โรม ตั้งฉายา ครม.โควต้าครอบครัว อัดเก้าอี้ดนตรี เป็นส่วนผสมที่ไม่ตอบโจทย์วิกฤตชาติ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4773472
‘โรม’ ตั้งฉายารัฐบาลใหม่ เป็น ‘ครม.โควต้าครอบครัว’ เหน็บ ‘อุ๊งอิ๊ง’ ไม่รู้นายกฯหรือเปล่า ซัดเก้าอี้ดนตรี เป็นกันไม่ได้ ก็เอา ลูก-พ่อ-น้อง-เพื่อน มาเป็น ส่วนตัวจริงอยู่เงามืดหลังฉาก ไม่ตอบโจทย์วิกฤตชาติ มองหน้าตาก๊อบวาง ‘รัฐบาลเศรษฐา’ มองแถลงนโยบาย ไม่ต้องจริงจังก็ได้ เพราะ 22 สิงหา มีคนแถลงไปหมดแล้ว
เมื่อวันที่ 4 กันยายน ที่รัฐสภา นาย
รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน กล่าวถึงหน้าตาคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ “
แพทองธาร 1” ว่า เป็น “
ครม.โควต้าครอบครัว” ที่เราจะเห็นว่า เมื่อลูกเป็นไม่ได้ ก็ให้พ่อมาเป็น เอาน้อง เอาเพื่อน มาเป็น ซึ่งยอมรับว่าเมื่อพูดถึงการเมือง เราก็อยากได้คนที่มีความสามารถตรงกับเรื่องนั้น เมื่อเจอเรื่องจริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ประจักษ์ ที่เป็นการตีความอย่างกว้างของศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีของ นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ทำให้สุดท้ายกลายเป็น ครม.เก้าอี้ดนตรี หมุนเวียนกันไป ทำให้ตนไม่มั่นใจว่า คนที่มานั่งเป็นรัฐมนตรี เป็นตัวจริงหรือไม่ หรือจะต้องมีคนที่อยู่เบื้องหลัง อาจไม่ได้เป็นตัวแสดงจริง ทำให้การบริหารราชการแผ่นดิน อาจมีปัญหาต่อไป และทำให้การตรวจสอบของฝ่ายค้านทำได้ยากยิ่งขึ้น สุดท้าย ที่เกิดขึ้นใน ครม.ชุดนี้ คือ “
ตัวจริงอยู่หลังฉาก ส่วนคนที่มาเป็นรัฐมนตรี ก็เป็นแค่ตัวแสดงเท่านั้น” ก็คงถูกวิพากษ์วิจารณ์ และหากในอนาคต มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เราต้องไปดูสุดท้ายจะยอมรับ ให้ระบบแบบนี้ดำเนินต่อไปในหรือไม่
เมื่อถามย้ำว่า คำว่า “
ครม.ครอบครัว” เกิดขึ้นตั้งแต่ตัวนายกรัฐมนตรี เลยใช่หรือไม่ นายรังสิมันต์กล่าวว่า สัปดาห์หน้า จะเป็นการแถลงนโยบาย แต่เราก็คงจะทราบแล้วว่า การแถลงนโยบายได้เกิดขึ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา ดังนั้นสัปดาห์หน้า จึงเป็นการแถลงนโยบายที่ไม่จำเป็นต้องจริงจังนัก เพราะถือว่าวันนั้น ได้แถลงให้สาธารณะทราบแล้ว และเราในฐานะฝ่ายค้าน ก็ติดตามตั้งคำถามกับนโยบายของรัฐบาล
นาย
รังสิมันต์กล่าวว่า ส่วนที่กล่าวกันว่าเป็นสมบัติผลัดกันชม หรือโควต้าครอบครัว ตนเชื่อว่า สังคมจำนวนมาก คงตั้งคำถามในลักษณะเดียวกัน ต้องยอมรับว่าพรรคเพื่อไทย ในการทำงานยุคของ นาย
เศรษฐา ทวีสิน มีนายกฯ 2 คน มาวันนี้ ไม่แน่ใจว่า เป็นนายกฯ 2 คน หรือคนหนึ่ง ซึ่งจะเป็นคุณอุ๊งอิ๊งหรือไม่ ตนไม่แน่ใจ สุดท้ายเรากำลังอยู่ในบรรยากาศ ที่การเมืองขาดเสถียรภาพ ขาดความแน่นอน และไม่รู้ว่าตกลงแล้วใครคือผู้ตัดสินใจ ทั้งนี้ การที่ผู้ที่ตัดสินใจ และไม่รับผิดชอบอะไรเลย มันจะสร้างปัญหาทางการเมืองอย่างแน่นอน เป็นข้อที่ตนกังวล
“
