ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินเสี่ยงสูง แต่ทำไม? ‘ซีพี’ ยาก…ปฏิเสธ
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง–สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา มูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 168,718 ล้านบาท ค่าลงทุนในระบบการเดินรถของแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671 ล้านบาท ค่าพัฒนาที่ดินมักกะสันและศรีราชาประมาณ 45,155 ล้านบาท ถ้าไม่ใช่นักลงทุนระดับโลกคงไม่กล้าเสี่ยง
ที่สำคัญคือกลุ่มซีพีที่ชนะการประมูล ขอรับเงินสนับสนุนจากภาครัฐเพียง 119,000 ล้านบาท ต่ำกว่าวงเงินสนับสนุนที่รัฐบาลตั้งไว้ 119,425.75 ล้านบาท และต่ำกว่าคู่แข่งคือกลุ่มบีเอสอาร์ที่เสนอ169,934 ล้านบาท ถึง 50,934 ล้านบาท
จึงไม่แปลกที่ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ จะกล่าวว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ในขณะที่ผลตอบแทนไม่ถือว่าสูงมากนัก!!
ลงทุนก่อนรับเงินชดเชยทีหลัง
นอกจากนี้วงเงินกว่าแสนล้านบาทที่รัฐบาลสนับสนุนในฐานะผู้ร่วมลงทุน กลุ่มซีพีจะได้รับก็ต่อเมื่อส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว
เท่ากับว่ากลุ่มซีพีต้องทำโครงการนี้ให้เสร็จ เมื่อรัฐบาลตรวจรับงานแล้วจากนั้นถึงจะจ่ายเงินในส่วนของภาครัฐซึ่งค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเป็นเรื่องที่กลุ่มซีพีต้องไปเสาะหาแหล่งเงินกู้เอง
คำนวณคร่าวๆ เฉพาะดอกเบี้ยที่กลุ่มซีพีต้องไปกู้ยืมจากสถาบันการเงินก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท
ค่าสัมปทานแอร์พอร์ตลิงก์หมื่นล้าน
อย่างไรก็ตาม หลายคนมองว่าสิ่งที่กลุ่มซีพีได้รับของแถมนอกเหนือจากโครงการรถไฟความเร็วสูงคือโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งซีพีจะได้เข้าไปบริหารแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
แต่ต้องไม่ลืมว่าการบริหารแอร์พอร์ตลิงก์เป็นการให้เช่าเพื่อดำเนินการ ไม่ได้ให้ฟรี ซึ่งซีพีต้องจ่ายเงินค่าเช่าตลอดระยะเวลา 50 ปี จำนวน 10,671 ล้านบาท
ซึ่งการให้บริการแอร์พอร์ตลิงก์ตั้งแต่เปิดจนถึงปัจจุบันมีหนี้ประมาณ 30,000 ล้านบาท ขาดทุนประมาณปีละ 280 ล้านบาท มีคนใช้บริการประมาณ 5-6 หมื่นคนต่อวัน
เพราะฉะนั้นหากกลุ่มซีพีจะทำกำไรจากแอร์พอร์ตลิงก์ก็ต้องดึงคนมาใช้บริการขั้นต่ำ 1 แสนคนต่อวัน ซึ่งขึ้นอยู่กับฝีมือบริหารจัดการ
บริหารพื้นที่มักกะสัน–ศรีราชาค่าเช่าเฉียด 5 หมื่นล้าน
กระนั้นก็ตามอีกหนึ่งโครงการที่กลุ่มซีพีจะได้พ่วงจากสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟมักกะสันและสถานีรถไฟศรีราชา
สำหรับพื้นที่มักกะสันกันไว้ 150 ไร่ เป็นพื้นที่บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟมักกะสัน เป็นการให้เช่า 50 ปี โดยซีพีต้องจ่ายเงินให้ รฟท. 45,155 ล้านบาท ส่วนพื้นที่บริเวณศรีราชาประมาณ 80 ไร่ ถือว่าเกือบจะไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
เสี่ยงสูง ทำไมต้องเสี่ยง?
