ผมได้ไปเจอบทความในเวปไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ ได้นำแผนที่ปโตเลมีมาเขียนใหม่ให้ชัดเจนแล้ววิเคราะห์ซึ่งทาง ดร.ตรงใจ หุตางกูร ก็ได้พบอาณาจักรฟูนันบนแผนที่ดังกล่าว
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าที่มาของชื่ออาณาจักรฝูหนาน เป็นชื่อที่จีนใช่เรียกอาณาจักรทางตอนใต้ของจีนเมื่อ 2000 ปีที่แล้ว ในยุคนั้นดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่มีอักษรใช้เราจึงไม่รู้ว่าอาณาจักรนี้ชื่อแท้จริงว่าอาณาจักรอะไร ดังนั้นนักวิชาการจึงเรียกชื่อตามจีนแต่นักวิชาการไทยไปอ่านตามฝรั่งก็เลยเพี้ยนจากฝูหนานมาเป็นฟูนัน ในภาษาจีน ฝู แปลว่าโชคดี หนานแปลว่าทิศใต้ เมื่อนำคำมารวมกันก็จะได้ความว่าดินแดนที่ดีทางใต้ น่าจะหมายถึงดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ดีไม่มีภัยพิบัติร้ายแรงทำนองนี้ จากบันทึกของจีนศูนย์กลางอาณาจักรฝูหนานอยู่ใกล้ปากแม่น้ำใหญ่ เมืองหลวงอยู่ห่างจากทะเลเข้าไปในแผ่นดิน 500 ลี้ ฝูหนานมีชายฝั่งทะเล 3000 ลี้หรือ 5000 ลี้(จำไม่ได้ไม่แน่ใจแต่น่าจะกินดินแดนถึงจังหวัดสุราษธานีเป็นอย่างน้อย) ดินแดนนี้ได้รับอิทธิพลจากชมพูทวีปมีกษัตริย์เป็นปกครอง ผู้ปกครองมีหนวดเคราหน้าตาเป็นชาวแขก ฝูหนานส่งเครื่องบรรณาการไปจีนเท่าที่เจอหลักฐานเก่าที่สุดตอนนี้ครั้งแรกส่งไปในยุคสามก๊กโดยส่งไปที่รัฐอู๋ หรือไทยเรียก ง่อก๊ก เนื่องจากจีนตอนนั้นวุ่นวายบ้านเมืองไม่สงบจึงมีหลักฐานเกี่ยวกับดินแดนอื่นๆ น้อยมาก
เมื่อ 2000 ปีที่แล้วชาวกรีก ชาวเปอร์เซีย ได้เดินทางติดต่อค้าขายกันกับจีนทางทะเลแล้ว แต่ยุคนั้นเป็นการเดินเรือเรียบชายฝั่งเพราะยังไม่มีวิธีต่อเรือลำใหญ่แล่นข้ามมหาสมุทรได้ ปโตเลมี เป็นนักดาราศาสตร์และนักภูมิศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ ค.ศ. 90-168 ได้วาดแผนที่โลกเอาไว้แต่แผนที่โลกที่ ปโตเลมี วาดเป็นยุคที่ยังไม่รู้ว่าโลกกลมและวาดแผนที่ตามการเดินเรือซึ่งเรียบชายฝั่งไปแตกต่างจากยุคราชวงส์ถังซึ่งต่อเรือใหญ่ได้และใช้แผนที่ดาวนำทางแล้ว แผนที่ ปโตเลมี จึงเป็น 2 มิติ เมื่อเทียบกับแผนที่ปัจจุบันก็จะทำให้งงและผู้คนส่วนใหญ่ก็จะมีความเห็นไม่ตรงกันตามนี้
รูปที่ 1 แผนที่อินเดียฝั่งนอกแม่น้ำคงคา ฉบับกรุงโรม ค.ศ. 1478
