ส.ส.ก้าวไกลย้ำนายกฯ ควรตอบกระทู้สภาพรุ่งนี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4673956
‘ก้าวไกล’ ยัน นายกฯ ต้องเข้าตอบกระทู้ หลังอาจเทหนีกระทู้ ‘ศิริกัญญา’ พรุ่งนี้ ถามปชช.ต้องรอท่านว่างหรือ เผย จะไม่ถามจนกว่า ‘นายกฯ’ จะว่าง
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม น.ส.
ภคมน หนุนอนันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองโฆษกพรรคก้าวไกล (ก.ก.) โพสต์ข้อความผ่านแอพพลิเคชั่นเอ็กซ์ (X) ระบุว่า ได้รับการประสานจากวิปรัฐบาลแล้วว่าในวันพรุ่งนี้ (11 กรกฎาคม) นายกรัฐมนตรีจะไม่มาตอบกระทู้ถามสดของ ส.ส. ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นอีกครั้งที่นายกรัฐมนตรีไม่ว่างให้กับการตอบกระทู้สดทั้งที่เป็นหน้าที่และเป็นภารกิจที่นายกรัฐมนตรีรู้ล่วงหน้าอยู่แล้วว่าจะเกิดขึ้นทุกวันพฤหัสบดี
น.ส.
ภคมน ระบุอีกว่า วันพรุ่งนี้ไม่ว่านายกรัฐมนตรีจะส่งตัวแทนมาตอบกระทู้สดของน.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ก.ก. ที่จะถามเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลหรือไม่ก็ตาม ซึ่งพรรค ก.ก.ต้องยืนยันว่านายกรัฐมนตรีควรมาตอบเอง ไม่ใช่ส่งตัวแทนมาตอบแทน เพราะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต้องเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวงต้องคิดทั้งระบบ นายกรัฐมนตรีคือคนที่รู้ข้อมูลในภาพรวมมากที่สุด สามารถบูรณาการมาตรการต่างๆ ได้
และนายกรัฐมนตรียังนั่งเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจด้วย จะให้คนอื่นมาตอบแทนได้อย่างไร ประชาชนต้องรอท่านว่างอย่างนั้นหรือ
“
ดังนั้น หากท่านนายกรัฐมนตรีไม่มา พรรคก้าวไกลก็จะไม่ถามกระทู้สดนี้ และจะรอจนกว่าท่านจะว่างและให้ความสำคัญกับประชาชน” น.ส.
ภคมน กล่าว
https://twitter.com/SaPukkamon/status/1810976414545674676
จับตา กมธ.วิสามัญส.ว.ชุดเก่า ไปต่อหรือไม่ อจ.จุฬาเตือนระวังก้าวล่วงอำนาจกกต.
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4673917
จับตา กมธ.วิสามัญส.ว.ชุดเก่า ไปต่อหรือไม่ อจ.จุฬาเตือนระวังก้าวล่วงอำนาจกกต.
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุม กกต.มีมติรับรอง 200 ส.ว. และ 100 ตัวสำรอง ที่ผ่านการคัดเลือกกันเอง ทำให้ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาตรวจสอบการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ที่ที่ประชุมวุฒิสภาตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ประกอบด้วย
นาย
สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ
นาย
สมชาย แสวงการ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่หนึ่ง
นาย
กิตติ วะสีนนท์ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่สอง
นางสาว
ปิยฉัฏฐ์ วันเฉลิม เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญ
นาย
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญ
นาย
อนุพร อรุณรัตน์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญ
นาย
วัลลภ ตังคณานุรักษ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ศาสตราจารย์
สมคิด เลิศไพฑูรย์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พลเอก
สมเจตน์ บุญถนอม ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พลเอก
อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ
นาย
คมสัน โพธิ์คง กรรมาธิการวิสามัญ
นาย
จรินทร์ จักกะพาก กรรมาธิการวิสามัญ
รองศาสตราจารย์
เจษฎ์ โทณะวณิก กรรมาธิการวิสามัญ
นาย
ชาญชัย อิสระเสนารักษ์ กรรมาธิการวิสามัญ
นาย
ประพันธุ์ คูณมี กรรมาธิการวิสามัญ
พลตำรวจเอก
ปัญญา มาเม่น กรรมาธิการวิสามัญ
พลเรือเอก
พะจุณณ์ ตามประทีป กรรมาธิการวิสามัญ
ว่าที่ร้อยตรี
วงศ์สยาม เพ็งพานิชภักดี กรรมาธิการวิสามัญ
พันตำรวจเอก
เพทาย ทัพมงคล กรรมาธิการวิสามัญ
พลตำรวจโท
ศานิตย์ มหถาวร กรรมาธิการวิสามัญ
นาย
