JJNY : ชื่นชมกล้าเด้ง“บิ๊กต่อ-บิ๊กโจ๊ก”│“ปกรณ์วุฒิ”ฉะงบของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม│สภาถกงบฯ 67 วันที่สอง│แนะผู้นำไต้หวัน

ชื่นชมเศรษฐากล้าเด้ง “บิ๊กต่อ-บิ๊กโจ๊ก” แต่ถ้าจะให้สุดต้องดูตอนจบ ไม่ใช่จูบปากกัน ซูเอี๋ยกัน
https://www.matichon.co.th/matichon-tv/news_4483675

The Politics ข่าวบ้าน การเมือง X ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ สัมภาษณ์พิเศษ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.พรรคก้าวไกล ขอชื่นชมนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน กล้าตัดสินใจ สั่งเด้ง บิ๊กต่อ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. และ บิ๊กโจ๊ก พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. แต่ต้องดูว่านายกฯ จะทำยังไงต่อ หรือจะแค่ย้ายมาเพื่อให้เรื่องเงียบหรือเปล่า จะสืบสวนสอบสวนหรือเปล่า ถ้าพบว่ากระทำความผิดแล้วจะดำเนินการอย่างไร จะปล่อยให้เรื่องเงียบไหม

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


“ปกรณ์วุฒิ” ฉะงบของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ไม่ควรได้
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_692883/

สภาถกงบฯวันที่ 2 เริ่มกระทรวงดีอี “ปกรณ์วุฒิ” ฉะงบของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ไม่เป็นกลาง ไม่อิสระ ปกปิดความจริงไม่ควรได้รับงบ กว่า 69 ล้านบาท
 
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ2567 วาระ 2 และวาระ3 วันที่2 เริ่มที่มาตรา 16 งบของกระทรวลดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ที่ในชั้นกรรมาธิการ ตัดลดไปกว่า 72 ล้านบาท จากงบประมาณเดิม 5,419 ล้าน เหลือ 5,347 ล้านบาท  ท่ามกลางบรรยากาศการอภิปรายที่ค่อนข้างเงียบเหงา
 
ทั้งนี้ สิ่งที่สมาชิกหยิบขึ้นอภิปราย ทั้งโครงการอินเทอร์เน็ต โครงการศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านอาชญากรรมออนไลน์ และที่น่าสนใจ คือ การอภิปรายของนายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สส.เชียงใหม่พรรคก้าวไกล ในงบกรมอุตุนิยมวิทยา ที่ตัดลดงบประมาณลงไปเองแล้วเกี่ยวกับงบจัดซื้อเครื่องมือตรวจวัดชั้นบรรยากาศใกล้ผิวโลกและวัดฝุ่นละออง PM 2.5 ของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่ตั้งงบปี 67 ไว้ กว่า 19 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณปี 2568 อีกกว่า 108 ล้านบาท รวม กว่า 127 ล้านบาท ซึ่งมีข้อสังเกตว่า ตั้งงบประมาณผิดปกติ พร้อมเปิดเผยข้อมูล พบว่า ใบเสนอราคาเครื่องไลด้าวัดชั้นบรรยากาศเครื่องละ 18 ล้านบาท ทั้งที่ไทยเคยมีเครื่องนี้มาแล้ว ในราคา 5 ล้านบาท และกำลังจะผลิตได้เองในราคาเพียง 1 ล้านบาท จึงเห็นด้วยให้ตัดลดลง
 
ขณะนายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายถึงงบของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมในสังกัดกระทรวงดีอี ที่สงสัยผลการตรวจสอบ จะไม่เผยแพร่ข่าวจริงที่ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล ไม่เป็นกลาง ไม่อิสระ ปกปิดความจริง จึงไม่ควรได้รับงบ กว่า 69ล้านบาท ที่ถือเป็นเครื่องมือของรัฐ
 
