ครั้งแรกกับประสบการณ์ถูกหมอไล่กลับบ้าน

สืบเนื่องจากคุณแม่ได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง แล้วคุณหมอวินิจฉัยว่าอาจมีเลือดออกทางเดินอาหาร อยากให้แอทมิท เนื่องจากค่าเม็ดเลือดตก อาจเกิดภาวะช็อค เลยอยากให้แอทมิทเทเลือด แล้วส่องกล้อง ทางครอบครัวเลยตกลง

วันแอทมิท วันแรกช่วงค่ำพยาบาลแขวนป้ายงดทานอาหารและน้ำทันที วันรุ่งขึ้น มีคุณหมอ มาบอกถึงกระบวนการรักษา ว่าจะมีการล้างท้องก่อน แล้วจะส่องกล้อง ซึ่งทางครอบครัวได้ถามถึงวิธีล้างท้องแล้ว คุณแม่เกิดกลัว จิตตกครอบครัวเลยขอเวลาเกลี้ยกล่อมแม่ก่อน ทำให้คุณหมอท่านนี้เกิดไม่พอใจ เมื่อเราเกลี้ยกล่อมคุณแม่เสร็จทางครอบครัวก็ได้ไปคุยกับคุณหมอท่านนี้อีกครั้ง แล้วได้สอบถาม(เพราะความไม่รู้) ว่าเป็นไปได้มั้ยให้แม่สะสืมสะลือช่วงล้างท้อง เพราะแม่กลัว เริ่มเครียด ทางคุณหมอไม่ให้คำตอบ แต่บอกว่าให้หมอใหญ่มาคุยเองละกัน แล้วก็หายไป เรารอคำตอบทั้งวันก็ไม่มีคำตอบมาให้ หมอใหญ่ที่ว่าก็ไม่ได้มา พอตอนค่ำ แม่หิวเนื่องจากต้องอดอาหารตั้งแต่เมื่อคืน ทางครอบครัวเลยถามพยาบาลว่าให้กินอาหารได้มั้ย เพราะอดอาหารมาเกือบ24 ชม แล้ว พยาบาลตอบว่า ยังไม่ได้ค่ะ

พอช่วงเช้าวันที่3ของการแอทมิท คุณหมอคนเดิมก็มาตรวจร่างกายให้แม่ แต่ก็ยังไม่ได้ให้คำตอบกับทางครอบครัว เราเลยถามคุณหมอว่าให้แม่ทานอาหารได้หรือยัง คุณหมอตอบว่า วันนี้ทานได้ ครอบครัวถามต่ออีกว่าตอนนี้ทานได้เลยมั้ยค่ะ คุณหมอตอบว่า ภายในวันนี้แหละ (ซึ่งยังไม่ใช่ตอนนี้) พอถึงตอนเที่ยงมีอาหารของแม่ ก็คือแม่กินได้แล้ว ทางครอบครัวเลยสงสัยว่ากินอาหารได้แล้วแสดงว่าไม่ต้องส่องกล้องแล้วหรือเปล่า คิดเองนะเพราะหมอไม่ได้แจ้งอะไรกลับมาเลยทางครอบครัวเลยไปถามพยาบาล ว่าแม่ต้องส่องกล้องอีกมั้ย ถ้าไม่แล้วก็จะขอกลับบ้านได้มั้ย(กำหนดการณ์ที่หมอแจ้งก่อนแอทมิท ว่าจะต้องส่องกล้องวันนี้ คือวันพฤหัสบดี) พยาบาลเลยอาสาตามเรื่องให้ เลยรู้ว่าในใบการรักษา คุณหมอเขียนว่า คนไข้ปฏิเสธการรักษา ทางครอบครัวเลยงง เพราะเรายังรอคำตอบหมออยู่เลย ยังอดอาหารตามที่หมอสั่งตั้ง2วัน

