การชิงความเป็นใหญ่ของชาติมหาอำนาจนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาตลอดในประวัติศาสตร์มนุษย์ อย่างไรก็ตามเมื่อเทคโนโลยีอาวุธถูกพัฒนาให้มีอานุภาพมากจนชาติมหาอำนาจไม่กล้ารบกันเองตรงๆ จึงเกิดเป็นปรากฏการณ์ “สงครามเย็น” ซึ่งชาติมหาอำนาจหันไปทำสงครามตัวแทนบนชาติเล็กต่างๆ พร้อมทั้งสร้างอิทธิพลปิดล้อมฝ่ายตรงข้าม บ่อนทำลายให้พังทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง
ระหว่างปี 1947 - 1991 ฝ่ายคอมมิวนิสต์นำโดยสหภาพโซเวียตได้ทำสงครามเย็นกับฝ่ายโลกเสรีนำโดยสหรัฐอเมริกา ผ่านสงครามตัวแทน, การต่อสู้ทางอุดมการณ์, การแข่งขันด้านอวกาศ, การแข่งขันทางเทคโนโลยีต่างๆ, และการสะสมอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง จบลงด้วยการที่อเมริกาเป็นฝ่ายชนะ ทำให้พวกเขาก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่ง และทำให้โลกเปลี่ยนไปเป็น “แบบอเมริกา” จนทุกวันนี้
...ปัจจุบันหลายฝ่ายบอกว่าเราอยู่ในยุคของสงครามเย็น 2.0 ระหว่างจีนกับอเมริกา ซึ่งผลตัดสินของสงครามนั้นย่อมกระทบต่ออนาคตของเราทุกคน
ในบทความนี้ The Wild Chronicles จะพาท่านไปศึกษา “สงครามเย็น 1.0” อย่างง่ายๆ เพื่อถอดบทเรียนที่เกิดขึ้น และหวังว่าจะสามารถนำมาใช้ทำความเข้าใจเหตุการณ์ในปัจจุบันได้
...แท้จริงแล้ว “สงครามเย็น” แม้ไม่ใช่สงครามร้อน แต่ก็โหดร้ายและไร้มนุษยธรรม เต็มไปด้วยการกำจัดฝ่ายตรงข้ามโดยไม่สนใจความถูกผิด เคยสร้างความสูญเสียและสุ่มเสี่ยงต่อการถึงจุดเดือดมากกว่าที่เรารับรู้!
ภาพแนบ: รูปนี้มาภาพยนตร์เรื่อง East Zone, West Zone ปี 1962 ที่พูดถึงความขัดแย้งในสงครามเย็น
“เสียงโห่ร้องแสดงความยินดีของประชาชนดังกึกก้องจากสองฝากฝั่งของเมืองเบอร์ลิน” เมื่อกำแพงที่เคยทอดยาวหลายกิโลเมตร เพื่อใช้ป้องกันผู้หลบหนีเป็นเวลากว่า 28 ปี เริ่มถูกทำลายลง ภาพดังกล่าวคือช่วงเริ่มต้นในบทส่งท้ายของสงครามเย็นระหว่างสองชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตซึ่งกินเวลานานกว่าสี่ทศวรรษ
ความเป็นจริงนั้น… สงครามเย็นมีมิติและบริบทซ่อนเร้นที่ซับซ้อน… เนื่องจากชาติมหาอำนาจทั้งสองฝ่ายมีเป้าหมายร่วมกันคือ “การขยายอิทธิพลเหนือฝ่ายตรงข้าม”
โดยไม่สนใจวิธีการหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายต่างๆ ส่งผลให้คนในชาติเดียวกันผู้มีอุดมการณ์ต้องมาลงมือประหัตประหารกันเพื่อแย่งชิงอำนาจที่อ้างว่าชอบธรรม!