ส่วนนางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สส.กทม. พรรคก้าวไกล กล่าวว่า การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านอาชญากรรมออนไลน์ จะมีสายด่วน 1441 ที่เอาไว้แจ้งมิจฉาชีพ แต่ก็มีสายด่วนของหน่วยงานอื่น เช่น 1599 เราไม่สายด่วนเยอะมาก แต่ประชาชนจำไม่ได้ นอกจากนี้ ยังพบปัญหามิจฉาชีพเข้ามาร้องเรียนมิจฉาชีพ ทำให้ประชาชนงงว่าหากร้องเรียนไปแล้ว จะเป็นตำรวจจริงหรือไม่ ตอนนี้ตำรวจทำงานไม่ทันมิจฉาชีพ ไลน์แอดที่ยิงไป 4-6 อัน มิจฉาชีพหมดเลย สรุปอันไหนจริงกันแน่ พอไปถามเจ้าหน้าที่ก็โยนงานข้ามกันไปมาว่าสายด่วนไหนจริง สายด่วนไหนปลอม
 
ด้านนายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ในฐานะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายงบประมาณปี 67 ชี้แจงว่า กระทรววงดีอีเอส ถูกปรับลดแทบทุกหน่วยงาน เพราะมีเหตุผลในการปรับลดลง เช่น เป้าหมายไม่สอดคล้องกับที่รับหลักการไว้ในวาระ 1 ไม่มีประสิทธิภาพในการตั้งงบประมาณ
 
อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้ว ที่ประชุมฯ มีมติเสียงข้างมาก 279 เสียง ต่อ 146 เสียง เห็นชอบตามการปรับแก้ของกรรมาธิการฯ โดยยังคงตัดลดงบประมาณลงราว 72 ล้านบาท ทำให้ในปีงบประมาณ 2567 นี้ กระทรวงดีอี จะได้รับงบประมาณ 5,347 ล้านบาท
 
จากนั้น ที่ประชุมได้เข้าสู่การพิจารณามาตรา 17 งบในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมถึงหน่วยงานที่กำกับต่อ
 


สภาถกงบฯ 67 วาระ 2-3 วันที่สอง เริ่มพิจารณามาตรา 16 งบกระทรวงดิจิทัลฯ
https://www.dailynews.co.th/news/3276095/
 
หั่นเหลือ 5.3 พันล้านบาท ‘เรืองไกร’เตือนสตง.สอบพบส่อทุจริตหลายโครงการ ด้าน ‘ณัฐพล ก้าวไกล’กังขากรมอุตุฯ ชงของบ 19 ล้านซื้อเครื่องวัดฝุ่นพิษ ระบุสถาบันดาราศาสตร์ทำเองได้แล้วเครื่องละไม่ถึงล้าน
 
เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่รัฐสภา เวลา 09.30 น.  มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2  ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ในวาระที่สอง เรียงตามรายมาตรา จำนวน 41 มาตรา ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นวันที่ 2 โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม ประธานในที่ประชุมได้เปิดให้สมาชิกหารือ ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ต่างๆ อาทิ ปัญหาภัยแล้ง การจราจรติดขัด หลังฝนตกน้ำท่วมในพื้นที่ กทม.  
 
จากนั้นเข้าสู่วาระการประชุมงบประมาณ ที่ กมธ.งบฯ 67 พิจารณาเสร็จแล้ว ต่อจากการประชุมเมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา ในมาตรา 16 งบประมาณกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่คณะกรรมาธิการฯ ปรับลดงบประมาณเหลือ 5,347,054,800 บาท จากเดิมที่เสนอมา 5,419,139,300 บาท
 
โดยนายเรืองไกร กล่าวว่า ตนขอสงวนความเห็นและขออภิปรายเพื่อปรับลดหรือตัดทอนรายจ่ายของกระทรวงดิจิทัลฯ จำนวน 5,419,139,300  ล้านบาทเศษลง 596.1  ล้านบาท  รวม 13 รายการ  เนื่องจากมีข่าวว่า สตง.ตรวจสอบพบการทุจริตในหลายโครงการของกระทรวงนี้ และงบประมาณก็คงออกได้เพียงครึ่งหนึ่ง จึงขอให้ดูผลสอบของ สตง.ด้วย  

นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สส.เชียงใหม่ พรรคก้าวไกล ในฐานะ กมธ.เสียงข้างน้อย อภิปรายว่า ตนจะเน้นในส่วนของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่ถนัดในเรื่องลมฟ้าอากาศแต่เรื่องราคาในเอกสารอาจไม่แม่นเท่าไร โดยกระทรวงดิจิทัลฯ ได้ถูกปรับลดลง 72 ล้านบาท กรมอุตุฯ ถูกปรับลดลง 19 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการเกี่ยวกับฝุ่น PM 2.5 ที่กรมอุตุฯ ตั้งไว้ว่าเป็นโครงการระบบตรวจวัดชั้นบรรยากาศใกล้ผิวโลก และวัดฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นงบผูกพันปีงบประมาณ 67-68 รวมมูลค่า 127,223,000 บาท แบ่งเป็นงบ 67 จำนวน 19,083,500 บาท งบ 68 จำนวน 108,139,500 บาท  ซึ่งปัญหา PM 2.5 ไม่ได้มีแค่ กทม.และภาคเหนือ แต่แพร่ไปทั่วประเทศแล้ว โดยโครงการนี้จะจัดซื้อเครื่อง LIDAR PDL ซึ่งเป็นเครื่องยิงเลเซอร์ตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศ เพื่อเก็บสถิติและใช้พยากรณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5 ในแต่ละวัน
 
นายณัฐพล กล่าวต่อว่า แต่รายละเอียดเหล่านี้ไม่มีการชี้แจงใดๆ จากกรมอุตุฯ เลย ตนได้ข้อมูลจากเพื่อนที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่กระซิบบอกให้จับตาดูโครงการนี้เพราะราคาดูแปลกๆ ซึ่งการพิจารณาในวาระ 1 ตนได้สอบถามกับกรมอุตุฯ  โดยมี 3 บริษัทที่เสนอราคามา ยกตัวอย่าง 1 บริษัท เสนอราคาเครื่อง LIDAR PDL  2 เครื่องในราคาเครื่องละ 18 ล้านบาท แต่กรมอุตุฯ ไม่รู้ว่าประเทศไทยเคยมีเครื่องนี้แล้วในราคาเครื่องละ 5 ล้านบาท และพังไปแล้ว ซึ่งเมื่อมันพังทางบริษัทซัพพลายเออร์เสนอซ่อมเครื่องละ  2 ล้านบาท แต่เครื่องดังกล่าวกลับถูกทิ้งไว้เฉยๆ อีกสิ่งที่กรมอุตุฯ ไม่รู้คือนักวิทยาศาสตร์ไทยกำลังผลิตเครื่องนี้ใช้เองในราคาไม่ถึง 1 ล้านบาท สุดท้ายไม่รู้อะไรดลใจกรมอุตุฯ ให้ตัดงบในโครงการนี้ 19 ล้านบาท ทิ้งไป  ซึ่งตนเห็นด้วย เพราะชี้แจงไม่ชัดเจน ราคาเสนอมาแพงเกินจริง และไม่รู้ว่าคนไทยผลิตใช้เองได้  
 
นายณัฐพล กล่าวว่า ตนอยากฝากไว้ทั้งกรมอุตุฯ และกรมที่เกี่ยวข้องกับ PM 2.5 หากท่านจะตั้งงบซื้อเครื่อง LIDAR PDL ในอนาคตขอให้ทราบว่าสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ สามารถผลิตใช้ได้เองแล้ว ต้นทุนไม่ถึง 1 ล้านบาท และมาพร้อมกับโมเดลการวิเคราะห์เก็บข้อมูลต่างๆ ที่นักวิจัยไทยเขียนไว้ทั้งหมด ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะใช้ในประเทศไทย
 
จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นด้วยกับ กมธ.งบฯ เสียงข้างมาก ก่อนเข้าสู่การพิจารณามาตรา 17 งบประมาณกระทรวงทรัพยากรฯ ต่อไป.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่