตรเก่าที่ใช้มานานกว่า 10 ปี รวมถึงยังมีปัญหาขาดแคลนครู ในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ
“ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอเข้ามามีบทบาท ในการเรียนการสอนอย่างมาก แต่เด็กไทย ยังไม่สามารถเข้าถึงเรื่องเหล่านี้ ส่วนหนึ่งเพราะครู ขาดทักษะ ไม่สามารถแนะนำเด็ก ให้เรียนรู้การใช้เอไอได้ โดยเอไอเป็นเทคโนโลยีที่รวบรวมฐานข้อมูลไว้เยอะมากหากสามารถนำมาใช้ในการหาข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการค้นคว้าข้อมูลในการเรียนการสอน การวิจัย ก็จะมีประโยชน์กับการเรียนมากยิ่งขึ้น” นายเอกชัย กล่าว
นายเอกชัย กล่าวต่อว่า การจะยกระดับคุณภาพการศึกษาในปัจจุบันจะต้องเริ่มจากการมีความรู้ และนำความรู้มาทำซ้ำจนเกิดเป็นทักษะพัฒนาไปสู่ความสามารถที่เหนือกว่าทักษะ กลายเป็นสมรรถนะ ซึ่งสิ่งที่น่ากังวลในระดับอาชีวะและระดับอุดมศึกษาคือเรื่องของธุรกิจ เพราะ บุคลากรที่ผลิตออกไปสู่ตลาดแรงงานยังมีทักษะที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด เช่น วิศวกรที่มีความสามารถในการทำงานแต่ขาดในเรื่องของการสื่อสารภาษาอังกฤษ เป็นหนึ่งในปัญหาที่ทำให้การศึกษาไทยล้าหลัง ฉะนั้นตอนนี้อาจจะถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนให้การเรียนการสอนในระดับมัธยมขึ้นไปใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอนหลักเหมือนกับสาธารณรัฐสิงคโปร์ที่พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดเพราะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งนอกจากการใช้สื่อสารยังสามารถใช้ในการหาข้อมูลที่มาจากศูนย์กลางของโลกได้ ทำให้การเรียนการสอนพัฒนาขึ้นด้วยเช่นกัน
นายเอกชัย กล่าวต่อว่า ขณะที่ระดับอุดมศึกษาประเทศไทยกำลังประสบปัญหากับหลักสูตรวิชาที่ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่ตามยุคของโลก เพราะอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ปัจจุบันยังยึดหลักสูตรที่ตัวเองเรียนมานำมาสอนต่อให้นักศึกษา ซึ่งอาจารย์เหล่านี้ควรจะใช้ทักษะความรู้เดิมที่มีมาพัฒนาหลักสูตรให้เข้ากับโลกยุคปัจจุบัน เช่น อาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที สามารถนำเรื่องของเอไอมาพัฒนาเป็นหลักสูตรใหม่ขึ้นมาได้ เมื่อมีผู้ที่เข้ามาเรียนก็จะเกิดการส่งต่อความรู้และพัฒนาระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่องและต้องสร้างให้นักศึกษาไม่เก่งเฉพาะในศาสตร์ที่เรียนเพียงอย่างเดียวแต่ต้องเก่งในศาสตร์ที่เชื่อมโยงไปยังศาสตร์อื่นได้ด้วยเพื่อให้มีบุคลากรที่สามารถพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆขึ้นมาได้ต่อไปในอนาคต
“ภาพรวมในเรื่องนี้ถือว่าเป็นไปในทิศทางที่ดี มหาวิทยาลัยมีความตื่นตัวในการสร้างหลักสูตรใหม่ๆมากยิ่งขึ้นและในปัจจุบันยังมีอาจารย์ที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่เล็งเห็นปัญหานี้มากขึ้นด้วยเช่นกัน เพียงแต่สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่คือเรื่องการเรียนการสอนที่ยังใช้วิธีบรรยายเพียงอย่างเดียวทำให้กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นได้เพียงเล็กน้อย ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับอุดมศึกษา เมื่อได้ลงมือทำก็จะต้องหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ทำให้จำได้จากการเอาไปใช้จริง ” นายเอกชัย กล่าว