หลายประเทศต้องพบกับวังวนแห่งความขัดแย้งอันไม่มีจุดสิ้นสุด…
*** จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งครั้งใหม่ ***
ภาพของทหารโซเวียตกำลังโบกธงอยู่เหนืออาคารรัฐสภาเยอรมนี กลายเป็นสัญลักษณ์ของห้วงเวลาสุดท้ายแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งคร่าชีวิตทหารและพลเรือนรวมกันกว่า 50 ล้านชีวิต ณ ตอนนั้นโซเวียตได้ร่วมมือกับอเมริกาและพันธมิตรเอาชนะสงครามสำเร็จ ทำให้ทั้งโซเวียตและอเมริกาก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจหลักของโลก
ทว่าหลังจากนั้นไม่นาน โจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียตได้ปฏิเสธการถอนทหารออกจากเขตยึดครองในอิหร่านตามที่เคยตกลงไว้กับฝ่ายสัมพันธมิตรก่อนสงครามโลกยุติลง ส่งผลให้ประเทศตะวันตกเริ่มดำเนินนโยบายกดดันด้วยช่องทางการทูตจนโซเวียตต้องตัดสินใจถอนทหารในที่สุด
ต่อมา… ประธานาธิบดี แฮร์รี เอส ทรูแมน ประกาศ “หลักการทรูแมน” ที่ระบุว่าสหรัฐอเมริกาพร้อมตอบโต้ภัยคุกคามของประเทศคอมมิวนิสต์ทุกรูปแบบ โดยไม่จำกัดระยะเวลาและพื้นที่ปฏิบัติการหากเห็นว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคง
นี่กลายเป็นหัวใจหลักของนโยบายการต่อต้านโซเวียตตลอดช่วงสงครามเย็น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าหลักการดังกล่าวเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของสงครามเย็นอย่างเต็มรูปแบบ
ภาพแนบ: การประชุมยัลต้าระหว่างสามผู้นำ
*** ยกที่ 1: จุดเริ่มต้นความขัดแย้งที่เบอร์ลิน ***
กรุงเบอร์ลินเป็นเมืองหลวงของฝ่ายเยอรมันซึ่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 เขตปกครองภายใต้การควบคุมของสหภาพโซเวียต, สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, และฝรั่งเศสตามข้อตกลงของการประชุมยัลต้าเพื่อจัดระเบียบยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945
ภาพแนบ: เขตปกครองในเยอรมัน
เพียงเวลาไม่นานความตึงเครียดก็เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อชาติตะวันตกหันมารวมเขตการปกครองต่างๆในกรุงเบอร์ลินเข้าด้วยกัน พร้อมกับพิมพ์เงินสกุลใหม่อย่าง “ดอยช์มาร์ค” เพื่อใช้แทน “ไรชส์มารค์” ที่ใช้มาแต่สมัยสงครามโลก สร้างความไม่พอใจให้กับโซเวียตที่มองว่าสหรัฐพยายามช่วยให้กลับมาฟื้นตัว (โซเวียตต้องการให้เยอรมันเป็นรัฐบริวารที่เชื่อฟังของตน แต่ฝั่งอเมริกาและพันธมิตรต้องการให้เยอรมันเป็นรัฐกันชนที่สามารถยืนได้ด้วยตัวเอง)
