The Politics ดีลลับยังไม่ล่ม ส่งศาลรัฐธรรมนูญเชือดนายกฯ แค่สั่งสอน ไม่ได้เอาให้ถึงตาย
https://www.matichon.co.th/clips/news_4593962
รายการ The Politics X
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ คุยเรื่องสถานการณ์หลังศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง 40 สว. เรื่องจริยธรรมนายกรัฐมนตรีไว้พิจารณา แม้ไม่สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนต่ออนาคตของ
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล แต่ยังเชื่อว่า แค่เป็นการสั่งสอน ไม่ได้เอาให้ถึงตาย พร้อมประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ
‘กัณวีร์’ คัดค้านการส่งกลับทหารเมียนมาที่หนีทัพมาด้าน อ.อุ้มผาง หากก่ออาชญากรรมสงคราม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4593870
‘กัณวีร์’ คัดค้านการส่งกลับทหารเมียนมาที่หนีทัพมาด้านอ.อุ้มผาง จ.ตาก หากก่ออาชญากรรมสงคราม จี้ รัฐบาลอย่าใส่เกียร์ว่าง อยากเห็น รมว.กระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ แสดงบทบาทการแก้ไขสถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา
วันที่ 25 พฤษภาคม นาย
กัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม กล่าวถึง กรณีที่เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ทหารเมียนมา 31 นาย จากกองพันเคลื่อนที่เร็ว ที่ 557, 339 และ 311 ซึ่งประจำการอยู่ในหมู่บ้านโพซิมู อำเภอดูปลายา รัฐกะเหรี่ยง ได้หลบหนีออกจากฐาน ซึ่งทหารของ SAC (State Administration Council หรือ สภาบริหารแห่งรัฐ) ที่หลบหนีกลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับการสังหารพลเรือน 4 ราย รวมถึงสตรีมีครรภ์ 5 เดือน ก่อนที่จะมุ่งหน้าต่อไปและข้ามพรมแดนมาฝั่งไทย ยังหมู่บ้านเปิ่งเคลิ่ง ใน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
นาย
กัณวีร์ กล่าวว่า สถานการณ์การสู้รบบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องทำให้มีทั้งทหารเมียนมาและกองกำลังต่างๆรวมทั้งประชาชนที่หลบหนีการสู้รบเข้ามา ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลไทยต้องคำนึงใน 2 มิติคือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างไทย-เมียนมา และความสัมพันธ์ระดับพหุภาคี ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องเปิดรับคนที่หนีตายจากการสู้รบ ตามหลักมนุษยธรรม ขณะเดียวกันต้องยึดมั่นในหลักการหากผู้ที่หนีภัยเข้ามาเป็น SAC ที่เป็นอาชญากรสงคราม จำเป็นต้องพิจารณาให้ดี เพราะเป็นผู้ก่ออาชญากรรมระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นจำเป็นหรือไม่ที่ประเทศไทยต้องส่งกลับคนกลุ่มนี้ เพราะหากส่งกลับอาจกลายเป็นการสนับสนุนคนที่ก่ออาชญากรรมสงครามได้ เช่น การเผาบ้าน การสังหารผู้บริสุทธิ์
“
การใช้อำนาจทางทหารไปละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้บริสุทธิ์ เขาจะไม่ใช่ผู้ที่ได้รับการคุ้มครองระหว่างประเทศเพราะเป็นอาชญากรสงคราม เขาต้องได้รับการลงโทษจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งกฎหมายในประเทศตัวเองและกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาให้ดี” นาย
กัณวีร์ กล่าว
นาย
กัณวีร์ กล่าวว่า ประเทศไทยสามารถใช้กลไกความมั่นคงชายแดน ในการแก้ไขปัญหาได้อยู่แล้ว แต่จำเป็นต้องมีกรอบปฎิบัติในระดับนโยบายด้วย เพราะจะมีสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในกรณีแบบนี้ เพราะเกี่ยวกับหลักกฎหมายระว่างประเทศว่าด้วยมนุษยธรรม และการดำเนินการกับอาชญากรสงคราม ที่จะต้องเป็นจุดยืนระหว่างประเทศของไทยด้วย และกรณีนี้อยากเห็นคณะกรรมการเฉพาะกิจบริหารสถานการณ์อันเนื่องมาจากความไม่สงบในเมียนมา ที่ก่อนหน้านี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้ง นายปานปรีย์ พหิทธานุกร อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน แต่หลังนายปานปรีย์ ลาออก ยังไม่เห็นว่ารัฐบาลจะทำอย่างไรกับคณะกรรมการชุดนี้ จึงอยากเห็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ จัดการเรื่องนี้ด้วย
“
ผมอยากเห็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ ตัดสินใจเรื่องนี้ เพราะเป็นทั้งปัญหาเร่งด่วน และสิ่งที่ไทยต้องเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นอีก รัฐบาลไม่ควรใส่เกียร์ว่างกับปัญหาสถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา เพราะจะมีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันนี้ก็ยังไม่เห็นว่าจะทำอย่างไรต่อไป ไม่รวมถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร ที่พยายามเจรจากับกลุ่มต่างๆ สรุปแล้วใครจะเป็นคนกลางในเรื่องนี้กันแน่”
นาย
