ช่วงนี้มีข่าวว่าเขมรจะขุดคลองฟูนันเตโชทำให้ เวียดนามไม่พอใจเกรียนคีย์บอร์ดทั้งสองฝ่ายเปิดศึกกันแล้ว แต่วันนี้เราจะไม่พูดกันถึงเรื่องคลองว่าขุดแล้วคุ้มหรือไม่คุ้ม มีผลกระทบอย่างไรเราก็จะพูดถึงในส่วนนี้ เราจะพูดถึงแต่เรื่องอาณาจักรโบราณบนแผ่นดินเอเวียตะวันออกเฉียงใต้ ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึงที่ 6 เท่านั้น
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าที่มาของชื่ออาณาจักร ฝูหนาน เป็นชื่อที่จีนใช่เรียกอาณาจักรทางตอนใต้ของจีนเมื่อ 2000 ปีที่แล้ว ในยุคนั้นดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่มีอักษรใช้เราจึงไม่รู้ว่าอาณาจักรนี้ชื่อแท้จริงว่าอาณาจักรอะไร ดังนั้นนักวิชาการชาวตะวันตกจึงเรียกชื่อตามจีนแต่เพี้ยนจาก ฝูหนานเป็นฟูนัน นักวิชาการไทยไปอ่านตามฝรั่งก็เลยเพี้ยนเหมือนกันแถมยังเอาไปเทียบกับภาษาเขมรโบราณว่า พนม แปลว่า ภูเขา อีกด้วย ในภาษาจีน ฝู แปลว่าโชคดี หนาน แปลว่าทิศใต้ เมื่อนำคำมารวมกันก็จะได้ความว่าดินแดนที่ดีทางใต้ น่าจะหมายถึงดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ดีไม่มีภัยพิบัติร้ายแรงทำนองนี้ แต่ถ้าจะเอาให้แม่นเป๊ะต้องไปหาคนที่รู้จักภาษาจีนโบราณ(แคว้นอู๋) มาออกเสียงให้ฟังว่าแท้จริงแล้วอาณาจักรนี้อ่านออกเสียงว่าอะไรกันแน่ ในตอนนี้เราต้องออกเสียงตามสำเนียงปักกิ่งหรือฝรั่งไปก่อน ในตำราเรียนก็บอกว่าอาณาจักรฟูนันมีศูนย์กลางอยู่บริเวณปากแม่น้ำโขงชายแดนเวียดนาม-กัมพูชาในปัจจุบัน การขุดค้นทางโบราณคดีสถานที่ดังกล่าวก็พบเหรียญโรมันซึ่งเป็นอาณาจักรร่วมสมัยกัน พบจารึกอักษรอินเดียยุคก่อนปัลลวะแสดงให้เห็นว่าเมืองแถวๆ นั้นเก่าถึงยุคฟูนันจริงๆ
เมื่ออ่านบันทึกของชาวจีนสมัยราชวงศ์จิ้นกล่าวถึง อาณาจักรฝูหนาน ว่า อยู่ห่างจากหลินยี่(จามปา) ไปทางทิศตะวันตกมากกว่า 3 พันลี้ ดินแดนกว้าง 3 พันลี้ โดยต้องเดินทางไปทางทะเล ในเมืองมีกำแพงราชวังและบ้านเรือนของชาวบ้านอยู่ในกำแพงเมือง ชาวเมืองนับถือศาสนาฮินดูรับวัฒนธรรมจากอินเดีย การแต่งกายและประเพณีเหมือนหลินยี่(จามปา) เอกสารสมัยราชวงศ์เหลียง บอกว่า ฝูหนาน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของมณฑลเชนัน(เสฉวน) บนอ่าวใหญ่ทางทิศตะวันตกของทะเลอยู่ห่างจากมณฑลเชนัน(เสฉวน)ราว 7 พันลี้ ห่างจากหลินยี่(จามปา)ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 3 พันลี้ เมืองหลวงตั้งอยู่ในแผ่นดินห่างจากชายฝั่งทะเล 500 ลี้ มีแม่น้ำสายใหญ่ไหลมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันออกแล้วไหลลงสู่ทะเล อาณาจักรนี้มีพื้นที่กว้าง 300 ลี้ ฝูหนานส่งเครื่องบรรณาการไปจีนเท่าที่เจอหลักฐานเก่าที่สุดตอนนี้ ครั้งแรกส่งไปในยุคสามก๊กโดยส่งไปที่รัฐอู๋ หรือไทยเรียก ง่อก๊ก เนื่องจากจีนตอนนั้นวุ่นวายบ้านเมืองไม่สงบจึงมีหลักฐานเกี่ยวกับดินแดนอื่นๆ น้อยมาก
ข้อสังเกตุ
1. ชาวจีนรู้จักการใช้เข็มทิศมาตั้งแต่ยุคชุนชิวแล้วการบอกทิศจึงแม่นยำเพราะใช้เข็มทิศเป็นตัวอ้างอิงไม่ใช้ดวงอาทิตย์
2. การบอกระยะของชาวจีนค่อนข้างแม่นยำเพราะชาวจีนสร้างสถานีพักม้าหรือสถานที่พักพิงตามระยะทางไว้เป็นช่วงๆ การนับระยะทางจึงง่ายและแม่นยำ
3. ตามบันทึกจีนดินแดนของฝูหนาน ยุคราชวงส์จิ้นกับราชวงศ์เหลียงมีขนาดไม่เท่ากันซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะมีการแย่งชิงกันกับอาณาจักรอบข้างไปมา
อาณาจักรฝูหนาน(ฟูนัน)ตามบันทึกเอกสารจีน ศูนย์กลางตั้งอยู่ที่ใด อาณาจักรนี้ยิ่งใหญ่เพียงใด?