ความไม่ลงรอยดังกล่าวนำไปสู่การตัดสินใจดำเนินการ “ปิดล้อมเบอร์ลิน” ในวันที่ 24 มิถุนายน 1948 เพื่อบีบให้ชาติตะวันตกยุติการใช้ค่าเงินใหม่นี้ (เบอร์ลินตั้งอยู่ในฝั่งเยอรมันตะวันออกที่โซเวียตปกครอง)
เมื่อถูกฝ่ายโซเวียตใช้อำนาจทางทหารท้าทาย รัฐบาลสหรัฐและอังกฤษจึงตอบสนองด้วยการระดมอากาศยานเพื่อลำเลียงเครื่องอุปโภคบริโภคและถ่านหินให้กับประชาชนในเมืองเบอร์ลินเป็นเวลานานเกือบหนึ่งปี จนโซเวียตต้องตัดสินใจยุติการปิดล้อมในวันที่ 12 พฤษภาคม 1949 ทำให้ปฏิบัติการดังกล่าวกลายเป็นชัยชนะของฝ่ายโลกเสรีครั้งแรกในการเผชิญหน้าระหว่างชาติมหาอำนาจทั้งสองฝ่าย
เมื่อถูกฝ่ายโซเวียตใช้อำนาจทางทหารท้าทาย รัฐบาลสหรัฐและอังกฤษจึงตอบสนองด้วยการระดมอากาศยานเพื่อลำเลียงเครื่องอุปโภคบริโภคและถ่านหินให้กับประชาชนในเมืองเบอร์ลินเป็นเวลานานเกือบหนึ่งปี จนโซเวียตต้องตัดสินใจยุติการปิดล้อมในวันที่ 12 พฤษภาคม 1949 ทำให้ปฏิบัติการดังกล่าวกลายเป็นชัยชนะของฝ่ายโลกเสรีครั้งแรกในการเผชิญหน้าระหว่างชาติมหาอำนาจทั้งสองฝ่าย
*** ยกที่ 2: องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือและม่านเหล็กแห่งยุโรป ***
เมื่อการเผชิญหน้าทางทหารกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรอีก 12 ประเทศได้ร่วมกันลงนามใน “สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ” เพื่อก่อตั้ง “องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ” (NATO) ขึ้นสำหรับถ่วงดุลย์อิทธิพลทางทหารในยุโรปตะวันออกของสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 4 เมษายน 1949
ขณะที่ฝ่ายโซเวียตเองก็เดินหน้าสร้างเครือข่ายป้องกันด้วยการดึงเอาประเทศในยุโรปตะวันออกอาทิ โปแลนด์, บัลแกเรีย, ฮังการี, โรมาเนีย, แอลเบเนีย, รวมถึงเยอรมันตะวันออก มาใช้เป็นหน้าด่านในการป้องกันตัวหากเกิดสงครามกับทางตะวันตกตลอดปี 1947-1949 เรียกกันแพร่หลายว่า “ม่านเหล็ก”
ภาพแนบ: ทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนในปี 1949
*** ยกที่ 3: สงครามจีน สงครามเกาหลีและแนวรบเอชีย ***
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่สร้างความสั่นสะเทือนให้กับฝ่ายโลกเสรีมากที่สุดคือ “ชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในสงครามกลางเมืองจีนปี 1949” อันเป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชีย
(ต่อมาจะมีการเรียกแนวหน้าด่านของจีนว่า “ม่านไม้ไผ่” เป็นการล้อคำว่า “ม่านเหล็ก” ของโซเวียต)
ในวันที่ 25 มิถุนายน 1950 เกิดสงครามเต็มรูปแบบครั้งใหม่ เมื่อกองทัพเกาหลีเหนือ (อยู่ฝ่ายคอมมิวนิสต์) จำนวนกว่า 75,000 นาย พร้อมรถถัง, เครื่องบิน, และปืนใหญ่จำนวนมหาศาล บุกทะลวงผ่านเส้นขนานที่ 38 (38th Parallel Line)
