ไม่มีที่ไหนทำหรอกเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องพึ่งพาการส่งออกกับท่องเที่ยวแท้ๆ แต่ค่าเงินแข็งขนาดนี้จะเอาอะไรไปสู้เขา ทุนสำรองก็บ้าสะสมซะจนไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เงินเฟ้อก็ต่ำมาก ซึ่งส่งผลเสียต่อหนี้ครัวเรือน เพราะถ้าเงินเฟ้อสูงกว่านี้ มูลค่าหนี้น่าจะลดลงตามเวลาบ้าง แต่ ไม่รู้ว่า BOT คิดอะไรอยู่ถึงยังดื้อดึงด้วย นโยบายการเงินที่ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและครัวเรือนตลอดเวลา
ถ้าจะอ้าง ต้มยำกุ้ง ส่วนหนึ่งก็เพราะค่าเงินมีมูลค่ามากเกินความเป็นจริง (สมัยนั้น 25 บาท ) ทำให้การนำเข้าสูงมากจนขาดดุลการค้าและบัญชีเดินสะพัดเป้นเวลานาน และคนรวยก็รวยขึ้นเพราะค่าเงินแข็ง เอาไปลงทุนในที่ดินและอสังหา แทนที่จะเอามาลงทุนในระบบเศรษฐกิจจริงๆ คนจนไม่ได้ประโยชน์จากการที่ค่าเงินแข็ง
ถ้าอยากจะแก้หนี้ครัวเรือน ต้องหาทางทำให้เงินเฟ้อ 20-50 % ให้การบริโภคและทุกๆอย่างขยายตัวให้เร็วที่สุด เพราะฝืดมานานแล้ว ฝืดจนหนี้ท่วม คิดดู เพื่อที่มูลค่าหนี้จะได้ลดลงเรื่อยๆ (แต่ก็ต้องปรับค่าแรงให้ทันเงินเฟ้อด้วย) และ ค่าเงิน 80 บาทต่อดอลลาร์ เพื่อให้ส่งออกกับท่องเที่ยวแข็งขันได้มากขึ้น ส่วนเรื่องราคาน้ำมัน เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว ก็ต้องปล่อยให้ภาคเอกชนปรับตัวกันเอง (สนับสนุนพลังงานทางเลือก)
ลองนึกภาพง่ายๆว่า ถ้าประเทศไทยเงินเฟ้อ 50 % และค่าเงินอ่อนลง 10 % ทุกเดือน เมื่อคนเงินเดือนออก ก็จะรีบนำเงินนั้นไปจับจ่ายใช้สอยให้หมดเร็วที่สุด เพราะเงินจะด้อยค่าลงและของจะแพงขึ้นตลอดเวลา แทนที่จะเอาไปกองในธนาคารให้ ธนาคารมันกินกำไรเล่นๆ ซึ่งดอกเบี้ยเงินฝากก็น้อยกว่าเงินกู้มาก จน งบกำไรพุ่งทุกไตรมาส ในขณะที่ประชาชนต้องดิ้นรนหาเงินมาจ่ายหนี้พวกมัน ซึ่งสิ่งที่ได้กลับมา ถ้าสามารถทำให้เงินเฟ้อหนักๆและดอกเบี้ยนโยบายต่ำๆ คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน แน่นอนว่า หนี้ครัวเรือนก็จะลดลงทั้ง 2 ทาง คือ รายได้ต่อหัวเพิ่มและมูลค่าหนี้ลดลง
