งานของกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) หรือในนามบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ที่มี บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ฯ หรือ ‘ซีพี’ (CP) เป็นหัวเรือใหญ่ พร้อมด้วยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ (BEM), บริษัท ช.การช่างฯ, บริษัท ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรั๊คชั่นฯ (CRCC) และบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ฯ (ITD) พึ่งเริ่มต้น
เมื่อหนึ่งในเงื่อนไขที่ทางรัฐบาล และเจ้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กำหนดไว้ตั้งแต่เปิดขายซองประมูล ว่า
"ผู้ชนะการประมูลโครงการฯ นี้ จะมีขอบเขตที่ต้องดูแลเกี่ยวกับรถไฟ ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ
• รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา)
• แอร์พอร์ต เรลลิงก์
• แอร์พอร์ต เรลลิงก์ส่วนต่อขยาย"
หลังจากผ่านช่วงเวลาของการลงนามเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ทางกลุ่มซีพีอาจจะต้องเริ่มมาคิดหนักถึงการเข้าพื้นที่แรกที่ทางรัฐบาล และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า
"หากเอกชนผู้ชนะการประมูล (กลุ่มซีพี) นำเงินมาชำระจนครบ 10,671 ล้านบาท ภายใน 2 ปี หลังจากลงนาม
จะได้รับมอบให้สามารถเข้ามาบริหารจัดการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ได้ทันที "
คาดว่า "โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์" น่าจะเป็นส่วนที่ทางการรถไฟฯ และรัฐบาล อยากจะให้เอกชนรีบๆ เข้ามาดำเนินการบริหารจัดการในส่วนแรก เนื่องจากทั้งการรถไฟ และซีพี ต่างมีปัญหาเรื่องเงินลงทุนทั้งคู่
• สำหรับการรถไฟแห่งประเทศ เมื่อปี 2561 ขาดทุนอยู่กว่า 14,000 ล้านบาท และจากข้อมูลที่มีการเปิดเผยผ่านเวปไซท์ของทางการรถไฟเอง ก็พบว่า หนี้สะสมเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี จนล่าสุดในปี 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทยมีหนี้สินทั้งหมดมากถึง 604,450 ล้านบาท (ที่มา :
ลงทุนแมน)
เมื่อเงินมา รฟท. ก็พร้อมจะโอนทรัพย์สินสำหรับโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ในมูลค่า 5 หมื่นกว่าล้านบาท ให้ทางกลุ่มซีพีนำไปบริหาร และพัฒนา ที่สำคัญ ซีพีต้องรับภาระในการจัดหาขบวนรถเพิ่มเติมด้วย
เนื่องจากที่ผ่านมาหลายปี รถไฟแอร์พอร์ต เรลลิงก์ มีขบวนรถอยู่ทั้งสิ้น 9 ขบวน และจากปริมาณของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน เช้าและเย็น จนทำให้หลายๆ ครั้งจะพบเห็นข่าวจำนวนผู้โดยสารที่รอใช้บริการล้นออกจากบริเวณชานชาลาลงมาที่บริเวณห้องขายตั๋วเป็นประจำ จนเป็นภาพคุ้นชินของผู้โดยสารรถไฟแอร์พอร์ต เรลลิงก์ไปแล้วก็ตาม บ่อยครั้งก็มีแจ้งรถเสีย เหลือวิ่งเพียง 5 ขบวนบ้าง 6 ขบวนบ้าง
แถมล่าสุด ทางการรถไฟฯ มีแนวคิดที่จะใช้งบลงทุนกว่า 10 ล้านบาท เพื่อปรับเปลี่ยนเบาะและเพิ่มพื้นที่ยืนให้มากขึ้น เพื่อลดความแออัดบริเวณชานชาลาลง แต่จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้โดยสารส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช้เหตุ และแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด ควรที่จะเพิ่มขบวน และแก้ไขปมปัญหาเรื่องรถเสียบ่อยจะมีประสิทธิภาพมากกว่า แต่หลายภาคส่วน ก็ยังแสดงความกังวลว่า จะเป็นการแก้ไขได้ไม่ตรงจุดเท่าที่ควร เนื่องจากขบวนรถทั้ง 9 ขบวน พบว่าไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ บางขบวนมีการปรับปรุงซ่อมแซม หากใช้งบลงทุนกับการปรับเปลี่ยนเบาะ ควรจะนำเงินส่วนนั้นไปซ่อมแซมรถทั้ง 9 ขบวนให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจะดีกว่า