กัณวีร์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับการมีบทบาทในการสร้างสันติภาพในเมียนมา แต่จะมีหน้าที่กันอย่างไร ใครจะทำอะไร รัฐบาลไทยจะเป็นอะไร จะเป็น Peace Broker เป็น Mediator ต้องเอาให้ชัด โดยเฉพาะกรณีนี้มีภาคประชาสังคมกะเหรี่ยงร่วมคัดค้านการส่งกลับด้วย เช่น เครือข่ายสันติภาพกะเหรี่ยง (Karen Peace Support Network-KPSN) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทางการไทย ไม่ส่งผู้กระทำผิดเหล่านั้นกลับไปยังทางการเมียนมาโดยไม่สอบสวนการมีส่วนร่วมในการสังหาร เพื่อที่ทหารกลุ่มนี้จะได้รับผิดชอบต่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นนี้
เช่นเดียวกับ องค์กรสตรีกะเหรี่ยง (Karen Women’s Organization-KWO) โพสต์ข้อความว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ทหารเมียนมา 31 นายหลบหนีเข้าประเทศไทย ทหารเหล่านี้ถูกกล่าวหาว่าสังหารพลเรือน 4 รายรวมทั้งสตรีมีครรภ์ด้วย ขณะนี้พวกเขาอยู่ในความดูแลของกองทัพไทย องค์กรสตรีกะเหรี่ยงจึงขอเรียกร้องให้กองทัพไทย
สรุปเงินบาทอ่อนค่า ทำสถิติรอบกว่า 1 สัปดาห์ จับตาปัจจัยสำคัญต้องติดตาม
https://www.dailynews.co.th/news/3468089/
สรุปค่าเงินบาทรอบสัปดาห์ แตะระดับ 36.75 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ คาดกรอบสัปดาห์หน้า 36.40-37.00 บาทต่อดอลลาร์ จับตาเศรษฐกิจการเงิน ทิศทางเงินทุนต่างชาติ และราคาทองในตลาดโลก
“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” รายงานเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมา พลิกกลับมาแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ที่ 36.75 บาทต่อดอลลาร์ ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า เฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับสูงเป็นเวลานาน
เงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์สอดคล้องกับการดีดตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลกในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังมีความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์ในอิหร่าน ประกอบกับน่าจะมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขจีดีพีไตรมาสที่ 1/67 ของไทยซึ่งขยายตัวมากกว่าคาด และจากแรงซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ
อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาอ่อนค่าในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ และแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ที่ 36.75 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงสอดคล้องกับภาพรวมของสกุลเงินเอเชีย และการกลับมาร่วงลงของราคาทองคำในตลาดโลก
ขณะที่เงินดอลลาร์ ฟื้นตัวขึ้นตามแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ดีกว่าที่ตลาดคาด (อาทิ ดัชนี Composite PMI เดือน พ.ค. 67 ที่สูงสุดในรอบ 2 ปี และการปรับตัวลงของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 พ.ค. 67) ประกอบกับสัญญาณจากเฟด ยังคงสะท้อนความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐ ซึ่งทำให้เฟดจะยังไม่รีบปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอนาคตอันใกล้
ในวันศุกร์ที่ 24 พ.ค. 2567 เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ระดับ 36.68 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับ 36.21 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (17 พ.ค. 67) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 20-24 พ.ค. 2567 นั้น นักลงทุนต่างชาติกลับมาขายสุทธิหุ้นไทย 4,894 ล้านบาท แต่มีสถานะเป็น Net Inflows เข้าตลาดพันธบัตรไทย 7,725 ล้านบาท (ซื้อสุทธิพันธบัตรไทย 8,525 ล้านบาท หักตราสารหนี้หมดอายุ 800 ล้านบาท)
สัปดาห์ถัดไป (27-31 พ.ค.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 36.40-37.00 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ รายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือน เม.ย. ของ ธปท. ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์ราคาทองคำในตลาดโลก และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค. รายงาน Beige Book ของเฟด ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2567 (Second Estimate) ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย รายได้/รายจ่ายส่วนบุคคล และอัตราเงินเฟ้อที่วัดจาก PCE/Core PCE Price Indices เดือน เม.ย. และตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ตลาดอาจรอติดตามข้อมูลกำไรภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. และข้อมูล PMI เดือน พ.ค. ของจีน และตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค. ของยูโรโซน ด้วยเช่นกัน
