วันอร่อย Pfeffernusse และอร่อยต่อด้วยขนมหอมหวาน ฮังการีแบบดั้งเดิม

วัน Pfeffernusse แห่งชาติ 23 ธันวาคม National Pfeffernusse Day
"Pfeffernusse" คุกกี้แสนอร่อย ที่มีส่วนผสมของเครื่องเทศหลายชนิด

.
วัน Pfeffernusse แห่งชาติ นี้มีขึ้นทุกวันที่ 23 ธันวาคมของทุกปี เรียกได้ว่าเป็นวันที่อุทิศให้กับคุกกี้แสนอร่อย ซึ่งเชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดในเยอรมนี และยังได้รับความนิยมอย่างมากในเดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ เป็นขนมวันหยุดที่มีส่วนสำคัญในการเฉลิมฉลองคริสต์มาส และวันเซนต์นิโคลัส จึงถือเป็นวันที่เพลิดเพลินกับขนมแสนอร่อยนี้กับเพื่อน และครอบครัว

Pfeffernusse หรือที่รู้จักกันในชื่อ "pepernoten" มีต้นกำเนิดมาจากยุโรปกลาง เชื่อกันว่าโยฮันน์ เฟลชมันน์ (Johann Fleischmann) ช่างทำขนมจากเมืองออฟเฟนบัค อัม ไมน์ (Offenbach am Main) เป็นผู้คิดค้นสูตรนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1753 ตั้งแต่นั้นมา คุกกี้ชนิดนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างมาก ดึงดูดความสนใจจากผู้คนมากมาย รวมถึงบุคคลที่มีชื่อเสียงอย่างเฟลิกซ์ เมนเดลส์โซห์นด้วย

: เฟลิกซ์ เมนเดลส์โซห์น หรือ ยาค็อพ ลูทวิช เฟลิคส์ เม็นเดิลส์โซน บาร์ท็อลดี (Jakob Ludwig Felix Mendelssohn Bartholdy) นักเปียโน คีตกวี และผู้อำนวยเพลงชาวเยอรมัน อยู่ในยุคโรแมนติก มีผลงานประพันธ์ 

- ซิมโฟนีที่มีชื่อเสียง "Symphony No. 4 in A Major," ที่รู้จักกันในชื่อ "Italian Symphony" และ "Symphony No. 3 in A Minor" หรือ "Scottish Symphony"

- คอนแชร์โต หนึ่งในผลงานคือ Violin Concerto in E Minor 
- ออราทอริโอ ที่มีชื่อเสียง "Elijah" และ "St. Paul"
- เชมเบอร์มิวสิก ผลงานที่ได้รับการย่อง Octet in E-flat Major


.
สูตรดั้งเดิมของ "Pfeffernusse" ประกอบด้วยเครื่องเทศต่างๆ เช่น ลูกจันทน์เทศ อบเชย กานพลู ขิง พริกไทยดำ ยี่หร่า รวมถึงน้ำตาล เนย ไข่ และแป้ง บางครั้งก็ใส่วอลนัทหรืออัลมอนด์เพื่อเพิ่มรสชาติ ส่วนผสมจะถูกนวดและอบ เมื่อนำออกจากเตาอบ ส่วนผสมจะแข็ง แต่จะนิ่มลงหลังจากผ่านไปสองสามวัน

...
ประเทศเยอรมนีที่ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นกำเนิดของ"Pfeffernusse" นั้นหากมองย้อนกลับไปไกลมากขึ้น เยอรมนีเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตาร์มากมาย ตั้งแต่ กว่า 500 ปีก่อนคริสตกาล จากกำเนิดสาธารณรัฐโรมัน ไปจนถึงช่วงยุครุ่งเรื่องที่ถูกตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ อย่าง “จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชาติเยอรมัน” ระหว่างปี ค.ศ. 962 - 1806

หรืออย่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ระหว่างปี ค.ศ. 1939–1945) ที่ก่อเกิดบุคคลอย่าง ฮิตเลอร์ อันเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก อันนำมาซึ่งการแบ่งฝ่าย โดยฝ่ายที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงโลกใหม่ อย่างฝ่ายอักษะ และฝ่ายที่พยายามจะรักษาแนวทางโลกเดิมเอาไว้ อย่างฝ่ายสัมพันธมิตร

หนึ่งในเหตุการณสำคัญๆ ที่อาจเป็นที่พูดถึงน้อย อย่างฝ่ายอักษะ ที่มีการเพิ่มพันธมิตร โดยการลงนามในสนธิสัญญาต่างๆ

