JJNY : 5in1 ‘รองอ๋อง’ร่วม‘สหภาพรัฐสภา’│ก้าวไกลแนะแก้ฝุ่น│ก้าวไกลวางวาระเข้ม│หอการค้าไทยหั่นจีดีพี│รัสเซียยันปลดแม่ทัพ

‘รองอ๋อง’ร่วมประชุม ‘สหภาพรัฐสภา’ เจนีวา ‘พิธา’ร่วมคณะ พร้อมดัน ‘กัณวีร์’ ชิงเก้าอี้ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4480353
 
 
“รองอ๋อง” เตรียมร่วมประชุม “สหภาพรัฐสภา” ที่เจนีวา มี “พิธา” ร่วมคณะ พร้อมดัน “กัณวีร์” ชิงเก้าอี้ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน หวังรัฐบาล นำข้อเสนอที่ปรับปรุงแล้วพิสูจน์ความจริงใจ เผย จ่อเปิดให้ ปชช.ลงทะเบียนร่วมสังเกตการณ์ ซักฟอก 3-4 เม.ย.
 
เมื่อวันที่ 19 มี.ค. เวลา 13.00 น. ที่รัฐสภา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง แถลงถึงการเดินทางไปประชุมร่วมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 148 (IPU) ที่เมืองเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ว่า เพื่อสานสัมพันธ์การทูตรัฐสภา ไม่ว่าจะเป็นการสานสัมพันธ์ ผสานประโยชน์กับรัฐสภาประเทศอื่นในระดับทวิภาคี รวมไปถึงการสานสัมพันธ์ในระดับพหุภาคี ระดับภูมิภาค เช่น อาเซียน เอเชียแปซิฟิค รวมไปถึงระดับโลก ซึ่งภารกิจในการไปประชุมครั้งนี้ว่า ตนในฐานะเป็นรองประธานสภา คนที่หนึ่ง ได้รับมอบหมายจากประธานสภา ให้ดูแลด้านการต่างประเทศและเรื่องของกฎหมาย ดังนั้นหมุดหมายสำคัญของการไปครั้งนี้คือ ภารกิจการออกกฎหมาย เพื่อเรียนรู้การออกกฎหมายซึ่งกันและกัน
 
ซึ่งตนจะเริ่มศึกษาจากการประชุมออนไลน์ในเย็นวันนี้ (19 มี.ค.) เรื่องของการออกกฎหมาย Climate change ประเทศเยอรมนี และนิวซีแลนด์ ส่วนภารกิจที่สองคือ การตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เพื่อเรียนรู้ประเทศอื่นๆ ว่ามีการจัดโครงสร้างกันอย่างไร และสุดท้ายคือ ภารกิจการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อนำมาปรับปรุงโครงสร้างสำนักงบประมาณของรัฐสภา
 
นายปดิพัทธ์กล่าวต่อว่า ตนได้เดินทางร่วมกับคณะผู้แทนรัฐสภาในฐานะที่ปรึกษาคณะเดินทาง ทั้ง ส.ว. ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน จำนวน 10 คน นำโดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะหัวหน้าคณะ นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ส.ว. ในฐานะที่ปรึกษาคณะ ส่วน ส.ส.ฝั่งรัฐบาลมี น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย น.ส.สรัสนันท์ อรรณนพพร ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย นายอัคร ทองใจสด ส.ส.เพชรบูรณ์ พรรคพลังประชารัฐ และ ส.ส.ฝ่ายค้าน มีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สำหรับ ส.ว. ประกอบด้วย นางสุวรรณี ศิริเวชภัณฑ์ นายไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล และเจ้าหน้าที่อีกจำนวนหนึ่ง
 
นายปดิพัทธ์กล่าวต่อว่า รวมทั้งจะผลักดันหาเสียงเพื่อชิงตำแหน่งในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Council) วาระปี 2025-2027 ซึ่งเป็นวาระเดียวกันกับที่รัฐบาลพยายามเข้าไปมีบทบาทในเวทีโลก ซึ่งจะร่วมกันผลักดันโดยไม่แยกฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ส.ส. ส.ว. และจะเสนอชื่อนายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคเป็นธรรม เข้าชิงตำแหน่งกรรมาธิการว่าด้วยการส่งเสริมการเคารพกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (Committee to Promote Respect of the International Humanitarian Law หรือ IHL) ในนามของประเทศไทย สัดส่วนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วย
 