ก่อนอื่นเลย แก้กฎหมายให้ถือว่าธนาคารกลางเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล ไม่ให้ตัดสินใจเอง ไม่มีสิ่งที่เรียก เป็น " อิสระ " ในโลกนี้ แม้แต่ธนาคารกลางไทยก็เล่นการเมืองอยู่ตลอดเวลาและยึดโยงกับคนรวยตลอดเวลาแทนที่จะเป็น ประชาชน และธุรกิจรายย่อย ถ้าเป็นอิสระจริง คงไม่ออกนโยบายส่วนทางสภาพความเป็นจริงเช่นนี้ ดังนั้น ความเป็นอิสระของธนาคารกลาง จึงควรถูกกำจัดทิ้งในประเทศไทย
ทำไมรัฐไทยชอบพยายามทำให้ค่าเงินตัวเองแข็งตลอดเวลา
ถ้าจะอ้าง ต้มยำกุ้ง ส่วนหนึ่งก็เพราะค่าเงินมีมูลค่ามากเกินความเป็นจริง (สมัยนั้น 25 บาท ) ทำให้การนำเข้าสูงมากจนขาดดุลการค้าและบัญชีเดินสะพัดเป้นเวลานาน และคนรวยก็รวยขึ้นเพราะค่าเงินแข็ง เอาไปลงทุนในที่ดินและอสังหา แทนที่จะเอามาลงทุนในระบบเศรษฐกิจจริงๆ คนจนไม่ได้ประโยชน์จากการที่ค่าเงินแข็ง
ถ้าอยากจะแก้หนี้ครัวเรือน ต้องหาทางทำให้เงินเฟ้อ 20-50 % ให้การบริโภคและทุกๆอย่างขยายตัวให้เร็วที่สุด เพราะฝืดมานานแล้ว ฝืดจนหนี้ท่วม คิดดู เพื่อที่มูลค่าหนี้จะได้ลดลงเรื่อยๆ (แต่ก็ต้องปรับค่าแรงให้ทันเงินเฟ้อด้วย) และ ค่าเงิน 80 บาทต่อดอลลาร์ เพื่อให้ส่งออกกับท่องเที่ยวแข็งขันได้มากขึ้น ส่วนเรื่องราคาน้ำมัน เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว ก็ต้องปล่อยให้ภาคเอกชนปรับตัวกันเอง (สนับสนุนพลังงานทางเลือก)
ลองนึกภาพง่ายๆว่า ถ้าประเทศไทยเงินเฟ้อ 50 % และค่าเงินอ่อนลง 10 % ทุกเดือน เมื่อคนเงินเดือนออก ก็จะรีบนำเงินนั้นไปจับจ่ายใช้สอยให้หมดเร็วที่สุด เพราะเงินจะด้อยค่าลงและของจะแพงขึ้นตลอดเวลา แทนที่จะเอาไปกองในธนาคารให้ ธนาคารมันกินกำไรเล่นๆ ซึ่งดอกเบี้ยเงินฝากก็น้อยกว่าเงินกู้มาก จน งบกำไรพุ่งทุกไตรมาส ในขณะที่ประชาชนต้องดิ้นรนหาเงินมาจ่ายหนี้พวกมัน ซึ่งสิ่งที่ได้กลับมา ถ้าสามารถทำให้เงินเฟ้อหนักๆและดอกเบี้ยนโยบายต่ำๆ คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน แน่นอนว่า หนี้ครัวเรือนก็จะลดลงทั้ง 2 ทาง คือ รายได้ต่อหัวเพิ่มและมูลค่าหนี้ลดลง
ก่อนอื่นเลย แก้กฎหมายให้ถือว่าธนาคารกลางเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล ไม่ให้ตัดสินใจเอง ไม่มีสิ่งที่เรียก เป็น " อิสระ " ในโลกนี้ แม้แต่ธนาคารกลางไทยก็เล่นการเมืองอยู่ตลอดเวลาและยึดโยงกับคนรวยตลอดเวลาแทนที่จะเป็น ประชาชน และธุรกิจรายย่อย ถ้าเป็นอิสระจริง คงไม่ออกนโยบายส่วนทางสภาพความเป็นจริงเช่นนี้ ดังนั้น ความเป็นอิสระของธนาคารกลาง จึงควรถูกกำจัดทิ้งในประเทศไทย