ก่อนจะโถมกำลังเข้าบดขยี้กองทัพเกาหลีใต้ (อยู่ฝ่ายโลกเสรี) ที่อ่อนแอกว่าแบบไม่เหลือชิ้นดี! ในเวลาเพียงสามวันเมืองหลวงของเกาหลีใต้ก็ตกอยู่ใต้การยึดครองของผู้รุกราน
ภาพแนบ: ทหารสหรัฐพร้อมบาซูก้า
ความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้น ทำให้ประธานาธิบดีสหรัฐอนุมัติการส่งทหารจำนวน 540 นายที่ประจำการในญี่ปุ่นพร้อมกับบาซูก้าและปืนไร้แรงสะท้อนจำนวนหนึ่งไปยังเกาหลีใต้ในนาม “หน่วยเฉพาะกิจสมิธ” ตามชื่อของผู้บังคับบัญชา ก่อนจะพบว่าพวกเขาไม่สามารถรับมือกับกองทัพเกาหลีเหนือที่มียุทโธปกรณ์และจำนวนที่เหนือกว่าได้ สหรัฐจึงต้องกลายเป็นฝ่ายปราชัยในการรบครั้งแรกอย่างหมดรูป…
ภาพแนบ: นายพล ดักลาส แมกอาร์เธอร์ ผู้ควบคุมปฏิบัติการยกพลขึ้นบกที่อินชอน
พอล่วงเข้าเดือนสิงหาคม กองทัพสหประชาชาติที่นำโดยอเมริกาและกองกำลังเดนตายของเกาหลีใต้เหลือพื้นที่ควบคุมเพียงรอบเมืองปูซาน (Pusan) เท่านั้น เมื่อไม่สามารถพลิกสถานการณ์จากการส่งกำลังไปเสริมยังจุดเดียวได้ สหรัฐจึงอนุมัติแผนการยกพลขึ้นบกที่อินชอน (Inchon) จนสามารถพลิกสถานการณ์สำเร็จ
อย่างไรก็ตามสงครามเกาหลียังคงดำเนินไปนานเกือบ 3 ปี โดยที่สุดท้ายแล้วทั้งสองฝ่ายการยุติการสู้รบผ่านการเจรจา
แม้จะไม่สามารถเอาชนะเกาหลีเหลือแบบเบ็ดเสร็จได้ แต่ความสำเร็จในการผลักดันผู้รุกรานออกจากเกาหลีใต้ก็ช่วยสร้างความมั่นใจว่านโยบายการ “ยับยั้งอิทธิพลคอมมิวนิสต์” ผ่านการสนับสนุนของประเทศพันธมิตรนั้นสามารถทำได้จริง!
*** ยกที่ 4: นิกิต้า ครุสชอฟ ผู้นำโซเวียตสู่อวกาศ ***
ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อนิกิต้า ครุสชอฟ สามารถเข้ามากุมอำนาจการปกครองหลังการเสียชีวิตของโจเซฟ สตาลิน จอมเผด็จการ ครุสชอฟทำการรื้อถอนแนวคิดของระบอบสตาลินที่มีการปกครองแบบโหดร้าย และสุดโต่ง
พร้อมกับนำเสนอแผนปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมที่พัฒนาสหภาพโซเวียตแบบรุดหน้าอาทิ การใช้กลไกแบบห่วงโซ่อุปสงค์-อุปทานที่เน้นการสร้างกำไร รวมถึงความพึงพอใจของลูกค้ามาเป็นตัวชี้วัด, การทดแทนเครื่องจักรเก่าด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย, การสร้างที่อยู่อาศัยและขยายเมืองเพื่อรองรับการขยายตัวของคนงานอุตสาหกรรม, รวมถึงการอนุญาตให้เอกชนเข้ามารับผิดชอบในพื้นที่เพาะปลูก เพื่อส่งผลผลิตตามโควต้าที่รัฐกำหนด
โดยผลผลิตส่วนเกินสามารถนำไปขายในตลาดที่รัฐให้เสรีระดับหนึ่งได้
