ต่อเวลายืนราคา 10,325 ล้าน ได้อีก 1 เดือน สร้างทางวิ่งก่อน “สถานีอยุธยา”
รฟท. เร่งดันลงนาม “บุญชัยพาณิชย์ฯ” ให้ได้ใน ก.พ.นี้ เดินเครื่องสัญญา 4-5 “บ้านโพ-พระแก้ว” ลุยสร้างทางวิ่ง รอสถานีรถไฟไฮสปีด “อยุธยา” เปิดทางหากเอกชนไม่พร้อม ยังขอขยายเวลายืนราคาต่อได้อีก 1 เดือน รัฐยังได้ประโยชน์ ไม่กระทบภาพรวมโครงการ ยังรอได้ ชี้หากประมูลใหม่จะเรื่องใหญ่ วงเงินก่อสร้างเพิ่มขึ้น งานก่อสร้างล่าช้าไปอีก
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท. จะเร่งผลักดันให้มีการลงนามสัญญากับบริษัท บุญชัยพาณิชย์(1979) จำกัด ผู้รับจ้างสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 10,325 ล้านบาท ให้ได้ภายในเดือน ก.พ. 67 ซึ่งสัญญาดังกล่าวเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. เพื่อให้การดำเนินงานในภาพรวมเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้แม้สัญญาที่ 4-5 ยังมีประเด็นเรื่องรายงานรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเชื่อมโยงกับสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา แต่ก็ไม่ได้ทำให้การทำงานของสัญญานี้สะดุด เพราะหากลงนามสัญญาแล้ว สามารถก่อสร้างทางวิ่งก่อนได้เลย
นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังอยู่ในกระบวนการภายในของบริษัท บุญชัยพาณิชย์ฯ โดยได้ขยายการยืนราคามาแล้ว 1 เดือน และหากเอกชนมีความจำเป็นจะขอยืนราคาต่ออีก 1 เดือน ก็ยังไม่มีปัญหาใด ยังรอได้ เพราะยังเกิดประโยชน์กับภาครัฐ ซึ่งเวลานี้ราคาค่าก่อสร้างน่าจะขยับเพิ่มขึ้นไปจากเดิมแล้ว และยังไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในภาพรวมของโครงการฯ ส่วนสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ซึ่งมีช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) จากบริเวณวัดเสมียนนารี ถึงสถานีดอนเมือง ระยะทางประมาณ 10 กม. ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (กลุ่มซีพี) ซึ่งเป็นเอกชนคู่สัญญา
นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า เวลานี้ รฟท. ได้พยายามเร่งรัดผู้รับจ้างแต่ละสัญญา และจัดการปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเวนคืนที่ดิน ซึ่งเหลืออีกไม่มากแล้ว เพื่อให้งานก่อสร้างเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถเปิดให้บริการรถไฟไฮสปีด เฟสที่ 1 ให้ได้ภายในปี 71 อย่างไรก็ตาม สำหรับสัญญาที่ยังมีปัญหาอยู่ และต้องเร่งดำเนินการคือสัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.3 กม. ซึ่งชาวบ้านอยากให้สร้างบริเวณโคกกรวด-บ้านใหม่ ระยะทางประมาณ 7 กม. เป็นทางยกระดับแทนทางระดับดิน คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. พิจารณาเดือน มี.ค. 67 โดยการปรับเป็นยกระดับใช้งบประมาณเพิ่มอีกกว่า 4,000 ล้านบาท จากเดิม 7,750 ล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. มี 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ปัจจุบันภาพรวมการก่อสร้าง มีความคืบหน้าประมาณ 30.95% ล่าช้าประมาณ 51.55% โดยก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% จำนวน 2 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1-1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. และสัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และรอการลงนามสัญญา 2 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-1 และสัญญาที่ 4-5 ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาการยืนราคาของเอกชน เคยเกิดขึ้นมาแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ รฟท. ว่าจะให้ขยายต่อไปอีกนานเท่าไหร่ หรือตัดสินใจเปิดประมูลใหม่ โดยการเปิดประมูลใหม่ จะถือเป็นเรื่องใหญ่ วงเงินการก่อสร้างจะเพิ่มสูงขึ้นไปอีก เพราะปัจจุบันราคาวัสดุก่อสร้างต่างๆ ก็มีการปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งงานก่อสร้างก็จะล่าช้าไปอีก.