แม้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะเป็นอภิมหาโปรเจ็กต์ที่มีความเสี่ยงสูง แต่ ศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอเครือเจริญโภคภัณฑ์ มองว่าโครงการนี้ก่อให้เกิดการพัฒนาเมือง กระจายความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมไปสู่คนไทยทั้งประเทศให้ได้ประโยชน์จากการเข้ามาลงทุนจากต่างประเทศ เกิดการสร้างงาน สร้างคน คือเหตุผลสำคัญที่เครือซีพีสนใจลงทุน โดยพร้อมใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่และดึงผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกมาช่วยกันทำให้สำเร็จ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียน และส่งเสริมประเทศเพื่อนบ้านในแถบ CLMV ให้เติบโตไปพร้อมกันแบบยั่งยืน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้บิ๊กมูฟซีพีพลิกโฉมประเทศ ‘ไฮสปีด-อู่ตะเภา’ เดิมพันอนาคต https://www.prachachat.net/economy/news-328582
ร่างสัญญาจบชงบอร์ดอีอีซีเคาะก่อนลงนาม
ขณะที่ร่างสัญญาระหว่าง รฟท.กับกลุ่มซีพี ได้รับการตอบรับฉบับที่ผ่านการปรับแก้จากอัยการสูงสุดแล้ว หลังจากทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับถ้อยคำในร่างสัญญาในการประชุมร่วมกัน เมื่อซีพีตกลงยอมรับร่างสัญญา จะถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจร่างสัญญาร่วมกัน เท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันและการเจรจาจบกันด้วยดี ก่อนที่ รฟท. จะนำผลสรุปการเจรจาเสนอให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือบอร์ดอีอีซีพิจารณา ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเพื่อลงนามสัญญาต่อไป โดยตั้งเป้าลงนามสัญญากับกลุ่มซีพีในเดือน มิ.ย. นี้
ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผน พวกเราจะได้นั่งรถไฟความเร็วสูงสายนี้ประมาณปี 2566!!!
--------------------------------
แชร์ข่าวจาก Salika
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.salika.co/2019/05/20/risk-of-investment-hi-speed-train/?fbclid=IwAR0pl7RzD0oxwmzGh64yUfOD-qtBjr7SJYaF8H2Ik_-NG4pT4sZb-bIp_1o
ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ยาก แต่ ต้องไปให้สุด
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง–สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา มูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 168,718 ล้านบาท ค่าลงทุนในระบบการเดินรถของแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671 ล้านบาท ค่าพัฒนาที่ดินมักกะสันและศรีราชาประมาณ 45,155 ล้านบาท ถ้าไม่ใช่นักลงทุนระดับโลกคงไม่กล้าเสี่ยง
ที่สำคัญคือกลุ่มซีพีที่ชนะการประมูล ขอรับเงินสนับสนุนจากภาครัฐเพียง 119,000 ล้านบาท ต่ำกว่าวงเงินสนับสนุนที่รัฐบาลตั้งไว้ 119,425.75 ล้านบาท และต่ำกว่าคู่แข่งคือกลุ่มบีเอสอาร์ที่เสนอ169,934 ล้านบาท ถึง 50,934 ล้านบาท
จึงไม่แปลกที่ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ จะกล่าวว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ในขณะที่ผลตอบแทนไม่ถือว่าสูงมากนัก!!
