สหรัฐสนับสนุนรัฐประหารในไทยอย่างไร?
16 กันยายน 2563
มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าสหรัฐมีส่วนพัวพันกับการทำรัฐประหารในหลายประเทศ เฉพาะในยุคสงครามเย็นสหรัฐเข้าไปมีบทบาทในการเปลี่ยนรัฐบาลหลายครั้ง
1. เอาเฉพาะแค่เพื่อนบ้านของไทยก็เช่น การสนับสนุนจอมพล ลอน นอล ก่อการรัฐประหารล้มอำนาจของเจ้าสีหนุในปี 1969 แล้วสถาปนาระบอบสาธารณรัฐ มีหลักฐานว่าลอน นอลเสนอแนวคิดเรื่องการก่อรัฐประหารกับหน่วยข่าวกรองทางทหารของสหรัฐเพื่อขอความยินยอมจากรัฐบาลสหรัฐขอการสนับสนุนทางทหาร เมื่อรัฐประหารสำเร็จแล้วรัฐบาลลอน นอล ไฟเขียวให้สหรัฐทิ้งระเบิดในกัมพูชาเพื่อตัดเส้นทางของพวกเวียดนามเหนือที่อ้อมเข้ามาใช้พื้นที่แทรกซึมเข้าไปยังเวียดนามใต้
2. ในปี 1965 CIA สนับสนุนนายทหารหนุ่มชื่อซูฮาร์โตให้ทำรัฐประหารโค่นล้มประธานาธิบดีซูการ์โน หลังจากยึดอำนาจได้แล้วซูฮาร์โตกวาดล้างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินโดนีเซียอย่างขนานใหญ่จนกลายเป็นการสังหารหมู่ที่มีคนตายถึง 500,000 - 1,000,000 คน ทูตสหรัฐยังกระตุ้นให้รัฐบาลทหารจัดการฝ่ายตรงข้ามด้วยวิธีการรุนแรง และมีเอกสารยืนยันว่ารัฐบาลสหรัฐรับรู้และช่วยเหลือการสังหารหมู่เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับสหรัฐเองในช่วงสงครามเย็น
3. นี่เป็นเพียงตัวอย่างแค่เล็กน้อยมากๆ เท่านั้นกับการที่สหรัฐเข้าไปบงการชะตากรรมของประเทศอื่นเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง คำถามก็คือสหรัฐเข้ามาก้าวก่ายไทยมากแค่ไหนในช่วงสงครามเย็น? เพราะช่วงสงครามเย็นเป็นช่วงที่ไทยทำรัฐประหารถี่ที่สุดช่วงหนึ่ง โดยที่ไทยยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของ " โลกเสรี " ในการต้านทานกับฝ่ายคอมมิวนิสต์
4. บันทึกช่วยจำจากเสนาธิการร่วมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โรเบิร์ท แมคนามารา เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2507 ว่าด้วยโอกาสที่จะมีการก่อรัฐประหารในไทย ซึ่งในเวลานั้นนายกรัฐมนตรีของไทยคือจอมพล ถนอม กิตติขจร และสงครามเย็นกำลังคุกรุ่น โดยบันทึกบอกว่าแม้ไทยจะทำรัฐประหารจนเป็นเรื่องปกติ แต่ " ในแง่ของสถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน อาจสร้างปัญหาทางการเมืองที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อสถานะทางการของสหรัฐในพื้นที่นั้นอย่างมากที่สุด "
5. บันทึกชี้ว่า " ลักษณะของรัฐบาลไทยที่อาจเกิดขึ้นจากการรัฐประหารควรจะเป็นฝ่ายที่สนับสนุนสหรัฐ ไม่เช่นนั้นสถานะของสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเสียหายอย่างหนัก " และ " ไม่ว่าลักษณะของการรัฐประหารจะเป็นอย่างไร สหรัฐควรดำเนินการเพื่อรับประกันความต่อเนื่องของสถานะที่เป็นอยู่ ตราบเท่าที่กำลังทหารและปฏิบัติการของสหรัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง "
6. ดังนั้นเสนาธิการร่วมจึงแนะนำกับแมคนามาราว่า ประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีจุดยืดต่อต้านคอมมิวนิสต์และโปรสหรัฐ ประเทศไทยที่มีสเถียรภาพมีความสำคัญยิ่งยวดต่อสถานะทางทหารของสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมีผู้แจ้งกับสหรัฐเรื่องการรัฐประหาร สหรัฐควรสกัดกั้นไม่ให้เกิดการทำเช่นนั้นด้วยวิธีการที่เหมาะสม
7. แต่ทว่า " หากมีการรัฐประหารที่สนับสนุนตะวันตก สหรัฐควรดำเนินการในทันทีเพื่อรับประกันการยืนยันสิทธิในการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐในประเทศไทยและยังคงให้ความร่วมมือและการสนับสนุนทางทหารของไทยต่อไป " หมายความว่าแม้จะมีการทำรัฐประหารเกิดขึ้น แต่หากรัฐบาลใหม่โปรสหรัฐ สหรัฐก็จะสนับสนุน
8. ในกรณีที่รัฐบาลใหม่มีจุดยืนต่างจากสหรัฐ เสนาธิการร่วมแนะนำว่า " หากกลุ่มสนับสนุนแนวคิดไม่ฝักฝ่ายใดหรือฝ่ายโปรคอมมิวนิสต์ก่อรัฐประหารเกิดขึ้น สหรัฐควรพยายามคืนอำนาจให้รัฐบาลเดิมหรือตัวแทนที่ยอมรับได้โดยให้การสนับสนุนกลุ่มนั้นๆ หรือกลุ่มต่อต้านรัฐประหารที่คาดว่าจะเกิดขึ้นซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าว "
9. " ในกรณีที่มาตรการดังกล่าวล้มเหลวในการต่อต้านการทำรัฐประหารโดยฝ่ายโปรคอมมิวนิสต์ สหรัฐควรเตรียมพร้อมที่จะดำเนินการทางทหารที่เหมาะสมเพื่อปกป้องผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของสหรัฐในพื้นที่และ/หรือเพื่อฟื้นฟูรัฐบาลไทยที่สนับสนุนสหรัฐ ให้กลับมามีอำนาจ "
10. นี่คือท่าทีที่สหรัฐจะใช้กับไทย หากรัฐประหารในไทยไม่สมประโยชน์กับจุดยืนของสหรัฐ เช่น มีรัฐบาลที่เอนเอียงไปทางฝ่ายตรงข้ามของสหรัฐ หรือแม้แต่รัฐบาลที่วางตัวเป็นกลางก็เอาไว้ไม่ได้ ซึ่งกรณีหลังเราจะเห็นการสนับสนุนของสหรัฐเพื่อโค่นล้มรัฐบาลไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในกัมพูชาและอินโดนีเซียอย่างที่กล่าวไปข้างต้น
11. แต่ในช่วงระยะกลางของสงครามเย็น ท่าทีของสหรัฐต่อการทำรัฐประหารของไทยเปลี่ยนไปโดยพยายามรักษาความเป็นกลางมากขึ้นเพราะการเมืองในไทยมีพัฒนาการไปในทางเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นโดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กอปรกับในช่วงนั้นสหรัฐพยายามลดบทบาทลงในสงครามเวียดนามจนกระทั่งถอนกำลังทหารออกจากเวียดนามในปี 2518
12. จากเอกสารวันที่ 9 เมษายน 2517 หรือหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มาได้ประมาณ 6 เดือนบรรยากาศในไทยก็เริ่มคุกรุ่นขึ้น แม้จะเพิ่งมีการโค่นล้มจอมพลถนมและพลพรรค " สามทรราช " มาได้หมาดๆ แต่กลุ่มผู้มีอำนาจเริ่มที่จะไม่พอใจขบวนการนักศึกษามากขึ้น จนมีข่าวว่าอาจจะมีการทำรัฐประหาร ทาง CIA ได้เตรียมพร้อมสถานการณ์โดยหัวหน้าฝ่ายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ส่งบันทึกแนะนำมายังผู้อำนวยการ CIA
13. ข้อแนะนำระบุว่า " เรา (รัฐบาลสหรัฐ) ควรตระหนักว่าเรามีความสนใจที่จะสานต่อความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลไทยเกือบทุกรัฐบาลที่อาจจะตั้งขึ้นโดยการรัฐประหาร " หากดูเผินๆ เหมือนกับว่ารัฐบาลสหรัฐ " ยอมรับ " รัฐบาลจากการทำรัฐประหาร