ตนเชื่อว่ารัฐบาลนี้ จะกังวลทุกอย่าง ไม่กล้าทำอะไร เพราะกลัวว่าจะผิดจริยธรรม กลัวโดนองค์กรอิสระ หรือศาลรัฐธรรมนูญเล่นงาน สุดท้ายก็จะเป็นรัฐบาลที่ทำอะไรไม่ได้เลย ดังนั้น โจทย์ของรัฐบาลนี้ คือจะแก้วิกฤตตรงหน้าที่ทำลายเสถียรภาพอย่างไร หากแก้ไม่ได้ ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ” นาย
รังสิมันต์กล่าว
ส่วนหน้าตาของรัฐมนตรีชุดนี้ ไปวัดไปวา หรือพอจะฝากผีฝากไข้ได้หรือไม่ นายรังสิมันต์กล่าวว่า หน้าตา ส่วนใหญ่ยังเป็นคนเดียว คำถามคือ ในยุคของนายเศรษฐา ไปได้ไกลแค่ไหน เป็นนายกฯเกือบปี นโยบายเรือธงที่สัญญาไว้กับประชาชน มีเรื่องไหนสำเร็จแล้วบ้าง คำถามที่ตามมาคือ คนเดิมที่มีอำนาจแบบเดิม จะทำสำเร็จได้อย่างไร
“
นอกจากนั้น ยังมีส่วนผสมใหม่ คนเดิม ที่ยังอยากจะเป็นรัฐมนตรีและเป็นไม่ได้ ต้องอยู่หลังฉาก อยู่ภายใต้เงามืด และต้องส่งตัวแทนมาทำ และจะทำหน้าที่ได้ดีอย่างไร ตนจึงคิดว่าส่วนผสมแบบนี้ ไม่ตอบโจทย์ของชาติที่เผชิญอยู่ ยังนึกไม่ออกว่ารัฐบาลจะสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนได้อย่างไร” นายรังสิมันต์กล่าว
ศุภณัฐ ลุกตัดงบกรมข้าว-กรมชลฯ หวดยับส่อทุจริต ปูดแทคติคกินส่วนต่าง ค่าแรงคนงาน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4773034
‘ศุภณัฐ’ หวด กรมการข้าว-กรมชลฯ ส่อทุจริต หวั่น โครงการใช้วิธีสุ่มเสี่ยงปั้นราคา เผยแทคติคทุจริตผ่านค่าแรงคนงาน
เมื่อวันที่ 4 กันยายน ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มี นาย
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานการประชุม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 วงเงิน 3.75 ล้านล้านบาท วาระ 2 เป็นวันที่ 2 ในมาตรา 14 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานในกำกับ จำนวน 36,297,406,700 บาท
นาย
ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. พรรคประชาชน อภิปรายว่า ตนขอแปรญัตติปรับลดงบประมาณกระทรวงเกษตรฯ พุ่งเป้าที่กรมการข้าว และกรมชลประทาน สำหรับกรมการข้าว มี 2 โครงการที่มีพฤติกรรมน่าสงสัย สุ่มเสี่ยงต่อการทุจริต คือโครงการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบบาดาล 13 จุด งบ 62 ล้านบาท ซึ่งมีการปรับลดในชั้นอนุฯไป 30.7 ล้านบาท เหลืออยู่ที่ 31.8 ล้านบาท และโครงการระบบสูบน้ำแบบระบบผิวดิน 480 ล้านบาท ปรับลดในชั้นอนุฯไป 65 ล้านบาท เหลือ 415 ล้านบาท รวม 2 โครงการ จะเป็นจำนวน 447 ล้านบาท ตอนตนนั่งอยู่ในอนุ กมธ.ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง อยากตัดทั้งโครงการแต่ไม่สำเร็จ ตัดได้แค่ 95 ล้านบาท
นาย
