นิด้าโพลชี้ ‘ทักษิณ’ เป็นผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองมากสุด ส่วน ‘พิธา’ น่าเห็นใจสุด
https://www.dailynews.co.th/news/3225751/
"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจประชาชน ระบุ ผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองมากที่สุดร้อยละ 42.90 คือ อดีตนายกฯ "ทักษิณ ชินวัตร" ขณะที่ผู้ที่น่าเห็นใจทางการเมืองมากที่สุด ร้อยละ 46.79 คือ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์"
เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “
นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “
ผู้ทรงอิทธิพล ทางการเมืองกับผู้น่าเห็นใจทางการเมือง” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 27-29 กุมภาพันธ์ 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองกับผู้น่าเห็นใจ ทางการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “
นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนคิดว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางการเมือง (สามารถเลือกตอบได้ไม่เกิน 3 รายชื่อ) พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.90 ระบุว่าเป็น นาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 21.91 ระบุว่าเป็น นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 17.40 ระบุว่าเป็น นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ร้อยละ 15.11 ระบุว่าเป็น พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 10.15 ระบุว่า ไม่มีผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองไทย ร้อยละ 9.01 ระบุว่าเป็น นางสา
วแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 6.11 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ
ร้อยละ 4.27 ระบุว่าเป็น นาย
อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 3.28 ระบุว่าเป็น นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และร้อยละ 3.21 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา นาย
ชาดา ไทยเศรษฐ์ พันตำรวจเอก
ทวี สอดส่อง ร้อยตำรวจเอก
ธรรมนัส พรหมเผ่า นาย
ภูมิธรรม เวชยชัย นาย
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค นาย
ชัยธวัช ตุลาธน นาย
ชวน หลีกภัย นาย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นาย
เนวิน ชิดชอบ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพลตำรวจเอก
เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส และร้อยละ 5.50 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนคิดว่าเป็นผู้ที่น่าเห็นใจทางการเมือง (สามารถเลือกตอบได้ไม่เกิน 3 รายชื่อ) พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.79 ระบุว่าเป็น นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ร้อยละ 17.86 ระบุว่า ไม่มีใครที่น่าเห็นใจทางการเมือง ร้อยละ 11.45 ระบุว่าเป็น นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ร้อยละ 10.46 ระบุว่าเป็น นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 8.55 ระบุว่าเป็น พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 8.09 ระบุว่าเป็น นาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 1.91 ระบุว่าเป็น นางสาว
แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ร้อยละ 1.37 ระบุว่าเป็น นาย
ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล ร้อยละ 1.22 ระบุว่าเป็น พลเอก
ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และร้อยละ 2.98 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นาย
อนุทิน ชาญวีรกูล นาย
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค นาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา นาย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นางสาว
พรรณิการ์ วานิช นาย
ชวน หลีกภัย นาย
ภูมิธรรม เวชยชัย คุณหญิง
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นางสาว
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นาย
กัณวีร์ สืบแสง นาย
ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ และนาย
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และร้อยละ 6.34 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ก้าวไกลสู้ไฟป่า ลุยต่อลำพูน ทำแนวกันไฟ เตรียมหารือ งบจัดซื้ออุปกรณ์ดับไฟป่า
https://www.matichon.co.th/politics/news_4452063
ก้าวไกลสู้ไฟป่า ลงพื้นที่ จ.ลำพูน ทำแนวกันไฟ ด้าน “ชัยธวัช” ชี้ ออกแบบแนวทางการแก้ปัญหากับคนในพื้นที่ เป็นวิธีที่เหมาะสม
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ที่พระพุทธบาทดอยไซ ต.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน ภายหลังจากลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติออบขาน จ.เชียงใหม่ “
