เอกสารจีน "หยวนสื่อ" ให้คำอธิบายเกี่ยวกับบ้านเมืองที่ชื่อ “เซียน” และ “หลัวหู” ไว้ดังนี้
เชียน และ หลัวหู เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฝูหนาน บริเวณตอนเหนือติดต่อกับปาไปสีฟู (สนมแปดร้อย หมายถึงล้านนา) ที่อยู่ติดกับมณฑลหยุนหนาน ทางตะวันออกติดต่อกับอันหนาน (หนานเย่ว หมายถึงผู้คนทางใต้ที่ไม่ใช่ชาวฮั่น) ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับอาณาจักรเหมี่ยน หลัวหู ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของของเซียน ติดกับทะเล ดินแดนเซียนแห้งแล้ง ไม่เหมาะแก่เกษตรกรรม หลัวหูมีที่ราบกว้างใหญ่ ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ ชาวเซียนต้องพึ่งพาอาศัยจากหลัวหู มีแม่น้ำสายใหญ่ไหลจากเซียน ผ่านหลัวหู ลงสู่ทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหลัวหู ทุกฤดูร้อน น้ำทะเลไหลเขาสู่แม่น้ำตอนใน ชาวนาจะอาศัยเวลาดังกล่าวหว่านเมล็ดพันธุ์....ฯลฯ ด้วยเหตุนี้พืชพรรณธัญญาหารจึงอุดมมบูรณ์ และราคาถูก
หลัวหู นักประวัติศาตร์ นักโบราณคดีทั้งหลายเห็นตรงกันว่าหมายถึง ละโว้ แม้ตอนท้ายเอกสารจีนจะบอกผิดว่าน้ำไหลจากหลัวหูลงทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้แท้จริงเป็นทิศใต้ แต่แคว้นเซียนยังถกเถียงกันว่าหมายถึงดินแดนใดกันแน่ ในยุคนั้นแคว้นในเขตประเทศไทยปัจจุบันที่จีนยอมรับว่าเป็นกั๋วมีเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของใคร จีนมอบตราโลโตให้ใช้เป็นเครื่องหมายในการติดต่อค้าขายกับจีนนอกจากมีแคว้นเซียน แคว้นหลัวหู ยังมีล้านนา หริภุญไชย สุพรรณภูมิ และเพชรบุรี(ช่วงสั้นๆ)
จิตร ภูมิศักดิ์ บอกว่า เซียนคือกลุ่มเมืองโบราณสุพรรณฯ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเซียนคือแคว้นสุโขทัย แต่ผมสงสัยว่าถ้าเซียนหมายถึงสุโขทัยในยุคนั้นจะแห้งแล้งจนต้องพึ่งพาพืชพรรณธัญญาหารจากหลัวหูเลยหรือ? แห้งแล้งปลูกข้าวไม่พอกินผมนึกถึงภาคอีสานก่อนเลย หรือแคว้นเซียนจะเป็นเมืองเสมา (โคราชเก่า) เมืองพิมาย หรือไม่ก็ศรีเทพ เพชรบูรณ์โน่นเลย
อาณาจักรเซียน ตามเอกสารจีนหมายถึงแคว้นใด?
เชียน และ หลัวหู เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฝูหนาน บริเวณตอนเหนือติดต่อกับปาไปสีฟู (สนมแปดร้อย หมายถึงล้านนา) ที่อยู่ติดกับมณฑลหยุนหนาน ทางตะวันออกติดต่อกับอันหนาน (หนานเย่ว หมายถึงผู้คนทางใต้ที่ไม่ใช่ชาวฮั่น) ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับอาณาจักรเหมี่ยน หลัวหู ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของของเซียน ติดกับทะเล ดินแดนเซียนแห้งแล้ง ไม่เหมาะแก่เกษตรกรรม หลัวหูมีที่ราบกว้างใหญ่ ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ ชาวเซียนต้องพึ่งพาอาศัยจากหลัวหู มีแม่น้ำสายใหญ่ไหลจากเซียน ผ่านหลัวหู ลงสู่ทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหลัวหู ทุกฤดูร้อน น้ำทะเลไหลเขาสู่แม่น้ำตอนใน ชาวนาจะอาศัยเวลาดังกล่าวหว่านเมล็ดพันธุ์....ฯลฯ ด้วยเหตุนี้พืชพรรณธัญญาหารจึงอุดมมบูรณ์ และราคาถูก
หลัวหู นักประวัติศาตร์ นักโบราณคดีทั้งหลายเห็นตรงกันว่าหมายถึง ละโว้ แม้ตอนท้ายเอกสารจีนจะบอกผิดว่าน้ำไหลจากหลัวหูลงทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้แท้จริงเป็นทิศใต้ แต่แคว้นเซียนยังถกเถียงกันว่าหมายถึงดินแดนใดกันแน่ ในยุคนั้นแคว้นในเขตประเทศไทยปัจจุบันที่จีนยอมรับว่าเป็นกั๋วมีเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของใคร จีนมอบตราโลโตให้ใช้เป็นเครื่องหมายในการติดต่อค้าขายกับจีนนอกจากมีแคว้นเซียน แคว้นหลัวหู ยังมีล้านนา หริภุญไชย สุพรรณภูมิ และเพชรบุรี(ช่วงสั้นๆ)
จิตร ภูมิศักดิ์ บอกว่า เซียนคือกลุ่มเมืองโบราณสุพรรณฯ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเซียนคือแคว้นสุโขทัย แต่ผมสงสัยว่าถ้าเซียนหมายถึงสุโขทัยในยุคนั้นจะแห้งแล้งจนต้องพึ่งพาพืชพรรณธัญญาหารจากหลัวหูเลยหรือ? แห้งแล้งปลูกข้าวไม่พอกินผมนึกถึงภาคอีสานก่อนเลย หรือแคว้นเซียนจะเป็นเมืองเสมา (โคราชเก่า) เมืองพิมาย หรือไม่ก็ศรีเทพ เพชรบูรณ์โน่นเลย