พิสิฐ์ นิธิสิริวรธรรม ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญ
นางสาว
สาวิตรี เพชรทอง ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ขณะที่ยังมีการถกเถียงเชิงกฎหมายว่า กมธ.วิสามัญนี้ยังสามารถทำหน้าที่ได้ต่อไปหรือไม่
ล่าสุดนาย
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์นิติศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า
ทราบข่าวมาว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญที่วุฒิสภาได้ลงมติแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการเลือก ส.ว. ได้เริ่มประชุมกันแล้วเมื่อวานนี้ สำหรับประเด็นในทางการเมืองซึ่งมีหลายท่านตั้งข้อสังเกตในเรื่องต่างๆ เช่น จุดประสงค์ในการตั้งคณะกรรมาธิการฯ ชุดนี้ขึ้นมาเพราะเหตุใด ฯลฯ ก็สามารถขบคิดวิพากษ์วิจารณ์กันได้ อย่างไรก็ดี ผมคิดว่ามีประเด็นในทางรัฐธรรมนูญที่พึงให้ความสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้
1. จริงอยู่ว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะมีอำนาจในการสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเกี่ยวกับการเลือก ส.ว. ที่ท่านกำลังตั้งข้อกังขาอยู่ว่าเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมหรือไม่อย่างไร แต่ก็ต้องไม่ลืมถึงข้อจำกัดของอำนาจท่านด้วยว่า ไม่สามารถเรียกเอกสารจาก กกต. หรือเรียก กกต. มาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในเรื่องที่กำลังหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาได้ ทั้งนี้เนื่องจาก กกต.เองในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระได้รับการคุ้มครองจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเฉกเช่นเดียวกันศาล
2. จากข้อ 1 คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ในฐานะของฝ่ายนิติบัญญัติ จึงต้องระมัดระวังการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองไม่เข้าไปก้าวล่วงต่อบทบาทอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระ (กกต.) ที่กำลังดำเนินภารกิจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอยู่ มิเช่นนั้นแล้ว ย่อมถือว่าการใช้อำนาจของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเสียเอง
3. แม้โดยทั่วไป อายุของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะผูกอยู่กับภารกิจที่กำลังปฏิบัติ (ศึกษาปัญหาการเลือก สว.) แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หากปรากฏว่า กกต. ประกาศรับรองผล สว. ชุดใหม่เมื่อไหร่ ตามหลักการและบทบัญญัติทางรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมาธิการในฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ท่านก็ย่อมจบภารกิจและต้องสิ้นสภาพไป
https://www.facebook.com/pornson.liengboonlertchai/posts/pfbid02D4LEYnSzurrs77WMy1rxJ2k3eC8uQ9YPjbxUVytFNYpZWNvQVjU2KCj73x257WmPl
ศก.ไม่เอื้อ-ราคาเข้าถึงยาก ทำชนชั้นกลางชะลอซื้อที่อยู่อาศัย แนะลดดอกเบี้ย-ผ่อนคลายเกณฑ์แอลทีวี https://www.matichon.co.th/economy/news_4673173
ศก.ไม่เอื้อ-ราคาเข้าถึงยาก ทำชนชั้นกลางชะลอซื้อที่อยู่อาศัย แนะลดดอกเบี้ย-ผ่อนคลายเกณฑ์แอลทีวี
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม นาย
เชษฐวัฒก์ ทรงประเสริฐ SCB EIC Real estate survey 2024 เปิดเผยว่า จากผลสำรวจภาคอสังหาริมทรัพย์ พบว่า ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังไม่สามารถฟื้นตัวได้มากนัก จากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ยังกดดัน ทำให้ปัจจัยด้านราคายังมีความสำคัญมากที่สุด และตลาดที่อยู่อาศัยมือสองยังได้รับความนิยมสูง ขณะที่ปัจจัยด้านทำเลที่เดินทางสะดวกหรือใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกยังคงมีความสำคัญมากกว่าพื้นที่ใช้สอย
ปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาระหนี้ครัวเรือน ภาระค่าใช้จ่าย ที่ยังอยู่ในระดับสูง ยังกดดันการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อเดือน โดยความต้องการซื้อในช่วงไม่เกิน 2 ปีข้างหน้า มีสัดส่วนลดลงจากการสำรวจปีก่อนหน้า ขณะที่ความต้องการซื้อส่วนใหญ่ยังอยู่ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ที่ผู้ซื้อส่วนใหญ่คาดหวังว่าสถานการณ์เศรษฐกิจ และกำลังซื้อจะฟื้นตัวมากขึ้น รวมถึงมีความพร้อมทางการเงินมากกว่าในปัจจุบัน นอกจากนั้นผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งหนึ่งยังไม่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัย หรืออาจมีแผนหลังจาก 5 ปีข้างหน้า
กำลังซื้อกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลาง-บน มีแนวโน้มฟื้นตัวได้มากขึ้น และช่วยประคองตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2024 และในระยะ 2 ปีข้างหน้าได้บางส่วน โดยเฉพาะในตลาดที่อยู่อาศัยราคามากกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Real demand ที่ต้องการซื้อเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 และหลังแรก ตามลำดับ ขณะที่ความต้องการซื้อเพื่อการลงทุนยังมีสัดส่วนไม่มากนัก ใกล้เคียงกับการสำรวจในปีก่อนหน้า
สาเหตุหลักของการไม่มีแผนซื้อที่อยู่อาศัยในช่วง 5 ปีข้างหน้า เนื่องจากตนเองหรือคนในครอบครัว เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว และรายได้หรือภาระค่าใช้จ่ายไม่เอื้ออำนวย ตามลำดับ โดยกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ที่มีรายได้ระดับปานกลาง-ล่าง มองว่ารายได้ในปัจจุบันไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ได้ จึงเลือกที่จะปรับตัว และอยู่อาศัยกับครอบครัวแทน ขณะที่กลุ่มที่รายได้หรือภาระค่าใช้จ่ายไม่เอื้ออำนวยส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าสถานการณ์ด้านรายได้หรือภาระค่าใช้จ่ายจะคลี่คลายมากขึ้น จนสามารถซื้อที่อยู่อาศัยได้หลังจาก 5 ปีข้างหน้า
ปัจจัยด้านความคุ้มค่าของราคา-ราคาที่เข้าถึงได้ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยมากที่สุด ส่วนปัจจัยด้านทำเลสำคัญมากขึ้น และยังสำคัญกว่าปัจจัยด้านความเพียงพอของพื้นที่ใช้สอย โดยในกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านทำเลที่สะดวกต่อการเดินทาง และต้องการรักษาสมดุลกับความพอเพียงของพื้นที่ใช้สอยควบคู่ไปด้วย
ตลาดที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุน-เก็งกำไร-ปล่อยเช่า ยังฟื้นตัวได้ไม่มาก จากแรงกดดันด้านกำลังซื้อ และมาตรการ LTV โดยส่วนใหญ่ยังเป็นการลงทุนคอนโดในทำเลกรุงเทพฯ ซึ่งยังคงมีความต้องการจากผู้เช่า กลุ่มที่ต้องการอยู่ใกล้ที่ทำงาน สถานศึกษาของตนเอง และสถานศึกษาของบุตรหลาน และกลุ่มที่งบประมาณไม่พอสำหรับการซื้อเป็นหลัก
มาตรการภาครัฐยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย โดยมาตรการด้านดอกเบี้ยจะกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยจากกลุ่มที่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยได้มากที่สุด สำหรับมาตรการอื่นๆ รองลงมา เช่น การลดหย่อนภาษี รวมถึงการผ่อนคลาย LTV ที่จะช่วยให้ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 กู้ได้ 100%
ปัจจัยด้านทำเลส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น
ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านทำเลที่สะดวกต่อการเดินทาง หรือการอยู่ใกล้เมือง ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น โดยทำเลที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ ทำเลฝั่งทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ ขณะที่ความสามารถปรับแต่งฟังก์ชันการใช้ประโยชน์ภายในบ้านได้ (Customization) และเทคโนโลยี Smart home คือปัจจัยที่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มจากงบประมาณเดิมมากที่สุด
แนะผู้ประกอบการปรับกลยุทธ์พัฒนาโครงการ
จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น ดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการยังเผชิญความท้าทายในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ดังนั้นผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ด้วยการพัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงต้นทุนราคาที่ดิน หลีกเลี่ยงทำเลที่มีการแข่งขันรุนแรง หรือมีหน่วยเหลือขายสะสมสูง รวมถึงการกระจาย Portfolio ให้มีตัวเลือกที่อยู่อาศัยในหลากหลายระดับราคายังคงมีความจำเป็น ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อแต่ละกลุ่มอย่างตรงจุดในทุกประเภทที่อยู่อาศัย โดยเน้นการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อสร้างความแตกต่าง สามารถตอบโจทย์ความต้องการ
ขยายตลาดผู้ซื้อชาวต่างชาติ จะเป็นอีกทางเลือกในช่วงที่ตลาดที่อยู่อาศัยยังมีแนวโน้มซบเซา ซึ่งกลุ่มผู้ซื้อที่มีสัดส่วนมากที่สุดคาดว่ายังคงเป็นชาวจีน ขณะที่กำลังซื้อจากรัสเซีย รวมถึงเอเชีย เช่น เมียนมา ไต้หวัน ก็ยังมีศักยภาพ
บริหารจัดการต้นทุนการพัฒนาโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาอัตรากำไร ควบคู่กับการรักษามาตรฐานที่อยู่อาศัย และการให้บริการหลังการขาย เพื่อสร้างความพึงพอใจของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย เช่น การนำเทคโนโลยีที่ช่วยลดขั้นตอนการก่อสร้าง และลดการใช้แรงงานมาใช้มากขึ้น การรักษาความสัมพันธ์ และสร้างความร่วมมือใหม่ๆ กับผู้รับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจที่เกี่ยวข้องใน Supply chain
ให้ความสำคัญกับเทรนด์ ESG เนื่องจากผู้ซื้อในปัจจุบันโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเทรนด์ ESG มากขึ้น โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยควรหันมาให้ความสำคัญ และดำเนินงานภายใต้กรอบ ESG อย่างครอบคลุม
JJNY : 5in1 ส.ส.ก้าวไกลย้ำ│อจ.จุฬาเตือน│ชนชั้นกลางชะลอซื้อที่อยู่│“นิกเกอิ”ทำสถิติสูงสุด│ทลาย “ฟาร์มบอตเอไอ” ของรัสเซีย
https://www.matichon.co.th/politics/news_4673956
‘ก้าวไกล’ ยัน นายกฯ ต้องเข้าตอบกระทู้ หลังอาจเทหนีกระทู้ ‘ศิริกัญญา’ พรุ่งนี้ ถามปชช.ต้องรอท่านว่างหรือ เผย จะไม่ถามจนกว่า ‘นายกฯ’ จะว่าง
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม น.ส.ภคมน หนุนอนันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองโฆษกพรรคก้าวไกล (ก.ก.) โพสต์ข้อความผ่านแอพพลิเคชั่นเอ็กซ์ (X) ระบุว่า ได้รับการประสานจากวิปรัฐบาลแล้วว่าในวันพรุ่งนี้ (11 กรกฎาคม) นายกรัฐมนตรีจะไม่มาตอบกระทู้ถามสดของ ส.ส. ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นอีกครั้งที่นายกรัฐมนตรีไม่ว่างให้กับการตอบกระทู้สดทั้งที่เป็นหน้าที่และเป็นภารกิจที่นายกรัฐมนตรีรู้ล่วงหน้าอยู่แล้วว่าจะเกิดขึ้นทุกวันพฤหัสบดี
น.ส.ภคมน ระบุอีกว่า วันพรุ่งนี้ไม่ว่านายกรัฐมนตรีจะส่งตัวแทนมาตอบกระทู้สดของน.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ก.ก. ที่จะถามเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลหรือไม่ก็ตาม ซึ่งพรรค ก.ก.ต้องยืนยันว่านายกรัฐมนตรีควรมาตอบเอง ไม่ใช่ส่งตัวแทนมาตอบแทน เพราะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต้องเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวงต้องคิดทั้งระบบ นายกรัฐมนตรีคือคนที่รู้ข้อมูลในภาพรวมมากที่สุด สามารถบูรณาการมาตรการต่างๆ ได้
และนายกรัฐมนตรียังนั่งเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจด้วย จะให้คนอื่นมาตอบแทนได้อย่างไร ประชาชนต้องรอท่านว่างอย่างนั้นหรือ
“ดังนั้น หากท่านนายกรัฐมนตรีไม่มา พรรคก้าวไกลก็จะไม่ถามกระทู้สดนี้ และจะรอจนกว่าท่านจะว่างและให้ความสำคัญกับประชาชน” น.ส.ภคมน กล่าว
https://twitter.com/SaPukkamon/status/1810976414545674676
จับตา กมธ.วิสามัญส.ว.ชุดเก่า ไปต่อหรือไม่ อจ.จุฬาเตือนระวังก้าวล่วงอำนาจกกต.