JJNY : ดีลลับยังไม่ล่ม แค่สั่งสอน│‘กัณวีร์’ค้านส่งกลับทหารเมียนมาที่หนีทัพ│สรุปเงินบาทอ่อนค่า│จีนปิดฉากซ้อมรบรอบๆไต้หวัน
https://www.matichon.co.th/clips/news_4593962
รายการ The Politics X ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ คุยเรื่องสถานการณ์หลังศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง 40 สว. เรื่องจริยธรรมนายกรัฐมนตรีไว้พิจารณา แม้ไม่สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนต่ออนาคตของ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล แต่ยังเชื่อว่า แค่เป็นการสั่งสอน ไม่ได้เอาให้ถึงตาย พร้อมประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ
‘กัณวีร์’ คัดค้านการส่งกลับทหารเมียนมาที่หนีทัพมาด้าน อ.อุ้มผาง หากก่ออาชญากรรมสงคราม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4593870
‘กัณวีร์’ คัดค้านการส่งกลับทหารเมียนมาที่หนีทัพมาด้านอ.อุ้มผาง จ.ตาก หากก่ออาชญากรรมสงคราม จี้ รัฐบาลอย่าใส่เกียร์ว่าง อยากเห็น รมว.กระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ แสดงบทบาทการแก้ไขสถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา
วันที่ 25 พฤษภาคม นายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม กล่าวถึง กรณีที่เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ทหารเมียนมา 31 นาย จากกองพันเคลื่อนที่เร็ว ที่ 557, 339 และ 311 ซึ่งประจำการอยู่ในหมู่บ้านโพซิมู อำเภอดูปลายา รัฐกะเหรี่ยง ได้หลบหนีออกจากฐาน ซึ่งทหารของ SAC (State Administration Council หรือ สภาบริหารแห่งรัฐ) ที่หลบหนีกลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับการสังหารพลเรือน 4 ราย รวมถึงสตรีมีครรภ์ 5 เดือน ก่อนที่จะมุ่งหน้าต่อไปและข้ามพรมแดนมาฝั่งไทย ยังหมู่บ้านเปิ่งเคลิ่ง ใน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
นายกัณวีร์ กล่าวว่า สถานการณ์การสู้รบบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องทำให้มีทั้งทหารเมียนมาและกองกำลังต่างๆรวมทั้งประชาชนที่หลบหนีการสู้รบเข้ามา ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลไทยต้องคำนึงใน 2 มิติคือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างไทย-เมียนมา และความสัมพันธ์ระดับพหุภาคี ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องเปิดรับคนที่หนีตายจากการสู้รบ ตามหลักมนุษยธรรม ขณะเดียวกันต้องยึดมั่นในหลักการหากผู้ที่หนีภัยเข้ามาเป็น SAC ที่เป็นอาชญากรสงคราม จำเป็นต้องพิจารณาให้ดี เพราะเป็นผู้ก่ออาชญากรรมระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นจำเป็นหรือไม่ที่ประเทศไทยต้องส่งกลับคนกลุ่มนี้ เพราะหากส่งกลับอาจกลายเป็นการสนับสนุนคนที่ก่ออาชญากรรมสงครามได้ เช่น การเผาบ้าน การสังหารผู้บริสุทธิ์
“การใช้อำนาจทางทหารไปละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้บริสุทธิ์ เขาจะไม่ใช่ผู้ที่ได้รับการคุ้มครองระหว่างประเทศเพราะเป็นอาชญากรสงคราม เขาต้องได้รับการลงโทษจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งกฎหมายในประเทศตัวเองและกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาให้ดี” นายกัณวีร์ กล่าว
นายกัณวีร์ กล่าวว่า ประเทศไทยสามารถใช้กลไกความมั่นคงชายแดน ในการแก้ไขปัญหาได้อยู่แล้ว แต่จำเป็นต้องมีกรอบปฎิบัติในระดับนโยบายด้วย เพราะจะมีสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในกรณีแบบนี้ เพราะเกี่ยวกับหลักกฎหมายระว่างประเทศว่าด้วยมนุษยธรรม และการดำเนินการกับอาชญากรสงคราม ที่จะต้องเป็นจุดยืนระหว่างประเทศของไทยด้วย และกรณีนี้อยากเห็นคณะกรรมการเฉพาะกิจบริหารสถานการณ์อันเนื่องมาจากความไม่สงบในเมียนมา ที่ก่อนหน้านี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้ง นายปานปรีย์ พหิทธานุกร อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน แต่หลังนายปานปรีย์ ลาออก ยังไม่เห็นว่ารัฐบาลจะทำอย่างไรกับคณะกรรมการชุดนี้ จึงอยากเห็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ จัดการเรื่องนี้ด้วย
“ผมอยากเห็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ ตัดสินใจเรื่องนี้ เพราะเป็นทั้งปัญหาเร่งด่วน และสิ่งที่ไทยต้องเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นอีก รัฐบาลไม่ควรใส่เกียร์ว่างกับปัญหาสถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา เพราะจะมีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันนี้ก็ยังไม่เห็นว่าจะทำอย่างไรต่อไป ไม่รวมถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร ที่พยายามเจรจากับกลุ่มต่างๆ สรุปแล้วใครจะเป็นคนกลางในเรื่องนี้กันแน่”
