JJNY : ชี้ ส.ว.จิ๊กซอว์ยุทธศาสตร์ชนชั้นนำ│สมชัยให้กำลังใจปานปรีย์│“มะพร้าว”ราคาพุ่งเป็นประวัติการณ์│เกาหลีเหนือประณาม US

ประจักษ์ ชี้ ส.ว. จิ๊กซอว์ยุทธศาสตร์ชนชั้นนำ ยิงมุขแนะอบรมฮาวทูรัฐประหารหารายได้เข้าปท.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4549698

ประจักษ์ ชี้ ส.ว. จิ๊กซอว์ยุทธศาสตร์ชนชั้นนำ ยิงมุขแนะอบรมฮาวทูรัฐประหารหารายได้เข้าปท.
 
เมื่อวันที่ 28 เมษายน ที่ห้องประชุมชั้น 1 หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศกิจกรรม ‘เปลี่ยน สว. ได้ ประเทศไทยเปลี่ยน’ โดยมีการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ปี 2567 สายศิลปิน นักเขียน สื่อมวลชน
 
บรรยากาศเมื่อเวลาประมาณ 15.00 น. ว่าที่ผู้สมัคร ส.ว. เดินทางเข้าร่วม พร้อมด้วยประชาชนที่ให้ความสนใจต่อประเด็นดังกล่าว รวมถึงนักวิชาการสาขาต่างๆ โดยมีการจับกลุ่มพูดคุก่อนเริ่มต้นกิจกรรมซึ่งตามกำหนดการจะมีการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครในเวลา 16.00 น.
 
สำหรับว่าที่ผู้สมัคร ส.ว. สายศิลปิน นักเขียน สื่อมวลชน ที่เข้าร่วม ได้แก่ นายศิรศักดิ์ อิทธิพลพาณิชย์ ศิลปิน, นายพิเชษฐ กลั่นชื่น ศิลปินรางวัลศิลปาธร, น.ส.นารากร ติยายน สื่อมวลชน, นายซะการีย์ยา อมตยา กวีชีไรต์, น.ส.ดุจดาว วัฒนปกรณ์ ศิลปิน, นายธีระวัฒน์ รุจินธรรม ผู้กำกับภาพยนตร์, นายประกิต กอบกิจวัฒนา ศิลปีน, นายถนัด ธรรมแก้ว หรือ ภู กระดาษ นักเขียน, ดร.ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักโบราณคดี,  น.ส.ชลณัฏฐ์ โกยกุล สื่อมวลชน, น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร สื่อมวลชน, นายธีระวัฒน์ มุลวิไล ศิลปิน, นายประทีป คงสิบ สื่อมวลชน, น.ส.จารุนันท์ พันธ์ชาติ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดง และบันเทิง, น.ส.หทัยรัตน์ พหลทัพ สื่อมวลชน, น.ส.ภาวินี ฟอฟิ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดง และบันเทิง
 
เวลา 15.30 น. รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ ‘เหลียวหลัง แลหน้า วุฒิสภาไทย เอาอย่างไรกันต่อดี’ มีเนื้อหาเกี่ยวกับมิติทางประวัติศาสตร์ และการเมืองการก่อเกิดวุฒิสภาจากรัฐประหาร 2490 ถึงการเลือกตั้ง 2567
 
ในตอนหนี่ง รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าวว่า ในปัจจุบันเรากำลังจะเผชิญกับเกมของชั้นชนนำ ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย ในทั่วโลกชนชั้นนำที่ไม่อยากให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย ในยุคปัจจุบันเขาทำอย่างไรได้บ้าง รัฐประหารค่อนข้างยาก บ้านเรายังมีการรัฐประหารอยู่
 
แต่การรัฐประหารในโลกปัจจุบัน คือจุดเริ่มต้นของการทำลายประชาธิปไตย ไม่ใช่จุดสิ้นสุดประชาธิปไตย เพราะว่า เมื่อ ทำรัฐประหารแล้ว ไม่สามารถปกครองตลอดไปได้ โดยไม่มีการเลือกตั้ง ดังนั้นจะทำอย่างไร” รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าว
 
รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าวต่อว่า หากคุณเป็นชนชั้นนำ ที่ไม่อยากให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย เกมที่ถูกบีบด้วยกระแส และค่านิยมของการเมืองโลก ที่มีประชาธิปไตยเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำ โดยเกมส์ของชนชั้นนำนั้น
 
มี 3 กลวิธีที่ชนชั้นนำใช้ในการทำลายและขัดขวางประชาธิปไตยและทำให้ประชาธิปไตยอ่อนแอ
 
1. เปลี่ยนกติกา (changing rules) ร่างกติการให้เปลี่ยนให้ได้
2. คุมกรรมการ (capturing referees) ไม่ใช่แค่กรรมการการเลือกตั้งเท่านั้น ยังมีองค์กรอิสระต่างๆ เอาคนตัวเองไปใส่ในองค์กรต่างๆ
3. ทำให้ฝ่ายค้านชนชั้นนำอ่อนแอ (sidelining opposition) ทำให้ผู้เล่นอ่อนแอ ง่ายที่สุดคือการยุบพรรคฝ่ายค้าน ให้เขาอ่อนแอ หากเป็นไปได้
การรัฐประหารจึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้น มิใช่จุดสิ้นสุดของการทำลายประชาธิปไตย ในบริบทของไทย สว. คือ ข้อต่อสำคัญในเกมของชนชั้นนำ“ รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าว
 
รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ชนชั้นนำมีทักษะสูง การรัฐประหารสามารถจัดนิทรรศการได้เลย หารายได้เข้าประเทศได้เลย อบรมการรัฐประหารการทำรัฐประหารให้สำเร็จ และครองอำนาจได้
 
หากถามว่า สว. สำคัญอย่างไร โดยเฉพาะบริบทของประเทศไทย คือจิ๊กซอว์ของยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำ เป็นจุดที่เชื่อมต่อเทคนิคการครองอำนาจเข้าด้วยกัน
 
รัฐธรรมนูญฉบับผู้แทนราษฎรของไทย ต่อให้ผู้แทนเห็นด้วย 100% ที่จะแก้ แต่ถ้า สว. 1 ใน 3 ไม่เห็นชอบ ก็จะขัดขวาง ไม่ให้แก้กติกา ที่เป็นประชาธิปไตยได้
 
สว. ยังอยู่ในองค์กรอิสระต่างๆ และองค์กรอิสระเหล่านั้นเป็นฟันเฟื่องเหล่านั้นจะทำให้ภาคประชาชนอ่อนแอลงได้ ซึ่ง สว. เป็นคนให้ดำเนินองค์กรเหล่านั้น” รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าว
 
รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าวต่อว่า ทำไมถึงการเลือก สว. ครั้งนี้ถึงสำคัญ?
 
ประวัติศาสตร์ สว. ไทย สะท้อนความผันผวนของประชาธิปไตยไทย สว. ไม่จำเป็นต้องเป็นศัตรูของประชาธิปไตยเสมอไป แต่ของประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นเช่นนั้นเกือบตลอดประวัติศาสตร์ จุดเริ่มต้น สว.แต่งตั้งมาพร้อมกับจุดเริ่มตันของระบอบเผด็จการทหารในสังคมไทย รัฐประหาร 2490 โดยสรุป 3 ข้อ
 
1. สว. ไทยเกือบทุกชุด คือ ผู้พิทักษ์ระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
2. รักษาระบอบ การเมือง เศรษฐกิจ แบบคณาธิปไตยของชนชั้นนำกลุ่มน้อย (minority elite) เครือข่ายอุปถัมภ์ขนาดใหญ่ ดังนั้น เราจึงไม่เคยเห็นผู้แทนที่มาจาก กรรมกร ชาวนา เกษตรกร
3. สว. ไทยไม่ได้ถูกออกแบบให้ตรวจสอบรัฐบาล “ยกเว้นรัฐธรรมนูญ 2540” แต่เป็นส่วนขยายของรัฐบาล ทำหน้าที่ค้ำจุนระบอบ มากกว่าการทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล สว.ไทยเป็นส่วนขยายของรัฐบาล เป็นเหมือนอวัยวะที่งอกออกมา
 