ทีมก้าวไกลสู้ไฟป่า” นำโดย นาย
ชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ,นาย
ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ ส.ส.เชียงใหม่ เขต 8, นาง
ทิพา ปวีนาเสถียร ส.ส.ลำปาง เขต 1 และนาย
เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการ Think Forward Center ได้ลงพื้น พระพุทธบาทดอยไซ จ.ลำพูน เพื่อช่วยอาสาสมัครจัดทำแนวกันไฟ เพื่อเป็นแนวตั้งรับในการดับไฟป่า รวมถึงลดความรุนแรงของไฟป่า ที่เสี่ยงในช่วงฤดูกาลนี้
นาย
ชัยธวัช กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ในเขตป่าอุทยานแห่งชาติออบขาน จ.เชียงใหม่ และ ต.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน ได้แลกเปลี่ยนกับภาคประชาชนในพื้นที่ที่มีปัญหาไฟป่าโดยตรง โดยจะนำข้อมูลที่ได้ไปหารือ และพิจารณาดำเนินงานต่อในทีมก้าวไกลสู้ไฟป่า เชื่อว่าการได้ออกแบบแนวทางการแก้ปัญหากับคนในพื้นที่ เป็นวิธีที่เหมาะสม เพราะจะทำให้ได้แนวทางที่เหมาะกับบริบทพื้นที่นั้น ๆ และจะนำเรื่องงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ดับไฟป่า ไปพิจารณาและหารือกับสำนักงบประมาณต่อไป
รายได้ตามไม่ทันค่าบ้าน ผลสำรวจกว่า 58% ชี้เวลานี้อยากให้ ‘ลดดอกเบี้ย’ มากที่สุด
https://www.matichon.co.th/economy/news_4452127
รายได้ตามไม่ทันค่าบ้าน ผลสำรวจกว่า 58% อยากให้ลด’ดอกเบี้ย’มากที่สุดในเวลานี้
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์ของไทย ได้เปิดข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยล่าสุด โดยหนึ่งในนั้นมีเรื่องความคาดหวังของคนหาบ้านที่มีต่อมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ จากภาครัฐ
ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ระบุว่า จากสภาพเศรษฐกิจไทยที่มีความไม่แน่นอนสูงและยังฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัย ในขณะที่ราคาบ้านหรือคอนโดมิเนียม ปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการก่อสร้างและราคาที่ดิน แต่รายได้ของผู้บริโภค ยังคงเติบโตไม่ทันราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น เมื่อประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงยิ่งก่อให้เกิดช่องว่างในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น
โดยผู้บริโภคเกือบ 1 ใน 3 (30%) ตัดสินใจชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อนเนื่องจากเงินเก็บที่มีได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน ขณะที่ 25% ยังไม่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคตอันใกล้ และอีก 20% วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยที่มีราคาถูกลงแทน เพื่อลดความเสี่ยงในการก่อหนี้เกินตัวให้น้อยที่สุด
ขณะเดียวกัน มากกว่าครึ่งของผู้บริโภค (56%) เผยว่าอุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่อบ้าน มาจากรายได้และอาชีพที่ไม่มั่นคง ตามมาด้วยมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี 38% และมีเงินดาวน์ไม่พอ 31% ซึ่งล้วนเป็นความท้าทายที่มาจากการเงินเป็นหลัก
นอกจากนี้ อีกปัจจัยที่สร้างความท้าทายต่อกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางและล่าง มาจากการที่ธนาคารมีหลักเกณฑ์พิจารณาการอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้อัตราการปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate) สูงตามไปด้วย หรือวงเงินกู้ที่ผ่านการอนุมัติอาจได้รับลดลงแปรผันตามความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ซื้อในปัจจุบัน
สอดคล้องกับข้อมูลจาก บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LWS) เผยว่าในปี 2566 มีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อสูงถึง 60-65% จากยอดการขออนุมัติสินเชื่อทั้งหมด
อย่างไรก็ดี ข้อมูลจาก KKP Research ประเมินว่าภาคอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่ารวมถึงประมาณ 8-12% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี สะท้อนให้เห็นว่าเป็นอีกธุรกิจที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และยังเชื่อมโยงกับการเติบโตของธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ดังนั้น หากภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ตรงจุดก็จะช่วยให้ผู้บริโภคมีโอกาสเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยมากขึ้น
ทั้งนี้ 3 อันดับแรกของมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ที่คนหาบ้านอยากได้มากสุดในเวลานี้ โดยเกือบ 3 ใน 5 (58%) ต้องการให้มีมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ตามมาด้วยมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งสินเชื่อที่มีอยู่และกู้ใหม่ 51% และมาตรการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ 40%