14. อย่างไรก็ตามบันทึกแนะนำว่า " หากผู้วางแผนรัฐประหารบอกเราล่วงหน้าถึงแผนการของพวกเขาและขอการสนับสนุนจากเราเราควรระงับการสนับสนุนดังกล่าว [ข้อความไม่เปิดเผย] " ซึ่งจากข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าสหรัฐอาจจะยอมรับรัฐบาลจากการรัฐประหาร แต่ไม่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยทำให้การยึดอำนาจสำเร็จ
15. และสหรัฐยังไม่กล้าเข้ามาแทรกแซงแผนการก่อรัฐประหารของไทยโดยบอกว่า " หากเราแทรกแซงในทางใดทางหนึ่งเพื่อป้องกันการรัฐประหาร แล้วการรัฐประหารทำสำเร็จ ก็รังแต่จะทำให้ความบาดหมางต่อความสัมพันธ์ในอนาคตของเรากับรัฐบาลไทยชุดใหม่ "
16. โดยสรุปก็คือหากเกิดรัฐประหารในไทยใดๆ ก็ตาม " สหรัฐควรรักษาความเป็นส่วนตัวและหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ดังกล่าว แต่ควรดำเนินโครงการความช่วยเหลือและการติดต่อกับรัฐบาลต่อไปในระดับปัจจุบัน " และ " เมื่อการรัฐประหารประสบความสำเร็จและความวุ่นวายได้สงบลงแล้วสหรัฐควรยอมรับสถานการณ์นี้อย่างชัดเจน "
17. เอกสารเหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลส่วนน้อยนิดเท่านั้นที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย - สหรัฐในช่วงที่สถานการณ์โลกหมิ่นเหม่ ยังมีข้อมูลอีกมากที่ยังไม่ได้เปิดเผย หรือเปิดเผยแล้วมีสถานะผิดกฎหมายเช่นเอกสารของ Wikileaks ซึ่งกล่าวถึงการทำรัฐประหารในไทยเมื่อปี 2549 เอาไว้ แต่โดยธรรมชาติของมันยังเป็นเอกสารลับของรัฐบาลอยู่
18. อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์ของบทความนี้ก็เพื่อชี้ให้เห็นถึงท่าทีของสหรัฐต่อไทยในช่วงสงครามเย็น และในเวลานี้สงครามเย็นครั้งใหญ่ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ไทยตกอยู่ท่ามกลางการแย่งชิงผลประโยชน์ระหว่างสหรัฐและจีน เหมือนเมื่อครั้งสงครามเย็น (ครั้งแรก) ยกเว้นแค่ว่าสงครามเย็นครั้งนี้ไม่ใช่การต่อสู้ด้วยอุดมการณ์ (เสรีนิยมกับคอมมิวนิสต์) แต่เป็นการแย่งชิงอิทธิพลกัน
19. จากเอกสารเหล่านี้ บางทีเราอาจนำมาใช้เป็นบทเรียนได้ว่าในสถานการณ์โลกที่หมิ่นเหม่อีกครั้ง หากประเทศไทยเกิดสถานการณ์ที่ไม่มั่นคงขึ้นมา จะเป็นโอกาสให้มือที่สามเข้ามาแทรกแซงเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง บรรดา " ตัวละครทางการเมือง " ต่างๆ ในเมืองไทย จะถูกชักใยและสนับสนุนโดยต่างชาติเพื่อรักษาผลประโยชน์ของต่างชาติ ไม่ใช่ผลประโยชน์ของไทย
บทความโดย กรกิจ ดิษฐาน
ที่มา
https://www.posttoday.com/international-news/633054
บทความด้านบนเป็นเพียงหลักฐานหนึ่งเท่านั้น
จขกท ขอขยายความว่า การรัฐประหาร เป็นการ " ตัดสินใจ " ของกองทัพ ไม่ใช่สหรัฐฯ
และสหรัฐฯ ไม่ได้เป็นมหาอำนาจเดียวที่ทำแบบนี้กับเรา จีนก็ทำกับเราเหมือนกันแต่ทำในทางการเมือง
โดยสาเหตุหลักที่สหรัฐฯ สนับสนุนการรัฐประหารในไทย คือ สู้อิทธิพลคอมมิวนิสต์ทั้งนอกและในไทยที่ยังมีอยู่มาก
และ กลับกัน แล้วจีน สนับสนุนคอมมิวนิสต์ในไทยอย่างไร ?
