เวลาพูดถึงญี่ปุ่น ทุกคนนึกถึงอะไรกันบ้างครับ? การ์ตูน? ซาซิมิ? รถยนต์? ...จะเห็นว่าไม่ว่ามองไปทางไหน เราก็อาจเห็นสิ่งที่เป็น “ญี่ปุ่น” อยู่ทั่วไป ประเทศญี่ปุ่นแม้มิได้มีประชากร หรือขนาดใหญ่ที่สุด แต่กลับมีอิทธิพลต่อโลกเป็นอันมาก และย่อมมีประวัติศาสตร์ที่รุ่มรวยอย่างยิ่ง
บทความนี้จะเล่าเรื่องราวของญี่ปุ่น ตั้งแต่ตำนานการกำเนิดโลก, การรับอารยธรรมจากจีน, ยุคขุนศึกซามูไร, ยุคปฏิรูปไปจนถึงปัจจุบัน ทั้งหมดเป็นแบบรวดรัด เหมือน intro to ญี่ปุ่นให้ท่านพอทราบประวัติศาสตร์ของพวกเขาแบบคร่าวๆ ในเวลา 15 นาที
*** ปกรณัมญี่ปุ่น ***
หนังสือพงศาวดารที่บันทึกปกรณัมญี่ปุ่นในยุคเทพนิยาย (ในสมัยโบราณประวัติศาสตร์กับเทพนิยายนั้นมักถูกบันทึกรวมกัน เรียกว่า “ยุคเทพนิยาย”) เล่าว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว จักรวาลนี้มีเพียงความว่างเปล่า จากนั้นสสารค่อยๆ ก่อตัวขึ้น แบ่งแยกเป็นแสงสว่างอยู่บนสุด รองลงมาเป็นภพสวรรค์ และที่อยู่ต่ำสุดนั้นคือโลก จากนั้นก็เกิดเทพจำนวนหนึ่งตามมา
ภาพแนบ: อิซานามิ กับอิซานางิใช้หอกกวนทะเล
เทพองค์ที่สำคัญในเรื่องนี้ ได้แก่ เทพอิซานางิกับอิซานามิ ทั้งคู่เป็นสามีภรรยากัน
อิซานางิได้ใช้หอกกวนโลกซึ่งเวลานั้นมีเพียงทะเล เมื่อนำหอกขึ้นมา น้ำปลายหอกก็กลายเป็นเกาะสวยงามต่างๆ ของญี่ปุ่น จากนั้นทั้งคู่ก็เสด็จลงมาสร้างสิ่งต่างๆ ก่อนแต่งงานกัน แล้วให้เกิดเนิดลูกมากมาย
ภาพแนบ: ญี่ปุ่นในอดีต เทียบกับที่จะเป็นญี่ปุ่นในปัจจุบัน (เส้นสีแดง)
*** ยุคโจมง (14,000 - 10,000 ปีก่อนคริสตกาล): อารยธรรมลายเชือก ***
แม้ตำนานจะกล่าวว่า ประเทศญี่ปุ่นเริ่มแรกก็เป็นเกาะเลย แต่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้ให้ข้อมูลว่า ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตรงบริเวณที่เป็นประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน เคยเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินใหญ่มาก่อน และมีมนุษย์อาศัยอยู่มาราว 100,000 ปีมาแล้ว
ท้ายยุคน้ำแข็ง ราว 20,000 - 12,000 ปีก่อน ภูมิศาสตร์เปลี่ยนแปลง ระดับน้ำทะเลได้เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกาะญี่ปุ่นแยกตัวโดดเดี่ยว อันเป็นจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของพวกเขาอย่างแท้จริง โดยยุคแรกของญี่ปุ่นที่ยอมรับกันทั่วไปคือ “ยุคโจมง” (縄文時代)
ภาพแนบ: เครื่องปั้นดินเผาโจมง
มนุษย์สมัยนั้นเป็นนักล่าและหาของป่า จึงมีการประดิษฐ์เครื่องมือขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่นหอก, ธนู, ฉมวก, ตะขอตกปลา