นายเอกชัย กล่าวต่อว่า สำหรับสิ่งที่ควรจะเร่งปฏิรูป กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะต้องเร่งดำเนินการโดยด่วนคือการกระจายอำนาจให้จังหวัดมีส่วนในการดูแลการศึกษาของจังหวัดมากยิ่งขึ้น เพราะคนในแต่ละพื้นที่จะรู้ดีว่าสิ่งที่พื้นที่ตนเองกำลังต้องการคืออะไรและสามารถนำมาปรับเปลี่ยนเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อผลิตกำลังคนเพื่อมาพัฒนาสิ่งที่ต้องการในพื้นที่ได้
“ควรให้แต่ละจังหวัดมีกรรมการนโยบายการศึกษาจังหวัดที่เข้ามากำกับดูแลและปรับอัตราส่วนของหลักสูตรแกนกลางที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนให้ลดลงเหลือเพียง 40% และเพิ่มหลักสูตรที่เหมาะกับท้องถิ่นเข้าไปในส่วนที่เหลือ อย่างเช่นในจังหวัดเชียงใหม่อาจจะมุ่งเน้นในการเรียน เรื่องของการเกษตร การท่องเที่ยว โดยไม่จำเป็นจะต้องผลิตบุคลากรในระดับปริญญาตรีเพียงอย่างเดียว อาจจะเพิ่มในส่วนของระดับอาชีวะให้เพิ่มขึ้น” นายเอกชัย กล่าว
นายเอกชัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้การประเมินครูในจังหวัดต่างๆต้องให้ทางจังหวัดเข้ามาดูแลในส่วนนี้ และส่วนกลางมีหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพื่อส่งให้ทุกจังหวัดแต่งตั้งกรรมการ ซึ่งอาจจะเป็นอาจารย์ตามภูมิภาคต่างๆในมหาวิทยาลัย ขึ้นมาดูผลงานครูตามหลักเกณฑ์เหล่านั้นเพื่อประเมินวิทยฐานะ โดยระบบนี้ในช่วงแรกอาจจะเจอปัญหาในการคัดเลือกคนไม่มีคุณภาพเข้ามา แต่เมื่อระบบทำงานไปสักพักคนที่ไม่มีคุณภาพเหล่านั้นก็จะถูกคัดออกไปเรื่อยๆ จนเหลือเพียงแต่คนที่มีคุณภาพในที่สุด
นายเอกชัย กล่าวต่อว่า อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญคือต้องปรับเปลี่ยน คือ รูปแบบของศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ให้กลายเป็นการจ้างงานแบบพนักงานราชการโดยให้เงินเดือนที่ระดับเทียบเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) และสัญญาจ้างทั้งหมด 4 ปีเพื่อเข้ามาดูแลคุณภาพการศึกษาของจังหวัดโดยเฉพาะ ซึ่งกรรมการนโยบายการศึกษาจังหวัดที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาจะต้องเข้ามาประเมินผลงานของ ศธจ. ที่ถูกจ้าง หากไม่สามารถยกระดับของโรงเรียนในจังหวัดให้มีคุณภาพได้ก็เลิกจ้างได้ทันที เช่นเดียวกับผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ที่จะต้องไม่ถูกควบคุมโดยส่วนกลางแต่ควรจะอยู่ในการกำกับดูแลของจังหวัดเพราะเมื่อเกิดปัญหาจะสามารถจัดการได้ทันที ถ้าทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นจริงได้ ต่อไปนี้จะมีคนเข้ามารับผิดชอบการศึกษาของจังหวัดอย่างแท้จริง
ลุ้นวันนี้ สว.ถก กม.ประชามติ จ่อใช้เสียง ข้างมากสองชั้น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4818635
ลุ้นวันนี้ สว.ถก กม.ประชามติ จ่อใช้เสียงข้างมากสองชั้น
เมื่อวันที่ 29 กันยายน รายงานข่าวแจ้งว่า วันที่ 30 กันยายนนี้ จะมีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ… วุฒิสภา ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว กมธ.เสียงส่วนมากแก้ไขหลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติ ต้องใช้เสียงสองชั้น ต่างจากร่างของส.ส.