ศุภณัฐอภิปรายว่า ตนจึงขอเสนอแปรญัตติปรับลดตัดทั้งโครงการอีก เนื่องจากพฤติกรรมส่อทุจริตหลายอย่าง คือ 1.การได้มาซึ่งราคากลาง กรมการข้าว ใช้วิธีการสืบราคาทั้งโครงการทั้งก้อน ซึ่งวิธีนี้เสี่ยง มีโอกาสปั้นราคาได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ ความน่าเชื่อถือของ 3 บริษัท ที่กรมการข้าวไปสืบราคามา มีปัญหาร้ายแรง ตรงที่ทั้ง 3 บริษัท มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท แต่กลับเสนอตัวเองทำโครงการเกือบห้าร้อยล้านบาท ผู้เสนอราคาต่ำที่สุดมีรายได้เพียงแค่ 2,600,000 บาท ในปี 2565 เท่านั้น กรมการข้าวใช้ดุลพินิจแบบไหน ในการเลือกไปสอบถามบริษัทนี้ตั้งแต่แรก รวมถึงพฤติกรรมน่ากลัวกว่านั้นคือ ใบเสนอราคาของทั้ง 3 บริษัท หน้าตาเหมือนกันเป๊ะ แปลว่ามีโอกาสที่จะมีการปั้นราคาหรือไม่อย่างไร
นาย
ศุภณัฐได้แสดงเอกสารประกอบการอภิปราย ในส่วนโครงการของกรมชลประธาน เช่น งานดินขุด ดินถม งานบดอัดโดยใช้แรงคน เฉพาะค่าแรงมีสัดส่วนกว่า 30% โครงการซ่อมแซมคลองส่งน้ำ สาย 1R-1L-RMC กทม. 0+000 ความยาว 5.200 กม. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว งบรวม 15 ล้านบาท ซึ่งค่าแรงโครงการก็ปาไปแล้ว 4.6 ล้านบาท ถ้าสังเกตเรตการใช้แรงงานคนงาน จะมีอัตราเรตต่อหน่วย แพงกว่าการใช้เครื่องจักร 10 เท่า นี่คือส่วนต่าง และต้องบอกว่า ส่วนต่างมหาศาลนี้ ในการใช้แรงงานคน แทนการใช้เครื่องจักร คือส่วนต่างที่เกิดการทุจริต
นาย
ศุภณัฐกล่าวอีกว่า ที่หนักกว่าคือไม่ได้จ้างคนจริงๆ ในทางปฏิบัติ คือไปเรี่ยไรเอาบัตรประชาชนของพี่น้องแรงงานมา แล้วจ่ายเงินนิดหน่อย ส่วนที่เหลือนั้นพูดง่ายๆ คือ นำบัตรมาเซ็นรับเงิน พอรับเงินเสร็จแล้วก็เอาไปจ้างให้ผู้รับเหมามาใช้เครื่องจักรทำงานจริง พอค่าแรงส่วนต่างมันต่างกัน 10 เท่า ระหว่างการใช้คนกับเครื่องจักร นี่ก็เป็นส่วนต่างที่เป็นช่องทางในการคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่ ตนไม่ได้บอกว่าทุกโครงการที่ใช้เป็นแรงงานคนต้องมีการทุจริต และไม่ได้บอกว่าโครงการที่ตนเอามาโชว์ตรงนี้ทุจริต แต่คอนเซ็ปต์ที่ใช้อยู่ เป็นสารตั้งต้นทำให้เกิดการทุจริต ตนจึงขอปรับลดงบประมาณลง 5%
ปกรณ์วุฒิ ลุกตัดงบดีอี จัดงบซ้ำซ้อนปภ. ทำระบบเตือนภัย ข้องใจมีตั้งงบพีอาร์ถึง 10 ล้าน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4772953
‘ปกรณ์วุฒิ’ อัด ‘ดีอี’ จัดงบทำระบบเซลล์บรอดแคสต์ ซ้ำซ้อน ‘ปภ.’ ถาม หรือกรมป้องกันภัยไม่พร้อมทำระบบ เหน็บ บางครั้งอาจไม่จำเป็นต้องตั้งงบ เพียงแค่หน่วยงานไม่กล้ายอมรับว่าต้องงบซ้อน จึงต้องเหลือไว้
เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี พ.ศ.2568 วงเงิน 3.75 ล้านล้านบาท โดยเป็นการพิจารณาเรียงรายมาตราในวันที่ 2 นั้น
เวลา 13.00 น. เข้าสู่การพิจารณามาตรา 16 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) โดย นาย
ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) อภิปรายว่า แม้ตนจะเคยอภิปรายไว้ในวาระ 1 แล้วว่างบประมาณในส่วนของโครงการแจ้งเตือนฉุกเฉินแห่งชาติ หรือเซลล์บรอดแคสต์ ซ้ำซ้อนกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ของกระทรวงมหาดไทย และทางสำนักปลัดกระทรวงดีอีก็ แจ้งต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.)
วิสามัญพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 สภาผู้แทนราษฎร ว่าขอปรับลดงบประมาณลงด้วยตัวเองเหลือ 92.57 ล้านบาท ลดลงกว่า 73 เปอร์เซ็นต์
นาย
ปกรณ์วุฒิกล่าวต่อว่า ส่วนงบประมาณที่เหลืออยู่ก็ถูกนำมาใช้กับรายการอื่นๆ เช่น ค่าเช่าบริการคลาวด์ ค่าเช่าสัญญาณสื่อสารเชื่อมซีบีอีไปยังระบบคลาวด์ 4 รายการ ประมาณ 21.5 ล้านบาท จึงมีคำถามว่าระบบคลาวด์เหล่านี้นำไปเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เพราะรายละเอียดโครงการของ ปภ.ก็ตั้งงบเซิร์ฟเวอร์ในการเก็บข้อมูลไว้อยู่แล้ว หากไม่มีงบในส่วนนี้จะทำให้ระบบเซลล์บรอดแคสต์ของ ปภ.ไม่สามารถทำงานได้หรือ หรือหากเพิ่มในส่วนนี้ มาจะทำให้ระบบเซลล์บรอดแคสต์ประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพียงไร อย่างไร ซึ่งงบก้อนนี้ไม่ใช่แค่ 21.5 ล้านบาทเท่านั้น เพราะเมื่อมีการตั้งงบประมาณในการเช่าระบบคลาวด์ก็จะมีค่าเช่าอื่นๆ ตามมา เช่น ค่าจ้างที่ปรึกษาฯ
“
รายการที่ผมสงสัยที่สุดที่มีการตั้งงบประมาณ 45 ล้านบาท คือค่าเช่าทรัพย์สิน คำถามคือค่าเช่าทรัพย์สินอะไร ทำไมจึงมีการตั้งงบไว้สูงเช่นนี้ และสิ่งที่อยากได้คำตอบคือค่าเช่าระบบคลาวด์จำนวน 21.5 ล้านบาทนั้น เป็นค่าเช่ารายปี รายสองปี หรือเท่าไหร่ เช่นเดียวกับค่าเช่าทรัพย์สินที่มีการตั้งงบประมาณไว้ถึง 45 ล้านบาท เราจำเป็นต้องใช้งบประมาณจ่ายค่าเช่าเหล่านี้เป็นภาระงบประมาณเรื่อยๆ ใช่หรือไม่ ที่ผมต้องถามคำถามเยอะเช่นนี้ เพราะเอกสารที่ทางหน่วยงานส่งมาให้กมธ.มีแค่นิดเดียว ซึ่งกว่าที่หน่วยงานจะส่งเอกสารมาเพิ่มให้ กมธ.ก็พิจารณาเสร็จแล้ว และผมก็ถามอนุ กมธ.แล้วว่าได้พิจารณาโครงการต่างๆ ที่มีการเหลืองบประมาณไว้ 92 ล้านบาทอย่างไรบ้าง” นาย
ปกรณ์วุฒิกล่าว
นาย
ปกรณ์วุฒิกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีการตั้งงบประมาณในส่วนของค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์ 10 ล้าน ขณะที่งบประมาณของกรมควบคุมมลพิษที่ตั้งงบประมาณในการสื่อสาร และสร้างการรับรู้เรื่องฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ไว้แค่ 1.44 ล้านบาทเท่านั้น ตนจึงไม่เข้าใจว่า ทำไมโครงการนี้ จึงมีการตั้งงบประมาณไว้สูงเช่นนี้ และหากระบบเซลล์บรอดแคสต์ทำเสร็จแล้ว โทรศัพท์มือถือที่ประชาชนมีอยู่จะได้รับการแจ้งเตือนอัตโนมัติ แต่เราต้องประชาสัมพันธ์ว่า หากได้รับข้อมูลเช่นนี้ เชื่อใจได้ว่ามาจากรัฐบาลโดยตรงแน่นอน แต่ก็ยังสงสัยอยู่ว่าเราจำเป็นต้องใช้งบประมาณถึง 10 ล้านจริงหรือ ซึ่งโครงการที่สำคัญเช่นนี้ตนคิดว่าใช้กรมประชาสัมพันธ์ที่มีฟังก์ชั่นที่ตรงตามภารกิจ น่าจะได้ประสิทธิภาพดีกว่า
“
สิ่งที่ กมธ.เสียงส่วนใหญ่ต้องชี้แจงคือตกลงแล้วระบบเตือนภัยที่ ปภ.ตั้งงบประมาณมานั้น ไม่สมบูรณ์ ไม่รอบคอบและไม่พร้อมกับการจัดทำระบบเซลล์บรอดแคสต์ จนต้องมาตั้งงบเพิ่มเฉพาะปีนี้ถึง 90 ล้านบาท และเราต้องจ่ายค่าเช่าไปทุกปีหรือไม่ หรือจริงๆ แล้วอาจจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งงบในกระทรวงดิจิทัลฯ เลย เพียงแค่หน่วยงานไม่กล้ายอมรับว่างบที่ตั้งมามีความซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น จึงต้องเหลืองบประมาณบางส่วนไว้ โดยให้เป็นภาระกับงบประมาณในระยะยาวเท่านั้น หาก กมธ.เสียงข้างมากไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนว่างบประมาณที่คงไว้ 92 ล้านบาทนั้น จำเป็นอย่าไร ผมจึงยืนยันที่จะให้ลงมติตัดงบประมาณในส่วนนี้ทั้งหมด” นาย
ปกรณ์วุฒิกล่าว.