นอกจากนี้ ยังมีการประดิษฐ์โถดินซึ่งมีลายเชือก (อารมณ์เดียวกับเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงของไทย) เพื่อเก็บของที่หามาได้ไว้ด้วย ซึ่งลายเชือกนี้ เรียกว่า “โจมง” อันเป็นที่มาของชื่อยุคนั่นเอง
ภาพแนบ: ตุ๊กตาโดกู
เนื่องจากสมัยโจมงนั้นลากยาวหลายพันปี ทำให้เครื่องดินเผาในยุคนี้ ไม่ได้มีแค่หม้อโถเก็บอาหาร แต่ยังมีการสร้างศิลปะอย่างอื่นอีก เช่น หน้ากากดินเผา, ตุ๊กตาดินเผา “โดกู” ซึ่งต่างมีลวดลายละเอียดอ่อนสวยงามยิ่ง แสดงถึงความก้าวหน้าทางอารยธรรมในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี
ภาพแนบ: ชาวยาโยยปลูกข้าว
*** ยุคยาโยย (1,000 ปีก่อนคริสตกาล - ปีคริสต์ศักราช 300): เริ่มเป็นปึกแผ่น ***
สมัยต่อมาประชากรญี่ปุ่นได้เปลี่ยนวิถีชีวิตมาสร้างหมู่บ้าน ทำการเกษตร เนื่องจากญี่ปุ่นมีฤดูกาลชัดเจน คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ทำให้พวกเขาต้องวางแผนปลูกพืชให้สอดคล้องกับธรรมชาติ
ชาวญี่ปุ่นเลือกปลูกข้าวเป็นหลักเพราะมีแหล่งน้ำเหมาะสม และข้าวยังเป็นผลผลิตที่เก็บไว้ได้นาน ทั้งนี้เชื่อกันว่า การเกษตรได้บ่มเพาะให้คนญี่ปุ่นขยันและทำอะไรเป็นเวลาสืบต่อมา
ภาพแนบ: อุทยานประวัติศาสตร์สมัยยาโยย "โยชิโนงาริ" จังหวัดซากะ
นอกจากนี้ เมื่อประชากรเพิ่ม พวกเขาก็สร้างอะไรซับซ้อนขึ้นตาม มีการสร้างเครื่องมือการเกษตรจากโลหะ, สร้างอาวุธเพื่อใช้ในพิธีกรรม, สร้างบ้านจากหิน, ทอผ้า และเกิดรูปแบบการแบ่งชนชั้นระหว่างเจ้าของที่ดินและคนทั่วไปขึ้นมา ซึ่งทำให้เกิดดินแดนเล็กๆ ขึ้นทั่วประเทศ
ยุคนี้เรียกว่า ยุคยาโยย (弥生時代) ตั้งชื่อตามเครื่องปั้นดินเผาที่เปลี่ยนจากขึ้นรูปด้วยมือล้วนๆ มาเป็นใช้แกนหมุน
ภาพแนบ: คนยาโยย (ซ้าย) กับคนโจมง (ขวา)
ความน่าสนใจคือ จากการตรวจสอบทางประวัติศาสตร์ คนญี่ปุ่นยุคโจมงกับยุคยาโยยมีโครงสร้างต่างกันค่อนข้างมาก
คนโจมงตัวเตี้ยล่ำกว่า หน้ากว้างสั้น ตาลึก จมูกรั้น ซึ่งนักวิชาการให้เหตุผลว่า เพราะกินเนื้อ ขากรรไกรจึงใหญ่ ขณะที่คนยาโยยตัวสูงกว่า หน้าแคบ ตาตี่ จมูกค่อนข้างแบน เพราะกินพืช ซึ่งเป็นลักษณะที่ใกล้เคียงกับคนญี่ปุ่นยุคปัจจุบันมากกว่า (แต่ก็มีเค้าทั้งสองแบบผสมๆ กันไป)
ภาพแนบ: อามาเทระสุ
*** กำเนิดจักรพรรดิ ***
ราวศตวรรษที่ 4 เมืองเล็กๆ ในญี่ปุ่นค่อยๆ รวมกันเป็นอาณาจักรแห่งเดียวในยุคต่อมา โดยมีเมืองยามาโตะเป็นศูนย์รวมอำนาจ
...ตำนานโบราณกล่าวไว้ว่า ผู้ปกครองเมืองยามาโตะนี้ สืบเชื้อสายมาจากอามาเทระสุ เทพีแห่งดวงอาทิตย์ เทพเจ้าผู้ได้รับการนับถือมากที่สุดในศาสนาชินโต โดยต้นตระกูลที่เป็นมนุษย์คือ จักรพรรดิจิมมุ
ภาพแนบ: จักรพรรดิจิมมุ (คนถือธนู)
คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่า จักรพรรดิจิมมุเคยปกครองญี่ปุ่นตั้งแต่ราว 660 ปีก่อนคริสตกาล (ยังอยู่ในยุคยาโยย)
ทั้งนี้แม้ตัวตนของจักรพรรดิดูจะเป็นเพียงเรื่องเล่ามากกว่าเรื่องจริง แต่ญี่ปุ่นก็ได้ยึดถือวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เป็นวันชาติของญี่ปุ่น โดยเชื่อว่าเป็นวันที่จักรพรรดิจิมมุ ซึ่งเป็นปฐมจักรพรรดิขึ้นครองราชย์
เมื่อญี่ปุ่นรวมประเทศสำเร็จ ก็ได้ติดต่อกับจีนและเกาหลีเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทั้งการทอผ้า, ฟอกหนัง, ต่อเรือ ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีชาวจีนและเกาหลีเข้ามาอาศัยในญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย และเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมตามมา
*** ยุคยามาโตะ (ปี 300 - 710): การรับอารยธรรมจีน ***
อารยธรรมนั้นเหมือนน้ำ ย่อมไหลจากที่สุงลงที่ต่ำ ผสมกลมกลืนกระจายไปทั่ว ในยุคที่จีนมีความเจริญนั้น ประเทศโดยรอบจีนย่อมรับวัฒนธรรมจีน ทำให้ตนเองกลายเป็นแบบจีนไปด้วย
ญี่ปุ่นรับวัฒนธรรมจีนอย่างมากในยุคยามาโตะ (大和時代) ที่เรียกเช่นนี้เพราะจักรพรรดิปกครองจากดินแดนยามาโตะทางใต้ของเมืองนาราในปัจจุบัน
ภาพแนบ: หลุมศพรุปรูกุญแจ
โดยปกติจะแบ่งยุคยามาโตะเป็นสองยุคย่อย ได้แก่:
1. ยุคโคฟุง (古墳時代) (ปี 300 - 538) หรือยุคหลุมศพ ตั้งชื่อจากการสร้างหลุมศพจักรพรรดิขนาดใหญ่เป็นรูปเหมือนรูกุญแจ (ซึ่งจริงๆ ยังมีรูปอื่นๆ อีก เช่นทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่อันที่ดังที่สุดเป็นรูปกุญแจ)
2. ยุคอาซูกะ (飛鳥時代) (ปี 538 - 710) อนึ่งปี 538 เป็นปีที่เริ่มรับศาสนาพุทธ และเรียกว่าอาซูกะเพราะปกครองจากเมืองอาซูกะ
ในยุคนี้คนญี่ปุ่นได้เอาตัวอักษรจีนมาใช้ นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงกฎหมาย ระบบราชการ การศึกษาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ
สิ่งสำคัญอื่นๆ ที่เข้ามาเช่น ศาสนาพุทธกับลัทธิขงจื๊อ ซึ่งจะเริ่มเข้ามามีอิทธิพลแทนศาสนาเดิม หรือชินโต (ชินโตเป็นลัทธินับถือวิญญานในธรรมชาติ เหมือนศาสนาผีของไทย) การรับวัฒนธรรมจีนทำให้พวกเขาเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นอันมาก
ภาพแนบ: จักรพรรดินีซุยโกะ
ในยุคนี้มีเหตุการณ์สำคัญคือสายตระกูลโชกะผู้นับถือพุทธ ได้ล้มอำนาจรัฐบาลเก่าและขึ้นครองญี่ปุ่นเกือบ 60 ปี โดยมีบุคคลสำคัญในยุคคือ "จักรพรรดินีซุยโกะ" ผู้ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 592 ถือเป็นจักรพรรดินีองค์แรกที่มีหลักฐานให้สืบค้นตามประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นว่าแต่ก่อนผู้หญิงก็เป็นผู้ปกครองได้