ดังนั้น วุฒิสภา คือ พื้นที่การสร้างเครือข่ายอุปถัมภ์ของชนชั้นนำ (network of elite) ตอนนี้คือถึงเวลาที่ควรจะแก้ไขสักที” รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าว
 
รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าวถึง การพัฒนาการวุฒิสภาไทยมีดังนี้ พ.ศ. 2475-2489 มีสภาเดียว ไม่มีสว., พ.ศ. 2489 มีสองสภาครั้งแรก จากการเลือกตั้งโดยอ้อม, พ.ศ. 2490 มีวุฒิสภาจากการแต่งตั้งเป็นครั้งแรก
 
พอมาถึงยุครัฐบาลถนอม กิตติขจร สว. แต่งตั้งเลือกนายกฯ ได้ครั้งแรก อภิปายไม่ไว้วางใจได้ และมีอำนาจมาก สว. มีส่วนเลือกนายก สว.มีสิทธิตกกฎหมายที่ ส.ส.นำเสนอ เมื่อไหร่ที่มีรัฐประหาร มักมี สว. แต่ตั้งขึ้นมา ที่มีอำนาจมากเสมอตามมาด้วย รัฐธรรมนูญ 2521 บทเฉพาะกาล 4 ปี สว. ร่วมลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ ร่วมเสนอนายกฯ ได้ 

จุดเปลี่ยนสำคัญคือ 2540 ด้วยกระแสปฏิรูปการเมืองเลือกตั้งทั้งหมด แต่เบี่ยงหลังมีการถกเถียงกันค่อนข้างเยอะ พร้อมอำนาจใหม่ในการสรรหา-รับรององค์กรอิสระ แนวคิดกลุ่มอาชีพก็มาในช่วงนี้“รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าว

รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่ตามจากการเลือกตั้งใน สว.ครั้งนี้ ให้อำนาจกับสว. อย่างมาก รัฐธรรมนูญ 2540 ได้สร้างองค์กรอิสระขึ้นมามากมาย รัฐธรรมนูญในครั้งนี้เอาอำนาจของคนที่ไปอยู่กับองค์กรอิสระ ไปอยู่กับ สว. และอำนาจนั้นยังคงตกค้างมาถึงทุกวันนี้
มาถึง พ.ศ. 2550 คนละครึ่ง เลือกตั้งครึ่งหนึ่ง ให้แต่งตั้งครึ่งหนึ่ง ครั้งล่าสุดใน พ.ศ. 2560 ระบบพิสดาร โดยมีบทเฉพาะกาล 5 ปีแรกให้คสช. แต่งตั้งทั้งหมด ซึ่งไม่ใช่การเลือกตั้ง ที่สำคัญให้สว. มีอำนาจในการเลือกนายกได้โดยตรง โดยระบบนี้ถอยหลังไปกว่าเดิมอีก

หากเราไปดู รัฐธรรมนูญในอดีต ยุค ถนอม กิตติขจร ประชาธิปไตยครึ่งใบ ยังไม่กล้าเขียนไว้เลยว่า ให้อำนาจ สว. เลือกนายกโดยตรง เพียงแต่ว่า ตอนนั้นสว.มาเลือกนายกได้

เพราะรัฐธรรมนูญไทยในอดีต เขากำหนดให้ประธานวุฒิสภา เป็นประธานรัฐสภา แปลว่า วุฒิสภา ที่มาจากการแต่งตั้งใหญ่โต และมีศักดิ์ศรี เหนือกว่าประธานสภาที่มาจากประชาชน พอเลือกนายก เขาก็บอกว่า ให้สว.มาเลือกนายกด้วย
 
ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เปิดช่วงโหว่เอาไว้ ในการเลือกนายกอย่างชัดเจน รัฐธรรมนูญ 2560 ย้อนกลับไปอย่างล่าหลังจำนวนมาก” รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าว
 
รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าวถึงการดีไซน์รัฐธรรมนูญ 2560 มาเป็นระบอบประชามติเป็นกฎไกลที่ดีมาก แบบทางตรงที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้ ได้รับความคิดเห็นของประชาชน
 
ซึ่งดีไชน์รัฐธรรมนูญ 2560 นั้น บิดเบือนกลไกประชาธิปไตยเพื่อรักษาระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยสภาของตัวแทนกลุ่มอาชีพ ที่ปราศจากการมีส่วนร่วมและยึดโยงประชาชน ซึ่งชนชั้นนำควบคุมได้ (corporatism)
 