รูปที่ 2 แผนที่อินเดียฝั่งนอกแม่น้ำคงคา ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ จัดทำขึ้นโดยอาศัยเค้าโคลงของแผนที่ในรูปที่ 1 เพื่อให้ดูง่ายขึ้น R1-R17 นั้นคือปากแม่น้ำ C คือแหลม” (capes) ตั้งแต่นอกแม่น้ำคงคาไปจนถึงดินแดนจีน มีแหลมในดินแดนอินเดียฝั่งนอกแม่น้ำคงคาทั้งหมด 5 แหลม (C1 – C5) และมีแหลมในแดนจีน 2 แหลม (C6 – C7) สำหรับปากแม่น้ำนั้น พบว่า ในเขตอินเดียฝั่งนอกแม่น้ำคงคามีปากแม่น้ำ 13 แห่ง (R1 - R13) และในเขตแดนจีนมีปากแม่น้ำ 4 แห่ง (R14 - R17) เป็นที่น่าสังเกตว่าเขตแดนปลายสุดตะวันออกของ “โลกที่รู้จัก” นั้น ปโตเลมีระบุว่าอยู่ที่เมืองชื่อ “กัตติการะ” (หมายเลข 38) ดินแดนรอบแหลม C5 ซึ่งปโตเลมีเรียกว่า “แหลมใหญ่” (the Great Cape) ประเด็นสำคัญคือ ใกล้กับแหลมใหญ่นี้ มีเมืองสองเมืองชื่อ “ศาไบ” (Zabai; หมายเลข 22) และ “เมืองหลวงบาโลงกะ” (Balonga Metropolis; หมายเลข 24) ตามลำดับ สุดท้าย มี “อ่าวใหญ่” (the Great Gulf) กั้นระหว่างแหลมใหญ่กับแดนจีน
นักวิชาการตีความแผนที่นี้แตกต่างกันผมเองก็ดูจนมึนตีความ 3 รอบก็ไม่เหมือนกันก็เลยชวนเพื่อนสมาชิกเข้าไปอ่านและร่วมกันตีความเพื่อจะได้ข้อสรุปต่อไปครับ
อ่านเวปไซต์ต้นทางได้ที่นี่
https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/574
อาณาจักรฝูหนาน(ฟูนัน)ในแผนที่ปโตเลมี
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าที่มาของชื่ออาณาจักรฝูหนาน เป็นชื่อที่จีนใช่เรียกอาณาจักรทางตอนใต้ของจีนเมื่อ 2000 ปีที่แล้ว ในยุคนั้นดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่มีอักษรใช้เราจึงไม่รู้ว่าอาณาจักรนี้ชื่อแท้จริงว่าอาณาจักรอะไร ดังนั้นนักวิชาการจึงเรียกชื่อตามจีนแต่นักวิชาการไทยไปอ่านตามฝรั่งก็เลยเพี้ยนจากฝูหนานมาเป็นฟูนัน ในภาษาจีน ฝู แปลว่าโชคดี หนานแปลว่าทิศใต้ เมื่อนำคำมารวมกันก็จะได้ความว่าดินแดนที่ดีทางใต้ น่าจะหมายถึงดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ดีไม่มีภัยพิบัติร้ายแรงทำนองนี้ จากบันทึกของจีนศูนย์กลางอาณาจักรฝูหนานอยู่ใกล้ปากแม่น้ำใหญ่ เมืองหลวงอยู่ห่างจากทะเลเข้าไปในแผ่นดิน 500 ลี้ ฝูหนานมีชายฝั่งทะเล 3000 ลี้หรือ 5000 ลี้(จำไม่ได้ไม่แน่ใจแต่น่าจะกินดินแดนถึงจังหวัดสุราษธานีเป็นอย่างน้อย) ดินแดนนี้ได้รับอิทธิพลจากชมพูทวีปมีกษัตริย์เป็นปกครอง ผู้ปกครองมีหนวดเคราหน้าตาเป็นชาวแขก ฝูหนานส่งเครื่องบรรณาการไปจีนเท่าที่เจอหลักฐานเก่าที่สุดตอนนี้ครั้งแรกส่งไปในยุคสามก๊กโดยส่งไปที่รัฐอู๋ หรือไทยเรียก ง่อก๊ก เนื่องจากจีนตอนนั้นวุ่นวายบ้านเมืองไม่สงบจึงมีหลักฐานเกี่ยวกับดินแดนอื่นๆ น้อยมาก