เริ่มจาก สร้างความเข้าใจผิดในชนบท ที่ห่างไกลอำนาจรัฐ แล้วสร้างข่าวลือโกหกแก่ประชาชน
ต่อหน่วยงานราชการ สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันทหาร สถาบันประชาธิปไตย ระบบทุนนิยม
ด้วยการส่งเสริมนักการเมืองท้องถิ่นสายคอมฯ ใช้แนวคิด (แบบคอมมิวนิสต์)
สร้างการประชานิยม จากจำนวนฐานเสียงของประชาชนที่มากกว่า
สร้างคะแนนนิยมทางการเมือง เพื่อให้ขึ้นไปถึงระดับสมาชิกผู้แทนราษฎร
หัวคะแนน > ผู้ใหญ่ > กำนัน > นายกฯ อบต. / ทศบ. / อบจ. > ส.ส. > รัฐมนตรี > นายกรัฐมนตรี
จนทำให้เกิดเผด็จการรัฐสภา (แบบที่พรรคอดีตนายกเคยทำ) เป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยอย่างเป็นระบบ
แต่ในปัจจุบัน คอมมิวนิสต์มีการแทรกซึมมากขึ้นเรื่อยๆ
เช่น การได้รับสัญชาติแบบผิดกฎหมาย (ขายสัญชาติโดยข้าราชการ) ค้ามนุษย์ (ผ่านการอุ้มบุญ) ลัทธิ ความเชื่อ (ส่วนมากมาจากจีน)
สานความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติ สานความสัมพันธ์ทางการเมือง สานความสัมพันธ์ทางทหาร (โดยเฉพาะทางภาคเหนือของไทย)
แล้วสำหรับการแทรกแซงรัฐประหารของสหรัฐฯในประเทศไทย จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
หากกองทัพไม่เห็นด้วย ทำได้เพียงทางการเมืองเท่านั้น และ เราก็ได้เห็นอะไรแปลกๆ ตั้งแต่ปี 2014 - ปัจจุบัน เช่น
ฝ่ายซ้ายสุดโต่งที่ออกไปประท้วงรัฐบาลทหาร บอกว่า ตัวเองเป็นประชาธิปไตยมาต่อต้านเผด็จการ
แต่หากรู้ว่าใครสนับสนุนรัฐประหารที่ผ่านมา คงจะขำไม่ออก เพียงเพราะไม่ได้รู้สาเหตุ เกี่ยวกับที่มาของรัฐบาลทหารเลย
เช่นเดียวกับฝ่ายขวา ที่สนับสนุนรัฐบาลทหาร แล้วต่อต้านขับไล่สหรัฐฯ ก็ไม่รู้ตัว ว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์อะไร เช่นเดียวกัน
จขกท คิดว่า รัฐประหารที่ผ่านมา หรือ หากเกิดขึ้นอีกในอนาคต กองทัพและสหรัฐฯ จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง
เพราะ หากไม่ทำ เราก็จะโดนล้างระบอบประชาธิปไตยทิ้ง ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง แล้วได้กลายเป็นคอมมิวนิสต์อย่างแน่นอน
และหากเราจะประนีประนอมกับคอมมิวนิสต์ เหมือนสมัยก่อน คงจะไม่เป็นผลดีต่อประเทศไทยอีกต่อไป
เพราะเราเป็นประเทศประชาธิปไตย " ประเทศเดียว " ที่ยืนอยู่ท่ามกลางความไม่สงบ และภัยคอมมิวนิสต์รอบประเทศในเวลานี้
แต่หากไม่ระมัดระวังในการใช้กำลังของรัฐบาลทหาร อาจทำให้เกิดสงครามกลางเมืองเหมือนสหรัฐฯในอดีตได้
ที่ผ่านมา ไทยรอดพ้นภัยคอมมิวนิสต์ และไม่เกิดการนองเลือด ไม่เหมือนกับหลายประเทศมาได้
เป็นเพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันทหาร สถาบันประชาธิปไตย ช่วยเอาไว้
แต่อนาคตนั้นไม่แน่นอน หากความรุนแรงจากภัยคอมมิวนิสต์
ที่แฝงตัวในสังคมไทยเพิ่มมากขึ้น เราอาจเห็นเหตุการณ์เหมือนในอินโดนีเซียก็เป็นได้
เมื่อ พญาครุฑ กับ พญาอินทรี ออกล่า
เรื่องราวของ พญาครุฑ กับ พญาอินทรี สหรัฐสนับสนุนรัฐประหารในไทยอย่างไร?
