สองตอนที่แล้ว ผมได้กล่าวถึงธุรกิจ และงบการเงินของบริษัท Wave ไปบ้างแล้วคร่าว ๆ ตอนนี้ของมาลองวิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกิจ Carbon Credit /REC ซึ่งผมมองว่ามันเป็นธุรกิจ New S Curve ของบริษัทกันบ้าง ว่ามีอะไรให้เราต้องกังวลบ้างหรือเปล่า? (ส่วนธุรกิจสอนภาษา Wall Street ผมขอไม่กล่าวถึง เนื่องจาก Business Model ไม่ยากอะไรมาก เติบโตการขยายสาขา ,ราคาของแต่ละคอร์ส และจำนวนคอร์สที่เปิดสอน รวมถึงการขยายไปถึงกลุ่มนักเรียนที่ยังไม่เคยเข้าถึงมาก่อน ฯลฯ ครับ)
เอาล่ะ...ผมขอแบ่งการวิเคราะห์ความเสี่ยงออกเป็นด้านต่าง ๆ สัก 4 – 5 ข้อ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย (แต่ผมต้องขอออกตัวก่อนว่า ผมวิเคราะห์จากความรู้โดยส่วนตัว ซึ่งอาจมีบางส่วนบางด้านที่ไม่ครอบคลุม ก็ต้องขออภัยนะครับ)
ขอเริ่มที่ความเสี่ยงด้าน Supply กันก่อนเลย
เนื่องจาก Carbon Credit /REC ต้องใช้เวลาในการผลิต หรือการกักเก็บค่อนข้างนาน เพราะมันมีกระบวนการต่าง ๆ หลายขั้นตอนกว่าจะสามารถกลายมาเป็น Carbon Credit/REC จึงอาจทำให้เกิดภาวะ Supply Short ได้ ซึ่งมันอาจจะโตไม่ทัน Demand หรือความต้องการใช้ โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาเริ่มต้นของการชดเชย Carbon Credit ให้เป็นไปตามกฎต่าง ๆ ที่นานาชาติได้ตั้งขึ้นมา เพราะช่วงดังกล่าวมันเป็นช่วงชุลมุนของความต้องการใช้กันเลยครับ
ต่อมาเป็นความเสี่ยงด้านเงินทุน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงด้าน Supply ครับ
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การผลิตหรือกักเก็บ Carbon/REC นอกจากต้องใช้เวลาการผลิตนานแล้ว มันยังต้องใช้เงินลงทุนสูงในการสร้าง เพื่อให้ได้มาซึ่ง Carbon Credit/REC อีกด้วย ฉะนั้นผู้ที่คิดจะทำธุรกิจนี้ จำเป็นต้องมีความสามารถในการหาแหล่งเงินทุน เพื่อนำมาใช้ลงทุนในกระบวนการดังกล่าวให้ได้ครับ ซึ่งหากแหล่งเงินทุนไม่ถึงแล้ว ก็ยากที่จะทำได้สำเร็จ และหากโครงการที่สำเร็จมีน้อยลง แน่นอนว่าอาจทำให้เกิด Supply Short ได้เช่นกัน
เมื่อมีความเสี่ยงด้าน Supply ก็ย่อมมีความเสี่ยงด้าน Demand เป็นธรรมดาครับ
เนื่องจากในประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้ หรือกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บภาษี Carbon Credit เหมือนในต่างประเทศ โดยประเทศไทยสำหรับเรื่องเกี่ยวกับ Net Zero นี้ ยังคงเป็นภาคสมัครใจกันอยู่เลยครับ ซึ่งคำว่า “สมัครใจ” มันก็มีความหมายตรงตัวอยู่แล้วครับ ว่าธุรกิจต่าง ๆ จะทำ หรือไม่ทำก็ได้ ไม่มีความผิดใด ๆ จึงไม่มีความจำเป็นที่บริษัทต่าง ๆ ต้องรีบกักตุน หรือต้องซื้อ Carbon Credit เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเกณฑ์ที่ต่างประเทศกำหนด