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าที่มาของชื่ออาณาจักร ฝูหนาน เป็นชื่อที่จีนใช่เรียกอาณาจักรทางตอนใต้ของจีนเมื่อ 2000 ปีที่แล้ว ในยุคนั้นดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่มีอักษรใช้เราจึงไม่รู้ว่าอาณาจักรนี้ชื่อแท้จริงว่าอาณาจักรอะไร ดังนั้นนักวิชาการชาวตะวันตกจึงเรียกชื่อตามจีนแต่เพี้ยนจาก ฝูหนานเป็นฟูนัน นักวิชาการไทยไปอ่านตามฝรั่งก็เลยเพี้ยนเหมือนกันแถมยังเอาไปเทียบกับภาษาเขมรโบราณว่า พนม แปลว่า ภูเขา อีกด้วย ในภาษาจีน ฝู แปลว่าโชคดี หนาน แปลว่าทิศใต้ เมื่อนำคำมารวมกันก็จะได้ความว่าดินแดนที่ดีทางใต้ น่าจะหมายถึงดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ดีไม่มีภัยพิบัติร้ายแรงทำนองนี้ แต่ถ้าจะเอาให้แม่นเป๊ะต้องไปหาคนที่รู้จักภาษาจีนโบราณ(แคว้นอู๋) มาออกเสียงให้ฟังว่าแท้จริงแล้วอาณาจักรนี้อ่านออกเสียงว่าอะไรกันแน่ ในตอนนี้เราต้องออกเสียงตามสำเนียงปักกิ่งหรือฝรั่งไปก่อน ในตำราเรียนก็บอกว่าอาณาจักรฟูนันมีศูนย์กลางอยู่บริเวณปากแม่น้ำโขงชายแดนเวียดนาม-กัมพูชาในปัจจุบัน การขุดค้นทางโบราณคดีสถานที่ดังกล่าวก็พบเหรียญโรมันซึ่งเป็นอาณาจักรร่วมสมัยกัน พบจารึกอักษรอินเดียยุคก่อนปัลลวะแสดงให้เห็นว่าเมืองแถวๆ นั้นเก่าถึงยุคฟูนันจริงๆ
เมื่ออ่านบันทึกของชาวจีนสมัยราชวงศ์จิ้นกล่าวถึง อาณาจักรฝูหนาน ว่า อยู่ห่างจากหลินยี่(จามปา) ไปทางทิศตะวันตกมากกว่า 3 พันลี้ ดินแดนกว้าง 3 พันลี้ โดยต้องเดินทางไปทางทะเล ในเมืองมีกำแพงราชวังและบ้านเรือนของชาวบ้านอยู่ในกำแพงเมือง ชาวเมืองนับถือศาสนาฮินดูรับวัฒนธรรมจากอินเดีย การแต่งกายและประเพณีเหมือนหลินยี่(จามปา) เอกสารสมัยราชวงศ์เหลียง บอกว่า ฝูหนาน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของมณฑลเชนัน(เสฉวน) บนอ่าวใหญ่ทางทิศตะวันตกของทะเลอยู่ห่างจากมณฑลเชนัน(เสฉวน)ราว 7 พันลี้ ห่างจากหลินยี่(จามปา)ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 3 พันลี้ เมืองหลวงตั้งอยู่ในแผ่นดินห่างจากชายฝั่งทะเล 500 ลี้ มีแม่น้ำสายใหญ่ไหลมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันออกแล้วไหลลงสู่ทะเล อาณาจักรนี้มีพื้นที่กว้าง 300 ลี้ ฝูหนานส่งเครื่องบรรณาการไปจีนเท่าที่เจอหลักฐานเก่าที่สุดตอนนี้ ครั้งแรกส่งไปในยุคสามก๊กโดยส่งไปที่รัฐอู๋ หรือไทยเรียก ง่อก๊ก เนื่องจากจีนตอนนั้นวุ่นวายบ้านเมืองไม่สงบจึงมีหลักฐานเกี่ยวกับดินแดนอื่นๆ น้อยมาก
ข้อสังเกตุ
1. ชาวจีนรู้จักการใช้เข็มทิศมาตั้งแต่ยุคชุนชิวแล้วการบอกทิศจึงแม่นยำเพราะใช้เข็มทิศเป็นตัวอ้างอิงไม่ใช้ดวงอาทิตย์
2. การบอกระยะของชาวจีนค่อนข้างแม่นยำเพราะชาวจีนสร้างสถานีพักม้าหรือสถานที่พักพิงตามระยะทางไว้เป็นช่วงๆ การนับระยะทางจึงง่ายและแม่นยำ
3. ตามบันทึกจีนดินแดนของฝูหนาน ยุคราชวงส์จิ้นกับราชวงศ์เหลียงมีขนาดไม่เท่ากันซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะมีการแย่งชิงกันกับอาณาจักรอบข้างไปมา