ฮอร์โมนหิว ฮอร์โมนอิ่ม !!!! ช่วยควบคุมการอยากอาหารและพฤติกรมการกินของเราได้อย่างไร





ในร่างกายเรามีฮอร์โมนที่คอยส่งสัญญานควบคุมความอยากอาหาร อยู่ในกระแสเลือด การทําความเข้าใจกลไกทํางานของฮอร์โมนโดยเน้นบทบาทในการควบคุมนํ้าหนัก และอธิบายว่าทำไมสิ่งที่แทรกแซงซึ่งมีกลไกการทำงานเพื่อจัดการกระบวนการทางชีวภาพอันเป็นสาเหตุจึงจําเป็นในการรักษาภาวะโรคอ้วนอย่างมีประสิทธิภาพ

หลังรับประทานอาหาร เราไม่ได้เป็นผู้ที่ตัดสินใจว่าจะหิวหรืออิ่มใช่ไหม เราเพียงแค่รู้สึกได้ถึงความรู้สึกเหล่านั้นเมื่อได้เวลา แล้วจึงทำตามความรู้สึก

และเราไม่อาจอธิบายได้ว่าทำไมเราจึงเลือกที่จะรับประทานช็อกโกแลตเป็นอาหารว่างยามบ่ายมากกว่าแอปเปิ้ลเขียว ในขณะที่ยามเช้าเราตั้งใจแน่วแน่ที่จะกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

เมื่อเราไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการรับประทานและการเลือกอาหารเองได้ มีหลายครั้งที่การรับประทานอาหารขัดกับความตั้งใจของเรา แผนการรับประทานอาหาร อะไรคือสิ่งที่ควบคุมความรู้สึกนี้และมีการทํางานอย่างไร

เคมีในสมองที่ทําให้เรารู้สึกหิวหรืออิ่ม
“ความต้องการที่จะสร้างพลังงานคือตัวกระตุ้นของร่างกาย เพราะเราทุกคนต้องการอาหารเพื่ออยู่รอด จึงไม่น่าแปลกใจที่ร่างกายของเรามีระบบควบคุมการบริโภคอาหารที่ซับซ้อนซึ่งขับเคลื่อนโดยฮอร์โมน" Joseph Proietto ศาสตราจารย์สาขาอายุรศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นกล่าว

ดูเหมือนว่าฮอร์โมนทําหน้าที่เหมือนตัวส่งสัญญาณเคมีระหว่างร่างกายและสมองที่ประสานพฤติกรรมการบริโภคและการเลือกอาหารของเรา

ฮอร์โมนเหล่านี้ไหลเวียนอยู่ในเลือดและมาจากเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคและการเก็บรักษาพลังงาน รวมถึงลําไส้ (ที่รับและย่อยอาหาร) เนื้อเยื่อไขมัน (ซึ่งเก็บพลังงานในรูปไขมัน) และตับอ่อน (ซึ่งผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บพลังงาน เช่น อินซูลิน)

ฮอร์โมนบางชนิดมีหน้าที่กระตุ้นความหิว (เราเรียกฮอร์โมนเหล่านี้ว่า “ฮอร์โมนกระตุ้นความหิว”) ในขณะที่ฮอร์โมนชนิดอื่น ๆ ทําให้เรารู้สึกอิ่ม (เราจะเรียกว่า “ฮอร์โมนกระตุ้นความอิ่ม”)

ด้านล่างนี้เป็นภาพฮอร์โมนแบบง่าย ๆ ที่อธิบายการควบคุมความอยากอาหาร ในนั้นคุณจะเห็นได้ว่าฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ถูกปล่อยออกมาจากร่างกายได้อย่างไร และส่งผลต่อความอยากอาหารของคุณอย่างไร

เมื่ออิ่มแล้ว กระเพาะอาหารจะลดความต้องการที่จะรับประทานอาหารของเราลงโดยการผลิตฮอร์โมนกระตุ้นความหิวให้น้อยลง และส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อทําให้เราหยุดรับประทานอาหาร ในขณะเดียวกัน ระดับของฮอร์โมนกระตุ้นความอิ่มจะเพิ่มขึ้นหลังรับประทานอาหารและเพิ่มสูงสุดในระหว่าง 30 ถึง 60 นาทีหลังจากนั้น

การทํางานสอดประสานกันอย่างต่อเนื่องของสัญญาณจากฮอร์โมนกระตุ้นความหิวและกระตุ้นความอิ่มนี้เองที่ช่วยสมองควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเรา ฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งสามารถควบคุมการเลือกอาหารของเราและกระตุ้นให้เรารับประทานอาหารแม้ร่างกายจะไม่หิวก็ตาม

การลดนํ้าหนักส่งผลต่อฮอร์โมนของเราอย่างไร
ดูเหมือนว่าระดับฮอร์โมนจะเปลี่ยนแปลงเช่นกันเมื่อเราลดนํ้าหนัก มีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าการลดนํ้าหนักโดยควบคุมอาหารนั้น มีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนซึ่งทำให้น้ำหนักตัวดีดกลับมาเท่าเดิม

หลังจากนํ้าหนักตัวลดลง ระดับฮอร์โมนกระตุ้นความอิ่มจะลดลงและระดับฮอร์โมนกระตุ้นความหิวจะเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นําไปสู่ความหิวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลดความรู้สึกอิ่มและเผาผลาญแคลอรีได้น้อยลง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจอยู่กับเราไปอีกนานถึงสามปี และอาจเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลที่ว่าทําไมคน 8 ใน 10 คนน้ำหนักตัวดีดกลับมาเท่าเดิมในระยะยาว

ผลการค้นพบเหล่านี้บ่งชี้ว่าการกดความหิวหลังจากนํ้าหนักตัวลด อาจช่วยให้ผู้คนรักษาระดับนํ้าหนักใหม่ได้

การทํางานเกี่ยวกับฮอร์โมนของคุณ
สิ่งสําคัญคือต้องจําไว้ว่าเราไม่สามารถควบคุมฮอร์โมนของเราได้ เมื่อเรารู้สึกหิว เป็นเรื่องยากมากที่จะไม่รับประทานอาหาร แม้ว่าเราจะไม่อยากรับประทานมากขนาดไหนก็ตาม แต่การเรียนรู้กลไกการทำงานของฮอร์โมนของเราช่วยให้เราเข้าใจประเภทสิ่งแทรกแซงและและกลยุทธ์ที่อาจจําเป็นในการจัดการนํ้าหนักของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบคุณข้อมูล
TrueAboutWeight
#โรคอ้วน #Obesity
#หมอกัลแบ่งปันสุขภาพดี no
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่