ฉะนั้น ในเมื่อธุรกิจต่าง ๆ ยังไม่มีความจำเป็นต้องซื้อ ทั้งยังไม่มีกฎหมายที่จะมาบังคับให้ธุรกิจต้องซื้อ Carbon Credit มาชดเชย มันจึงเป็นความเสี่ยงของผู้ที่ทำธุรกิจนี้ที่อาจไม่สามารถหา Demand ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ นั่นหมายถึงรายได้จากธุรกิจนี้ยังมีความไม่แน่นอนครับ
วิเคราะห์ความเสี่ยงมาสองสามอย่างแล้ว หวังว่าจะทำให้เพื่อน ๆ จะพอเข้าใจกันมากขึ้น แต่ยังมีความเสี่ยงอีกสองสามอยากที่จะวิเคราะห์ให้เพื่อน ๆ อ่านกันต่อครับ O.k. เรามาต่อกันเลย
นอกจากความเสี่ยงด้าน Demand ที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมีความเสี่ยงอีกด้านหนึ่งที่อาจมีผลต่อรายได้ของผู้ประกอบธุรกิจนี้โดยตรง มันคือความเสี่ยงด้านราคาซื้อขายของ Carbon Credit/Rec ครับ
เป็นที่ทราบกันดีว่า Product ด้าน Carbon Credit/Rec ยังเป็นตลาดใหม่ที่ยังไม่เคยมีการซื้อขายมาก่อน ราคาซื้อขายจึงยังไม่ค่อยมีมาตรฐานสักเท่าไหร่ เนื่องเพราะการได้มาซึ่ง Carbon Credit/Rec นั้น มีความหลากหลายมาก ๆ และราคาของโครงการต่าง ๆ สำหรับการได้มาซึ่ง Carbon ก็ไม่เท่ากันเสียด้วย
ส่วนใหญ่จึงเป็นการตกลงราคากันเอง อาจจะเป็นการเจรจาซื้อขายระหว่างองค์กรใหญ่ ๆ (B2B) หรือที่เรียกกันว่า Over-the-Counter เสียมากกว่า สำหรับ SME รายย่อย ๆ ไม่ต้องพูดถึง เพราะคงไม่มีใครคิดถึงเรื่องการชดเชย Carbon กันมากนัก เพราะมันเป็นการเพิ่มต้นทุนให้ธุรกิจ มันจึงเป็นความเสี่ยงที่ผู้ประกอบธุรกิจนี้ ต้องสามารถหาตลาดที่ใช่ ในราคาที่เหมาะสม คือต้องรู้ว่า Carbon ประเภทไหนขายได้ราคาเท่าไหร่ และต้องรู้ว่าจะขายให้กับใคร จึงจะสามารถทำรายได้เป็นกอบเป็นกำจากธุรกิจนี้ครับ
สุดท้ายขอพูดถึงความเสี่ยงด้านขนาดตลาด Carbon Credit/REC ในประเทศไทย
ประเทศไทยยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ มันย่อมต้องมีช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน หรือปรับตัวเป็นธรรมดา จึงเป็นผลทำให้ตลาดซื้อขาย Carbon Credit/REC ยังไม่ใหญ่เท่าที่ควร แต่คาดว่าในปี 67 เป็นต้นไป อาจจจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้น เนื่องจากมีการรณรค์ สร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของการลดก๊าซเรือนกระจกให้แก่ธุรกิจต่าง ๆ มากขึ้น
อีกทั้งกฎระเบียบของโลกธุรกิจภายนอกประเทศเกี่ยวกับเรื่องนี้ เริ่มมีการเข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ จึงคาดว่าตลาดของการซื้อขาย Carbon Credit/Rec ก็น่าจะเติบโตตามไปด้วยเช่นเดียวกัน
เพื่อน ๆ จะเห็นว่าความเสี่ยงที่ผมกล่าวมาข้างต้นนี้ มันมีทั้งความเสี่ยงที่พอจะควบคุมได้ และความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ปะปนกันอยู่ ซึ่งผมคิดว่าเรื่องพวกนี้ สำหรับธุรกิจที่ต้องการดำเนินธุรกิจด้านนี้อย่าง บ. Wave น่าจะรู้ดีกว่าผมอยู่แล้ว และคาดว่าทางบริษัทคงคิดวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางลด หรือป้องกันความเสี่ยงพวกนี้อยู่แล้ว ก็คงต้องรอดูผลประกอบการกันต่อไปเป็นไตรมาส ๆ ไปครับ
