พิธา ลงพื้นที่แม่กำปอง ขอความรู้ หวังใช้เป็นโมเดลทั่วปท. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
https://www.matichon.co.th/politics/news_4691689
“พิธา” ลงพื้นที่แม่กำปอง หวังเอาเป็นโมเดลพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอื่นทั่วประเทศ เชื่อกว่าจะสำเร็จมาได้ ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ด้าน “พ่อหลวง-ผู้ใหญ่บ้าน” สะท้อน มีความพยายามของนายทุน เจาะพื้นที่แย่งธุรกิจชาวบ้าน บอกที่ผ่านมาหมู่บ้านจัดรัฐสวัสดิการกันเอง ตั้งแต่เกิดยันตาย
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2567 ที่หมู่บ้านแม่กำปอง จ.เชียงใหม่ พรรคก้าวไกล นำโดย นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล, นาย
ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคก้าวไกล, นาย
พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่ และทีมงานจังหวัด ลงพื้นที่พบปะผู้ประกอบการท่องเที่ยวแม่กำปอง
นาย
ธีรเมศร์ ขจรพัฒนภิรมย์ ผู้ใหญ่บ้านผู้ก่อตั้งหมู่บ้านแม่กำปอง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าพ่อหลวง กล่าวว่า แม่กำปองพัฒนาพลิกดินสู่ดาวเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ช่วงปี 2543 เป้าหมายที่วางไว้ตอนนั้น คือแก้ปัญหาทุกเรื่อง ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน การประกอบอาชีพ สิ่งแวดล้อม เรามีต้นทุนธรรมชาติ เป็นคนล้านนาเป็นคนพื้นเมือง แต่มาอยู่บนเขา มีวัฒนธรรม ปัจจุบันมีเรื่องภูมิปัญญาเข้าไปด้วย จนเราได้เป็นหมู่บ้าน OTOP เราได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อศึกษาและอนุรักษ์ให้แม่กำปองไปแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ท้ายที่สุด เราก็พัฒนาไปถูกทาง ตอนนี้เรากำลังส่งเข้าประกวด
“
ผมบอกกับชาวบ้านว่า เรามีต้นทุนที่ไม่ใช่เงิน แต่เราจะทำอย่างไรให้ต้นทุนเกิดเป็นรายได้ เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของชุมชน จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ผมคิดว่า ความเป็นอยู่คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนี้มีการพัฒนาที่ดีขึ้น ถ้าจะพูดตามภาษาบ้านเรา ก็คือลืมตาอ้าปากได้ และที่สำคัญอันก็คือลูกหลานกลับมาอยู่บ้าน ปริญญาตรี ปริญญาโทก็กลับมา ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ ก็คงไม่มา” พ่อหลวง
ธีรเมศร์กล่าว
พ่อหลวง
ธีรเมศร์กล่าวต่อว่า สิ่งที่แม่กำปองเป็นต้นแบบคือการบริหารจัดการรายได้ นักท่องเที่ยวต้องจ่ายค่าบำรุงหมู่บ้านผ่านค่าห้องพัก จัดสรรเข้าสู่กองทุนต่างๆ ภายในหมู่บ้านแม่กำปอง เช่น สหกรณ์ กองทุนไฟฟ้า กองทุนสวัสดิการชุมชน ดังนั้น จิตสำนึกของการมีส่วนร่วมของประชาชนดีมาก ที่สำคัญคือสวัสดิการ เราดูแลตั้งแต่เกิด อยู่ ตาย คนเกิดมีงบให้ 2,000 บาท ตายได้ 3,000 บาท คนป่วยมีค่าห้องให้วันละ 200 บาท มีการช่วยค่าเทอมตั้งแต่ 500-2,000 บาท
“
หมู่บ้านเราเคยเป็นหมู่บ้านป่าที่เคยถูกมองข้าม ถูกเรียกว่าคนป่าเมี่ยง ด้อยการศึกษา แต่ตอนนี้ก็เท่ากับคนอื่น ถือเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีความสามัคคีและเข้มแข็ง”
พ่อหลวง
ธีรเมศร์ย้ำว่า ต้องแก้ปัญหาโครงสร้างและเตรียมการให้พร้อมก่อนจะทำมาตรการท่องเที่ยว และสาเหตุที่เปิดไปแล้วต้องทำการวิจัยควบคู่ไปก็เพราะต้องศึกษาให้ได้ผลประโยชน์กับทุกฝ่าย
ด้าน น.ส.
