เซียนหุ้นเกือบทุกคนน่าจะต้องมี “เคล็ดลับ” ในการลงทุนที่ทำให้ประสบความสำเร็จ อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งก็จะต้องเป็นเวลาอย่างน้อยก็หลายปี บางทีก็เป็น 10 ปี ซึ่งก็ทำให้คนรับรู้และยอมรับว่าเป็น “เซียน”
และสิ่งที่คนทั่วไปสนใจก็คือ พวกเขามี “เคล็ดลับ” อะไรในการลงทุนที่คนไม่รู้และอยากจะรู้เพื่อที่จะได้ไปทำตามบ้าง เพราะนั่นอาจจะทำให้รวยได้
“เซียน” ส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าอะไรคือ “เคล็ดลับ” ของตนเอง และมักจะมีความซับซ้อนน่าทึ่งแต่ก็เป็นสิ่งที่น่าจะทำได้ถ้าฝึกฝนให้ดี ทุ่มเทกับมัน ให้เวลากับมัน มีวินัยสูง แล้วคุณก็จะ ทำได้ “ผมรวยและประสบความสำเร็จอย่างสูงได้ คุณก็ทำได้”
แต่หลายสิ่งหลายอย่างที่ “เซียน” ทำและอาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่เซียนประสบความสำเร็จอย่างสูงกว่าคนอื่นนั้น เซียนก็อาจจะไม่ได้บอกหมด ตัวอย่างเช่น การใช้ข้อมูลภายในที่ได้รับรู้มาจากคนในบริษัท หรือการ “ปั่นหุ้น” โดยการปล่อยข่าวหรือการสร้างเรื่องที่ไม่จริงหรือไม่ถูกต้องให้กับคนที่มีความรู้และความเข้าใจน้อยให้เข้ามาลงทุนซื้อหุ้นที่ถูก “ลากขึ้นไป” โชว์ เป็นต้น และนั่นก็เป็น “เคล็ดลับจริง” ที่บอกไม่ได้
หน้าที่ของคนที่พยายามหา “เคล็ดลับ” ของ “เซียน” จึงต้องวิเคราะห์ให้ดีว่า เซียนคนไหนใช้เคล็ดลับอะไรที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ เป็นเคล็ดลับที่เขาใช้จริงหรือไม่ และเขาบอกหมดหรือเปล่า
จากประสบการณ์ของผม “เซียนตัวจริง” ที่เน้นลงทุนระยะยาวและอยู่ในตลาดมานานมากอย่าง วอเร็น บัฟเฟตต์ นั้น ดูเหมือนว่าจะ “ไม่มีเคล็ดลับ” หรือถ้ามีเขาก็บอกมานานหลายสิบปีแล้วและเป็นสิ่งที่ไม่มีความซับซ้อนอะไรนั่นคือ
1) มองหุ้นว่าเป็นบริษัท อย่าเลือกหุ้น (ซึ่งราคาจะผันผวนไปมาในระยะสั้น)
2) เลือกกิจการที่มีอนาคตที่ดีในระยะยาว อย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป
3) มีผู้บริหารที่ซื่อสัตย์และดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
4) มีราคาหุ้นที่สมเหตุผล
5) ซื้อแล้วก็ถือหุ้นไว้ตลอดไปตราบที่เหตุผล 4 ข้อยังเป็นความจริง
และวิธีที่จะเลือกบริษัทที่มีอนาคตที่ดีในระยะยาวก็คือ การหากิจการที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนเมื่อเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน
และนั่นก็คือ “เคล็ดลับ” ของบัฟเฟตต์ ที่ง่ายและธรรมดาจนนักลงทุนแทบไม่สนใจที่จะทำตาม อาจจะเพราะมันอาจจะต้องรอเป็น 10 ปี ถึงจะรู้ว่าใช้ได้ผลกับตนเองหรือไม่