ทั้งนี้ ไทยอยากมีส่วนร่วมในการปรับปรุงนโยบายผ่านกลไกทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review หรือ UPR) ที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าภาพหลัก แต่ภารกิจรอบนี้จะมีโอกาสเสนอความเห็นและหาแนวทางปฏิบัติระหว่างรัฐสภากับกระบวนการทำ UPR
 
ภารกิจครั้งนี้ อาจกระทบกับการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 67 ในวันที่ 22 มี.ค. เนื่องจากจะมีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่คนเดียว เพราะนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภา มีภารกิจต่างประเทศเช่นกัน ดังนั้น ในวันที่ 21 มี.ค. ตนจะนั่งบัลลังก์ยาวหน่อย ยืนยันว่า ทีมประธานสภาทั้ง 3 คน จะทำหน้าที่พิจารณางบ และงานด้านต่างประเทศอย่างดีที่สุดไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ส่วนการอภิปรายแบบไม่ลงมติ ตามมาตรา 152 ในวันที่ 3-4 เม.ย.นี้ จะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมสังเกตการณ์การอภิปราย โดยจะเปิดรับทั้งหมด 4 รอบ รอบละ 250-300 คน” นายปดิพัทธ์กล่าว
 
เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ที่จะช่วงชิงตำแหน่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ทั้งที่ยังมีข้อครหาจากประชาชนเรื่องสิทธิมนุษยชนในไทย จะทำให้เสียเปรียบหรือไม่นั้น นายปดิพัทธ์กล่าวว่า “เราจำเป็นที่ต้องใช้เวทีนานาชาติไปฟังฟีดแบ๊ก เพื่อรับทราบว่าต่างชาติมีข้อกังวลอะไรบ้าง แล้วจะส่งผลกระทบต่อการช่วงชิงตำแหน่งอย่างไร เป็นหน้าที่ของรัฐบาลไทยที่ต้องฟังเสียงสะท้อนจากทั้ง ส.ส. ประชาชน และสังคมโลก เราคงไม่มีความสมบูรณ์แบบก่อนแล้วถึงจะท้าชิงได้ เราอาจจะต้องเข้าชิง แล้วดูจุดที่บกพร่องของตนเองเพื่อปรับปรุง ซึ่งผมก็หวังว่ารัฐบาลจะนำข้อเสนอที่มีการปรับปรุงไปพิสูจน์ความจริงใจในการเข้าชิงตำแหน่งนี้” นายปดิพัทธ์กล่าว
 


ก้าวไกลแนะใช้งบทดรองราชการ แก้ฝุ่นภาคเหนือ ติงนายกฯปั่นจักรยาน ทำตรงข้ามที่ควรทำ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4480568

‘เด็กก้าวไกล’ แนะใช้งบประมาณทดรองราชการ แก้ไขปัญหาฝุ่น-ไฟป่าภาคเหนือ ชี้ไม่ต้องประกาศภัยพิบัติใช้งบได้ทันที มองเกณฑ์ค่าฝุ่น 250 มากเกินไป ต้องสร้างความตระหนักให้ ปชช. ไม่ให้มองเป็น New Normal จวก ‘เศรษฐา’ ปั่นจักรยาน-กินข้าวเอาต์ดอร์ บอกว่าอากาศดี เป็นการกระทำที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ควรจะทำ
 