ชฎาพร ถมมา ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน สะท้อนว่า ยังมีปัญหาด้วย เพราะเรากำลังต่อสู้กันพอสมควร เนื่องจากมีนายทุนพยายามเข้ามาดำเนินธุรกิจ และใช้กฎหมายที่สูงกว่าเข้ามาจัดการ แต่เรามีระเบียบชุมชน มีธรรมนูญหมู่บ้าน จึงอยากสะท้อนปัญหาไปให้เกิดการแก้ไข เพราะไม่อยากให้ตกไปอยู่ในมือของกลุ่มนายทุน
“
นายทุนเขามีทุน แต่เรามีรัฐสวัสดิการหมู่บ้าน บางคนส่งลูกหลานเรียนข้างนอก เราไม่อยากให้นายทุนเข้ามาเบียดเบียนรายได้ของชาวบ้านด้วย” น.ส.ชฎาพรกล่าว
ด้าน นาย
พิธากล่าวว่า วันนี้ตน ว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่ ส.ส. ตั้งใจมาขอความรู้ว่า ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ท่านมองอย่างไร เพราะอยากเอาไปทำนโยบายเกี่ยวกับการท่องเที่ยว มองว่าแม่กำปองเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่เป็นรัฐสวัสดิการเล็กๆ ตนมั่นใจว่าตลอด 23 ปีที่พัฒนามา ก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
นาย
พิธาระบุว่า ต้องหาคำตอบร่วมกันให้มีสมดุลระหว่างข้อกฎหมายและธรรมนูญหมู่บ้าน ดังนั้นจะรับเป็นการบ้าน
จากนั้น นาย
พิธาได้เดินไปเยี่ยมชมร้านค้าต่างๆ ภายในหมู่บ้านแม่กำปอง โดยมีประชาชน นักท่องเที่ยว พ่อค้าแม่ค้าเข้ามาขอถ่ายรูปจำนวนมาก
ชัยธวัช กังวล ส.ว.สีน้ำเงินผูกขาดสภาสูง คาดเลือกปธ.วุฒิสภา มีล็อบบี้เรื่องปกติ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4691842
ชัยธวัช มองเป็นเรื่องปกติ เจรจาต่อรอง-บล็อกโหวต รอง-ประธานวุฒิฯ บอกสภาล่างก็มี แต่อย่าผูกขาด เตือนเอาผลประโยชน์สาธารณะเป็นตัวตั้ง มองคุณสมบัติไม่จำเป็นต้องรู้ กม.อย่างเดียว ยก ‘หมออ๋อง’ ก็ไม่เชี่ยวกฎหมาย แต่ก็ทำงานได้
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม นาย
ชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึง การเลือกประธานวุฒิสภา มีความกังวลอะไรหรือไม่ ว่า ประธานและรองประธานจะเป็นใครก็ไม่ได้ส่งผลมากนักในมุมของ ส.ส. เพียงแต่ถ้าได้บุคลากรที่เหมาะสมจะช่วยยกระดับการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติทั้งสภาบนและสภาล่าง ซึ่งคงต้องไปดูในรายละเอียด รวมถึงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการต่างๆ ด้วย ตนคิดว่าก็น่าสนใจ เราก็รอดูอยู่ เพราะหากประธานคณะกรรมาธิการสำคัญๆ ได้คนที่มีแนวคิดที่ดี ก็จะสามารถเชื่อมการทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมาธิการที่มีความใกล้เคียงกันกับสภาล่างด้วย
“
เรื่องการล็อบบี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่แต่ละกลุ่มก็จะมีการพูดคุยกัน ว่าเห็นควรจะผลักดันใครที่มีความเหมาะสม เพียงแต่หลายคนมองว่า ส.ว.สีน้ำเงิน อาจจะผูกขาดไปทั้งหมด ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็น่ากังวล พื้นที่ทางการเมืองที่มีความหลากหลาย มันไม่ควรเป็นแบบนั้น” นาย
ชัยธวัชกล่าว
