21. เรื่อง โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต -บางปะอิน ของกรมทางหลวง
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ อนุมัติให้กรมทางหลวง (ทล.) ดําเนินโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (โครงการฯ) หมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต - บางปะอิน (ช่วงรังสิต - บางปะอิน) ตามหลักการของโครงการฯ หมายเลข 5 ช่วงรังสิต - บางปะอิน ที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการนโยบายฯ) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบตามที่ ทล. เสนอแล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ทล. ได้ดำเนินการปรับปรุงแผนแม่บทการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง จำนวน 13 เส้นทาง ตามมติคณะรัฐมนตรี 22 เมษายน 2540 (ระยะทาง 4,150 กิโลเมตร) เป็นแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2569) ซึ่งโครงการฯ หมายเลข 5 ช่วงรังสิต – บางปะอิน เป็นหนึ่งในโครงการที่มีความเร่งด่วนที่ ทล. ได้กําหนดไว้ในแผนแม่บทการพัฒนาดังกล่าว โดยโครงการฯ หมายเลข 5 ช่วงรังสิต - บางปะอิน มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพการจราจรติดขัดในแนวทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็น (2) เพื่อเพิ่มโครงข่ายถนนสายหลัก ตอนบนของกรุงเทพมหานครกับจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (3) เพื่อรองรับการจราจรที่เดินทางจากภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมายังกรุงเทพมหานคร และ (4) เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการฯ หมายเลข 6 สายบางปะอิน - นครราชสีมา (M6) (เปิดให้บริการแล้วบางส่วน) เพื่อเป็นการเชื่อมต่อการเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้โดยตรง ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางมีความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย และเป็นการสนับสนุนกิจกรรมโลจิสติกส์และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
2. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (โครงการฯ) หมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต - บางปะอิน (ช่วงรังสิต - บางปะอิน) ของกรมทางหลวง (ทล.) มีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้
1) รูปแบบการลงทุน ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในรูปแบบ PPP Gross Cost (เอกชนลงทุนค่าใช้จ่ายโครงการทั้งหมด และภาครัฐเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์รายได้ค่าธรรมเนียมผ่านทาง และทรัพย์สินที่เอกชนลงทุนก่อสร้าง) โดยเอกชน จะได้รับค่าตอบแทนจากการให้บริการ (Availability Payment) (ค่า AP) จากภาครัฐ จํานวน 79,839 ล้านบาท (มูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 47,881 ล้านบาท) แบ่งเป็น (1) ค่าลงทุนโครงการ จํานวน 41,295.30 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 15 ปี (2) ค่าใช้จ่ายการดําเนินงานและบํารุงรักษาโครงการ (O&M) จํานวน 38,543.70 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 30 ปี ทั้งนี้ จะจ่ายค่า AP จากเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางโครงการฯ
2) ระยะเวลาดําเนินโครงการ (1) ออกแบบและก่อสร้าง 4 ปี (2) ดําเนินงานและบํารุงรักษา (O&M) 30 ปี ทั้งนี้ หากก่อสร้างเสร็จก่อนให้เปิดบริการได้ทันที
3) ประมาณการรายได้โครงการ โดยจะมีรายได้ประมาณ 41,436 ล้านบาท จากค่าธรรมเนียมผ่านทาง (ยังไม่รวมค่าตอบแทนในการใช้พื้นที่เชิงพาณิชย์ ที่ผู้ร่วมลงทุนจะต้องแบ่งให้รัฐตามที่จะตกลงในสัญญาร่วมลงทุนต่อไป)
4) ประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ รวมประมาณ 79,916,78 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) ค่ากรรมสิทธิ์ที่ดิน 77.78 ล้านบาท (ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ) (2) ค่า AP ที่ต้องจ่ายแก่เอกชน 79,839 ล้านบาท โดยจะใช้จ่ายจากเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/91709
อนุมัติตอนนี้ เริ่มสร้าง 2568 ใช้เวลา 4 ปี เสร็จ 2572 แทงล่วงหน้าว่า DMT จะฟ้องว่ารัฐก่อสร้างส่วนต่อขยายทำให้การจราจรติดขัดประชาชนไม่มาใช้งานโทลล์เวย์ ขอให้รัฐเยียวยาโดยการ……..
คิดว่ายังไงครับ
ครม.อนุมัติสร้างส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ อนุมัติให้กรมทางหลวง (ทล.) ดําเนินโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (โครงการฯ) หมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต - บางปะอิน (ช่วงรังสิต - บางปะอิน) ตามหลักการของโครงการฯ หมายเลข 5 ช่วงรังสิต - บางปะอิน ที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการนโยบายฯ) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบตามที่ ทล. เสนอแล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อนุมัติตอนนี้ เริ่มสร้าง 2568 ใช้เวลา 4 ปี เสร็จ 2572 แทงล่วงหน้าว่า DMT จะฟ้องว่ารัฐก่อสร้างส่วนต่อขยายทำให้การจราจรติดขัดประชาชนไม่มาใช้งานโทลล์เวย์ ขอให้รัฐเยียวยาโดยการ……..
คิดว่ายังไงครับ