ภาพแนบ: เจ้าชายโชโทคุ
อีกคนที่สำคัญคือ "เจ้าชายโชโทคุ" พระราชนัดดาของจักรพรรดินีซุยโกะ ผู้วางรากฐานศาสนาพุทธในญี่ปุ่นให้มั่นคง และเป็นผู้เขียนรัฐธรรมนูญ 17 มาตรา ซึ่งเอามาจากคำสอนลัทธิขงจื๊อ มีใจความหลักคือ การรักษาศีลธรรม ช่วยเหลือสาธารณะประโยชน์ ซึ่งนักวิชาการบางคนถือว่านี่เป็นหนึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับแรกๆ ของโลกเลยทีเดียว
แม้กลุ่มโชกะจะถูกโค่นในปี 645 โดยตระกูลฟูจิวาระ แต่พุทธศิลป์และแนวคิดแบบขงจื๊อยังได้รับการสืบทอดจากนั้นเรื่อยมา
ภาพแนบ: โคจิกิ
*** ยุคนารา (ปี 710 - 794): การชำระประวัติศาสตร์ ***
ศตวรรษที่ 8 ญี่ปุ่นตกอยู่ในยุคนารา (奈良時代) ซึ่งตั้งชื่อตามชื่อเมืองหลวงถาวรแห่งแรกของญี่ปุ่นที่นารา หรือสมัยนั้นมีนามว่า “เฮโจเคียว” สร้างตามแบบเมืองฉางอันในจีน
ยุคนี้เองได้มีการเขียนบันทึกประวัติศาสตร์สองเล่มที่สำคัญและมีชื่อเสียงได้แก่ ตำราโคจิกิ (ราวปี 711) และตำรานิฮงโชกิ (ค.ศ. 720) ซึ่งบันทึกเรื่องราวการกำเนิดญี่ปุ่น และเน้นย้ำว่าราชวงศ์ญี่ปุ่นเกิดมาจากเทพเจ้า (คือจักรพรรดิญี่ปุ่นมีความชอบธรรมได้จากเทพเจ้าชินโต และศาสนาพุทธของญี่ปุ่นปนๆ กับชินโตมานานแล้ว จนไม่อาจแยกออก)
ภาพแนบ: โทไดจิ
ช่วงนั้นญี่ปุ่นเกิดทุพภิกขภัยมาก ทั้งไฟป่า ภัยแล้ง อดอยาก โรคระบาด ฯลฯ จนมีผู้เสียชีวิตมากมาย จักรพรรดิเลยหันหน้าเข้าสู่ทางธรรม สนับสนุนพุทธศาสนา สร้างวัดใหม่ๆ มากมาย
วัดโทไดจิที่คนไทยชอบไปเที่ยวเพื่อสักการะไดบุทสึหรือหลวงพ่อโต (รวมทั้งให้อาหารกวาง) ก็เกิดขึ้นในยุคนี้
*** ยุคเฮอัน (ปี 794 - 1185): ศิลปะรุ่งเรือง ***
ปี 794 มีการสร้างเมืองหลวงใหม่ขึ้นที่เมืองเกียวโต หรือเฮอันเคียว อันเป็นที่มาของชื่อยุคเฮอัน (平安時代) ซึ่งเกียวโตนี้กลายเป็นเมืองหลวงไปอีกนับพันปี ช่วงนี้เป็นยุคที่ราชสำนักญี่ปุ่นรุ่งเรืองรุ่มรวยจนถึงขีดสุด และมีวัฒนธรรมอันสวยงามทั้งวรรณคดี และศิลปะ
ตอนนั้นตระกูลขุนน้ำขุนนางมากมายมีการแต่งงานกันเพื่อสร้างบารมี แต่อำนาจของราชสำนักกลับลดน้อยลงเรื่อยๆ เพราะเจ้าหัวเมืองและเจ้าของที่ดินต่างๆ เริ่มขึ้นมามีอิทธิพล มีการซ่องสุมกำลังของตัวเอง
เมื่อสถานการณ์สุกงอม ได้เกิดการศึกระหว่าง “ตระกูลมินาโมโตะ” และ “ตระกูลไทระ” ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระจักรพรรดิมาทั้งคู่
ทั้งสองฝ่ายผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะหลายสงคราม โดยมีศึกตัดสินคือ “สงครามเก็นเป” ซึ่งฝ่ายมินาโมโตะได้รับชัยชนะไปในที่สุดเมื่อปี 1185 เป็นการจบยุคเฮอันลง