เซียนตัวจริงอีกคนหนึ่งก็คือ คู่หูของบัฟเฟตต์ ชาลี มังเกอร์ ที่เพิ่งเสียชีวิตไป เขาบอกว่า “เคล็ดลับเดียวของการลงทุนคือการหาที่ ๆ ปลอดภัยและฉลาดสำหรับการลงทุน โดยไม่ต้องกระจายความเสี่ยงใด ๆ”
นี่ก็เป็น “เคล็ดลับ” อีกข้อหนึ่งที่จะทำให้รวยได้เพราะทำให้พอร์ตลงทุนนั้นเป็นแนว “Focus” หรือเน้นหนักในหุ้นจำนวนน้อยตัวมาก ๆ เช่น 5-6 ตัวใหญ่ที่สุดก็เท่ากับ 75% ไปแล้ว
“เคล็ดลับ” ทั้งของบัฟเฟตต์กับมังเกอร์ดูเหมือนว่าจะถูกนำมาใช้ในเบิร์กไชร์อย่างต่อเนื่องยาวนาน เห็นได้จากการที่เบิร์กไชร์ถือแต่หุ้นของบริษัทที่ยอดเยี่ยม มีความสามารถในการแข่งขันเหนือคู่แข่งในระยะยาวอย่างชัดเจน อย่างเช่นหุ้นแอปเปิลหรือโค๊ก มีผู้บริหารที่ซื่อสัตย์ ทั้งหมดซื้อมาในราคาที่สมเหตุผลไม่แพง ซื้อแล้วถือไว้ตลอดไม่ขาย และหุ้นใหญ่ที่สุดไม่กี่ตัวก็เกิน 50-70% ของพอร์ต
เคล็ดลับของเซียนที่เป็นแนว “นักเก็งกำไร” ระดับโลกนั้น ที่เด่นที่สุดน่าจะเป็นจอร์จ โซรอส ซึ่งก็แน่นอนว่าเน้นการทำกำไรอย่างรวดเร็วในระยะสั้น เคล็ดลับของโซรอสนั้น เขาคงไม่ได้เปิดเผยเอง แต่จากการวิเคราะห์ทางด้านความคิดและการกระทำหรือการลงทุนของเขาก็อาจจะบอกได้ว่า เขาน่าจะเชื่อในทฤษฎี “Reflexivity” ที่เขาเขียนในหนังสือชื่อ “Alchemy of Finance” ตั้งแต่ปี 1987 ซึ่งผมอ่านตั้งแต่เริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยแล้วก็ยังงงอยู่ทุกวันนี้
เคล็ดลับของโซรอสก็คือ เขาเชื่อว่าในตลาดหลักทรัพย์นั้น จิตวิทยาของคนสะท้อนกลับไปมาหรือเป็น “Reflexive” เช่น ถ้าหลักทรัพย์วิ่งขึ้นไปแรงก็จะไปดึงดูดคนซื้อ ซึ่งก็ทำให้หลักทรัพย์นั้นวิ่งแรงขึ้นไปอีกเป็นวงจรจนถึงจุดที่มันสูงจนอยู่ต่อไปไม่ได้ หลังจากนั้นมันก็จะลง และเมื่อหลักทรัพย์ลง คนที่ถือก็จะขายและกระบวนการทั้งหมดก็กลับข้าง ในที่สุดหลักทรัพย์นั้นก็จะตกลงมาอย่างหายนะ
ประเด็นก็คือ โซรอสก็จะคอยหาว่าหุ้นหรือค่าเงินหรือตราสารอะไรก็แล้วแต่ที่อาจจะมีความอ่อนแอหรือราคาถูกหรือแพงเกินไปหรือแพงกว่าพื้นฐาน เสร็จแล้วเขาก็เข้าไป “โจมตี” โดยที่จะต้องใช้เงิน “ก้อนโต” เพื่อที่จะทำให้ราคา “เปลี่ยน” อย่างแรง ซึ่งนั่นก็จะนำให้คนเล่นรายอื่นตกใจและเปลี่ยนใจขายหรือซื้อตราสารนั้นตาม ซึ่งก็จะทำให้ราคาตกหรือขึ้นแรงไปอีกจนถึงจุดสูงจนอยู่ไม่ได้ และนั่นก็เป็นเวลาที่เขาจะกำไรมหาศาล
ทั้งหมดนั้นก็เป็นเคล็ดลับของนักลงทุน 2 ด้านคือด้านของนักลงทุนระยะยาวกับนักลงทุนระยะสั้นระดับโลก ซึ่งผมคิดว่านักลงทุนทั้งในตลาดไทยและประเทศขนาดเล็กอื่น ๆ ก็คงจะมีแนวทางใกล้เคียงกัน