คราวหน้าจะมาลองวิเคราะห์ถึงโอกาสในธุรกิจนี้กันบ้าง ไว้เจอกันใหม่ครับ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ
ดช.จุ่น
บทความเก่า Wave จะเป็นหุ้น Mega Trend ของโลกได้หรือไม่? ตอนที่ 2
https://ppantip.com/topic/42586745
Wave จะเป็นหุ้น Mega Trend ของโลกได้หรือไม่? ตอนที่ 3
เอาล่ะ...ผมขอแบ่งการวิเคราะห์ความเสี่ยงออกเป็นด้านต่าง ๆ สัก 4 – 5 ข้อ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย (แต่ผมต้องขอออกตัวก่อนว่า ผมวิเคราะห์จากความรู้โดยส่วนตัว ซึ่งอาจมีบางส่วนบางด้านที่ไม่ครอบคลุม ก็ต้องขออภัยนะครับ)
ขอเริ่มที่ความเสี่ยงด้าน Supply กันก่อนเลย
เนื่องจาก Carbon Credit /REC ต้องใช้เวลาในการผลิต หรือการกักเก็บค่อนข้างนาน เพราะมันมีกระบวนการต่าง ๆ หลายขั้นตอนกว่าจะสามารถกลายมาเป็น Carbon Credit/REC จึงอาจทำให้เกิดภาวะ Supply Short ได้ ซึ่งมันอาจจะโตไม่ทัน Demand หรือความต้องการใช้ โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาเริ่มต้นของการชดเชย Carbon Credit ให้เป็นไปตามกฎต่าง ๆ ที่นานาชาติได้ตั้งขึ้นมา เพราะช่วงดังกล่าวมันเป็นช่วงชุลมุนของความต้องการใช้กันเลยครับ
ต่อมาเป็นความเสี่ยงด้านเงินทุน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงด้าน Supply ครับ
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การผลิตหรือกักเก็บ Carbon/REC นอกจากต้องใช้เวลาการผลิตนานแล้ว มันยังต้องใช้เงินลงทุนสูงในการสร้าง เพื่อให้ได้มาซึ่ง Carbon Credit/REC อีกด้วย ฉะนั้นผู้ที่คิดจะทำธุรกิจนี้ จำเป็นต้องมีความสามารถในการหาแหล่งเงินทุน เพื่อนำมาใช้ลงทุนในกระบวนการดังกล่าวให้ได้ครับ ซึ่งหากแหล่งเงินทุนไม่ถึงแล้ว ก็ยากที่จะทำได้สำเร็จ และหากโครงการที่สำเร็จมีน้อยลง แน่นอนว่าอาจทำให้เกิด Supply Short ได้เช่นกัน
เมื่อมีความเสี่ยงด้าน Supply ก็ย่อมมีความเสี่ยงด้าน Demand เป็นธรรมดาครับ
เนื่องจากในประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้ หรือกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บภาษี Carbon Credit เหมือนในต่างประเทศ โดยประเทศไทยสำหรับเรื่องเกี่ยวกับ Net Zero นี้ ยังคงเป็นภาคสมัครใจกันอยู่เลยครับ ซึ่งคำว่า “สมัครใจ” มันก็มีความหมายตรงตัวอยู่แล้วครับ ว่าธุรกิจต่าง ๆ จะทำ หรือไม่ทำก็ได้ ไม่มีความผิดใด ๆ จึงไม่มีความจำเป็นที่บริษัทต่าง ๆ ต้องรีบกักตุน หรือต้องซื้อ Carbon Credit เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเกณฑ์ที่ต่างประเทศกำหนด
ฉะนั้น ในเมื่อธุรกิจต่าง ๆ ยังไม่มีความจำเป็นต้องซื้อ ทั้งยังไม่มีกฎหมายที่จะมาบังคับให้ธุรกิจต้องซื้อ Carbon Credit มาชดเชย มันจึงเป็นความเสี่ยงของผู้ที่ทำธุรกิจนี้ที่อาจไม่สามารถหา Demand ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ นั่นหมายถึงรายได้จากธุรกิจนี้ยังมีความไม่แน่นอนครับ