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ไม่ต้องการประกาศให้ จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉินว่า หากดูจากระเบียบ ถ้าประกาศจะได้รับงบประมาณ 20 ล้านบาทในการบริหารจัดการได้ทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันว่าหากประกาศแล้วจะมีผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวหรือไม่ แต่มีอีกประกาศที่ทุกคนมองข้ามไป คืองบประมาณทดรองราชการ ในส่วนของการยับยั้งภัยพิบัติที่สามารถใช้งบประมาณได้เลย 10 ล้าน โดยไม่ต้องประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ ซึ่งทุกปีเราเห็นว่าปลายเดือน มี.ค.ถึงกลางเดือน เม.ย. ค่าฝุ่น PM2.5 จะสูงที่สุดในภาคเหนือ รวมถึง จ.เชียงใหม่ ส่วนนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถอนุมัติได้เลย ในอดีต จ.เชียงใหม่ใช้แค่เรื่องของภัยแล้ง แต่ทำไมเราไม่ใช้กับเรื่องฝุ่น ไฟป่า ที่เป็นมลพิษทางอากาศ กระทบกับสุขภาพอย่างรุนแรง เป็นเรื่องที่เราควรตั้งคำถามว่าทำไมเราถึงไม่ประกาศออกใช้
 
เมื่อถามว่า ส่วนตัวมองว่าควรเป็นภัยพิบัติหรือไม่ เนื่องจากมีการนำเสนอข่าวจากสื่อต่างประเทศว่า จ.เชียงใหม่มีมลพิษทางอากาศสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกหลายวันติดกัน นายภัทรพงษ์กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้ประกาศพื้นที่ที่จะได้รับความช่วยเหลือทางด้านสาธารณภัยก็ต่อเมื่อให้พื้นที่มีค่า PM2.5 เกิน 250 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกิน 24 ชม. ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีจุดไหนเกิน
 
ต้องตั้งคำถามว่าเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาสูงเกินไปหรือไม่ เพราะจากข้อมูลในอดีตพื้นที่ที่จะถูกประกาศเป็นภัยพิบัติมีน้อยมาก เมื่อไหร่เราจะยอมรับว่า PM2.5 เป็นภัยพิบัติ และไม่จำเป็นต้องมีค่าถึง 250 เพราะค่ามาตรฐานที่เรากำหนดไว้โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตั้งไว้แค่ 37.5 เราควรปรับเกณฑ์ในส่วนนี้” นายภัทรพงษ์กล่าว
 
นายภัทรพงษ์กล่าวต่อว่า ส่วนกระทบการท่องเที่ยวหรือไม่นั้น เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นในภาคเหนือมาเป็น 10 ปีแล้ว ซึ่งนักท่องเที่ยวจะเลี่ยงมาท่องเที่ยวในช่วงนี้ ต้องยอมรับว่ามีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวอยู่แล้วอยู่ที่ว่าจะยอมรับหรือไม่ การประกาศภัยพิบัติไม่ได้มีผลต่อการใช้งบเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนด้วย รัฐขาดส่วนนี้อย่างชัดเจน เราต้องสร้างความตระหนักให้กับประชาชนจนไม่มองว่าภาวะฝุ่นควันเป็น New Normal เพราะปัจจุบันประชาชนเริ่มยอมจำนน ไม่ป้องกันตัวเพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิด รวมถึงต้องไม่รณรงค์ ในทางที่ผิดแล้ว
 
ภาพนายกรัฐมนตรีไปปั่นจักรยานแล้วบอกว่าอากาศดี แม้กระทั่งกินข้าวเอาต์ดอร์แล้วบอกว่าอากาศดีจังที่เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการกระทำที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราควรจะทำ” นายภัทรพงษ์กล่าว
 
เมื่อถามว่า ควรจะแก้ไขอย่างไรในระยะสั้น รวมถึงระยะยาว นายภัทรพงษ์กล่าวว่า แผนป้องกันบรรเทาสาธารณภัยจะมีศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่แต่ละจังหวัดจะมีนายแพทย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งตรงนี้ต้องชัดเจนว่าในปีนี้เราจะบริหารจัดการอย่างไร เพื่อให้กลุ่มเปราะบาง หรือประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียมและรวดเร็ว รวมถึงจะมีการ ตรวจสอบผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดอย่างไร เพราะรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะลดผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับปอดให้เหลือแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบันใน จ.เชียงใหม่ทำได้เพียง 17 เปอร์เซ็นต์
 