เมื่อ 2000 ปีที่แล้วชาวกรีก ชาวเปอร์เซีย ได้เดินทางติดต่อค้าขายกันกับจีนทางทะเลแล้ว แต่ยุคนั้นเป็นการเดินเรือเรียบชายฝั่งเพราะยังไม่มีวิธีต่อเรือลำใหญ่แล่นข้ามมหาสมุทรได้ ปโตเลมี เป็นนักดาราศาสตร์และนักภูมิศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ ค.ศ. 90-168 ได้วาดแผนที่โลกเอาไว้แต่แผนที่โลกที่ ปโตเลมี วาดเป็นยุคที่ยังไม่รู้ว่าโลกกลมและวาดแผนที่ตามการเดินเรือซึ่งเรียบชายฝั่งไปแตกต่างจากยุคราชวงส์ถังซึ่งต่อเรือใหญ่ได้และใช้แผนที่ดาวนำทางแล้ว แผนที่ ปโตเลมี จึงเป็น 2 มิติ เมื่อเทียบกับแผนที่ปัจจุบันก็จะทำให้งงและผู้คนส่วนใหญ่ก็จะมีความเห็นไม่ตรงกันตามนี้
รูปที่ 1 แผนที่อินเดียฝั่งนอกแม่น้ำคงคา ฉบับกรุงโรม ค.ศ. 1478
รูปที่ 2 แผนที่อินเดียฝั่งนอกแม่น้ำคงคา ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ จัดทำขึ้นโดยอาศัยเค้าโคลงของแผนที่ในรูปที่ 1 เพื่อให้ดูง่ายขึ้น R1-R17 นั้นคือปากแม่น้ำ C คือแหลม” (capes) ตั้งแต่นอกแม่น้ำคงคาไปจนถึงดินแดนจีน มีแหลมในดินแดนอินเดียฝั่งนอกแม่น้ำคงคาทั้งหมด 5 แหลม (C1 – C5) และมีแหลมในแดนจีน 2 แหลม (C6 – C7) สำหรับปากแม่น้ำนั้น พบว่า ในเขตอินเดียฝั่งนอกแม่น้ำคงคามีปากแม่น้ำ 13 แห่ง (R1 - R13) และในเขตแดนจีนมีปากแม่น้ำ 4 แห่ง (R14 - R17) เป็นที่น่าสังเกตว่าเขตแดนปลายสุดตะวันออกของ “โลกที่รู้จัก” นั้น ปโตเลมีระบุว่าอยู่ที่เมืองชื่อ “กัตติการะ” (หมายเลข 38) ดินแดนรอบแหลม C5 ซึ่งปโตเลมีเรียกว่า “แหลมใหญ่” (the Great Cape) ประเด็นสำคัญคือ ใกล้กับแหลมใหญ่นี้ มีเมืองสองเมืองชื่อ “ศาไบ” (Zabai; หมายเลข 22) และ “เมืองหลวงบาโลงกะ” (Balonga Metropolis; หมายเลข 24) ตามลำดับ สุดท้าย มี “อ่าวใหญ่” (the Great Gulf) กั้นระหว่างแหลมใหญ่กับแดนจีน
นักวิชาการตีความแผนที่นี้แตกต่างกันผมเองก็ดูจนมึนตีความ 3 รอบก็ไม่เหมือนกันก็เลยชวนเพื่อนสมาชิกเข้าไปอ่านและร่วมกันตีความเพื่อจะได้ข้อสรุปต่อไปครับ
อ่านเวปไซต์ต้นทางได้ที่นี่ https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/574