ดังนั้น การที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งเซ็นสัญญาจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับการรถไฟเองด้วย ในการที่จะให้เอกชนรีบเข้ามาบริหารจัดการ รวมถึงการซื้อขบวนรถเพิ่ม โดยไม่ต้องใช้เงินอุดหนุนจากรัฐบาลที่เป็นเงินภาษีของประชาชนคนไทยทั้งประเทศอีกด้วย
• สำหรับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร เกิดหนี้ทันทีตั้งแต่การเข้ามาร่วมประมูลในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าเอกสารในการขอเข้าร่วมประมูล (1 ล้านบาท), ที่ปรึกษาในโครงการฯ ซึ่งสำหรับโครงการในระดับแสนล้านแล้ว ระดับเงินค่าจ้างที่ปรึกษาก็อาจจะไม่น้อยกว่า 100 - 200 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำ,
หลักประกันซองในการยื่นเอกสารการประมูล 2,000 ล้านบาท (ได้รับคืนหลังจากคัดเลือกผู้ชนะแล้ว), ค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอ 2 ล้านบาท, ค่าจดทะเบียนบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด อีก 4,000 ล้านบาท, ค่าธรรมเนียมในการลงนามอีก 80 ล้านบาท (แบ่งเป็นรฟท. 40 ล้านบาท และ กพอ. 40 ล้านบาท) และหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารในการร่วมทุนกับการรถไฟฯ อีก 4,500 ล้านบาท เพียงแค่ข้อมูลงบการลงทุนที่ทางเอกชนต้องจ่ายเบื้องต้นหลังเซ็นสัญญาจะประมาณ 8,000 กว่าล้านบาท
จึงเห็นได้ว่าทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทยเอง และเอกชนคู่สัญญา (ซีพี) เอง ต่างก็คงต้องเร่งหารายได้เข้ามาจุนเจือกับเงินลงทุนที่เกิดขึ้นไปก่อนหน้า
ทางที่เร็วที่สุด และประหยัดเวลาในการคืนทุน ก็คือ "รถไฟแอร์พอร์ต เรลลิงก์" ที่สามารถนำมาปรับปรุงการบริหารจัดการ และซื้อขบวนรถเพิ่ม ก็จะสามารถทำให้หารายได้เข้ามาหักลบกลบหนี้ที่เกิดขึ้นได้ทันที
ที่สำคัญ !!! จะทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทย
สามารถไปให้ความสำคัญกับการดูแล และบริหารจัดการรถไฟสายสีแดงสายใหม่แทน
EEC - จบไปแล้วกับการเซ็นสัญญาไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน แต่ ....
เมื่อหนึ่งในเงื่อนไขที่ทางรัฐบาล และเจ้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กำหนดไว้ตั้งแต่เปิดขายซองประมูล ว่า
"ผู้ชนะการประมูลโครงการฯ นี้ จะมีขอบเขตที่ต้องดูแลเกี่ยวกับรถไฟ ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ
• รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา)
• แอร์พอร์ต เรลลิงก์
• แอร์พอร์ต เรลลิงก์ส่วนต่อขยาย"
หลังจากผ่านช่วงเวลาของการลงนามเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ทางกลุ่มซีพีอาจจะต้องเริ่มมาคิดหนักถึงการเข้าพื้นที่แรกที่ทางรัฐบาล และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า
• สำหรับการรถไฟแห่งประเทศ เมื่อปี 2561 ขาดทุนอยู่กว่า 14,000 ล้านบาท และจากข้อมูลที่มีการเปิดเผยผ่านเวปไซท์ของทางการรถไฟเอง ก็พบว่า หนี้สะสมเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี จนล่าสุดในปี 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทยมีหนี้สินทั้งหมดมากถึง 604,450 ล้านบาท (ที่มา : ลงทุนแมน)