ประชาชนถูกกีดกันออกไป ประชาชนไม่ได้มีสิทธิในการเลือก สว. ฉะนั้น สว. ที่ได้มาจากการออกแบบ จะมีการยึดโยงจากประชาชนน้อยมาก ประชาชนบางคนยังไม่รู้เลยว่า สว. ชุดใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น เขาไม่ได้เลือก โดยออกแบบเหมือนเป็นการกีดกันประชาชนออกไป“รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าว
 
รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าวต่อว่า การเปลี่ยนการเลือกตั้ง (election) ให้กลายเป็นการเลือกสรร (selection) กีดกันประชาชนออกไปselectorate หากประชาชนไม่มีส่วนร่วม เขาก็จะไปเลือกกันเองแบบเงียบๆ และการดึงมาเป็นพวก (co-potation) คือ ผู้มีอำนาจ ไปดึงพวก ให้เป็นพวกเขาได้
 
สะท้อนว่าชนชั้นนำอนุรักษนิยมยังคงต้องการสงวนกลไกวุฒิสภาไว้ให้เป็นกลไกค้ำจุนอำนาจของตน แม้ในวันที่ตนไม่อยู่ในตำแหน่งแล้ว คือทำพินัยกรรมทิ้งไว้ และ สว. เป็นผู้รักษาพินัยกรรม
 
หากสังคมที่เป็นเป็นประชาธิปไตย ต้องมาจากประชาชนเลือก ในสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย คือทำให้กลุ่มคนเลือกให้เล็กที่สุด เลือกสรร หรือสรรหากันเอง ยิ่งกลุ่มเล็กเท่าไหร่ ความเป็นประชาธิปไตยก็น้อยลงเท่านั้น” รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าว


 
สมชัย ให้กำลังใจ ปานปรีย์ เพื่อนร่วมรุ่นนิติ จุฬาฯ ชี้ ปรับครม.ครั้งนี้ รัฐบาลขาดทุน เสียคนเก่ง-ทุ่มเท https://www.matichon.co.th/politics/news_4549827

สมชัย ให้กำลังใจ ปานปรีย์ เพื่อนร่วมรุ่นนิติ จุฬาฯ ชี้ ปรับครม.ครั้งนี้ รัฐบาลขาดทุน เสียคนเก่ง-ทุ่มเท
 
จากกรณี นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี หลังการปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่อนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีนั้น

เมื่อวันที่ 29 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความผ่านเพจ “สมชัย ศรีสุทธิยากร” ระบุว่า
 
ให้กำลังใจเพื่อนปานปรีย์

ปานปรีย์เรียนนิติจุฬา 19 รุ่นเดียวกับผม แต่ไม่รู้จักกันเพราะผมเรียนปีเดียวและไม่ค่อยได้เข้าห้องเรียนเท่าไร มาเรียนร่วมชั้น ปปร. 4 ด้วยกันอีกทีเมื่อราว 20 ปีที่ผ่านมา
 
ผมมาจากสาย NGO ส่วนปานปรีย์มาจากสายการเมือง  เราคุยกันแลกเปลี่ยนความเห็นกัน และยอมรับว่าเขาเป็นคนตรงและมีความรู้ความสามารถไม่น้อย
วันที่เขารับตำแหน่งรองนายกและรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ  ผมยังชมว่านี่คือคนที่เป็นหน้าเป็นตาของ ครม.ชุดนี้

ยิ่งทราบว่า ในตำแหน่งรองนายก  เขากำกับดูแล กพ. กพร.  สภาพัฒน์  ผมคิดในใจว่านี่แหละ put the right man to the right job เพราะปานปรีย์จบโทและเอก ด้าน Public Administration และรู้เรื่องระบบราชการเป็นอย่างดี
 
ในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ  ผมแอบดูห่าง ๆ แต่ก็เห็นความทุ่มเทในการเจรจาต่างประเทศ  แม้บางเรื่องอาจดูช้าไปบ้าง แต่เข้าใจว่าคงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่โผงผางมากหรือพูดเร็วไปไม่ได้

 
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่