JJNY : 5in1 โรมตั้งฉายา│ศุภณัฐตัดงบกรมข้าว-กรมชลฯ│ปกรณ์วุฒิตัดงบดีอี│ชี้โจทย์ศก.ยากกว่า│รัสเซียชี้ปรับหลักการนิวเคลียร์
https://www.matichon.co.th/politics/news_4773472
‘โรม’ ตั้งฉายารัฐบาลใหม่ เป็น ‘ครม.โควต้าครอบครัว’ เหน็บ ‘อุ๊งอิ๊ง’ ไม่รู้นายกฯหรือเปล่า ซัดเก้าอี้ดนตรี เป็นกันไม่ได้ ก็เอา ลูก-พ่อ-น้อง-เพื่อน มาเป็น ส่วนตัวจริงอยู่เงามืดหลังฉาก ไม่ตอบโจทย์วิกฤตชาติ มองหน้าตาก๊อบวาง ‘รัฐบาลเศรษฐา’ มองแถลงนโยบาย ไม่ต้องจริงจังก็ได้ เพราะ 22 สิงหา มีคนแถลงไปหมดแล้ว
เมื่อวันที่ 4 กันยายน ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน กล่าวถึงหน้าตาคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ “แพทองธาร 1” ว่า เป็น “ครม.โควต้าครอบครัว” ที่เราจะเห็นว่า เมื่อลูกเป็นไม่ได้ ก็ให้พ่อมาเป็น เอาน้อง เอาเพื่อน มาเป็น ซึ่งยอมรับว่าเมื่อพูดถึงการเมือง เราก็อยากได้คนที่มีความสามารถตรงกับเรื่องนั้น เมื่อเจอเรื่องจริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ประจักษ์ ที่เป็นการตีความอย่างกว้างของศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีของ นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ทำให้สุดท้ายกลายเป็น ครม.เก้าอี้ดนตรี หมุนเวียนกันไป ทำให้ตนไม่มั่นใจว่า คนที่มานั่งเป็นรัฐมนตรี เป็นตัวจริงหรือไม่ หรือจะต้องมีคนที่อยู่เบื้องหลัง อาจไม่ได้เป็นตัวแสดงจริง ทำให้การบริหารราชการแผ่นดิน อาจมีปัญหาต่อไป และทำให้การตรวจสอบของฝ่ายค้านทำได้ยากยิ่งขึ้น สุดท้าย ที่เกิดขึ้นใน ครม.ชุดนี้ คือ “ตัวจริงอยู่หลังฉาก ส่วนคนที่มาเป็นรัฐมนตรี ก็เป็นแค่ตัวแสดงเท่านั้น” ก็คงถูกวิพากษ์วิจารณ์ และหากในอนาคต มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เราต้องไปดูสุดท้ายจะยอมรับ ให้ระบบแบบนี้ดำเนินต่อไปในหรือไม่
เมื่อถามย้ำว่า คำว่า “ครม.ครอบครัว” เกิดขึ้นตั้งแต่ตัวนายกรัฐมนตรี เลยใช่หรือไม่ นายรังสิมันต์กล่าวว่า สัปดาห์หน้า จะเป็นการแถลงนโยบาย แต่เราก็คงจะทราบแล้วว่า การแถลงนโยบายได้เกิดขึ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา ดังนั้นสัปดาห์หน้า จึงเป็นการแถลงนโยบายที่ไม่จำเป็นต้องจริงจังนัก เพราะถือว่าวันนั้น ได้แถลงให้สาธารณะทราบแล้ว และเราในฐานะฝ่ายค้าน ก็ติดตามตั้งคำถามกับนโยบายของรัฐบาล
นายรังสิมันต์กล่าวว่า ส่วนที่กล่าวกันว่าเป็นสมบัติผลัดกันชม หรือโควต้าครอบครัว ตนเชื่อว่า สังคมจำนวนมาก คงตั้งคำถามในลักษณะเดียวกัน ต้องยอมรับว่าพรรคเพื่อไทย ในการทำงานยุคของ นายเศรษฐา ทวีสิน มีนายกฯ 2 คน มาวันนี้ ไม่แน่ใจว่า เป็นนายกฯ 2 คน หรือคนหนึ่ง ซึ่งจะเป็นคุณอุ๊งอิ๊งหรือไม่ ตนไม่แน่ใจ สุดท้ายเรากำลังอยู่ในบรรยากาศ ที่การเมืองขาดเสถียรภาพ ขาดความแน่นอน และไม่รู้ว่าตกลงแล้วใครคือผู้ตัดสินใจ ทั้งนี้ การที่ผู้ที่ตัดสินใจ และไม่รับผิดชอบอะไรเลย มันจะสร้างปัญหาทางการเมืองอย่างแน่นอน เป็นข้อที่ตนกังวล