- สนธิสัญญาโรม-เบอร์ลิน (Rome-Berlin Axis) ลงนาม: 25 ตุลาคม ค.ศ. 1936 ระหว่า เยอรมนี กับอิตาลี โดยมีเป้าหมายเพื่อร่วมมือทางการเมืองและทหารในยุโรป และกำหนดแนวทางในการขยายอิทธิพลในภูมิภาค

- สนธิสัญญาต่อต้านคอมมิวนิสต์สากล (Anti-Comintern Pact) ลงนามครั้งแรก 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936 ระหว่าง เยอรมนี กับญี่ปุ่น โดยเป็นข้อตกลงต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์สากล (นำโดยสหภาพโซเวียต) ซึ่งภายหลัง ได้มีการเข้าร่วมเพิ่มเติมคือ อิตาลี (ค.ศ. 1937), ฮังการี (ค.ศ. 1939), โรมาเนีย (ค.ศ. 1939),  สเปน (ค.ศ. 1941)

- สนธิสัญญาไตรภาคี (Tripartite Pact) ลงนาม 27 กันยายน ค.ศ. 1940 ระหว่าง เยอรมนี, อิตาลี และญี่ปุ่น เพื่อร่วมมือกันในทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร โดยมีเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงโลก และป้องกันการโจมตีจากฝ่ายพันธมิตร

.
ประเทศฝ่ายอักษะ เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, ฮังการี, โรมาเนีย, สโลวาเกีย, บัลแกเรีย, ยูโกสลาเวีย, ฟินแลนด์, และสเปน (สนับสนุนอย่างไม่เป็นทางการ)

บริบทที่น่าสนใจ และมีการพูดถึงกันน้อย คือ ฮังการี ที่ได้เข้าร่วมฝ่ายอักษะ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการเข้าร่วมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายดินแดน และปรับปรุงขอบเขตประเทศตามสนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles)

แต่ในช่วงระหว่างสงครามนี้ ฮังการีได้พยาพยามเปลี่ยนฝ่าย ที่นำไปสู่การยึดครองโดยเยอรมนี และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังสงคราม

.
บริบท และเหตุผลของการเปลี่ยนฝ่าย

ฮังการีเข้าร่วมฝ่ายอักษะ โดยมีเป้าหมายในการขยายดินแดน เช่น ทรานซิลเวเนีย (จากโรมาเนีย) และพื้นที่ในยูโกสลาเวียที่เยอรมนีช่วยจัดสรรให้ หลังจากปี ค.ศ. 1943 เยอรมนีเริ่มสูญเสียพื้นที่ในแนวรบด้านตะวันออกอย่างต่อเนื่อง ความล้มเหลวในสมรภูมิที่สตาลินกราด และการรุกกลับของโซเวียตในยุโรปตะวันออก ทำให้ฮังการีหวั่นเกรงต่อการบุกยึดครองโดยสหภาพโซเวียต

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยื่นข้อเสนอให้ฮังการีถอนตัวจากฝ่ายอักษะ และเข้าร่วมกับสัมพันธมิตรเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกยึดครองและการลงโทษหลังสงคราม

ในปี ค.ศ. 1944 นายกรัฐมนตรีมิกลอส คัลลาย (Miklós Kállay) เจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างลับๆ เพื่อเตรียมถอนตัวจากฝ่ายอักษะ นำมาซึ่ง "การยึดครองฮังการีโดยเยอรมนี" ด้วยปฏิบัติการมาร์การิต (Operation Margarethe) เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม  ค.ศ. 1944 เพื่อยึดครองฮังการี และป้องกันไม่ให้เปลี่ยนฝ่าย ทำให้ทหารเยอรมันเข้ายึดครองฮังการี และจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิด 

นายกรัฐมนตรีคัลลายถูกปลด และรัฐบาลใหม่ที่นำโดย โดเม โสตัย (Döme Sztójay) ก่อให้เกิดการเนรเทศชาวยิวฮังการีไปยังค่ายกักกันของนาซี

เมื่อสงครามจบในปี ค.ศ. 1945 กองทัพโซเวียตบุกยึดฮังการี และฮังการีตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตในเวลาต่อมา

ฮังการีถูกจัดว่าเป็นผู้แพ้สงครามและต้องลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพปี 1947 ซึ่งทำให้สูญเสียดินแดนส่วนใหญ่ที่เคยได้มาหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รวมทั้งต้องจ่ายค่าชดเชย และจำกัดกำลังทหาร และได้รัฐบาลใหม่ที่มีแนวคิดคอมมิวนิสต์เข้ามาปกครองประเทศจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามเย็น

