JJNY : ป่วยโควิด 655 เสียชีวิต 12│“ธีระชัย” ชี้รัฐไม่ควรกำหนดค่าบาท│‘นิด้าโพล’‘อุ๊งอิ๊ง’แซง‘ตู่’│‘ไบเดน’ ไม่มาเอเปคในไทย

ป่วยโควิดวันนี้ 655 เสียชีวิต 12
https://www.matichon.co.th/covid19/news_3581445
 
 
ป่วยโควิดวันนี้ 655 เสียชีวิต 12

เมื่อวันที่ 25 กันยายน เพจไทยรู้สู้โควิด รายงานผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2565
ผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 655 ราย จำแนกเป็น

ผู้ป่วยในประเทศ 655 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ – ราย ผู้ป่วยสะสม 2,454,917 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 1,032 ราย หายป่วยสะสม 2,469,446 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 7,694 ราย
เสียชีวิต 12 ราย เสียชีวิตสะสม 11,020 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 524 ราย
 
เนื่องจากตั้งแต่ 1 มิ.ย.65 เป็นต้นมา มีการปรับระบบรายงาน
โดยรายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล
จึงทำให้รายงานยอดผู้ป่วยสะสม มีจำนวนที่น้อยกว่ายอดผู้หายป่วยสะสม


 
“ธีระชัย” ชี้รัฐไม่ควรกำหนดค่าบาท35 ปล่อยธปท.ดูแล
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_416525/

“ธีระชัย” อดีตรมว.คลัง ชี้รัฐบาล ไม่ควรกำหนดค่าเงินบาท 35 ปล่อยให้ธปท.ดูแลตามกลไกตลาด

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงประเด็นที่พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณรองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี มีความเห็นให้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ว่า ทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยน
  
ไม่ควรกำหนดอัตราว่าควรจะเป็นเท่าไร่ เพราะอาจเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด และเรื่องดังกล่าวควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กำกับดูแลค่าเงินบาท และรัฐบาลไม่ควรเข้าไปแทรกแซง แต่ทั้งนี้เองทาง ธปท. ไม่ควร ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนจนสวนทาง และบิดเบื่อนกลไกตลาด แต่ควรเข้าไปดูแลตามความผันผวนที่เหมาะสม
 
อย่างไรก็ตามเหตุที่เงินบาทอ่อนค่ามาจากการยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยของไทย แต่คงไม่ต้องไล่ปรับไปถึงแบบสหรัฐเพราะเงินเฟ้อในไทยบางส่วนมาจากการกู้เงินมาแจกให้ประชาชนในวงกว้างตามนโยบายรัฐทำให้กำลังซื้อเพิ่มขึ้นและเร่งอัตราเงินเฟ้อไปด้วย
 


‘นิด้าโพล’ เปิดผลสำรวจครั้งที่3 ‘อุ๊งอิ๊ง’ คะแนนแซง ‘บิ๊กตู่’ คนหนุนนั่งนายกฯ
https://www.dailynews.co.th/news/1506914/

'นิด้าโพล' เปิดผลสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาสครั้งที่ 3 พบส่วนใหญ่บอกยังหาคนที่เหมาะสมนั่งนายกฯ ไม่ได้ ส่วนอันดับสองคนหนุน 'อุ๊งอิ๊ง' ขณะที่ 'บิ๊กตู่' รั้งอันดับ 4 ส่วนพรรคการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนในวันนี้พบพรรคเพื่อไทยเข้าวิน ส่วนพรรคพลังประชารัฐ วูบอันดับ 5.

เมื่อวันที่ 25 ก.ย.ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง”การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 3/2565″ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-21 ก.ย.จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปกระจายทุกภูมิภาคระดับการศึกษา อาชีพ  และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,500 หน่วยตัวอย่าง
 
เมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า 
อันดับ 1 ร้อยละ 24.16 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ , 
อันดับ 2 ร้อยละ 21.60 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคทำได้จริง ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร

อันดับ 3 ร้อยละ 10.56 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศชื่นชอบอุดมการณ์ ทางการเมือง และชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล 
 
อันดับ 4 ร้อยละ 10.12 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์สุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ นโยบายสามารถช่วยเหลือประชาชนได้จริงและต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง
 
อันดับ 5 ร้อยละ 9.12 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะชื่นชอบผลงานในอดีตมีประสบการณ์ด้านการบริหาร ซื่อสัตย์สุจริต 
 
อันดับ 6 ร้อยละ 6.28 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริงทำจริง มีความน่าเชื่อถือ มีความซื่อสัตย์สุจริตและเชื่อมั่นในการทำงาน , อันดับ 7 ร้อยละ 2.56 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
 
อันดับ 8 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา , 

อันดับ 9 ร้อยละ 2.20 ระบุว่าเป็นนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนที่พูดจริงทำจริงและมีความน่าเชื่อถือ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย ,
 
อันดับ 10 ร้อยละ 2.16 ระบุว่าเป็นนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เพราะ มีความรู้ ความสามารถ ตั้งใจในการทำงาน เป็นต้น
 
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2/65 เดือนมิถุนายน 2565 พบว่า ผู้ที่ระบุว่าน.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีสัดส่วนลดลง 
 
ในขณะผู้ที่ระบุว่า ยังหาคน ที่เหมาะสมไม่ได้ , ผู้ที่ระบุว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) และนายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
 
สำหรับพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า 
อันดับ 1 ร้อยละ 34.44 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย 
อันดับ 2 ร้อยละ 24.00 ระบุว่าไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย 
อันดับ 3 ร้อยละ 13.56 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล 
อันดับ 4 ร้อยละ 7.56 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 5 ร้อยละ 5.56 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ 
อันดับ 6 ร้อยละ 3.04 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย 
อันดับ 7 ร้อยละ 2.56 ระบุว่าเป็นพรรคเสรีรวมไทย 
อันดับ 8 ร้อยละ 2.44 ระบุ ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 
อันดับ 9 ร้อยละ 2.32 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย 
อันดับ 10 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็นพรรคชาติพัฒนา
 
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2/65 เดือนมิ.ย.2565 พบว่า ผู้ที่ระบุว่าพรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล และพรรคพลังประชารัฐ มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย ผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติพัฒนา มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่