เมื่อเงินมา รฟท. ก็พร้อมจะโอนทรัพย์สินสำหรับโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ในมูลค่า 5 หมื่นกว่าล้านบาท ให้ทางกลุ่มซีพีนำไปบริหาร และพัฒนา ที่สำคัญ ซีพีต้องรับภาระในการจัดหาขบวนรถเพิ่มเติมด้วย
เนื่องจากที่ผ่านมาหลายปี รถไฟแอร์พอร์ต เรลลิงก์ มีขบวนรถอยู่ทั้งสิ้น 9 ขบวน และจากปริมาณของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน เช้าและเย็น จนทำให้หลายๆ ครั้งจะพบเห็นข่าวจำนวนผู้โดยสารที่รอใช้บริการล้นออกจากบริเวณชานชาลาลงมาที่บริเวณห้องขายตั๋วเป็นประจำ จนเป็นภาพคุ้นชินของผู้โดยสารรถไฟแอร์พอร์ต เรลลิงก์ไปแล้วก็ตาม บ่อยครั้งก็มีแจ้งรถเสีย เหลือวิ่งเพียง 5 ขบวนบ้าง 6 ขบวนบ้าง
แถมล่าสุด ทางการรถไฟฯ มีแนวคิดที่จะใช้งบลงทุนกว่า 10 ล้านบาท เพื่อปรับเปลี่ยนเบาะและเพิ่มพื้นที่ยืนให้มากขึ้น เพื่อลดความแออัดบริเวณชานชาลาลง แต่จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้โดยสารส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช้เหตุ และแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด ควรที่จะเพิ่มขบวน และแก้ไขปมปัญหาเรื่องรถเสียบ่อยจะมีประสิทธิภาพมากกว่า แต่หลายภาคส่วน ก็ยังแสดงความกังวลว่า จะเป็นการแก้ไขได้ไม่ตรงจุดเท่าที่ควร เนื่องจากขบวนรถทั้ง 9 ขบวน พบว่าไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ บางขบวนมีการปรับปรุงซ่อมแซม หากใช้งบลงทุนกับการปรับเปลี่ยนเบาะ ควรจะนำเงินส่วนนั้นไปซ่อมแซมรถทั้ง 9 ขบวนให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจะดีกว่า
ดังนั้น การที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งเซ็นสัญญาจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับการรถไฟเองด้วย ในการที่จะให้เอกชนรีบเข้ามาบริหารจัดการ รวมถึงการซื้อขบวนรถเพิ่ม โดยไม่ต้องใช้เงินอุดหนุนจากรัฐบาลที่เป็นเงินภาษีของประชาชนคนไทยทั้งประเทศอีกด้วย
• สำหรับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร เกิดหนี้ทันทีตั้งแต่การเข้ามาร่วมประมูลในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าเอกสารในการขอเข้าร่วมประมูล (1 ล้านบาท), ที่ปรึกษาในโครงการฯ ซึ่งสำหรับโครงการในระดับแสนล้านแล้ว ระดับเงินค่าจ้างที่ปรึกษาก็อาจจะไม่น้อยกว่า 100 - 200 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำ,
หลักประกันซองในการยื่นเอกสารการประมูล 2,000 ล้านบาท(ได้รับคืนหลังจากคัดเลือกผู้ชนะแล้ว), ค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอ 2 ล้านบาท, ค่าจดทะเบียนบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด อีก 4,000 ล้านบาท, ค่าธรรมเนียมในการลงนามอีก 80 ล้านบาท (แบ่งเป็นรฟท. 40 ล้านบาท และ กพอ. 40 ล้านบาท) และหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารในการร่วมทุนกับการรถไฟฯ อีก 4,500 ล้านบาท เพียงแค่ข้อมูลงบการลงทุนที่ทางเอกชนต้องจ่ายเบื้องต้นหลังเซ็นสัญญาจะประมาณ 8,000 กว่าล้านบาทจึงเห็นได้ว่าทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทยเอง และเอกชนคู่สัญญา (ซีพี) เอง ต่างก็คงต้องเร่งหารายได้เข้ามาจุนเจือกับเงินลงทุนที่เกิดขึ้นไปก่อนหน้า
ทางที่เร็วที่สุด และประหยัดเวลาในการคืนทุน ก็คือ "รถไฟแอร์พอร์ต เรลลิงก์" ที่สามารถนำมาปรับปรุงการบริหารจัดการ และซื้อขบวนรถเพิ่ม ก็จะสามารถทำให้หารายได้เข้ามาหักลบกลบหนี้ที่เกิดขึ้นได้ทันที