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4673917
จับตา กมธ.วิสามัญส.ว.ชุดเก่า ไปต่อหรือไม่ อจ.จุฬาเตือนระวังก้าวล่วงอำนาจกกต.
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุม กกต.มีมติรับรอง 200 ส.ว. และ 100 ตัวสำรอง ที่ผ่านการคัดเลือกกันเอง ทำให้ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาตรวจสอบการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ที่ที่ประชุมวุฒิสภาตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ประกอบด้วย
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ
นายสมชาย แสวงการ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่หนึ่ง
นายกิตติ วะสีนนท์ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่สอง
นางสาวปิยฉัฏฐ์ วันเฉลิม เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญ
นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญ
นายอนุพร อรุณรัตน์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญ
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ
นายคมสัน โพธิ์คง กรรมาธิการวิสามัญ
นายจรินทร์ จักกะพาก กรรมาธิการวิสามัญ
รองศาสตราจารย์เจษฎ์ โทณะวณิก กรรมาธิการวิสามัญ
นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ กรรมาธิการวิสามัญ
นายประพันธุ์ คูณมี กรรมาธิการวิสามัญ
พลตำรวจเอก ปัญญา มาเม่น กรรมาธิการวิสามัญ
พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป กรรมาธิการวิสามัญ
ว่าที่ร้อยตรี วงศ์สยาม เพ็งพานิชภักดี กรรมาธิการวิสามัญ
พันตำรวจเอก เพทาย ทัพมงคล กรรมาธิการวิสามัญ
พลตำรวจโท ศานิตย์ มหถาวร กรรมาธิการวิสามัญ
นายพิสิฐ์ นิธิสิริวรธรรม ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญ
นางสาวสาวิตรี เพชรทอง ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ขณะที่ยังมีการถกเถียงเชิงกฎหมายว่า กมธ.วิสามัญนี้ยังสามารถทำหน้าที่ได้ต่อไปหรือไม่
ล่าสุดนายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์นิติศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า
ทราบข่าวมาว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญที่วุฒิสภาได้ลงมติแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการเลือก ส.ว. ได้เริ่มประชุมกันแล้วเมื่อวานนี้ สำหรับประเด็นในทางการเมืองซึ่งมีหลายท่านตั้งข้อสังเกตในเรื่องต่างๆ เช่น จุดประสงค์ในการตั้งคณะกรรมาธิการฯ ชุดนี้ขึ้นมาเพราะเหตุใด ฯลฯ ก็สามารถขบคิดวิพากษ์วิจารณ์กันได้ อย่างไรก็ดี ผมคิดว่ามีประเด็นในทางรัฐธรรมนูญที่พึงให้ความสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้
1. จริงอยู่ว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะมีอำนาจในการสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเกี่ยวกับการเลือก ส.ว. ที่ท่านกำลังตั้งข้อกังขาอยู่ว่าเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมหรือไม่อย่างไร แต่ก็ต้องไม่ลืมถึงข้อจำกัดของอำนาจท่านด้วยว่า ไม่สามารถเรียกเอกสารจาก กกต. หรือเรียก กกต. มาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในเรื่องที่กำลังหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาได้ ทั้งนี้เนื่องจาก กกต.เองในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระได้รับการคุ้มครองจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเฉกเช่นเดียวกันศาล
2. จากข้อ 1 คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ในฐานะของฝ่ายนิติบัญญัติ จึงต้องระมัดระวังการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองไม่เข้าไปก้าวล่วงต่อบทบาทอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระ (กกต.) ที่กำลังดำเนินภารกิจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอยู่ มิเช่นนั้นแล้ว ย่อมถือว่าการใช้อำนาจของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเสียเอง
3. แม้โดยทั่วไป อายุของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะผูกอยู่กับภารกิจที่กำลังปฏิบัติ (ศึกษาปัญหาการเลือก สว.) แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หากปรากฏว่า กกต. ประกาศรับรองผล สว. ชุดใหม่เมื่อไหร่ ตามหลักการและบทบัญญัติทางรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมาธิการในฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ท่านก็ย่อมจบภารกิจและต้องสิ้นสภาพไป
https://www.facebook.com/pornson.liengboonlertchai/posts/pfbid02D4LEYnSzurrs77WMy1rxJ2k3eC8uQ9YPjbxUVytFNYpZWNvQVjU2KCj73x257WmPl
ศก.ไม่เอื้อ-ราคาเข้าถึงยาก ทำชนชั้นกลางชะลอซื้อที่อยู่อาศัย แนะลดดอกเบี้ย-ผ่อนคลายเกณฑ์แอลทีวี https://www.matichon.co.th/economy/news_4673173
ศก.ไม่เอื้อ-ราคาเข้าถึงยาก ทำชนชั้นกลางชะลอซื้อที่อยู่อาศัย แนะลดดอกเบี้ย-ผ่อนคลายเกณฑ์แอลทีวี
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม นายเชษฐวัฒก์ ทรงประเสริฐ SCB EIC Real estate survey 2024 เปิดเผยว่า จากผลสำรวจภาคอสังหาริมทรัพย์ พบว่า ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังไม่สามารถฟื้นตัวได้มากนัก จากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ยังกดดัน ทำให้ปัจจัยด้านราคายังมีความสำคัญมากที่สุด และตลาดที่อยู่อาศัยมือสองยังได้รับความนิยมสูง ขณะที่ปัจจัยด้านทำเลที่เดินทางสะดวกหรือใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกยังคงมีความสำคัญมากกว่าพื้นที่ใช้สอย
ปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาระหนี้ครัวเรือน ภาระค่าใช้จ่าย ที่ยังอยู่ในระดับสูง ยังกดดันการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อเดือน โดยความต้องการซื้อในช่วงไม่เกิน 2 ปีข้างหน้า มีสัดส่วนลดลงจากการสำรวจปีก่อนหน้า ขณะที่ความต้องการซื้อส่วนใหญ่ยังอยู่ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ที่ผู้ซื้อส่วนใหญ่คาดหวังว่าสถานการณ์เศรษฐกิจ และกำลังซื้อจะฟื้นตัวมากขึ้น รวมถึงมีความพร้อมทางการเงินมากกว่าในปัจจุบัน นอกจากนั้นผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งหนึ่งยังไม่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัย หรืออาจมีแผนหลังจาก 5 ปีข้างหน้า
กำลังซื้อกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลาง-บน มีแนวโน้มฟื้นตัวได้มากขึ้น และช่วยประคองตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2024 และในระยะ 2 ปีข้างหน้าได้บางส่วน โดยเฉพาะในตลาดที่อยู่อาศัยราคามากกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Real demand ที่ต้องการซื้อเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 และหลังแรก ตามลำดับ ขณะที่ความต้องการซื้อเพื่อการลงทุนยังมีสัดส่วนไม่มากนัก ใกล้เคียงกับการสำรวจในปีก่อนหน้า
สาเหตุหลักของการไม่มีแผนซื้อที่อยู่อาศัยในช่วง 5 ปีข้างหน้า เนื่องจากตนเองหรือคนในครอบครัว เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว และรายได้หรือภาระค่าใช้จ่ายไม่เอื้ออำนวย ตามลำดับ โดยกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ที่มีรายได้ระดับปานกลาง-ล่าง มองว่ารายได้ในปัจจุบันไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ได้ จึงเลือกที่จะปรับตัว และอยู่อาศัยกับครอบครัวแทน ขณะที่กลุ่มที่รายได้หรือภาระค่าใช้จ่ายไม่เอื้ออำนวยส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าสถานการณ์ด้านรายได้หรือภาระค่าใช้จ่ายจะคลี่คลายมากขึ้น จนสามารถซื้อที่อยู่อาศัยได้หลังจาก 5 ปีข้างหน้า