“เคล็ดลับ” ของนักลงทุน “VI” ของไทยนั้น ผมอยากจะแบ่งเป็นยุคแรกที่เริ่มตั้งแต่ประมาณปี 2543 หรือปี 2000 ขึ้นไปที่เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตต้มยำกุ้งอย่างเต็มที่แล้วจนถึงประมาณสิ้นปี 2008 หรือปี 2551 ที่เกิดวิกฤตซับไพร์ม กับช่วงตั้งแต่ปี 2552 จนถึงวันนี้ที่เป็นช่วงตลาดหุ้นคึกคักและมีการเก็งกำไรสูงของนักลงทุนส่วนบุคคลจำนวนมาก
เคล็ดลับของ “VI รุ่นแรก” ส่วนใหญ่เท่าที่ผมจำได้นั้นก็คือ เน้นลงทุนในหุ้น “VI” ซึ่งในช่วงนั้นก็คือหุ้นของบริษัท “รุ่นใหม่” ที่มีการบริหารงานแบบ “สมัยใหม่” มีการขยายงานอย่างรวดเร็วและในกรณีที่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคก็จะเป็นการขยายสาขาเป็นเครือข่ายไปทั่วประเทศ ระบบบัญชีและการบริหารงานจะมีระบบการควบคุมหรือบรรษัทภิบาลสูง ไม่เหมือนรุ่นก่อนที่ผู้บริหารหรือเจ้าของยังตักตวงผลประโยชน์จากบริษัทและไม่มีความโปร่งใส ตัวอย่างมีมากมาย รวมถึงธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เปลี่ยนจากการที่ผู้บริหารไป “จับที่” ก่อนขายให้บริษัท มาเป็นประกาศซื้อจากบริษัทโดยตรง เป็นต้น
ผมยังจำได้ว่าช่วงเวลานั้น เข้าไปซื้อหุ้นโดยเฉพาะ “ค้าปลีกสมัยใหม่” ที่กำลังบูมทุกส่วนตั้งแต่ร้านอุปกรณ์ปรับปรุงบ้าน ร้านหนังสือ ร้านสะดวกซื้อ ต่างก็ขึ้นหมด และก็มีการขายและซื้อเปลี่ยนตัวหุ้นไปเรื่อย ๆ และทุกครั้งที่เปลี่ยน ราคาหุ้นตัวใหม่ก็ขึ้น ดังนั้น จึงแทบไม่เคยมีเงินสดเหลือ นอกจากนั้น การลงทุนก็เป็นการ Focus ถือหุ้นเพียงไม่กี่ตัวในแต่ละช่วงเวลา และนั่นก็ทำกำไรหรือผลตอบแทนมหาศาล
เคล็ดลับ VI รุ่นหลังซับไพร์มนั้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญก็คือ คนรวยซึ่งมักจะมีฐานจากการเป็นนักธุรกิจหรือลูกเจ้าของธุรกิจที่มีเงินสะสมมากเริ่มเข้ามาลงทุน “แนว VI” เช่นเดียวกับนักลงทุน VI รุ่นก่อนที่ถึงวันนั้นก็มีเงินหรือความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นมากอย่างไม่น่าเชื่อ สิ่งนั้นประกอบกับการที่สังคมไทยเริ่มโตเต็มที่จนใกล้จะอิ่มตัว คนชั้นกลางเริ่มเข้ามาอาศัยตลาดหุ้นลงทุนเพื่อการเกษียณประกอบกับรัฐก็ส่งเสริมตลาดทุนเต็มที่ ทำให้เม็ดเงินที่ต้องการลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นมหาศาลและเป็นเงินที่ต้องการลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณ โดยที่ไม่ได้ต้องการเก็งกำไรรายวัน