นอกจากนี้รัฐบาลยังสนับสนุนหน่วยงานด้านอวกาศอย่าง Roscosmos ให้มีศักยภาพในการแข่งขันด้านอวกาศ (Space Race) กับสหรัฐ จนเกิดโครงการที่ประสบความสำเร็จมากมายอาทิ “การส่งดาวเทียมสปุตนิคขึ้นไปโคจรพร้อมสุนัขไลก้า” ในปี 1957 ก่อนจะส่ง ”ยูริ กาการิน” ขึ้นไปเป็นมนุษย์คนแรกที่โคจรบนอวกาศในปี 1961 ถือว่าล้ำหน้าในช่วงเริ่มต้นที่ทำให้สหรัฐต้องพยายามทุ่มสรรพกำลังต่างๆ จนต่อมากลับเป็นฝ่ายที่สามารถส่งนักบินอวกาศไปเหยียบดวงจันทร์สำเร็จในเมื่อ 1969
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***
*** สรุปสงครามเย็นเข้าใจง่าย ใน 10 นาที ***
ระหว่างปี 1947 - 1991 ฝ่ายคอมมิวนิสต์นำโดยสหภาพโซเวียตได้ทำสงครามเย็นกับฝ่ายโลกเสรีนำโดยสหรัฐอเมริกา ผ่านสงครามตัวแทน, การต่อสู้ทางอุดมการณ์, การแข่งขันด้านอวกาศ, การแข่งขันทางเทคโนโลยีต่างๆ, และการสะสมอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง จบลงด้วยการที่อเมริกาเป็นฝ่ายชนะ ทำให้พวกเขาก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่ง และทำให้โลกเปลี่ยนไปเป็น “แบบอเมริกา” จนทุกวันนี้
...ปัจจุบันหลายฝ่ายบอกว่าเราอยู่ในยุคของสงครามเย็น 2.0 ระหว่างจีนกับอเมริกา ซึ่งผลตัดสินของสงครามนั้นย่อมกระทบต่ออนาคตของเราทุกคน
ในบทความนี้ The Wild Chronicles จะพาท่านไปศึกษา “สงครามเย็น 1.0” อย่างง่ายๆ เพื่อถอดบทเรียนที่เกิดขึ้น และหวังว่าจะสามารถนำมาใช้ทำความเข้าใจเหตุการณ์ในปัจจุบันได้
...แท้จริงแล้ว “สงครามเย็น” แม้ไม่ใช่สงครามร้อน แต่ก็โหดร้ายและไร้มนุษยธรรม เต็มไปด้วยการกำจัดฝ่ายตรงข้ามโดยไม่สนใจความถูกผิด เคยสร้างความสูญเสียและสุ่มเสี่ยงต่อการถึงจุดเดือดมากกว่าที่เรารับรู้!
ภาพแนบ: รูปนี้มาภาพยนตร์เรื่อง East Zone, West Zone ปี 1962 ที่พูดถึงความขัดแย้งในสงครามเย็น
“เสียงโห่ร้องแสดงความยินดีของประชาชนดังกึกก้องจากสองฝากฝั่งของเมืองเบอร์ลิน” เมื่อกำแพงที่เคยทอดยาวหลายกิโลเมตร เพื่อใช้ป้องกันผู้หลบหนีเป็นเวลากว่า 28 ปี เริ่มถูกทำลายลง ภาพดังกล่าวคือช่วงเริ่มต้นในบทส่งท้ายของสงครามเย็นระหว่างสองชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตซึ่งกินเวลานานกว่าสี่ทศวรรษ
ความเป็นจริงนั้น… สงครามเย็นมีมิติและบริบทซ่อนเร้นที่ซับซ้อน… เนื่องจากชาติมหาอำนาจทั้งสองฝ่ายมีเป้าหมายร่วมกันคือ “การขยายอิทธิพลเหนือฝ่ายตรงข้าม”
โดยไม่สนใจวิธีการหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายต่างๆ ส่งผลให้คนในชาติเดียวกันผู้มีอุดมการณ์ต้องมาลงมือประหัตประหารกันเพื่อแย่งชิงอำนาจที่อ้างว่าชอบธรรม!