“ตนเชื่อว่ารัฐบาลนี้ จะกังวลทุกอย่าง ไม่กล้าทำอะไร เพราะกลัวว่าจะผิดจริยธรรม กลัวโดนองค์กรอิสระ หรือศาลรัฐธรรมนูญเล่นงาน สุดท้ายก็จะเป็นรัฐบาลที่ทำอะไรไม่ได้เลย ดังนั้น โจทย์ของรัฐบาลนี้ คือจะแก้วิกฤตตรงหน้าที่ทำลายเสถียรภาพอย่างไร หากแก้ไม่ได้ ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ” นายรังสิมันต์กล่าว
ส่วนหน้าตาของรัฐมนตรีชุดนี้ ไปวัดไปวา หรือพอจะฝากผีฝากไข้ได้หรือไม่ นายรังสิมันต์กล่าวว่า หน้าตา ส่วนใหญ่ยังเป็นคนเดียว คำถามคือ ในยุคของนายเศรษฐา ไปได้ไกลแค่ไหน เป็นนายกฯเกือบปี นโยบายเรือธงที่สัญญาไว้กับประชาชน มีเรื่องไหนสำเร็จแล้วบ้าง คำถามที่ตามมาคือ คนเดิมที่มีอำนาจแบบเดิม จะทำสำเร็จได้อย่างไร
“นอกจากนั้น ยังมีส่วนผสมใหม่ คนเดิม ที่ยังอยากจะเป็นรัฐมนตรีและเป็นไม่ได้ ต้องอยู่หลังฉาก อยู่ภายใต้เงามืด และต้องส่งตัวแทนมาทำ และจะทำหน้าที่ได้ดีอย่างไร ตนจึงคิดว่าส่วนผสมแบบนี้ ไม่ตอบโจทย์ของชาติที่เผชิญอยู่ ยังนึกไม่ออกว่ารัฐบาลจะสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนได้อย่างไร” นายรังสิมันต์กล่าว
ศุภณัฐ ลุกตัดงบกรมข้าว-กรมชลฯ หวดยับส่อทุจริต ปูดแทคติคกินส่วนต่าง ค่าแรงคนงาน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4773034
‘ศุภณัฐ’ หวด กรมการข้าว-กรมชลฯ ส่อทุจริต หวั่น โครงการใช้วิธีสุ่มเสี่ยงปั้นราคา เผยแทคติคทุจริตผ่านค่าแรงคนงาน
เมื่อวันที่ 4 กันยายน ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มี นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานการประชุม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 วงเงิน 3.75 ล้านล้านบาท วาระ 2 เป็นวันที่ 2 ในมาตรา 14 งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานในกำกับ จำนวน 36,297,406,700 บาท
นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. พรรคประชาชน อภิปรายว่า ตนขอแปรญัตติปรับลดงบประมาณกระทรวงเกษตรฯ พุ่งเป้าที่กรมการข้าว และกรมชลประทาน สำหรับกรมการข้าว มี 2 โครงการที่มีพฤติกรรมน่าสงสัย สุ่มเสี่ยงต่อการทุจริต คือโครงการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบบาดาล 13 จุด งบ 62 ล้านบาท ซึ่งมีการปรับลดในชั้นอนุฯไป 30.7 ล้านบาท เหลืออยู่ที่ 31.8 ล้านบาท และโครงการระบบสูบน้ำแบบระบบผิวดิน 480 ล้านบาท ปรับลดในชั้นอนุฯไป 65 ล้านบาท เหลือ 415 ล้านบาท รวม 2 โครงการ จะเป็นจำนวน 447 ล้านบาท ตอนตนนั่งอยู่ในอนุ กมธ.ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง อยากตัดทั้งโครงการแต่ไม่สำเร็จ ตัดได้แค่ 95 ล้านบาท