ลงทุนก่อนรับเงินชดเชยทีหลัง
นอกจากนี้วงเงินกว่าแสนล้านบาทที่รัฐบาลสนับสนุนในฐานะผู้ร่วมลงทุน กลุ่มซีพีจะได้รับก็ต่อเมื่อส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว
เท่ากับว่ากลุ่มซีพีต้องทำโครงการนี้ให้เสร็จ เมื่อรัฐบาลตรวจรับงานแล้วจากนั้นถึงจะจ่ายเงินในส่วนของภาครัฐซึ่งค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเป็นเรื่องที่กลุ่มซีพีต้องไปเสาะหาแหล่งเงินกู้เอง
คำนวณคร่าวๆ เฉพาะดอกเบี้ยที่กลุ่มซีพีต้องไปกู้ยืมจากสถาบันการเงินก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท
ค่าสัมปทานแอร์พอร์ตลิงก์หมื่นล้าน
อย่างไรก็ตาม หลายคนมองว่าสิ่งที่กลุ่มซีพีได้รับของแถมนอกเหนือจากโครงการรถไฟความเร็วสูงคือโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งซีพีจะได้เข้าไปบริหารแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
แต่ต้องไม่ลืมว่าการบริหารแอร์พอร์ตลิงก์เป็นการให้เช่าเพื่อดำเนินการ ไม่ได้ให้ฟรี ซึ่งซีพีต้องจ่ายเงินค่าเช่าตลอดระยะเวลา 50 ปี จำนวน 10,671 ล้านบาท
ซึ่งการให้บริการแอร์พอร์ตลิงก์ตั้งแต่เปิดจนถึงปัจจุบันมีหนี้ประมาณ 30,000 ล้านบาท ขาดทุนประมาณปีละ 280 ล้านบาท มีคนใช้บริการประมาณ 5-6 หมื่นคนต่อวัน
เพราะฉะนั้นหากกลุ่มซีพีจะทำกำไรจากแอร์พอร์ตลิงก์ก็ต้องดึงคนมาใช้บริการขั้นต่ำ 1 แสนคนต่อวัน ซึ่งขึ้นอยู่กับฝีมือบริหารจัดการ
บริหารพื้นที่มักกะสัน–ศรีราชาค่าเช่าเฉียด 5 หมื่นล้าน
กระนั้นก็ตามอีกหนึ่งโครงการที่กลุ่มซีพีจะได้พ่วงจากสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟมักกะสันและสถานีรถไฟศรีราชา
สำหรับพื้นที่มักกะสันกันไว้ 150 ไร่ เป็นพื้นที่บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟมักกะสัน เป็นการให้เช่า 50 ปี โดยซีพีต้องจ่ายเงินให้ รฟท. 45,155 ล้านบาท ส่วนพื้นที่บริเวณศรีราชาประมาณ 80 ไร่ ถือว่าเกือบจะไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
เสี่ยงสูง ทำไมต้องเสี่ยง?
แม้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะเป็นอภิมหาโปรเจ็กต์ที่มีความเสี่ยงสูง แต่ ศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอเครือเจริญโภคภัณฑ์ มองว่าโครงการนี้ก่อให้เกิดการพัฒนาเมือง กระจายความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมไปสู่คนไทยทั้งประเทศให้ได้ประโยชน์จากการเข้ามาลงทุนจากต่างประเทศ เกิดการสร้างงาน สร้างคน คือเหตุผลสำคัญที่เครือซีพีสนใจลงทุน โดยพร้อมใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่และดึงผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกมาช่วยกันทำให้สำเร็จ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียน และส่งเสริมประเทศเพื่อนบ้านในแถบ CLMV ให้เติบโตไปพร้อมกันแบบยั่งยืน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ร่างสัญญาจบชงบอร์ดอีอีซีเคาะก่อนลงนาม
ขณะที่ร่างสัญญาระหว่าง รฟท.กับกลุ่มซีพี ได้รับการตอบรับฉบับที่ผ่านการปรับแก้จากอัยการสูงสุดแล้ว หลังจากทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับถ้อยคำในร่างสัญญาในการประชุมร่วมกัน เมื่อซีพีตกลงยอมรับร่างสัญญา จะถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจร่างสัญญาร่วมกัน เท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันและการเจรจาจบกันด้วยดี ก่อนที่ รฟท. จะนำผลสรุปการเจรจาเสนอให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือบอร์ดอีอีซีพิจารณา ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเพื่อลงนามสัญญาต่อไป โดยตั้งเป้าลงนามสัญญากับกลุ่มซีพีในเดือน มิ.ย. นี้
ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผน พวกเราจะได้นั่งรถไฟความเร็วสูงสายนี้ประมาณปี 2566!!!
--------------------------------
แชร์ข่าวจาก Salika
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้