นายภัทรพงษ์กล่าวว่า ในส่วนงบประมาณชัดเจนเรื่องไฟป่า ปัจจุบันพื้นที่ป่าแบ่งออกเป็นพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ของอุทยานฯ แต่พื้นที่ป่าไม้ถูกโอนให้กับท้องถิ่นไปหมดแล้ว ปัจจุบันมีประกาศจากคณะกรรมการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นอีกว่าให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการพื้นที่อุทยานฯด้วย แต่ท้องถิ่นไม่มีเงิน งบประมาณที่ขอผ่านกรมส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ไม่ได้ตามที่ที่ตั้งไว้ ชัดเจนว่ามีแต่ภารกิจให้กับท้องถิ่นแต่ไม่มีเงิน ในส่วนนี้เราอาจต้องหาทางเข้าช่วยเหลือเพื่อให้ได้รับงบประมาณในการแก้ไขปัญหา
  


ก้าวไกล วางวาระเข้มงบ-ซักฟอก หวัง ‘เศรษฐา-ครม.’ มาตอบคำถาม-ให้ความสำคัญงานสภาฯ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4480880

“พริษฐ์” เผยวงประชุม “ก้าวไกล” วันนี้ ถกเรื่อง งบ-ซักฟอกทั่วไป ยันวางวาระเข้มข้น ดักคอ “เศรษฐา-ครม.” หวังมาตอบ-ให้ความสำคัญงานสภา
 
เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 19 มีนาคม ที่ทำการพรรคก้าวไกล นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงวาระการประชุมของ ส.ส.พรรคประจำสัปดาห์นี้ว่า การประชุมในวันนี้จะเกี่ยวข้องกับวาระการประชุมสภา ซึ่งเหลืออีกเพียงสามสัปดาห์เท่านั้น ก็จะหมดสมัยการประชุม โดยคาดว่า ประเด็นเฉพาะหน้าในสัปดาห์นี้ คือ เรื่องของการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วาระ 2-3 ในวันที่ 20-22 มีนาคมนี้ ส่วนสัปดาห์ถัดไปจะเป็นวาระของการพิจารณากฎหมาย ซึ่งเข้าใจว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมน่าจะมีการพิจารณาเสร็จสิ้นในชั้นคณะกรรมาธิการ (กมธ.) และจะเข้าสู่ที่ประชุมสภา ในวาระที่ 2-3

นายพริษฐ์กล่าวต่อว่า ตนได้ยินมาว่าอาจจะมีการเรียกประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาญัตติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ประธานสภา ไม่ได้บรรจุลงในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ทั้งของพรรคเพื่อไทยที่เสนอไปเมื่อต้นปี และของพรรคก้าวไกล ก็อาจจะไม่ได้รับการบรรจุด้วยเหตุผลเช่นเดียวกัน และในสัปดาห์สุดท้ายจะเป็นการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 ซึ่งถือว่าเป็นสามสัปดาห์ที่มีความสำคัญ

นายพริษฐ์กล่าวด้วยว่า สำหรับการอภิปรายงบประมาณนั้น ตนคิดว่าทุกคนทราบดีว่างบประมาณปี’67 ถูกใช้พลางไปก่อนแล้ว เพราะงบประมาณออกมาช้ากว่าปฏิทินงบประมาณทั่วไป และตนคิดว่าการที่ประชาชนได้เห็นการทำงานของ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี’67 และการอภิปรายของ ส.ส.ในสภา จะทำให้ประชาชนเห็นชัดขึ้นว่า งบประมาณปี’67 ถูกจัดสรรอย่างสมเหตุสมผลมากน้อยแค่ไหน ในการแก้ไขวิกฤตต่างๆ ของประเทศ รวมถึงวาระต่างๆ ที่รัฐบาลอยากจะผลักดัน หากบอกว่าไม่สามารถจัดสรรงบประมาณปี’67 ได้อย่างชัดเจนเพียงพอ ก็ยังมีพื้นที่ที่สามารถตัดงบที่ไม่จำเป็นออกในชั้น กมธ.และแปรไปสู่งบส่วนอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่