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***
*** สรุปประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเข้าใจง่าย ใน 15 นาที ***
บทความนี้จะเล่าเรื่องราวของญี่ปุ่น ตั้งแต่ตำนานการกำเนิดโลก, การรับอารยธรรมจากจีน, ยุคขุนศึกซามูไร, ยุคปฏิรูปไปจนถึงปัจจุบัน ทั้งหมดเป็นแบบรวดรัด เหมือน intro to ญี่ปุ่นให้ท่านพอทราบประวัติศาสตร์ของพวกเขาแบบคร่าวๆ ในเวลา 15 นาที
*** ปกรณัมญี่ปุ่น ***
หนังสือพงศาวดารที่บันทึกปกรณัมญี่ปุ่นในยุคเทพนิยาย (ในสมัยโบราณประวัติศาสตร์กับเทพนิยายนั้นมักถูกบันทึกรวมกัน เรียกว่า “ยุคเทพนิยาย”) เล่าว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว จักรวาลนี้มีเพียงความว่างเปล่า จากนั้นสสารค่อยๆ ก่อตัวขึ้น แบ่งแยกเป็นแสงสว่างอยู่บนสุด รองลงมาเป็นภพสวรรค์ และที่อยู่ต่ำสุดนั้นคือโลก จากนั้นก็เกิดเทพจำนวนหนึ่งตามมา
ภาพแนบ: อิซานามิ กับอิซานางิใช้หอกกวนทะเล
เทพองค์ที่สำคัญในเรื่องนี้ ได้แก่ เทพอิซานางิกับอิซานามิ ทั้งคู่เป็นสามีภรรยากัน
อิซานางิได้ใช้หอกกวนโลกซึ่งเวลานั้นมีเพียงทะเล เมื่อนำหอกขึ้นมา น้ำปลายหอกก็กลายเป็นเกาะสวยงามต่างๆ ของญี่ปุ่น จากนั้นทั้งคู่ก็เสด็จลงมาสร้างสิ่งต่างๆ ก่อนแต่งงานกัน แล้วให้เกิดเนิดลูกมากมาย
ภาพแนบ: ญี่ปุ่นในอดีต เทียบกับที่จะเป็นญี่ปุ่นในปัจจุบัน (เส้นสีแดง)
*** ยุคโจมง (14,000 - 10,000 ปีก่อนคริสตกาล): อารยธรรมลายเชือก ***
แม้ตำนานจะกล่าวว่า ประเทศญี่ปุ่นเริ่มแรกก็เป็นเกาะเลย แต่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้ให้ข้อมูลว่า ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตรงบริเวณที่เป็นประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน เคยเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินใหญ่มาก่อน และมีมนุษย์อาศัยอยู่มาราว 100,000 ปีมาแล้ว
ท้ายยุคน้ำแข็ง ราว 20,000 - 12,000 ปีก่อน ภูมิศาสตร์เปลี่ยนแปลง ระดับน้ำทะเลได้เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกาะญี่ปุ่นแยกตัวโดดเดี่ยว อันเป็นจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของพวกเขาอย่างแท้จริง โดยยุคแรกของญี่ปุ่นที่ยอมรับกันทั่วไปคือ “ยุคโจมง” (縄文時代)
ภาพแนบ: เครื่องปั้นดินเผาโจมง
มนุษย์สมัยนั้นเป็นนักล่าและหาของป่า จึงมีการประดิษฐ์เครื่องมือขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่นหอก, ธนู, ฉมวก, ตะขอตกปลา