ขอบคุณข่าวจาก : เดลินิวส์ออนไลน์
https://www.dailynews.co.th/news/3208252/
ต่อเวลายืนราคา 10,325 ล้าน ได้อีก 1 เดือน สร้างทางวิ่งก่อน “สถานีอยุธยา”
รฟท. เร่งดันลงนาม “บุญชัยพาณิชย์ฯ” ให้ได้ใน ก.พ.นี้ เดินเครื่องสัญญา 4-5 “บ้านโพ-พระแก้ว” ลุยสร้างทางวิ่ง รอสถานีรถไฟไฮสปีด “อยุธยา” เปิดทางหากเอกชนไม่พร้อม ยังขอขยายเวลายืนราคาต่อได้อีก 1 เดือน รัฐยังได้ประโยชน์ ไม่กระทบภาพรวมโครงการ ยังรอได้ ชี้หากประมูลใหม่จะเรื่องใหญ่ วงเงินก่อสร้างเพิ่มขึ้น งานก่อสร้างล่าช้าไปอีก
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท. จะเร่งผลักดันให้มีการลงนามสัญญากับบริษัท บุญชัยพาณิชย์(1979) จำกัด ผู้รับจ้างสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 10,325 ล้านบาท ให้ได้ภายในเดือน ก.พ. 67 ซึ่งสัญญาดังกล่าวเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. เพื่อให้การดำเนินงานในภาพรวมเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้แม้สัญญาที่ 4-5 ยังมีประเด็นเรื่องรายงานรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเชื่อมโยงกับสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา แต่ก็ไม่ได้ทำให้การทำงานของสัญญานี้สะดุด เพราะหากลงนามสัญญาแล้ว สามารถก่อสร้างทางวิ่งก่อนได้เลย
นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังอยู่ในกระบวนการภายในของบริษัท บุญชัยพาณิชย์ฯ โดยได้ขยายการยืนราคามาแล้ว 1 เดือน และหากเอกชนมีความจำเป็นจะขอยืนราคาต่ออีก 1 เดือน ก็ยังไม่มีปัญหาใด ยังรอได้ เพราะยังเกิดประโยชน์กับภาครัฐ ซึ่งเวลานี้ราคาค่าก่อสร้างน่าจะขยับเพิ่มขึ้นไปจากเดิมแล้ว และยังไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในภาพรวมของโครงการฯ ส่วนสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ซึ่งมีช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) จากบริเวณวัดเสมียนนารี ถึงสถานีดอนเมือง ระยะทางประมาณ 10 กม. ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (กลุ่มซีพี) ซึ่งเป็นเอกชนคู่สัญญา
นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า เวลานี้ รฟท. ได้พยายามเร่งรัดผู้รับจ้างแต่ละสัญญา และจัดการปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเวนคืนที่ดิน ซึ่งเหลืออีกไม่มากแล้ว เพื่อให้งานก่อสร้างเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถเปิดให้บริการรถไฟไฮสปีด เฟสที่ 1 ให้ได้ภายในปี 71 อย่างไรก็ตาม สำหรับสัญญาที่ยังมีปัญหาอยู่ และต้องเร่งดำเนินการคือสัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.3 กม. ซึ่งชาวบ้านอยากให้สร้างบริเวณโคกกรวด-บ้านใหม่ ระยะทางประมาณ 7 กม. เป็นทางยกระดับแทนทางระดับดิน คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. พิจารณาเดือน มี.ค. 67 โดยการปรับเป็นยกระดับใช้งบประมาณเพิ่มอีกกว่า 4,000 ล้านบาท จากเดิม 7,750 ล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. มี 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ปัจจุบันภาพรวมการก่อสร้าง มีความคืบหน้าประมาณ 30.95% ล่าช้าประมาณ 51.55% โดยก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% จำนวน 2 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1-1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. และสัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และรอการลงนามสัญญา 2 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-1 และสัญญาที่ 4-5 ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาการยืนราคาของเอกชน เคยเกิดขึ้นมาแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ รฟท. ว่าจะให้ขยายต่อไปอีกนานเท่าไหร่ หรือตัดสินใจเปิดประมูลใหม่ โดยการเปิดประมูลใหม่ จะถือเป็นเรื่องใหญ่ วงเงินการก่อสร้างจะเพิ่มสูงขึ้นไปอีก เพราะปัจจุบันราคาวัสดุก่อสร้างต่างๆ ก็มีการปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งงานก่อสร้างก็จะล่าช้าไปอีก.
ขอบคุณข่าวจาก : เดลินิวส์ออนไลน์
https://www.dailynews.co.th/news/3208252/