เมื่อถามว่าตำแหน่งประธานควรเป็นคนที่มีความรู้ทางด้านกฎหมายหรือไม่ นายชัยธวัชมองว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายอย่างเดียว เพราะอย่างสภาล่าง นาย
ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ก็ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย แต่ก็ทำงานได้โดดเด่น เพราะมีเป้าหมายชัดเจน ตนคิดว่าสิ่งนี้ต่างหากที่สำคัญ
เมื่อถามว่าเชื่อว่ามีการบล็อกโหวตจริงหรือไม่ นาย
ชัยธวัชกล่าวว่า ตนคิดว่ามีการคุยกันแน่นอนว่าจะโหวตให้ใคร มันก็เหมือนสภาล่าง แต่แน่นอนว่าสภาล่างค่อนข้างชัดเจน เพราะมีระบบของพรรคการเมือง เพียงแต่ ส.ว.ไม่มีระบบพรรคการเมือง เลยทำให้ดูเหมือนว่าไปเชื่อมโยงกับพรรคการเมือง
“
การโหวตไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ก็มีการพูดคุยเจรจาต่อรองกันเป็นเรื่องปกติ หวังว่าการเจรจาต่อรองดังกล่าวจะเอาเรื่องผลประโยชน์ของสาธารณะมาเป็นตัวตั้ง”
สว.พันธ์ุใหม่ ยอมรับสภาพเสียงสู้ศึกสภาสูงไม่ได้ ลั่นขอพื้นที่คนส่วนน้อยสู้บ้าง!
https://www.matichon.co.th/politics/news_4691931
สว.พันธ์ุใหม่ ยอมรับสภาพเสียงสู้ไม่ได้ ท่องสคริปต์ขอพื้นที่คนส่วนน้อยสู้บ้าง
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม นาย
เทวฤทธิ์ มณีฉาย ส.ว.กลุ่ม 18 สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม ในฐานะกลุ่ม ส.ว.พันธุ์ใหม่ กล่าวถึงความคืบหน้าการส่งตัวแทนกลุ่มชิงตำแหน่งประธานและรองประธานวุฒิสภาว่า กลุ่ม ส.ว.พันธุ์ใหม่ได้ข้อสรุปจะส่งคนลงชิงทุกตำแหน่ง ทั้งประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภาอีก 2 คน แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปจะส่งใครบ้าง โดยจะหารือกันก่อนวันที่ 23 ก.ค.นี้ แม้ในความเป็นจริง จำนวนเสียงโหวตจะสู้ไม่ได้แต่จะยืนยันในหลักการสื่อสารไปยังกลุ่มส่วนใหญ่เพื่อขอให้พื้นที่ทำงานให้กับคนส่วนน้อย โดยเป็นการบอกกล่าวเพื่อนสมาชิกว่า วุฒิสภาเป็นพื้นที่รับฟังทุกเสียง
เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้ 36 ส.ว.กลุ่มอิสระ นัดหารือกันเพื่อผลักดันนาย
บุญส่ง น้อยโสภณ ส.ว. ชิงเก้าอี้รองประธานวุฒิสภา นายเทวฤทธิ์กล่าวว่า เรื่องการพูดคุยก็มีการคุยกันเพื่อหยั่งแนวทางกันอยู่ แต่ไม่มีการพูดคุยว่าจะต้องเลือกใคร หลักการคืออยากเรียกร้องคนกลุ่มใหญ่ให้พื้นที่การทำงานของคนส่วนน้อย แม้ในเรื่องต่างๆ ต้องฟังเสียงข้างมากในการตัดสิน แต่จำเป็นต้องเคารพเสียงส่วนน้อยด้วย
“
ขณะนี้กลุ่ม ส.ว.พันธุ์ใหม่ ถ้านับตามจำนวนตัวเลขที่เปิดเผยต่อสาธารณะคือ 30 คน แต่ภาวะตอนนี้มีคนที่เข้มข้น คนที่อาจยังไม่ได้ตัดสินใจ หรือมาอยู่เพื่อดูแนวทาง ยอมรับว่าอาจมีจำนวนทับซ้อนกับ ส.ว.กลุ่มอิสระ แต่แค่หลักหน่วย ส่วนการล็อกตำแหน่งประธานและรองประธานวุฒิสภาไว้แล้วนั้น ตามหลักการควรเลือกตามจุดยืนการแสดงวิสัยทัศน์“ นาย
เทวฤทธิ์กล่าว
สั่งเข้ม ห้ามเพาะเลี้ยง-ปล่อย ปลาหมอคางดำ ฝ่าฝืนโทษหนัก คุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 ล้าน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4691875