นอกจากนี้ ยังมีการประดิษฐ์โถดินซึ่งมีลายเชือก (อารมณ์เดียวกับเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงของไทย) เพื่อเก็บของที่หามาได้ไว้ด้วย ซึ่งลายเชือกนี้ เรียกว่า “โจมง” อันเป็นที่มาของชื่อยุคนั่นเอง
ภาพแนบ: ตุ๊กตาโดกู
เนื่องจากสมัยโจมงนั้นลากยาวหลายพันปี ทำให้เครื่องดินเผาในยุคนี้ ไม่ได้มีแค่หม้อโถเก็บอาหาร แต่ยังมีการสร้างศิลปะอย่างอื่นอีก เช่น หน้ากากดินเผา, ตุ๊กตาดินเผา “โดกู” ซึ่งต่างมีลวดลายละเอียดอ่อนสวยงามยิ่ง แสดงถึงความก้าวหน้าทางอารยธรรมในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี
ภาพแนบ: ชาวยาโยยปลูกข้าว
*** ยุคยาโยย (1,000 ปีก่อนคริสตกาล - ปีคริสต์ศักราช 300): เริ่มเป็นปึกแผ่น ***
สมัยต่อมาประชากรญี่ปุ่นได้เปลี่ยนวิถีชีวิตมาสร้างหมู่บ้าน ทำการเกษตร เนื่องจากญี่ปุ่นมีฤดูกาลชัดเจน คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ทำให้พวกเขาต้องวางแผนปลูกพืชให้สอดคล้องกับธรรมชาติ
ชาวญี่ปุ่นเลือกปลูกข้าวเป็นหลักเพราะมีแหล่งน้ำเหมาะสม และข้าวยังเป็นผลผลิตที่เก็บไว้ได้นาน ทั้งนี้เชื่อกันว่า การเกษตรได้บ่มเพาะให้คนญี่ปุ่นขยันและทำอะไรเป็นเวลาสืบต่อมา
ภาพแนบ: อุทยานประวัติศาสตร์สมัยยาโยย "โยชิโนงาริ" จังหวัดซากะ
นอกจากนี้ เมื่อประชากรเพิ่ม พวกเขาก็สร้างอะไรซับซ้อนขึ้นตาม มีการสร้างเครื่องมือการเกษตรจากโลหะ, สร้างอาวุธเพื่อใช้ในพิธีกรรม, สร้างบ้านจากหิน, ทอผ้า และเกิดรูปแบบการแบ่งชนชั้นระหว่างเจ้าของที่ดินและคนทั่วไปขึ้นมา ซึ่งทำให้เกิดดินแดนเล็กๆ ขึ้นทั่วประเทศ
ยุคนี้เรียกว่า ยุคยาโยย (弥生時代) ตั้งชื่อตามเครื่องปั้นดินเผาที่เปลี่ยนจากขึ้นรูปด้วยมือล้วนๆ มาเป็นใช้แกนหมุน
ภาพแนบ: คนยาโยย (ซ้าย) กับคนโจมง (ขวา)
ความน่าสนใจคือ จากการตรวจสอบทางประวัติศาสตร์ คนญี่ปุ่นยุคโจมงกับยุคยาโยยมีโครงสร้างต่างกันค่อนข้างมาก
คนโจมงตัวเตี้ยล่ำกว่า หน้ากว้างสั้น ตาลึก จมูกรั้น ซึ่งนักวิชาการให้เหตุผลว่า เพราะกินเนื้อ ขากรรไกรจึงใหญ่ ขณะที่คนยาโยยตัวสูงกว่า หน้าแคบ ตาตี่ จมูกค่อนข้างแบน เพราะกินพืช ซึ่งเป็นลักษณะที่ใกล้เคียงกับคนญี่ปุ่นยุคปัจจุบันมากกว่า (แต่ก็มีเค้าทั้งสองแบบผสมๆ กันไป)
ภาพแนบ: อามาเทระสุ
*** กำเนิดจักรพรรดิ ***
ราวศตวรรษที่ 4 เมืองเล็กๆ ในญี่ปุ่นค่อยๆ รวมกันเป็นอาณาจักรแห่งเดียวในยุคต่อมา โดยมีเมืองยามาโตะเป็นศูนย์รวมอำนาจ
...ตำนานโบราณกล่าวไว้ว่า ผู้ปกครองเมืองยามาโตะนี้ สืบเชื้อสายมาจากอามาเทระสุ เทพีแห่งดวงอาทิตย์ เทพเจ้าผู้ได้รับการนับถือมากที่สุดในศาสนาชินโต โดยต้นตระกูลที่เป็นมนุษย์คือ จักรพรรดิจิมมุ
ภาพแนบ: จักรพรรดิจิมมุ (คนถือธนู)
คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่า จักรพรรดิจิมมุเคยปกครองญี่ปุ่นตั้งแต่ราว 660 ปีก่อนคริสตกาล (ยังอยู่ในยุคยาโยย)