1. เอาเฉพาะแค่เพื่อนบ้านของไทยก็เช่น การสนับสนุนจอมพล ลอน นอล ก่อการรัฐประหารล้มอำนาจของเจ้าสีหนุในปี 1969 แล้วสถาปนาระบอบสาธารณรัฐ มีหลักฐานว่าลอน นอลเสนอแนวคิดเรื่องการก่อรัฐประหารกับหน่วยข่าวกรองทางทหารของสหรัฐเพื่อขอความยินยอมจากรัฐบาลสหรัฐขอการสนับสนุนทางทหาร เมื่อรัฐประหารสำเร็จแล้วรัฐบาลลอน นอล ไฟเขียวให้สหรัฐทิ้งระเบิดในกัมพูชาเพื่อตัดเส้นทางของพวกเวียดนามเหนือที่อ้อมเข้ามาใช้พื้นที่แทรกซึมเข้าไปยังเวียดนามใต้
2. ในปี 1965 CIA สนับสนุนนายทหารหนุ่มชื่อซูฮาร์โตให้ทำรัฐประหารโค่นล้มประธานาธิบดีซูการ์โน หลังจากยึดอำนาจได้แล้วซูฮาร์โตกวาดล้างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินโดนีเซียอย่างขนานใหญ่จนกลายเป็นการสังหารหมู่ที่มีคนตายถึง 500,000 - 1,000,000 คน ทูตสหรัฐยังกระตุ้นให้รัฐบาลทหารจัดการฝ่ายตรงข้ามด้วยวิธีการรุนแรง และมีเอกสารยืนยันว่ารัฐบาลสหรัฐรับรู้และช่วยเหลือการสังหารหมู่เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับสหรัฐเองในช่วงสงครามเย็น
3. นี่เป็นเพียงตัวอย่างแค่เล็กน้อยมากๆ เท่านั้นกับการที่สหรัฐเข้าไปบงการชะตากรรมของประเทศอื่นเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง คำถามก็คือสหรัฐเข้ามาก้าวก่ายไทยมากแค่ไหนในช่วงสงครามเย็น? เพราะช่วงสงครามเย็นเป็นช่วงที่ไทยทำรัฐประหารถี่ที่สุดช่วงหนึ่ง โดยที่ไทยยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของ " โลกเสรี " ในการต้านทานกับฝ่ายคอมมิวนิสต์
4. บันทึกช่วยจำจากเสนาธิการร่วมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โรเบิร์ท แมคนามารา เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2507 ว่าด้วยโอกาสที่จะมีการก่อรัฐประหารในไทย ซึ่งในเวลานั้นนายกรัฐมนตรีของไทยคือจอมพล ถนอม กิตติขจร และสงครามเย็นกำลังคุกรุ่น โดยบันทึกบอกว่าแม้ไทยจะทำรัฐประหารจนเป็นเรื่องปกติ แต่ " ในแง่ของสถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน อาจสร้างปัญหาทางการเมืองที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อสถานะทางการของสหรัฐในพื้นที่นั้นอย่างมากที่สุด "
5. บันทึกชี้ว่า " ลักษณะของรัฐบาลไทยที่อาจเกิดขึ้นจากการรัฐประหารควรจะเป็นฝ่ายที่สนับสนุนสหรัฐ ไม่เช่นนั้นสถานะของสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเสียหายอย่างหนัก " และ " ไม่ว่าลักษณะของการรัฐประหารจะเป็นอย่างไร สหรัฐควรดำเนินการเพื่อรับประกันความต่อเนื่องของสถานะที่เป็นอยู่ ตราบเท่าที่กำลังทหารและปฏิบัติการของสหรัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง "
6. ดังนั้นเสนาธิการร่วมจึงแนะนำกับแมคนามาราว่า ประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีจุดยืดต่อต้านคอมมิวนิสต์และโปรสหรัฐ ประเทศไทยที่มีสเถียรภาพมีความสำคัญยิ่งยวดต่อสถานะทางทหารของสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมีผู้แจ้งกับสหรัฐเรื่องการรัฐประหาร สหรัฐควรสกัดกั้นไม่ให้เกิดการทำเช่นนั้นด้วยวิธีการที่เหมาะสม
7. แต่ทว่า " หากมีการรัฐประหารที่สนับสนุนตะวันตก สหรัฐควรดำเนินการในทันทีเพื่อรับประกันการยืนยันสิทธิในการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐในประเทศไทยและยังคงให้ความร่วมมือและการสนับสนุนทางทหารของไทยต่อไป " หมายความว่าแม้จะมีการทำรัฐประหารเกิดขึ้น แต่หากรัฐบาลใหม่โปรสหรัฐ สหรัฐก็จะสนับสนุน
8. ในกรณีที่รัฐบาลใหม่มีจุดยืนต่างจากสหรัฐ เสนาธิการร่วมแนะนำว่า " หากกลุ่มสนับสนุนแนวคิดไม่ฝักฝ่ายใดหรือฝ่ายโปรคอมมิวนิสต์ก่อรัฐประหารเกิดขึ้น สหรัฐควรพยายามคืนอำนาจให้รัฐบาลเดิมหรือตัวแทนที่ยอมรับได้โดยให้การสนับสนุนกลุ่มนั้นๆ หรือกลุ่มต่อต้านรัฐประหารที่คาดว่าจะเกิดขึ้นซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าว "
9. " ในกรณีที่มาตรการดังกล่าวล้มเหลวในการต่อต้านการทำรัฐประหารโดยฝ่ายโปรคอมมิวนิสต์ สหรัฐควรเตรียมพร้อมที่จะดำเนินการทางทหารที่เหมาะสมเพื่อปกป้องผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของสหรัฐในพื้นที่และ/หรือเพื่อฟื้นฟูรัฐบาลไทยที่สนับสนุนสหรัฐ ให้กลับมามีอำนาจ "
10. นี่คือท่าทีที่สหรัฐจะใช้กับไทย หากรัฐประหารในไทยไม่สมประโยชน์กับจุดยืนของสหรัฐ เช่น มีรัฐบาลที่เอนเอียงไปทางฝ่ายตรงข้ามของสหรัฐ หรือแม้แต่รัฐบาลที่วางตัวเป็นกลางก็เอาไว้ไม่ได้ ซึ่งกรณีหลังเราจะเห็นการสนับสนุนของสหรัฐเพื่อโค่นล้มรัฐบาลไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในกัมพูชาและอินโดนีเซียอย่างที่กล่าวไปข้างต้น
11. แต่ในช่วงระยะกลางของสงครามเย็น ท่าทีของสหรัฐต่อการทำรัฐประหารของไทยเปลี่ยนไปโดยพยายามรักษาความเป็นกลางมากขึ้นเพราะการเมืองในไทยมีพัฒนาการไปในทางเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นโดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กอปรกับในช่วงนั้นสหรัฐพยายามลดบทบาทลงในสงครามเวียดนามจนกระทั่งถอนกำลังทหารออกจากเวียดนามในปี 2518
12. จากเอกสารวันที่ 9 เมษายน 2517 หรือหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มาได้ประมาณ 6 เดือนบรรยากาศในไทยก็เริ่มคุกรุ่นขึ้น แม้จะเพิ่งมีการโค่นล้มจอมพลถนมและพลพรรค " สามทรราช " มาได้หมาดๆ แต่กลุ่มผู้มีอำนาจเริ่มที่จะไม่พอใจขบวนการนักศึกษามากขึ้น จนมีข่าวว่าอาจจะมีการทำรัฐประหาร ทาง CIA ได้เตรียมพร้อมสถานการณ์โดยหัวหน้าฝ่ายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ส่งบันทึกแนะนำมายังผู้อำนวยการ CIA