วิเคราะห์ความเสี่ยงมาสองสามอย่างแล้ว หวังว่าจะทำให้เพื่อน ๆ จะพอเข้าใจกันมากขึ้น แต่ยังมีความเสี่ยงอีกสองสามอยากที่จะวิเคราะห์ให้เพื่อน ๆ อ่านกันต่อครับ O.k. เรามาต่อกันเลย
นอกจากความเสี่ยงด้าน Demand ที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมีความเสี่ยงอีกด้านหนึ่งที่อาจมีผลต่อรายได้ของผู้ประกอบธุรกิจนี้โดยตรง มันคือความเสี่ยงด้านราคาซื้อขายของ Carbon Credit/Rec ครับ
เป็นที่ทราบกันดีว่า Product ด้าน Carbon Credit/Rec ยังเป็นตลาดใหม่ที่ยังไม่เคยมีการซื้อขายมาก่อน ราคาซื้อขายจึงยังไม่ค่อยมีมาตรฐานสักเท่าไหร่ เนื่องเพราะการได้มาซึ่ง Carbon Credit/Rec นั้น มีความหลากหลายมาก ๆ และราคาของโครงการต่าง ๆ สำหรับการได้มาซึ่ง Carbon ก็ไม่เท่ากันเสียด้วย
ส่วนใหญ่จึงเป็นการตกลงราคากันเอง อาจจะเป็นการเจรจาซื้อขายระหว่างองค์กรใหญ่ ๆ (B2B) หรือที่เรียกกันว่า Over-the-Counter เสียมากกว่า สำหรับ SME รายย่อย ๆ ไม่ต้องพูดถึง เพราะคงไม่มีใครคิดถึงเรื่องการชดเชย Carbon กันมากนัก เพราะมันเป็นการเพิ่มต้นทุนให้ธุรกิจ มันจึงเป็นความเสี่ยงที่ผู้ประกอบธุรกิจนี้ ต้องสามารถหาตลาดที่ใช่ ในราคาที่เหมาะสม คือต้องรู้ว่า Carbon ประเภทไหนขายได้ราคาเท่าไหร่ และต้องรู้ว่าจะขายให้กับใคร จึงจะสามารถทำรายได้เป็นกอบเป็นกำจากธุรกิจนี้ครับ
สุดท้ายขอพูดถึงความเสี่ยงด้านขนาดตลาด Carbon Credit/REC ในประเทศไทย
ประเทศไทยยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ มันย่อมต้องมีช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน หรือปรับตัวเป็นธรรมดา จึงเป็นผลทำให้ตลาดซื้อขาย Carbon Credit/REC ยังไม่ใหญ่เท่าที่ควร แต่คาดว่าในปี 67 เป็นต้นไป อาจจจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้น เนื่องจากมีการรณรค์ สร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของการลดก๊าซเรือนกระจกให้แก่ธุรกิจต่าง ๆ มากขึ้น
อีกทั้งกฎระเบียบของโลกธุรกิจภายนอกประเทศเกี่ยวกับเรื่องนี้ เริ่มมีการเข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ จึงคาดว่าตลาดของการซื้อขาย Carbon Credit/Rec ก็น่าจะเติบโตตามไปด้วยเช่นเดียวกัน
เพื่อน ๆ จะเห็นว่าความเสี่ยงที่ผมกล่าวมาข้างต้นนี้ มันมีทั้งความเสี่ยงที่พอจะควบคุมได้ และความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ปะปนกันอยู่ ซึ่งผมคิดว่าเรื่องพวกนี้ สำหรับธุรกิจที่ต้องการดำเนินธุรกิจด้านนี้อย่าง บ. Wave น่าจะรู้ดีกว่าผมอยู่แล้ว และคาดว่าทางบริษัทคงคิดวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางลด หรือป้องกันความเสี่ยงพวกนี้อยู่แล้ว ก็คงต้องรอดูผลประกอบการกันต่อไปเป็นไตรมาส ๆ ไปครับ
คราวหน้าจะมาลองวิเคราะห์ถึงโอกาสในธุรกิจนี้กันบ้าง ไว้เจอกันใหม่ครับ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ
ดช.จุ่น
บทความเก่า Wave จะเป็นหุ้น Mega Trend ของโลกได้หรือไม่? ตอนที่ 2 https://ppantip.com/topic/42586745