ซึ่งนอกจากมาตรการเหล่านี้จะครอบคลุมและส่งเสริมการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในวงกว้างแล้ว ยังจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของกลุ่มเรียลดีมานด์ด้วย ซึ่งคาดว่าจะช่วยขับเคลื่อนให้การซื้อขายที่อยู่อาศัยในปีนี้เติบโตอย่างต่อเนื่องและกลับมาคึกคักอีกครั้ง
JJNY : ชี้‘ทักษิณ’เป็นผู้ทรงอิทธิพล ‘พิธา’ น่าเห็นใจ│ก้าวไกลลุยต่อลำพูน│รายได้ตามไม่ทันค่าบ้าน│เยอรมนีเร่งสอบ คลิปหลุด
https://www.dailynews.co.th/news/3225751/
"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจประชาชน ระบุ ผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองมากที่สุดร้อยละ 42.90 คือ อดีตนายกฯ "ทักษิณ ชินวัตร" ขณะที่ผู้ที่น่าเห็นใจทางการเมืองมากที่สุด ร้อยละ 46.79 คือ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์"
เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ผู้ทรงอิทธิพล ทางการเมืองกับผู้น่าเห็นใจทางการเมือง” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 27-29 กุมภาพันธ์ 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองกับผู้น่าเห็นใจ ทางการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนคิดว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางการเมือง (สามารถเลือกตอบได้ไม่เกิน 3 รายชื่อ) พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.90 ระบุว่าเป็น นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 21.91 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 17.40 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ร้อยละ 15.11 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 10.15 ระบุว่า ไม่มีผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองไทย ร้อยละ 9.01 ระบุว่าเป็น นางสาวแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 6.11 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ
ร้อยละ 4.27 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 3.28 ระบุว่าเป็น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และร้อยละ 3.21 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายชาดา ไทยเศรษฐ์ พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง ร้อยตำรวจเอกธรรมนัส พรหมเผ่า นายภูมิธรรม เวชยชัย นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค นายชัยธวัช ตุลาธน นายชวน หลีกภัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายเนวิน ชิดชอบ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส และร้อยละ 5.50 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนคิดว่าเป็นผู้ที่น่าเห็นใจทางการเมือง (สามารถเลือกตอบได้ไม่เกิน 3 รายชื่อ) พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.79 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ร้อยละ 17.86 ระบุว่า ไม่มีใครที่น่าเห็นใจทางการเมือง ร้อยละ 11.45 ระบุว่าเป็น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ร้อยละ 10.46 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 8.55 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 8.09 ระบุว่าเป็น นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 1.91 ระบุว่าเป็น นางสาวแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ร้อยละ 1.37 ระบุว่าเป็น นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล ร้อยละ 1.22 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และร้อยละ 2.98 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นางสาวพรรณิการ์ วานิช นายชวน หลีกภัย นายภูมิธรรม เวชยชัย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกัณวีร์ สืบแสง นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ และนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร และร้อยละ 6.34 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ก้าวไกลสู้ไฟป่า ลุยต่อลำพูน ทำแนวกันไฟ เตรียมหารือ งบจัดซื้ออุปกรณ์ดับไฟป่า
https://www.matichon.co.th/politics/news_4452063
ก้าวไกลสู้ไฟป่า ลงพื้นที่ จ.ลำพูน ทำแนวกันไฟ ด้าน “ชัยธวัช” ชี้ ออกแบบแนวทางการแก้ปัญหากับคนในพื้นที่ เป็นวิธีที่เหมาะสม
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ที่พระพุทธบาทดอยไซ ต.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน ภายหลังจากลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติออบขาน จ.เชียงใหม่ “ทีมก้าวไกลสู้ไฟป่า” นำโดย นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ,นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ ส.ส.เชียงใหม่ เขต 8, นางทิพา ปวีนาเสถียร ส.ส.ลำปาง เขต 1 และนายเดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการ Think Forward Center ได้ลงพื้น พระพุทธบาทดอยไซ จ.ลำพูน เพื่อช่วยอาสาสมัครจัดทำแนวกันไฟ เพื่อเป็นแนวตั้งรับในการดับไฟป่า รวมถึงลดความรุนแรงของไฟป่า ที่เสี่ยงในช่วงฤดูกาลนี้
