ขึ้นเป็นธรรมดา
สำรวมจมูก ที่เมื่อกระทบกลิ่น ย่อมเกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือเฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สำรวมลิ้น ที่เมื่อกระทบรส ย่อมเกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือเฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สำรวมกาย ที่เมื่อกระทบโผฏฐัพพะ ย่อมเกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือเฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สำรวมใจ ที่เมื่อกระทบธรรมารมณ์ ความคิดความนึก ที่มักผุดเกิดขึ้นเองเสมอๆ ตลอดจนความคิดที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งสืบเนื่องต่อจากการผัสสะของอินทรีย์อื่นๆทั้ง ๕ ย่อมเกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือเฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
กล่าวคือ ถ้าปล่อยให้ อายตนะภายนอกกระทบกับอายตนะภายใน ย่อมเกิดขึ้นและเป็นไปดังนี้เสมอ จะไปห้ามไม่ให้เกิด ไม่ให้เป็นไปย่อมไม่ได้
อายตนะภายนอก กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป อายตนะภายใน การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ๖ การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ ข้างต้น เรียกว่า ผัสสะ ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา คือ ความรู้สึกเป็นสุข, ทุกข์, อทุกขมสุข(ไม่สุขไม่ทุกข์) อย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเป็นธรรมดาหรือตถตา
ความแตกต่างแรงเข้มของเวทนา จึงขึ้นอยู่กับกิเลสตัณหาที่ร้อยรัดนั่นเอง
อินทรีย์ - ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน,
ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น, หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน, ศรัทธาเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น
๑. อินทรีย์ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๒. อินทรีย์ ๕ ตรงกับ พละ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ธรรม ๕ อย่างชุดเดียวกันนี้ เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง ตามหน้าที่ที่ทำ คือ เรียกชื่อว่า พละ โดยความหมายว่า เป็นกำลังทำให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้ เรียกชื่อว่า อินทรีย์ โดยความหมายว่า เป็นเจ้าการในการครอบงำเสีย ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่าง คือความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ตามลำดับ
อินทรียสังวร
สำรวมจมูก ที่เมื่อกระทบกลิ่น ย่อมเกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือเฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สำรวมลิ้น ที่เมื่อกระทบรส ย่อมเกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือเฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สำรวมกาย ที่เมื่อกระทบโผฏฐัพพะ ย่อมเกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือเฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สำรวมใจ ที่เมื่อกระทบธรรมารมณ์ ความคิดความนึก ที่มักผุดเกิดขึ้นเองเสมอๆ ตลอดจนความคิดที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งสืบเนื่องต่อจากการผัสสะของอินทรีย์อื่นๆทั้ง ๕ ย่อมเกิดความชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือเฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
กล่าวคือ ถ้าปล่อยให้ อายตนะภายนอกกระทบกับอายตนะภายใน ย่อมเกิดขึ้นและเป็นไปดังนี้เสมอ จะไปห้ามไม่ให้เกิด ไม่ให้เป็นไปย่อมไม่ได้
อายตนะภายนอก กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป อายตนะภายใน การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ๖ การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ ข้างต้น เรียกว่า ผัสสะ ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา คือ ความรู้สึกเป็นสุข, ทุกข์, อทุกขมสุข(ไม่สุขไม่ทุกข์) อย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเป็นธรรมดาหรือตถตา
ความแตกต่างแรงเข้มของเวทนา จึงขึ้นอยู่กับกิเลสตัณหาที่ร้อยรัดนั่นเอง
อินทรีย์ - ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน,
ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น, หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน, ศรัทธาเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น
๑. อินทรีย์ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๒. อินทรีย์ ๕ ตรงกับ พละ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ธรรม ๕ อย่างชุดเดียวกันนี้ เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง ตามหน้าที่ที่ทำ คือ เรียกชื่อว่า พละ โดยความหมายว่า เป็นกำลังทำให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้ เรียกชื่อว่า อินทรีย์ โดยความหมายว่า เป็นเจ้าการในการครอบงำเสีย ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่าง คือความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ตามลำดับ