กรมประมง สั่งเข้ม ห้ามเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำ ฝ่าฝืนโทษหนัก คุกไม่เกิน 2 ปี
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2567 กรมประมง โดย นาย
บัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับสำคัญประกาศห้ามเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำ หรือ ชื่อสามัญ Blackchin ชื่อวิทยาศาสตร์ Sarotherodon melanotheron โดยรายละเอียดระบุว่า ปลาชนิดนี้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ และแพร่พันธุ์ขยายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมงในประเทศไทยเป็นอย่างมาก
ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ออกประกาศฉบับสำคัญเรื่องการกำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ.2564 ห้ามเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำหากผู้ใดฝ่าฝืนทำการเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำจะถูกดำเนินคดีตามมาตรา 144 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากนำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดยกรมประมงอยู่ระหว่างดำเนินการควบคุมกำจัดไม่ให้ปลาชนิดนี้ แพร่ขยายพันธุ์และเป็นการลดผลกระทบต่อระบบนิวศและลดการสร้างความเดือดร้อนต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมงจึงขอประชาสัมพันธ์ต่อพี่น้องประชาชนห้ามมิให้เพาะเลี้ยง และนำปลาหมอคางดำไปปล่อยในแหล่งน้ำอย่างเด็ดขาด และหากผู้ใดพบเจอให้แจ้งสำนักงานประมงจังหวัดหรือสำนักงานประมงอำเภอในเขตท้องที่ทุกแห่ง และหากพบเห็นปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติขอความร่วมมือให้กำจัดออกจากแหล่งน้ำนั้นด้วย
JJNY : 5in1 พิธาขอความรู้│ชัยธวัชกังวลส.ว.สีน้ำเงิน│สว.พันธ์ุใหม่ลั่นขอพื้นที่สู้บ้าง!│ห้ามเพาะหมอคางดำ│สะพานถล่มส่านซี
https://www.matichon.co.th/politics/news_4691689
“พิธา” ลงพื้นที่แม่กำปอง หวังเอาเป็นโมเดลพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอื่นทั่วประเทศ เชื่อกว่าจะสำเร็จมาได้ ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ด้าน “พ่อหลวง-ผู้ใหญ่บ้าน” สะท้อน มีความพยายามของนายทุน เจาะพื้นที่แย่งธุรกิจชาวบ้าน บอกที่ผ่านมาหมู่บ้านจัดรัฐสวัสดิการกันเอง ตั้งแต่เกิดยันตาย
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2567 ที่หมู่บ้านแม่กำปอง จ.เชียงใหม่ พรรคก้าวไกล นำโดย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล, นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคก้าวไกล, นายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่ และทีมงานจังหวัด ลงพื้นที่พบปะผู้ประกอบการท่องเที่ยวแม่กำปอง