นายศุภณัฐอภิปรายว่า ตนจึงขอเสนอแปรญัตติปรับลดตัดทั้งโครงการอีก เนื่องจากพฤติกรรมส่อทุจริตหลายอย่าง คือ 1.การได้มาซึ่งราคากลาง กรมการข้าว ใช้วิธีการสืบราคาทั้งโครงการทั้งก้อน ซึ่งวิธีนี้เสี่ยง มีโอกาสปั้นราคาได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ ความน่าเชื่อถือของ 3 บริษัท ที่กรมการข้าวไปสืบราคามา มีปัญหาร้ายแรง ตรงที่ทั้ง 3 บริษัท มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท แต่กลับเสนอตัวเองทำโครงการเกือบห้าร้อยล้านบาท ผู้เสนอราคาต่ำที่สุดมีรายได้เพียงแค่ 2,600,000 บาท ในปี 2565 เท่านั้น กรมการข้าวใช้ดุลพินิจแบบไหน ในการเลือกไปสอบถามบริษัทนี้ตั้งแต่แรก รวมถึงพฤติกรรมน่ากลัวกว่านั้นคือ ใบเสนอราคาของทั้ง 3 บริษัท หน้าตาเหมือนกันเป๊ะ แปลว่ามีโอกาสที่จะมีการปั้นราคาหรือไม่อย่างไร
นายศุภณัฐได้แสดงเอกสารประกอบการอภิปราย ในส่วนโครงการของกรมชลประธาน เช่น งานดินขุด ดินถม งานบดอัดโดยใช้แรงคน เฉพาะค่าแรงมีสัดส่วนกว่า 30% โครงการซ่อมแซมคลองส่งน้ำ สาย 1R-1L-RMC กทม. 0+000 ความยาว 5.200 กม. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว งบรวม 15 ล้านบาท ซึ่งค่าแรงโครงการก็ปาไปแล้ว 4.6 ล้านบาท ถ้าสังเกตเรตการใช้แรงงานคนงาน จะมีอัตราเรตต่อหน่วย แพงกว่าการใช้เครื่องจักร 10 เท่า นี่คือส่วนต่าง และต้องบอกว่า ส่วนต่างมหาศาลนี้ ในการใช้แรงงานคน แทนการใช้เครื่องจักร คือส่วนต่างที่เกิดการทุจริต
นายศุภณัฐกล่าวอีกว่า ที่หนักกว่าคือไม่ได้จ้างคนจริงๆ ในทางปฏิบัติ คือไปเรี่ยไรเอาบัตรประชาชนของพี่น้องแรงงานมา แล้วจ่ายเงินนิดหน่อย ส่วนที่เหลือนั้นพูดง่ายๆ คือ นำบัตรมาเซ็นรับเงิน พอรับเงินเสร็จแล้วก็เอาไปจ้างให้ผู้รับเหมามาใช้เครื่องจักรทำงานจริง พอค่าแรงส่วนต่างมันต่างกัน 10 เท่า ระหว่างการใช้คนกับเครื่องจักร นี่ก็เป็นส่วนต่างที่เป็นช่องทางในการคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่ ตนไม่ได้บอกว่าทุกโครงการที่ใช้เป็นแรงงานคนต้องมีการทุจริต และไม่ได้บอกว่าโครงการที่ตนเอามาโชว์ตรงนี้ทุจริต แต่คอนเซ็ปต์ที่ใช้อยู่ เป็นสารตั้งต้นทำให้เกิดการทุจริต ตนจึงขอปรับลดงบประมาณลง 5%
ปกรณ์วุฒิ ลุกตัดงบดีอี จัดงบซ้ำซ้อนปภ. ทำระบบเตือนภัย ข้องใจมีตั้งงบพีอาร์ถึง 10 ล้าน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4772953
‘ปกรณ์วุฒิ’ อัด ‘ดีอี’ จัดงบทำระบบเซลล์บรอดแคสต์ ซ้ำซ้อน ‘ปภ.’ ถาม หรือกรมป้องกันภัยไม่พร้อมทำระบบ เหน็บ บางครั้งอาจไม่จำเป็นต้องตั้งงบ เพียงแค่หน่วยงานไม่กล้ายอมรับว่าต้องงบซ้อน จึงต้องเหลือไว้
เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี พ.ศ.2568 วงเงิน 3.75 ล้านล้านบาท โดยเป็นการพิจารณาเรียงรายมาตราในวันที่ 2 นั้น
เวลา 13.00 น. เข้าสู่การพิจารณามาตรา 16 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) โดย นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) อภิปรายว่า แม้ตนจะเคยอภิปรายไว้ในวาระ 1 แล้วว่างบประมาณในส่วนของโครงการแจ้งเตือนฉุกเฉินแห่งชาติ หรือเซลล์บรอดแคสต์ ซ้ำซ้อนกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ของกระทรวงมหาดไทย และทางสำนักปลัดกระทรวงดีอีก็ แจ้งต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.)
วิสามัญพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 สภาผู้แทนราษฎร ว่าขอปรับลดงบประมาณลงด้วยตัวเองเหลือ 92.57 ล้านบาท ลดลงกว่า 73 เปอร์เซ็นต์
นายปกรณ์วุฒิกล่าวต่อว่า ส่วนงบประมาณที่เหลืออยู่ก็ถูกนำมาใช้กับรายการอื่นๆ เช่น ค่าเช่าบริการคลาวด์ ค่าเช่าสัญญาณสื่อสารเชื่อมซีบีอีไปยังระบบคลาวด์ 4 รายการ ประมาณ 21.5 ล้านบาท จึงมีคำถามว่าระบบคลาวด์เหล่านี้นำไปเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เพราะรายละเอียดโครงการของ ปภ.ก็ตั้งงบเซิร์ฟเวอร์ในการเก็บข้อมูลไว้อยู่แล้ว หากไม่มีงบในส่วนนี้จะทำให้ระบบเซลล์บรอดแคสต์ของ ปภ.ไม่สามารถทำงานได้หรือ หรือหากเพิ่มในส่วนนี้ มาจะทำให้ระบบเซลล์บรอดแคสต์ประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพียงไร อย่างไร ซึ่งงบก้อนนี้ไม่ใช่แค่ 21.5 ล้านบาทเท่านั้น เพราะเมื่อมีการตั้งงบประมาณในการเช่าระบบคลาวด์ก็จะมีค่าเช่าอื่นๆ ตามมา เช่น ค่าจ้างที่ปรึกษาฯ
“รายการที่ผมสงสัยที่สุดที่มีการตั้งงบประมาณ 45 ล้านบาท คือค่าเช่าทรัพย์สิน คำถามคือค่าเช่าทรัพย์สินอะไร ทำไมจึงมีการตั้งงบไว้สูงเช่นนี้ และสิ่งที่อยากได้คำตอบคือค่าเช่าระบบคลาวด์จำนวน 21.5 ล้านบาทนั้น เป็นค่าเช่ารายปี รายสองปี หรือเท่าไหร่ เช่นเดียวกับค่าเช่าทรัพย์สินที่มีการตั้งงบประมาณไว้ถึง 45 ล้านบาท เราจำเป็นต้องใช้งบประมาณจ่ายค่าเช่าเหล่านี้เป็นภาระงบประมาณเรื่อยๆ ใช่หรือไม่ ที่ผมต้องถามคำถามเยอะเช่นนี้ เพราะเอกสารที่ทางหน่วยงานส่งมาให้กมธ.มีแค่นิดเดียว ซึ่งกว่าที่หน่วยงานจะส่งเอกสารมาเพิ่มให้ กมธ.ก็พิจารณาเสร็จแล้ว และผมก็ถามอนุ กมธ.แล้วว่าได้พิจารณาโครงการต่างๆ ที่มีการเหลืองบประมาณไว้ 92 ล้านบาทอย่างไรบ้าง” นายปกรณ์วุฒิกล่าว
นายปกรณ์วุฒิกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีการตั้งงบประมาณในส่วนของค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์ 10 ล้าน ขณะที่งบประมาณของกรมควบคุมมลพิษที่ตั้งงบประมาณในการสื่อสาร และสร้างการรับรู้เรื่องฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ไว้แค่ 1.44 ล้านบาทเท่านั้น ตนจึงไม่เข้าใจว่า ทำไมโครงการนี้ จึงมีการตั้งงบประมาณไว้สูงเช่นนี้ และหากระบบเซลล์บรอดแคสต์ทำเสร็จแล้ว โทรศัพท์มือถือที่ประชาชนมีอยู่จะได้รับการแจ้งเตือนอัตโนมัติ แต่เราต้องประชาสัมพันธ์ว่า หากได้รับข้อมูลเช่นนี้ เชื่อใจได้ว่ามาจากรัฐบาลโดยตรงแน่นอน แต่ก็ยังสงสัยอยู่ว่าเราจำเป็นต้องใช้งบประมาณถึง 10 ล้านจริงหรือ ซึ่งโครงการที่สำคัญเช่นนี้ตนคิดว่าใช้กรมประชาสัมพันธ์ที่มีฟังก์ชั่นที่ตรงตามภารกิจ น่าจะได้ประสิทธิภาพดีกว่า
“สิ่งที่ กมธ.เสียงส่วนใหญ่ต้องชี้แจงคือตกลงแล้วระบบเตือนภัยที่ ปภ.ตั้งงบประมาณมานั้น ไม่สมบูรณ์ ไม่รอบคอบและไม่พร้อมกับการจัดทำระบบเซลล์บรอดแคสต์ จนต้องมาตั้งงบเพิ่มเฉพาะปีนี้ถึง 90 ล้านบาท และเราต้องจ่ายค่าเช่าไปทุกปีหรือไม่ หรือจริงๆ แล้วอาจจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งงบในกระทรวงดิจิทัลฯ เลย เพียงแค่หน่วยงานไม่กล้ายอมรับว่างบที่ตั้งมามีความซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น จึงต้องเหลืองบประมาณบางส่วนไว้ โดยให้เป็นภาระกับงบประมาณในระยะยาวเท่านั้น หาก กมธ.เสียงข้างมากไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนว่างบประมาณที่คงไว้ 92 ล้านบาทนั้น จำเป็นอย่าไร ผมจึงยืนยันที่จะให้ลงมติตัดงบประมาณในส่วนนี้ทั้งหมด” นายปกรณ์วุฒิกล่าว.