ทั้งนี้แม้ตัวตนของจักรพรรดิดูจะเป็นเพียงเรื่องเล่ามากกว่าเรื่องจริง แต่ญี่ปุ่นก็ได้ยึดถือวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เป็นวันชาติของญี่ปุ่น โดยเชื่อว่าเป็นวันที่จักรพรรดิจิมมุ ซึ่งเป็นปฐมจักรพรรดิขึ้นครองราชย์
เมื่อญี่ปุ่นรวมประเทศสำเร็จ ก็ได้ติดต่อกับจีนและเกาหลีเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทั้งการทอผ้า, ฟอกหนัง, ต่อเรือ ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีชาวจีนและเกาหลีเข้ามาอาศัยในญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย และเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมตามมา
*** ยุคยามาโตะ (ปี 300 - 710): การรับอารยธรรมจีน ***
อารยธรรมนั้นเหมือนน้ำ ย่อมไหลจากที่สุงลงที่ต่ำ ผสมกลมกลืนกระจายไปทั่ว ในยุคที่จีนมีความเจริญนั้น ประเทศโดยรอบจีนย่อมรับวัฒนธรรมจีน ทำให้ตนเองกลายเป็นแบบจีนไปด้วย
ญี่ปุ่นรับวัฒนธรรมจีนอย่างมากในยุคยามาโตะ (大和時代) ที่เรียกเช่นนี้เพราะจักรพรรดิปกครองจากดินแดนยามาโตะทางใต้ของเมืองนาราในปัจจุบัน
ภาพแนบ: หลุมศพรุปรูกุญแจ
โดยปกติจะแบ่งยุคยามาโตะเป็นสองยุคย่อย ได้แก่:
1. ยุคโคฟุง (古墳時代) (ปี 300 - 538) หรือยุคหลุมศพ ตั้งชื่อจากการสร้างหลุมศพจักรพรรดิขนาดใหญ่เป็นรูปเหมือนรูกุญแจ (ซึ่งจริงๆ ยังมีรูปอื่นๆ อีก เช่นทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่อันที่ดังที่สุดเป็นรูปกุญแจ)
2. ยุคอาซูกะ (飛鳥時代) (ปี 538 - 710) อนึ่งปี 538 เป็นปีที่เริ่มรับศาสนาพุทธ และเรียกว่าอาซูกะเพราะปกครองจากเมืองอาซูกะ
ในยุคนี้คนญี่ปุ่นได้เอาตัวอักษรจีนมาใช้ นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงกฎหมาย ระบบราชการ การศึกษาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ
สิ่งสำคัญอื่นๆ ที่เข้ามาเช่น ศาสนาพุทธกับลัทธิขงจื๊อ ซึ่งจะเริ่มเข้ามามีอิทธิพลแทนศาสนาเดิม หรือชินโต (ชินโตเป็นลัทธินับถือวิญญานในธรรมชาติ เหมือนศาสนาผีของไทย) การรับวัฒนธรรมจีนทำให้พวกเขาเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นอันมาก
ภาพแนบ: จักรพรรดินีซุยโกะ
ในยุคนี้มีเหตุการณ์สำคัญคือสายตระกูลโชกะผู้นับถือพุทธ ได้ล้มอำนาจรัฐบาลเก่าและขึ้นครองญี่ปุ่นเกือบ 60 ปี โดยมีบุคคลสำคัญในยุคคือ "จักรพรรดินีซุยโกะ" ผู้ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 592 ถือเป็นจักรพรรดินีองค์แรกที่มีหลักฐานให้สืบค้นตามประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นว่าแต่ก่อนผู้หญิงก็เป็นผู้ปกครองได้