นายชัยธวัช กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ในเขตป่าอุทยานแห่งชาติออบขาน จ.เชียงใหม่ และ ต.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน ได้แลกเปลี่ยนกับภาคประชาชนในพื้นที่ที่มีปัญหาไฟป่าโดยตรง โดยจะนำข้อมูลที่ได้ไปหารือ และพิจารณาดำเนินงานต่อในทีมก้าวไกลสู้ไฟป่า เชื่อว่าการได้ออกแบบแนวทางการแก้ปัญหากับคนในพื้นที่ เป็นวิธีที่เหมาะสม เพราะจะทำให้ได้แนวทางที่เหมาะกับบริบทพื้นที่นั้น ๆ และจะนำเรื่องงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ดับไฟป่า ไปพิจารณาและหารือกับสำนักงบประมาณต่อไป
รายได้ตามไม่ทันค่าบ้าน ผลสำรวจกว่า 58% ชี้เวลานี้อยากให้ ‘ลดดอกเบี้ย’ มากที่สุด
https://www.matichon.co.th/economy/news_4452127
รายได้ตามไม่ทันค่าบ้าน ผลสำรวจกว่า 58% อยากให้ลด’ดอกเบี้ย’มากที่สุดในเวลานี้
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์ของไทย ได้เปิดข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยล่าสุด โดยหนึ่งในนั้นมีเรื่องความคาดหวังของคนหาบ้านที่มีต่อมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ จากภาครัฐ
ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ระบุว่า จากสภาพเศรษฐกิจไทยที่มีความไม่แน่นอนสูงและยังฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัย ในขณะที่ราคาบ้านหรือคอนโดมิเนียม ปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการก่อสร้างและราคาที่ดิน แต่รายได้ของผู้บริโภค ยังคงเติบโตไม่ทันราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น เมื่อประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงยิ่งก่อให้เกิดช่องว่างในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น
โดยผู้บริโภคเกือบ 1 ใน 3 (30%) ตัดสินใจชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อนเนื่องจากเงินเก็บที่มีได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน ขณะที่ 25% ยังไม่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคตอันใกล้ และอีก 20% วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยที่มีราคาถูกลงแทน เพื่อลดความเสี่ยงในการก่อหนี้เกินตัวให้น้อยที่สุด
ขณะเดียวกัน มากกว่าครึ่งของผู้บริโภค (56%) เผยว่าอุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่อบ้าน มาจากรายได้และอาชีพที่ไม่มั่นคง ตามมาด้วยมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี 38% และมีเงินดาวน์ไม่พอ 31% ซึ่งล้วนเป็นความท้าทายที่มาจากการเงินเป็นหลัก
นอกจากนี้ อีกปัจจัยที่สร้างความท้าทายต่อกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางและล่าง มาจากการที่ธนาคารมีหลักเกณฑ์พิจารณาการอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้อัตราการปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate) สูงตามไปด้วย หรือวงเงินกู้ที่ผ่านการอนุมัติอาจได้รับลดลงแปรผันตามความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ซื้อในปัจจุบัน
สอดคล้องกับข้อมูลจาก บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LWS) เผยว่าในปี 2566 มีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อสูงถึง 60-65% จากยอดการขออนุมัติสินเชื่อทั้งหมด
อย่างไรก็ดี ข้อมูลจาก KKP Research ประเมินว่าภาคอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่ารวมถึงประมาณ 8-12% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี สะท้อนให้เห็นว่าเป็นอีกธุรกิจที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และยังเชื่อมโยงกับการเติบโตของธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ดังนั้น หากภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ตรงจุดก็จะช่วยให้ผู้บริโภคมีโอกาสเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยมากขึ้น
ทั้งนี้ 3 อันดับแรกของมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ที่คนหาบ้านอยากได้มากสุดในเวลานี้ โดยเกือบ 3 ใน 5 (58%) ต้องการให้มีมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ตามมาด้วยมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งสินเชื่อที่มีอยู่และกู้ใหม่ 51% และมาตรการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ 40%
ซึ่งนอกจากมาตรการเหล่านี้จะครอบคลุมและส่งเสริมการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในวงกว้างแล้ว ยังจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของกลุ่มเรียลดีมานด์ด้วย ซึ่งคาดว่าจะช่วยขับเคลื่อนให้การซื้อขายที่อยู่อาศัยในปีนี้เติบโตอย่างต่อเนื่องและกลับมาคึกคักอีกครั้ง