นายธีรเมศร์ ขจรพัฒนภิรมย์ ผู้ใหญ่บ้านผู้ก่อตั้งหมู่บ้านแม่กำปอง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าพ่อหลวง กล่าวว่า แม่กำปองพัฒนาพลิกดินสู่ดาวเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ช่วงปี 2543 เป้าหมายที่วางไว้ตอนนั้น คือแก้ปัญหาทุกเรื่อง ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน การประกอบอาชีพ สิ่งแวดล้อม เรามีต้นทุนธรรมชาติ เป็นคนล้านนาเป็นคนพื้นเมือง แต่มาอยู่บนเขา มีวัฒนธรรม ปัจจุบันมีเรื่องภูมิปัญญาเข้าไปด้วย จนเราได้เป็นหมู่บ้าน OTOP เราได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อศึกษาและอนุรักษ์ให้แม่กำปองไปแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ท้ายที่สุด เราก็พัฒนาไปถูกทาง ตอนนี้เรากำลังส่งเข้าประกวด
“ผมบอกกับชาวบ้านว่า เรามีต้นทุนที่ไม่ใช่เงิน แต่เราจะทำอย่างไรให้ต้นทุนเกิดเป็นรายได้ เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของชุมชน จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ผมคิดว่า ความเป็นอยู่คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนี้มีการพัฒนาที่ดีขึ้น ถ้าจะพูดตามภาษาบ้านเรา ก็คือลืมตาอ้าปากได้ และที่สำคัญอันก็คือลูกหลานกลับมาอยู่บ้าน ปริญญาตรี ปริญญาโทก็กลับมา ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ ก็คงไม่มา” พ่อหลวงธีรเมศร์กล่าว
พ่อหลวงธีรเมศร์กล่าวต่อว่า สิ่งที่แม่กำปองเป็นต้นแบบคือการบริหารจัดการรายได้ นักท่องเที่ยวต้องจ่ายค่าบำรุงหมู่บ้านผ่านค่าห้องพัก จัดสรรเข้าสู่กองทุนต่างๆ ภายในหมู่บ้านแม่กำปอง เช่น สหกรณ์ กองทุนไฟฟ้า กองทุนสวัสดิการชุมชน ดังนั้น จิตสำนึกของการมีส่วนร่วมของประชาชนดีมาก ที่สำคัญคือสวัสดิการ เราดูแลตั้งแต่เกิด อยู่ ตาย คนเกิดมีงบให้ 2,000 บาท ตายได้ 3,000 บาท คนป่วยมีค่าห้องให้วันละ 200 บาท มีการช่วยค่าเทอมตั้งแต่ 500-2,000 บาท
“หมู่บ้านเราเคยเป็นหมู่บ้านป่าที่เคยถูกมองข้าม ถูกเรียกว่าคนป่าเมี่ยง ด้อยการศึกษา แต่ตอนนี้ก็เท่ากับคนอื่น ถือเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีความสามัคคีและเข้มแข็ง”
พ่อหลวงธีรเมศร์ย้ำว่า ต้องแก้ปัญหาโครงสร้างและเตรียมการให้พร้อมก่อนจะทำมาตรการท่องเที่ยว และสาเหตุที่เปิดไปแล้วต้องทำการวิจัยควบคู่ไปก็เพราะต้องศึกษาให้ได้ผลประโยชน์กับทุกฝ่าย
ด้าน น.ส.ชฎาพร ถมมา ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน สะท้อนว่า ยังมีปัญหาด้วย เพราะเรากำลังต่อสู้กันพอสมควร เนื่องจากมีนายทุนพยายามเข้ามาดำเนินธุรกิจ และใช้กฎหมายที่สูงกว่าเข้ามาจัดการ แต่เรามีระเบียบชุมชน มีธรรมนูญหมู่บ้าน จึงอยากสะท้อนปัญหาไปให้เกิดการแก้ไข เพราะไม่อยากให้ตกไปอยู่ในมือของกลุ่มนายทุน
“นายทุนเขามีทุน แต่เรามีรัฐสวัสดิการหมู่บ้าน บางคนส่งลูกหลานเรียนข้างนอก เราไม่อยากให้นายทุนเข้ามาเบียดเบียนรายได้ของชาวบ้านด้วย” น.ส.ชฎาพรกล่าว
ด้าน นายพิธากล่าวว่า วันนี้ตน ว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่ ส.ส. ตั้งใจมาขอความรู้ว่า ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ท่านมองอย่างไร เพราะอยากเอาไปทำนโยบายเกี่ยวกับการท่องเที่ยว มองว่าแม่กำปองเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่เป็นรัฐสวัสดิการเล็กๆ ตนมั่นใจว่าตลอด 23 ปีที่พัฒนามา ก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