13. ข้อแนะนำระบุว่า " เรา (รัฐบาลสหรัฐ) ควรตระหนักว่าเรามีความสนใจที่จะสานต่อความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลไทยเกือบทุกรัฐบาลที่อาจจะตั้งขึ้นโดยการรัฐประหาร " หากดูเผินๆ เหมือนกับว่ารัฐบาลสหรัฐ " ยอมรับ " รัฐบาลจากการทำรัฐประหาร
14. อย่างไรก็ตามบันทึกแนะนำว่า " หากผู้วางแผนรัฐประหารบอกเราล่วงหน้าถึงแผนการของพวกเขาและขอการสนับสนุนจากเราเราควรระงับการสนับสนุนดังกล่าว [ข้อความไม่เปิดเผย] " ซึ่งจากข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าสหรัฐอาจจะยอมรับรัฐบาลจากการรัฐประหาร แต่ไม่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยทำให้การยึดอำนาจสำเร็จ
15. และสหรัฐยังไม่กล้าเข้ามาแทรกแซงแผนการก่อรัฐประหารของไทยโดยบอกว่า " หากเราแทรกแซงในทางใดทางหนึ่งเพื่อป้องกันการรัฐประหาร แล้วการรัฐประหารทำสำเร็จ ก็รังแต่จะทำให้ความบาดหมางต่อความสัมพันธ์ในอนาคตของเรากับรัฐบาลไทยชุดใหม่ "
16. โดยสรุปก็คือหากเกิดรัฐประหารในไทยใดๆ ก็ตาม " สหรัฐควรรักษาความเป็นส่วนตัวและหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ดังกล่าว แต่ควรดำเนินโครงการความช่วยเหลือและการติดต่อกับรัฐบาลต่อไปในระดับปัจจุบัน " และ " เมื่อการรัฐประหารประสบความสำเร็จและความวุ่นวายได้สงบลงแล้วสหรัฐควรยอมรับสถานการณ์นี้อย่างชัดเจน "
17. เอกสารเหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลส่วนน้อยนิดเท่านั้นที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย - สหรัฐในช่วงที่สถานการณ์โลกหมิ่นเหม่ ยังมีข้อมูลอีกมากที่ยังไม่ได้เปิดเผย หรือเปิดเผยแล้วมีสถานะผิดกฎหมายเช่นเอกสารของ Wikileaks ซึ่งกล่าวถึงการทำรัฐประหารในไทยเมื่อปี 2549 เอาไว้ แต่โดยธรรมชาติของมันยังเป็นเอกสารลับของรัฐบาลอยู่
18. อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์ของบทความนี้ก็เพื่อชี้ให้เห็นถึงท่าทีของสหรัฐต่อไทยในช่วงสงครามเย็น และในเวลานี้สงครามเย็นครั้งใหญ่ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ไทยตกอยู่ท่ามกลางการแย่งชิงผลประโยชน์ระหว่างสหรัฐและจีน เหมือนเมื่อครั้งสงครามเย็น (ครั้งแรก) ยกเว้นแค่ว่าสงครามเย็นครั้งนี้ไม่ใช่การต่อสู้ด้วยอุดมการณ์ (เสรีนิยมกับคอมมิวนิสต์) แต่เป็นการแย่งชิงอิทธิพลกัน
19. จากเอกสารเหล่านี้ บางทีเราอาจนำมาใช้เป็นบทเรียนได้ว่าในสถานการณ์โลกที่หมิ่นเหม่อีกครั้ง หากประเทศไทยเกิดสถานการณ์ที่ไม่มั่นคงขึ้นมา จะเป็นโอกาสให้มือที่สามเข้ามาแทรกแซงเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง บรรดา " ตัวละครทางการเมือง " ต่างๆ ในเมืองไทย จะถูกชักใยและสนับสนุนโดยต่างชาติเพื่อรักษาผลประโยชน์ของต่างชาติ ไม่ใช่ผลประโยชน์ของไทย
บทความโดย กรกิจ ดิษฐาน
ที่มา
https://www.posttoday.com/international-news/633054