ภาพแนบ: เจ้าชายโชโทคุ
อีกคนที่สำคัญคือ "เจ้าชายโชโทคุ" พระราชนัดดาของจักรพรรดินีซุยโกะ ผู้วางรากฐานศาสนาพุทธในญี่ปุ่นให้มั่นคง และเป็นผู้เขียนรัฐธรรมนูญ 17 มาตรา ซึ่งเอามาจากคำสอนลัทธิขงจื๊อ มีใจความหลักคือ การรักษาศีลธรรม ช่วยเหลือสาธารณะประโยชน์ ซึ่งนักวิชาการบางคนถือว่านี่เป็นหนึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับแรกๆ ของโลกเลยทีเดียว
แม้กลุ่มโชกะจะถูกโค่นในปี 645 โดยตระกูลฟูจิวาระ แต่พุทธศิลป์และแนวคิดแบบขงจื๊อยังได้รับการสืบทอดจากนั้นเรื่อยมา
ภาพแนบ: โคจิกิ
*** ยุคนารา (ปี 710 - 794): การชำระประวัติศาสตร์ ***
ศตวรรษที่ 8 ญี่ปุ่นตกอยู่ในยุคนารา (奈良時代) ซึ่งตั้งชื่อตามชื่อเมืองหลวงถาวรแห่งแรกของญี่ปุ่นที่นารา หรือสมัยนั้นมีนามว่า “เฮโจเคียว” สร้างตามแบบเมืองฉางอันในจีน
ยุคนี้เองได้มีการเขียนบันทึกประวัติศาสตร์สองเล่มที่สำคัญและมีชื่อเสียงได้แก่ ตำราโคจิกิ (ราวปี 711) และตำรานิฮงโชกิ (ค.ศ. 720) ซึ่งบันทึกเรื่องราวการกำเนิดญี่ปุ่น และเน้นย้ำว่าราชวงศ์ญี่ปุ่นเกิดมาจากเทพเจ้า (คือจักรพรรดิญี่ปุ่นมีความชอบธรรมได้จากเทพเจ้าชินโต และศาสนาพุทธของญี่ปุ่นปนๆ กับชินโตมานานแล้ว จนไม่อาจแยกออก)
ภาพแนบ: โทไดจิ
ช่วงนั้นญี่ปุ่นเกิดทุพภิกขภัยมาก ทั้งไฟป่า ภัยแล้ง อดอยาก โรคระบาด ฯลฯ จนมีผู้เสียชีวิตมากมาย จักรพรรดิเลยหันหน้าเข้าสู่ทางธรรม สนับสนุนพุทธศาสนา สร้างวัดใหม่ๆ มากมาย
วัดโทไดจิที่คนไทยชอบไปเที่ยวเพื่อสักการะไดบุทสึหรือหลวงพ่อโต (รวมทั้งให้อาหารกวาง) ก็เกิดขึ้นในยุคนี้
*** ยุคเฮอัน (ปี 794 - 1185): ศิลปะรุ่งเรือง ***
ปี 794 มีการสร้างเมืองหลวงใหม่ขึ้นที่เมืองเกียวโต หรือเฮอันเคียว อันเป็นที่มาของชื่อยุคเฮอัน (平安時代) ซึ่งเกียวโตนี้กลายเป็นเมืองหลวงไปอีกนับพันปี ช่วงนี้เป็นยุคที่ราชสำนักญี่ปุ่นรุ่งเรืองรุ่มรวยจนถึงขีดสุด และมีวัฒนธรรมอันสวยงามทั้งวรรณคดี และศิลปะ
ตอนนั้นตระกูลขุนน้ำขุนนางมากมายมีการแต่งงานกันเพื่อสร้างบารมี แต่อำนาจของราชสำนักกลับลดน้อยลงเรื่อยๆ เพราะเจ้าหัวเมืองและเจ้าของที่ดินต่างๆ เริ่มขึ้นมามีอิทธิพล มีการซ่องสุมกำลังของตัวเอง
เมื่อสถานการณ์สุกงอม ได้เกิดการศึกระหว่าง “ตระกูลมินาโมโตะ” และ “ตระกูลไทระ” ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระจักรพรรดิมาทั้งคู่
ทั้งสองฝ่ายผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะหลายสงคราม โดยมีศึกตัดสินคือ “สงครามเก็นเป” ซึ่งฝ่ายมินาโมโตะได้รับชัยชนะไปในที่สุดเมื่อปี 1185 เป็นการจบยุคเฮอันลง
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***