ปัจจัยด้านความคุ้มค่าของราคา-ราคาที่เข้าถึงได้ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยมากที่สุด ส่วนปัจจัยด้านทำเลสำคัญมากขึ้น และยังสำคัญกว่าปัจจัยด้านความเพียงพอของพื้นที่ใช้สอย โดยในกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านทำเลที่สะดวกต่อการเดินทาง และต้องการรักษาสมดุลกับความพอเพียงของพื้นที่ใช้สอยควบคู่ไปด้วย
ตลาดที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุน-เก็งกำไร-ปล่อยเช่า ยังฟื้นตัวได้ไม่มาก จากแรงกดดันด้านกำลังซื้อ และมาตรการ LTV โดยส่วนใหญ่ยังเป็นการลงทุนคอนโดในทำเลกรุงเทพฯ ซึ่งยังคงมีความต้องการจากผู้เช่า กลุ่มที่ต้องการอยู่ใกล้ที่ทำงาน สถานศึกษาของตนเอง และสถานศึกษาของบุตรหลาน และกลุ่มที่งบประมาณไม่พอสำหรับการซื้อเป็นหลัก
มาตรการภาครัฐยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย โดยมาตรการด้านดอกเบี้ยจะกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยจากกลุ่มที่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยได้มากที่สุด สำหรับมาตรการอื่นๆ รองลงมา เช่น การลดหย่อนภาษี รวมถึงการผ่อนคลาย LTV ที่จะช่วยให้ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 กู้ได้ 100%
ปัจจัยด้านทำเลส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น
ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านทำเลที่สะดวกต่อการเดินทาง หรือการอยู่ใกล้เมือง ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น โดยทำเลที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ ทำเลฝั่งทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ ขณะที่ความสามารถปรับแต่งฟังก์ชันการใช้ประโยชน์ภายในบ้านได้ (Customization) และเทคโนโลยี Smart home คือปัจจัยที่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มจากงบประมาณเดิมมากที่สุด
แนะผู้ประกอบการปรับกลยุทธ์พัฒนาโครงการ
จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น ดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการยังเผชิญความท้าทายในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ดังนั้นผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ด้วยการพัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงต้นทุนราคาที่ดิน หลีกเลี่ยงทำเลที่มีการแข่งขันรุนแรง หรือมีหน่วยเหลือขายสะสมสูง รวมถึงการกระจาย Portfolio ให้มีตัวเลือกที่อยู่อาศัยในหลากหลายระดับราคายังคงมีความจำเป็น ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อแต่ละกลุ่มอย่างตรงจุดในทุกประเภทที่อยู่อาศัย โดยเน้นการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อสร้างความแตกต่าง สามารถตอบโจทย์ความต้องการ
ขยายตลาดผู้ซื้อชาวต่างชาติ จะเป็นอีกทางเลือกในช่วงที่ตลาดที่อยู่อาศัยยังมีแนวโน้มซบเซา ซึ่งกลุ่มผู้ซื้อที่มีสัดส่วนมากที่สุดคาดว่ายังคงเป็นชาวจีน ขณะที่กำลังซื้อจากรัสเซีย รวมถึงเอเชีย เช่น เมียนมา ไต้หวัน ก็ยังมีศักยภาพ
บริหารจัดการต้นทุนการพัฒนาโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาอัตรากำไร ควบคู่กับการรักษามาตรฐานที่อยู่อาศัย และการให้บริการหลังการขาย เพื่อสร้างความพึงพอใจของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย เช่น การนำเทคโนโลยีที่ช่วยลดขั้นตอนการก่อสร้าง และลดการใช้แรงงานมาใช้มากขึ้น การรักษาความสัมพันธ์ และสร้างความร่วมมือใหม่ๆ กับผู้รับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจที่เกี่ยวข้องใน Supply chain
ให้ความสำคัญกับเทรนด์ ESG เนื่องจากผู้ซื้อในปัจจุบันโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเทรนด์ ESG มากขึ้น โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยควรหันมาให้ความสำคัญ และดำเนินงานภายใต้กรอบ ESG อย่างครอบคลุม