นายพิธาระบุว่า ต้องหาคำตอบร่วมกันให้มีสมดุลระหว่างข้อกฎหมายและธรรมนูญหมู่บ้าน ดังนั้นจะรับเป็นการบ้าน
จากนั้น นายพิธาได้เดินไปเยี่ยมชมร้านค้าต่างๆ ภายในหมู่บ้านแม่กำปอง โดยมีประชาชน นักท่องเที่ยว พ่อค้าแม่ค้าเข้ามาขอถ่ายรูปจำนวนมาก
ชัยธวัช กังวล ส.ว.สีน้ำเงินผูกขาดสภาสูง คาดเลือกปธ.วุฒิสภา มีล็อบบี้เรื่องปกติ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4691842
ชัยธวัช มองเป็นเรื่องปกติ เจรจาต่อรอง-บล็อกโหวต รอง-ประธานวุฒิฯ บอกสภาล่างก็มี แต่อย่าผูกขาด เตือนเอาผลประโยชน์สาธารณะเป็นตัวตั้ง มองคุณสมบัติไม่จำเป็นต้องรู้ กม.อย่างเดียว ยก ‘หมออ๋อง’ ก็ไม่เชี่ยวกฎหมาย แต่ก็ทำงานได้
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึง การเลือกประธานวุฒิสภา มีความกังวลอะไรหรือไม่ ว่า ประธานและรองประธานจะเป็นใครก็ไม่ได้ส่งผลมากนักในมุมของ ส.ส. เพียงแต่ถ้าได้บุคลากรที่เหมาะสมจะช่วยยกระดับการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติทั้งสภาบนและสภาล่าง ซึ่งคงต้องไปดูในรายละเอียด รวมถึงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการต่างๆ ด้วย ตนคิดว่าก็น่าสนใจ เราก็รอดูอยู่ เพราะหากประธานคณะกรรมาธิการสำคัญๆ ได้คนที่มีแนวคิดที่ดี ก็จะสามารถเชื่อมการทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมาธิการที่มีความใกล้เคียงกันกับสภาล่างด้วย
“เรื่องการล็อบบี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่แต่ละกลุ่มก็จะมีการพูดคุยกัน ว่าเห็นควรจะผลักดันใครที่มีความเหมาะสม เพียงแต่หลายคนมองว่า ส.ว.สีน้ำเงิน อาจจะผูกขาดไปทั้งหมด ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็น่ากังวล พื้นที่ทางการเมืองที่มีความหลากหลาย มันไม่ควรเป็นแบบนั้น” นายชัยธวัชกล่าว
เมื่อถามว่าตำแหน่งประธานควรเป็นคนที่มีความรู้ทางด้านกฎหมายหรือไม่ นายชัยธวัชมองว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายอย่างเดียว เพราะอย่างสภาล่าง นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ก็ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย แต่ก็ทำงานได้โดดเด่น เพราะมีเป้าหมายชัดเจน ตนคิดว่าสิ่งนี้ต่างหากที่สำคัญ
เมื่อถามว่าเชื่อว่ามีการบล็อกโหวตจริงหรือไม่ นายชัยธวัชกล่าวว่า ตนคิดว่ามีการคุยกันแน่นอนว่าจะโหวตให้ใคร มันก็เหมือนสภาล่าง แต่แน่นอนว่าสภาล่างค่อนข้างชัดเจน เพราะมีระบบของพรรคการเมือง เพียงแต่ ส.ว.ไม่มีระบบพรรคการเมือง เลยทำให้ดูเหมือนว่าไปเชื่อมโยงกับพรรคการเมือง
“การโหวตไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ก็มีการพูดคุยเจรจาต่อรองกันเป็นเรื่องปกติ หวังว่าการเจรจาต่อรองดังกล่าวจะเอาเรื่องผลประโยชน์ของสาธารณะมาเป็นตัวตั้ง”
สว.พันธ์ุใหม่ ยอมรับสภาพเสียงสู้ศึกสภาสูงไม่ได้ ลั่นขอพื้นที่คนส่วนน้อยสู้บ้าง!