หลายประเทศต้องพบกับวังวนแห่งความขัดแย้งอันไม่มีจุดสิ้นสุด…
*** จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งครั้งใหม่ ***
ภาพของทหารโซเวียตกำลังโบกธงอยู่เหนืออาคารรัฐสภาเยอรมนี กลายเป็นสัญลักษณ์ของห้วงเวลาสุดท้ายแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งคร่าชีวิตทหารและพลเรือนรวมกันกว่า 50 ล้านชีวิต ณ ตอนนั้นโซเวียตได้ร่วมมือกับอเมริกาและพันธมิตรเอาชนะสงครามสำเร็จ ทำให้ทั้งโซเวียตและอเมริกาก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจหลักของโลก
ทว่าหลังจากนั้นไม่นาน โจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียตได้ปฏิเสธการถอนทหารออกจากเขตยึดครองในอิหร่านตามที่เคยตกลงไว้กับฝ่ายสัมพันธมิตรก่อนสงครามโลกยุติลง ส่งผลให้ประเทศตะวันตกเริ่มดำเนินนโยบายกดดันด้วยช่องทางการทูตจนโซเวียตต้องตัดสินใจถอนทหารในที่สุด
ต่อมา… ประธานาธิบดี แฮร์รี เอส ทรูแมน ประกาศ “หลักการทรูแมน” ที่ระบุว่าสหรัฐอเมริกาพร้อมตอบโต้ภัยคุกคามของประเทศคอมมิวนิสต์ทุกรูปแบบ โดยไม่จำกัดระยะเวลาและพื้นที่ปฏิบัติการหากเห็นว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคง
นี่กลายเป็นหัวใจหลักของนโยบายการต่อต้านโซเวียตตลอดช่วงสงครามเย็น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าหลักการดังกล่าวเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของสงครามเย็นอย่างเต็มรูปแบบ
ภาพแนบ: การประชุมยัลต้าระหว่างสามผู้นำ
*** ยกที่ 1: จุดเริ่มต้นความขัดแย้งที่เบอร์ลิน ***
กรุงเบอร์ลินเป็นเมืองหลวงของฝ่ายเยอรมันซึ่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 เขตปกครองภายใต้การควบคุมของสหภาพโซเวียต, สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, และฝรั่งเศสตามข้อตกลงของการประชุมยัลต้าเพื่อจัดระเบียบยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945
ภาพแนบ: เขตปกครองในเยอรมัน
เพียงเวลาไม่นานความตึงเครียดก็เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อชาติตะวันตกหันมารวมเขตการปกครองต่างๆในกรุงเบอร์ลินเข้าด้วยกัน พร้อมกับพิมพ์เงินสกุลใหม่อย่าง “ดอยช์มาร์ค” เพื่อใช้แทน “ไรชส์มารค์” ที่ใช้มาแต่สมัยสงครามโลก สร้างความไม่พอใจให้กับโซเวียตที่มองว่าสหรัฐพยายามช่วยให้กลับมาฟื้นตัว (โซเวียตต้องการให้เยอรมันเป็นรัฐบริวารที่เชื่อฟังของตน แต่ฝั่งอเมริกาและพันธมิตรต้องการให้เยอรมันเป็นรัฐกันชนที่สามารถยืนได้ด้วยตัวเอง)
ความไม่ลงรอยดังกล่าวนำไปสู่การตัดสินใจดำเนินการ “ปิดล้อมเบอร์ลิน” ในวันที่ 24 มิถุนายน 1948 เพื่อบีบให้ชาติตะวันตกยุติการใช้ค่าเงินใหม่นี้ (เบอร์ลินตั้งอยู่ในฝั่งเยอรมันตะวันออกที่โซเวียตปกครอง)