นางอังคณา นีละไพจิตร สว. กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรก เพราะการใช้เสียงข้างมากสองชั้นนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงที่ทุกคนเห็นร่วมกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความจำเป็นต้องแก้ไข แปลกใจ เพราะการพิจารณากมธ.เห็นด้วยกับร่างของสส.มาโดยตลอด จนมาถึงการประชุมครั้งสุดท้าย เป็นการสรุปร่างพ.ร.บ. กลับมีคนเสนอมติ แปลกมากว่าเกิดอะไรขึ้น สว.มีอิสระจริงหรือไม่ สว.พิจารณาตามผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักหรือไม่
“ยืนยันชัดเจนว่าดิฉันไม่อาจจะเห็นด้วยได้ เพราะการกลับมติที่เคยมี การไม่เห็นด้วยกับร่างสส. จะทำให้ร่างพ.ร.บ.ประชามติล่าช้า ไม่ทันการเลือกตั้ง อบจ.เดือนกุมภาพันธ์ ไม่ทันการแก้ไขรัฐธรรมนูญในรัฐบาลชุดนี้ที่แถลงไว้ชัดเจนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่หากตั้งแต่จุดเริ่มต้นคือพ.ร.บ.ประชามติไม่ผ่านก็จบ ถามว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร” นางอังคณา กล่าว
เมื่อถามว่า ได้มีการคุยกับเพื่อนสมาชิกนอกรอบบ้างหรือไม่ ว่าเห็นประเด็นนี้อย่างไรบ้าง นางอังคณา กล่าวว่า ได้พูดคุยกับกลุ่มอิสระหลายคน รวมถึงได้คุยกับกมธ.มาจากกลุ่มอิสระ แม้จะอภิปรายในชั้นกมธ.ไม่เห็นด้วยกับการใช้เสียงข้างมาก แต่เมื่อถึงเวลาโหวตกลับยกมือโหวตให้ ตนก็งงว่าจุดยืนของเขาอยู่ตรงไหน การโหวตวาระ 2-3 เขาจะโหวตอย่างไร
เมื่อถามว่า มองอย่างไรหากต้องตั้งกมธ.ร่วมระหว่างสว.กับสส. นางอังคณา กล่าวว่า อยู่ทั้งสส.และสว.ที่เป็นกมธ.ร่วมจะทำให้ยืดเยื้อหรือเร่งรัด ต้องใช้เวลา หากกมธ.ร่วมพิจารณาเสร็จแล้ว แล้วโชคดีเห็นตามร่างของสส. ก็ต้องใช้เวลาอีก 60 วัน พ.ร.บ.ฉบับนี้จึงจะมีผลบังคับใช้ นั่นคือต้องพิจารณาเสร็จและประกาศใช้ภายในต้นเดือนธันวาคม จึงจะใช้ได้ทันการเลือกตั้งอบจ.เดือนกุมภาพันธ์
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกมธ.พิจารณาร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ พ.ศ. วุฒิสภา เสียงข้างมาก แก้ไขหลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติต้องใช้เสียงสองชั้นต่างจากร่างของสส.ว่า ตนไม่ขอวิจารณ์การทำงานของสว. เพราะถือเป็นหน้าที่เขา แต่หากที่สุดแล้วที่ประชุมสว.มีมติอะไรต่างจากร่างสส.เสนอ ก็ต้องตั้งกมธ.ร่วมของรัฐสภา เพื่อให้ได้กฎหมายที่มีความเห็นร่วมของทั้งสองสภา อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้การดำเนินการอะไรในสภาฯ ต้องให้หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลคุยกันก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าจะเสนอกฎหมายอะไร อย่างไร เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากนั้นจึงนำเข้าสู่ที่ประชุมวิปรัฐบาลเพื่อเป็นมติ จะได้ไม่มีปัญหาอีก แต่ตนเชื่อว่าทุกอย่างจะจบได้ด้วยการเจรจา
เปิดตลาดวันนี้ บาทแข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 32.37 ชี้หลุดทุกโซนแนวรับ ที่เคยประเมินไว้ หวั่นแตะ 32 บาท
https://www.matichon.co.th/economy/news_4818891
เปิดตลาดวันนี้ บาทแข็งค่าขึ้นอีก แตะระดับ 32.37 ชี้หลุดทุกโซนแนวรับที่เคยประเมินไว้ หวั่นแตะ 32 บาทสัปดาห์นี้ รอลุ้นตัวเลขจ้างงานสหรัฐ
เมื่อวันที่ 30 กันยายน นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 32.37 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย” จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 32.40 บาทต่อดอลลาร์
โดยนับตั้งแต่ช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาทโดยรวมเคลื่อนไหวในกรอบ sideways แต่ก็มีจังหวะแข็งค่าขึ้น จนทะลุโซนแนวรับ 32.30 บาทต่อดอลลาร์
(แกว่งตัวในกรอบ 32.27-32.42 บาทต่อดอลลาร์) ตามจังหวะการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ที่มาพร้อมการปรับตัวขึ้นบ้างของราคาทองคำ หลังอัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐฯ เดือนสิงหาคม ชะลอตัวลงต่อเนื่อง และออกมาต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงมีความหวังต่อแนวโน้มการเร่งลดดอกเบี้ยของเฟด อย่างไรก็ดี เงินบาทก็พลิกกลับมาอ่อนค่าลงบ้าง หลังเงินดอลลาร์ทยอยแข็งค่าขึ้นตามบรรยากาศในตลาดการเงินสหรัฐฯ ที่ผู้เล่นในตลาดยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ส่วนราคาทองคำก็ปรับตัวลงราว -20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตามแรงขายทำกำไรและจังหวะการปรับตัวขึ้นของเงินดอลลาร์ เปิดโอกาสให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนยังคงทยอยเข้าซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ยังคงร้อนแรงอยู่ อีกทั้ง ผู้เล่นในตลาดต่างคงคาดหวังว่าเฟดจะสามารถเร่งลดดอกเบี้ยได้มากกว่าที่ระบุไว้ใน Dot Plot ล่าสุด