.
อย่างไรก็ตาม การยึดครองโดยเยอรมนี และการก่อรัฐประหารทำให้ฮังการีสูญเสียอิสรภาพและต้องทนทุกข์กับผลกระทบทางการเมืองและเศรษฐกิจหลังสงครามเป็นเวลานาน

.
ฮังการีได้รับอิสรภาพจากการครอบงำของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1989 ซึ่งเป็นปีที่ระบบคอมมิวนิสต์ล่มสลายในยุโรปตะวันออก และกองทัพโซเวียตเริ่มถอนตัวออกจากฮังการีตั้งแต่ปี 1990 และเสร็จสิ้นในปี 1991

ทำให้ฮังการีได้รับอิสรภาพ เปลี่ยนแปลงเป็นรัฐประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ได้เข้าร่วม นาโต้ (NATO) ในปี ค.ศ. 1999 และเข้าร่วม สหภาพยุโรป (EU) ในปี ค.ศ. 2004

.
ฮังการีมีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่การตั้งอาณาจักรฮังการีในปี ค.ศ. 1000 โดยกษัตริย์เซนต์สตีเฟน 

ฮังการี มีทั้งวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามอย่าง บูดาเปสต์ (Budapest) เมืองหลวงที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม ทั้ง ปราสาทบูดา (Budavári Palota / Buda Castle) และอาคารรัฐสภา (Hungarian Parliament Building)

ทะเลสาบบาลาตอน (Lake Balaton) หรือแหล่งน้ำพุร้อนที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปอย่าง โรงอาบน้ำเซเชนยี (Széchenyi Thermal Bath)

หรืออาหารฮังการีที่ขึ้นชื่อเรื่องรสชาติเข้มข้น อย่าง กูลาช (Goulash) ซุปเนื้อและผักที่มีรสเผ็ด, พาปริกาช (Paprikás Csirke) ไก่ผัดในซอสปาปริก้า, ลังกอช (Lángos) แป้งทอดหน้าชีสและซาวครีม

.
และที่จะขาดไปไม่ได้เลย ในเรื่องของความขึ้นชื่อ อร่อยหอมหวาน อย่างขนมหวานฮังการีแบบดั้งเดิม

1. Hungarian Chestnut Cake
เค้กเกาลัคฮังการี หากินยากเพราะทำค่อนข้างยาก เป็นสูตรที่ไม่มีแป้ง กัดเข้าไปแล้วจะได้ความรู้สึกที่นุ่นลิ้น

2. Kakaós Csiga (Hungarian Chocolate Rolls)
เค้กโรลช็อกโกแลต

3. Hungarian Poppy Seed Bread Pudding
เค้กพุดดิ้งเมล็ดป๊อปปี้ ที่มีความเชื่อว่าจะนำโชคลาภและเงินทองมาให้

4. Chimney Cake (Kürtőskalács) 
ถึงแม้ว่าจะเรียกว่า "เค้ก" แต่จริงๆ แล้วมันคือขนมปัง นอกจากรูปร่างทรงกระบอกแล้ว สิ่งที่ทำให้ขนมชิ้นนี้พิเศษกว่าชิ้นอื่นก็คือด้านนอกที่กรอบและเหนียวนุ่ม เคลือบน้ำตาลแล้วโรยด้วยส่วนผสมของวอลนัท

5. Hungarian Cherry and Apple Pie (Almás Pite)
เค้กพายเชอรี่แอปเปิ้ลสี่เหลียม ขนมเค้กสุดคลาสสิกของฮังการี

6. Hungarian Chocolate Coconut Balls (Kókuszgolyó)
ผสมด้วยบิสกิตบด ช็อกโกแลต เนย น้ำตาล และน้ำเชอร์รี่เปรี้ยวเข้าด้วยกันเคลือบด้วยมะพร้าวขูด

7. Apple Strudel (Almás Rétes) 
แป้งบางๆ เป็นแผ่นทับกับไส้แอปเปิ้ลเนื้อหนึบๆ



.
: แต่ละเมนูเพื่อนๆ เห็นแล้วคงยากจะอดใจไหว มีร้านไหนอร่อยมาแนะนำ มาบอกต่อกันได้นะครับผม

.
ขอขอบคุณข้อมูล
: nationaldayfood
: insanelygoodrecipes
: tastingtable
: tasteatlas
: wikipedia
: artsandculture .google
: globalsecurity .org
: thecollector
.
LookAt
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่