https://www.matichon.co.th/politics/news_4691931
สว.พันธ์ุใหม่ ยอมรับสภาพเสียงสู้ไม่ได้ ท่องสคริปต์ขอพื้นที่คนส่วนน้อยสู้บ้าง
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย ส.ว.กลุ่ม 18 สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม ในฐานะกลุ่ม ส.ว.พันธุ์ใหม่ กล่าวถึงความคืบหน้าการส่งตัวแทนกลุ่มชิงตำแหน่งประธานและรองประธานวุฒิสภาว่า กลุ่ม ส.ว.พันธุ์ใหม่ได้ข้อสรุปจะส่งคนลงชิงทุกตำแหน่ง ทั้งประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภาอีก 2 คน แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปจะส่งใครบ้าง โดยจะหารือกันก่อนวันที่ 23 ก.ค.นี้ แม้ในความเป็นจริง จำนวนเสียงโหวตจะสู้ไม่ได้แต่จะยืนยันในหลักการสื่อสารไปยังกลุ่มส่วนใหญ่เพื่อขอให้พื้นที่ทำงานให้กับคนส่วนน้อย โดยเป็นการบอกกล่าวเพื่อนสมาชิกว่า วุฒิสภาเป็นพื้นที่รับฟังทุกเสียง
เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้ 36 ส.ว.กลุ่มอิสระ นัดหารือกันเพื่อผลักดันนายบุญส่ง น้อยโสภณ ส.ว. ชิงเก้าอี้รองประธานวุฒิสภา นายเทวฤทธิ์กล่าวว่า เรื่องการพูดคุยก็มีการคุยกันเพื่อหยั่งแนวทางกันอยู่ แต่ไม่มีการพูดคุยว่าจะต้องเลือกใคร หลักการคืออยากเรียกร้องคนกลุ่มใหญ่ให้พื้นที่การทำงานของคนส่วนน้อย แม้ในเรื่องต่างๆ ต้องฟังเสียงข้างมากในการตัดสิน แต่จำเป็นต้องเคารพเสียงส่วนน้อยด้วย
“ขณะนี้กลุ่ม ส.ว.พันธุ์ใหม่ ถ้านับตามจำนวนตัวเลขที่เปิดเผยต่อสาธารณะคือ 30 คน แต่ภาวะตอนนี้มีคนที่เข้มข้น คนที่อาจยังไม่ได้ตัดสินใจ หรือมาอยู่เพื่อดูแนวทาง ยอมรับว่าอาจมีจำนวนทับซ้อนกับ ส.ว.กลุ่มอิสระ แต่แค่หลักหน่วย ส่วนการล็อกตำแหน่งประธานและรองประธานวุฒิสภาไว้แล้วนั้น ตามหลักการควรเลือกตามจุดยืนการแสดงวิสัยทัศน์“ นายเทวฤทธิ์กล่าว
สั่งเข้ม ห้ามเพาะเลี้ยง-ปล่อย ปลาหมอคางดำ ฝ่าฝืนโทษหนัก คุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 ล้าน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4691875
กรมประมง สั่งเข้ม ห้ามเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำ ฝ่าฝืนโทษหนัก คุกไม่เกิน 2 ปี
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2567 กรมประมง โดย นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับสำคัญประกาศห้ามเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำ หรือ ชื่อสามัญ Blackchin ชื่อวิทยาศาสตร์ Sarotherodon melanotheron โดยรายละเอียดระบุว่า ปลาชนิดนี้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ และแพร่พันธุ์ขยายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมงในประเทศไทยเป็นอย่างมาก
ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ออกประกาศฉบับสำคัญเรื่องการกำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ.2564 ห้ามเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำหากผู้ใดฝ่าฝืนทำการเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำจะถูกดำเนินคดีตามมาตรา 144 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากนำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดยกรมประมงอยู่ระหว่างดำเนินการควบคุมกำจัดไม่ให้ปลาชนิดนี้ แพร่ขยายพันธุ์และเป็นการลดผลกระทบต่อระบบนิวศและลดการสร้างความเดือดร้อนต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมงจึงขอประชาสัมพันธ์ต่อพี่น้องประชาชนห้ามมิให้เพาะเลี้ยง และนำปลาหมอคางดำไปปล่อยในแหล่งน้ำอย่างเด็ดขาด และหากผู้ใดพบเจอให้แจ้งสำนักงานประมงจังหวัดหรือสำนักงานประมงอำเภอในเขตท้องที่ทุกแห่ง และหากพบเห็นปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติขอความร่วมมือให้กำจัดออกจากแหล่งน้ำนั้นด้วย