นายกัณวีร์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับการมีบทบาทในการสร้างสันติภาพในเมียนมา แต่จะมีหน้าที่กันอย่างไร ใครจะทำอะไร รัฐบาลไทยจะเป็นอะไร จะเป็น Peace Broker เป็น Mediator ต้องเอาให้ชัด โดยเฉพาะกรณีนี้มีภาคประชาสังคมกะเหรี่ยงร่วมคัดค้านการส่งกลับด้วย เช่น เครือข่ายสันติภาพกะเหรี่ยง (Karen Peace Support Network-KPSN) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทางการไทย ไม่ส่งผู้กระทำผิดเหล่านั้นกลับไปยังทางการเมียนมาโดยไม่สอบสวนการมีส่วนร่วมในการสังหาร เพื่อที่ทหารกลุ่มนี้จะได้รับผิดชอบต่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นนี้
เช่นเดียวกับ องค์กรสตรีกะเหรี่ยง (Karen Women’s Organization-KWO) โพสต์ข้อความว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ทหารเมียนมา 31 นายหลบหนีเข้าประเทศไทย ทหารเหล่านี้ถูกกล่าวหาว่าสังหารพลเรือน 4 รายรวมทั้งสตรีมีครรภ์ด้วย ขณะนี้พวกเขาอยู่ในความดูแลของกองทัพไทย องค์กรสตรีกะเหรี่ยงจึงขอเรียกร้องให้กองทัพไทย
สรุปเงินบาทอ่อนค่า ทำสถิติรอบกว่า 1 สัปดาห์ จับตาปัจจัยสำคัญต้องติดตาม
https://www.dailynews.co.th/news/3468089/
สรุปค่าเงินบาทรอบสัปดาห์ แตะระดับ 36.75 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ คาดกรอบสัปดาห์หน้า 36.40-37.00 บาทต่อดอลลาร์ จับตาเศรษฐกิจการเงิน ทิศทางเงินทุนต่างชาติ และราคาทองในตลาดโลก
“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” รายงานเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมา พลิกกลับมาแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ที่ 36.75 บาทต่อดอลลาร์ ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า เฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับสูงเป็นเวลานาน
เงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์สอดคล้องกับการดีดตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลกในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังมีความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์ในอิหร่าน ประกอบกับน่าจะมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขจีดีพีไตรมาสที่ 1/67 ของไทยซึ่งขยายตัวมากกว่าคาด และจากแรงซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ
อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาอ่อนค่าในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ และแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ที่ 36.75 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงสอดคล้องกับภาพรวมของสกุลเงินเอเชีย และการกลับมาร่วงลงของราคาทองคำในตลาดโลก
ขณะที่เงินดอลลาร์ ฟื้นตัวขึ้นตามแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ดีกว่าที่ตลาดคาด (อาทิ ดัชนี Composite PMI เดือน พ.ค. 67 ที่สูงสุดในรอบ 2 ปี และการปรับตัวลงของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 พ.ค. 67) ประกอบกับสัญญาณจากเฟด ยังคงสะท้อนความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐ ซึ่งทำให้เฟดจะยังไม่รีบปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอนาคตอันใกล้
ในวันศุกร์ที่ 24 พ.ค. 2567 เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ระดับ 36.68 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับ 36.21 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (17 พ.ค. 67) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 20-24 พ.ค. 2567 นั้น นักลงทุนต่างชาติกลับมาขายสุทธิหุ้นไทย 4,894 ล้านบาท แต่มีสถานะเป็น Net Inflows เข้าตลาดพันธบัตรไทย 7,725 ล้านบาท (ซื้อสุทธิพันธบัตรไทย 8,525 ล้านบาท หักตราสารหนี้หมดอายุ 800 ล้านบาท)
สัปดาห์ถัดไป (27-31 พ.ค.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 36.40-37.00 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ รายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือน เม.ย. ของ ธปท. ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์ราคาทองคำในตลาดโลก และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค. รายงาน Beige Book ของเฟด ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2567 (Second Estimate) ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย รายได้/รายจ่ายส่วนบุคคล และอัตราเงินเฟ้อที่วัดจาก PCE/Core PCE Price Indices เดือน เม.ย. และตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ตลาดอาจรอติดตามข้อมูลกำไรภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. และข้อมูล PMI เดือน พ.ค. ของจีน และตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค. ของยูโรโซน ด้วยเช่นกัน