ยังรอหมอใหญ่ที่ว่ามาคุย แบบที่หมอบอกเพื่อที่จะหาทางออกให้แม่ เพราะแกกลัวการรักษา
แต่...ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ช่วงเย็น หมอใหญ่ที่ว่ามาจริง แต่ไม่ได้มาคุยเหมือนที่แจ้งไว้ ทันทีที่มาถึงปลายเตียง ก็ด่าขึ้นมาทันที ว่าแม่ “คนไข้คนนี้จะเอายังไงกันแน่ จะรักษามั้ย ถ้าไม่อยากรักษาก็กลับบ้านไป" แม่ก็หันไปหาลูกสาว หมอก็ด่าอีกว่า ”ไม่ต้องถามใคร คิดเองแก่แล้ว อายุป่านนี้แล้ว มีลูกกี่คนแล้ว ตอบเองเลย“ เสียงดังมาก แล้วก็เดินจากไป โดยที่แม่ไม่สามารถพูดอะไรได้เลย

ทางครอบครัวเลยตัดสินใจ พาแม่กลับบ้าน เพราะแม่ไม่สบายใจที่จะอยู่ แม่แพนิค เครียด ไม่อยากรักษาต่อแล้ว เพราะคำพูดของหมอคนนั้น

ปล.เราไม่ได้ปฏิเสธการรักษา เราขอคำปรึกษาหมอ รอคำตอบจากหมออยู่ว่าถ้าแบบนั้น แบบนี้เป็นไปได้มั้ย หมอก็ไม่ได้ก็ไม่ได้ให้คำตอบว่าได้/ไม่ได้ แต่บอกว่าจะให้หมอใหญ่มาคุยเอง

ซึ่งทางครอบครัว ณ ตอนนั้นยังหวังว่าหมอใหญ่ที่ว่าจะมีจิตวิทยาในการพูดอธิบายแนวทางการรักษาให้แม่ ได้ดีกว่าหมอที่มาราวน์ ให้แม่คลายวิตก กังวล แต่หมอใหญ่คนนั้นกลับทำให้แม่ยิ่งแพนิค กลัวจนไม่อยากรักษาต่อแล้ว

เมื่อเป็นแบบนี้แล้วเราจะทำยังไงกับการรักษาต่อ เมื่อใจของแม่เข็ด จนไม่อยากรักษาแล้ว
ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 4
เป็นความบกพร่องในการสื่อสาร ที่หมอและบุคลากรทางการแพทย์ในเรื่องที่เล่ามา ต้องรับทราบ และปรับปรุง
ที่จริง การชี้แจง การปรึกษาแนะนำ ให้เกิดความเข้าใจ จนสามารถลงนามยินยอมให้ทำได้ ต้องเกิดก่อนรับเข้านอนในโรงพยาบาล
ข้อบกพร่องในการสื่อสารกับผู้ป่วย ในกรณีที่เล่ามา ผู้บริหารโรงพยาบาล ต้องได้รับรู้ เพื่อทบทวนข้อบกพร่อง แล้วเกิดการปรับปรุง
ร้องเรียนได้เลย ไม่ต้องกลัว เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยทุกคน ที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลในเรื่องที่เล่ามา
อยากให้เรื่องออกสื่อด้วยซ้ำ พวกหมอๆจะได้ลดอัตตากันเสียที
ถูกสอนกันมาก็ตั้งครึ่งศตวรรษแล้ว ก็ยังอัตตาสูงกันไม่เลิก เพราะตัวอย่างดีๆ มีน้อย
จนล้นเกล้ารัชกาลที่9 ทรงมีพระราชดำรัสกับหมอศิริราช ตอนที่พระองค์ทรงได้รับการรักษาอยู่ที่นั่น ว่า
“ จงอ่อนน้อมถ่อมตน อย่าดูถูกใคร ทุกคนล้วนมีดี” ก็ยังไม่สามารถทำให้หมอโดยทั่วไปเปลี่ยนพฤติกรรมได้ สักเท่าไร
เขียนเล่าเรื่องนี้ ร้องเรียนไปยัง
1. ผู้อำนวยการโรงพยาบาล
2. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
3. แพทยสภา
4. สถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (สรพ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่