เมื่อถูกฝ่ายโซเวียตใช้อำนาจทางทหารท้าทาย รัฐบาลสหรัฐและอังกฤษจึงตอบสนองด้วยการระดมอากาศยานเพื่อลำเลียงเครื่องอุปโภคบริโภคและถ่านหินให้กับประชาชนในเมืองเบอร์ลินเป็นเวลานานเกือบหนึ่งปี จนโซเวียตต้องตัดสินใจยุติการปิดล้อมในวันที่ 12 พฤษภาคม 1949 ทำให้ปฏิบัติการดังกล่าวกลายเป็นชัยชนะของฝ่ายโลกเสรีครั้งแรกในการเผชิญหน้าระหว่างชาติมหาอำนาจทั้งสองฝ่าย
เมื่อถูกฝ่ายโซเวียตใช้อำนาจทางทหารท้าทาย รัฐบาลสหรัฐและอังกฤษจึงตอบสนองด้วยการระดมอากาศยานเพื่อลำเลียงเครื่องอุปโภคบริโภคและถ่านหินให้กับประชาชนในเมืองเบอร์ลินเป็นเวลานานเกือบหนึ่งปี จนโซเวียตต้องตัดสินใจยุติการปิดล้อมในวันที่ 12 พฤษภาคม 1949 ทำให้ปฏิบัติการดังกล่าวกลายเป็นชัยชนะของฝ่ายโลกเสรีครั้งแรกในการเผชิญหน้าระหว่างชาติมหาอำนาจทั้งสองฝ่าย
*** ยกที่ 2: องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือและม่านเหล็กแห่งยุโรป ***
เมื่อการเผชิญหน้าทางทหารกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรอีก 12 ประเทศได้ร่วมกันลงนามใน “สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ” เพื่อก่อตั้ง “องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ” (NATO) ขึ้นสำหรับถ่วงดุลย์อิทธิพลทางทหารในยุโรปตะวันออกของสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 4 เมษายน 1949
ขณะที่ฝ่ายโซเวียตเองก็เดินหน้าสร้างเครือข่ายป้องกันด้วยการดึงเอาประเทศในยุโรปตะวันออกอาทิ โปแลนด์, บัลแกเรีย, ฮังการี, โรมาเนีย, แอลเบเนีย, รวมถึงเยอรมันตะวันออก มาใช้เป็นหน้าด่านในการป้องกันตัวหากเกิดสงครามกับทางตะวันตกตลอดปี 1947-1949 เรียกกันแพร่หลายว่า “ม่านเหล็ก”
ภาพแนบ: ทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนในปี 1949
*** ยกที่ 3: สงครามจีน สงครามเกาหลีและแนวรบเอชีย ***
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่สร้างความสั่นสะเทือนให้กับฝ่ายโลกเสรีมากที่สุดคือ “ชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในสงครามกลางเมืองจีนปี 1949” อันเป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชีย
(ต่อมาจะมีการเรียกแนวหน้าด่านของจีนว่า “ม่านไม้ไผ่” เป็นการล้อคำว่า “ม่านเหล็ก” ของโซเวียต)
ในวันที่ 25 มิถุนายน 1950 เกิดสงครามเต็มรูปแบบครั้งใหม่ เมื่อกองทัพเกาหลีเหนือ (อยู่ฝ่ายคอมมิวนิสต์) จำนวนกว่า 75,000 นาย พร้อมรถถัง, เครื่องบิน, และปืนใหญ่จำนวนมหาศาล บุกทะลวงผ่านเส้นขนานที่ 38 (38th Parallel Line)
ก่อนจะโถมกำลังเข้าบดขยี้กองทัพเกาหลีใต้ (อยู่ฝ่ายโลกเสรี) ที่อ่อนแอกว่าแบบไม่เหลือชิ้นดี! ในเวลาเพียงสามวันเมืองหลวงของเกาหลีใต้ก็ตกอยู่ใต้การยึดครองของผู้รุกราน
ภาพแนบ: ทหารสหรัฐพร้อมบาซูก้า
ความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้น ทำให้ประธานาธิบดีสหรัฐอนุมัติการส่งทหารจำนวน 540 นายที่ประจำการในญี่ปุ่นพร้อมกับบาซูก้าและปืนไร้แรงสะท้อนจำนวนหนึ่งไปยังเกาหลีใต้ในนาม “หน่วยเฉพาะกิจสมิธ” ตามชื่อของผู้บังคับบัญชา ก่อนจะพบว่าพวกเขาไม่สามารถรับมือกับกองทัพเกาหลีเหนือที่มียุทโธปกรณ์และจำนวนที่เหนือกว่าได้ สหรัฐจึงต้องกลายเป็นฝ่ายปราชัยในการรบครั้งแรกอย่างหมดรูป…
ภาพแนบ: นายพล ดักลาส แมกอาร์เธอร์ ผู้ควบคุมปฏิบัติการยกพลขึ้นบกที่อินชอน
พอล่วงเข้าเดือนสิงหาคม กองทัพสหประชาชาติที่นำโดยอเมริกาและกองกำลังเดนตายของเกาหลีใต้เหลือพื้นที่ควบคุมเพียงรอบเมืองปูซาน (Pusan) เท่านั้น เมื่อไม่สามารถพลิกสถานการณ์จากการส่งกำลังไปเสริมยังจุดเดียวได้ สหรัฐจึงอนุมัติแผนการยกพลขึ้นบกที่อินชอน (Inchon) จนสามารถพลิกสถานการณ์สำเร็จ
อย่างไรก็ตามสงครามเกาหลียังคงดำเนินไปนานเกือบ 3 ปี โดยที่สุดท้ายแล้วทั้งสองฝ่ายการยุติการสู้รบผ่านการเจรจา
แม้จะไม่สามารถเอาชนะเกาหลีเหลือแบบเบ็ดเสร็จได้ แต่ความสำเร็จในการผลักดันผู้รุกรานออกจากเกาหลีใต้ก็ช่วยสร้างความมั่นใจว่านโยบายการ “ยับยั้งอิทธิพลคอมมิวนิสต์” ผ่านการสนับสนุนของประเทศพันธมิตรนั้นสามารถทำได้จริง!
*** ยกที่ 4: นิกิต้า ครุสชอฟ ผู้นำโซเวียตสู่อวกาศ ***
ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อนิกิต้า ครุสชอฟ สามารถเข้ามากุมอำนาจการปกครองหลังการเสียชีวิตของโจเซฟ สตาลิน จอมเผด็จการ ครุสชอฟทำการรื้อถอนแนวคิดของระบอบสตาลินที่มีการปกครองแบบโหดร้าย และสุดโต่ง
พร้อมกับนำเสนอแผนปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมที่พัฒนาสหภาพโซเวียตแบบรุดหน้าอาทิ การใช้กลไกแบบห่วงโซ่อุปสงค์-อุปทานที่เน้นการสร้างกำไร รวมถึงความพึงพอใจของลูกค้ามาเป็นตัวชี้วัด, การทดแทนเครื่องจักรเก่าด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย, การสร้างที่อยู่อาศัยและขยายเมืองเพื่อรองรับการขยายตัวของคนงานอุตสาหกรรม, รวมถึงการอนุญาตให้เอกชนเข้ามารับผิดชอบในพื้นที่เพาะปลูก เพื่อส่งผลผลิตตามโควต้าที่รัฐกำหนด
โดยผลผลิตส่วนเกินสามารถนำไปขายในตลาดที่รัฐให้เสรีระดับหนึ่งได้
นอกจากนี้รัฐบาลยังสนับสนุนหน่วยงานด้านอวกาศอย่าง Roscosmos ให้มีศักยภาพในการแข่งขันด้านอวกาศ (Space Race) กับสหรัฐ จนเกิดโครงการที่ประสบความสำเร็จมากมายอาทิ “การส่งดาวเทียมสปุตนิคขึ้นไปโคจรพร้อมสุนัขไลก้า” ในปี 1957 ก่อนจะส่ง ”ยูริ กาการิน” ขึ้นไปเป็นมนุษย์คนแรกที่โคจรบนอวกาศในปี 1961 ถือว่าล้ำหน้าในช่วงเริ่มต้นที่ทำให้สหรัฐต้องพยายามทุ่มสรรพกำลังต่างๆ จนต่อมากลับเป็นฝ่ายที่สามารถส่งนักบินอวกาศไปเหยียบดวงจันทร์สำเร็จในเมื่อ 1969
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***