เคล็ดลับของนักลงทุนซึ่งอายุน้อยลงและกล้ารับความเสี่ยงมากขึ้นมาก เนื่องจากมีฐานเงินสะสมและมีความมั่งคั่งสูงทั้งจากครอบครัวและตนเอง “เซียน” รุ่นนี้จึงมีเคล็ดลับสำคัญก็คือการวิเคราะห์หาหุ้นที่มีโอกาสที่จะสร้างความตื่นเต้นให้กับนักลงทุนแบบเป็นหมู่หรือที่เรียกว่า “Hype” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุตสาหกรรมที่จะเติบโตเร็ว หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทุกคนอยากใช้ หรือเป็นหุ้นที่ “เซียน” แห่กันเข้าไปซื้อ เป็นต้น
เคล็ดลับข้อต่อมาก็คือ การโหมเข้าซื้อหุ้นแบบที่แทบจะกวาดหมดซึ่งจะทำให้เกิดสถานการณ์ “คอร์เนอร์หุ้น” ซึ่งจะดันให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปแรงมากและจะเกิด Reflexivity ตามทฤษฎีของโซรอสทำให้หุ้นวิ่งแรงขึ้นไปอีกซึ่งทำให้คนที่เข้าไปทำกำไรมหาศาล แต่ในกรณีแบบนี้ก็จะต้องมีเคล็ดลับเพิ่มอีกข้อหนึ่งก็คือ การใช้ Leverage หรือการกู้เงินมาซื้อหุ้นแบบมาร์จินหรือการเล่นบล็อกเทรดเพื่อเพิ่มพลังในการซื้อหุ้นด้วย
และนั่นก็ทำกำไรมหาศาลให้กับ “VI” และ/หรือ “เซียน” ที่ใช้เคล็ดลับนี้ อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยที่ตกลงมาต่อเนื่องและรุนแรงโดยเฉพาะในกลุ่มหุ้นเก็งกำไรในช่วง 1-2 ปีมานี้ ซึ่งทำให้หุ้นที่ขึ้นไปแบบที่รักษาระดับราคาไว้ไม่ได้ตกลงมาเป็น “หายนะ” ก็ทำให้ “เซียน” จำนวนมากเจ็บตัวอย่างหนัก และเคล็ดลับก็ใช้ไม่ได้อีกต่อไป อาจจะคล้าย ๆ กับโซรอส ที่ความมั่งคั่งและชื่อชั้นแทบจะไม่เหลือในช่วงหลัง ๆ นี้
Cr.
https://www.vietnamvi.com/2024/01/27/secret/
เคล็ดลับการลงทุนหุ้น ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 27/1/67
และสิ่งที่คนทั่วไปสนใจก็คือ พวกเขามี “เคล็ดลับ” อะไรในการลงทุนที่คนไม่รู้และอยากจะรู้เพื่อที่จะได้ไปทำตามบ้าง เพราะนั่นอาจจะทำให้รวยได้
“เซียน” ส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าอะไรคือ “เคล็ดลับ” ของตนเอง และมักจะมีความซับซ้อนน่าทึ่งแต่ก็เป็นสิ่งที่น่าจะทำได้ถ้าฝึกฝนให้ดี ทุ่มเทกับมัน ให้เวลากับมัน มีวินัยสูง แล้วคุณก็จะ ทำได้ “ผมรวยและประสบความสำเร็จอย่างสูงได้ คุณก็ทำได้”
แต่หลายสิ่งหลายอย่างที่ “เซียน” ทำและอาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่เซียนประสบความสำเร็จอย่างสูงกว่าคนอื่นนั้น เซียนก็อาจจะไม่ได้บอกหมด ตัวอย่างเช่น การใช้ข้อมูลภายในที่ได้รับรู้มาจากคนในบริษัท หรือการ “ปั่นหุ้น” โดยการปล่อยข่าวหรือการสร้างเรื่องที่ไม่จริงหรือไม่ถูกต้องให้กับคนที่มีความรู้และความเข้าใจน้อยให้เข้ามาลงทุนซื้อหุ้นที่ถูก “ลากขึ้นไป” โชว์ เป็นต้น และนั่นก็เป็น “เคล็ดลับจริง” ที่บอกไม่ได้
หน้าที่ของคนที่พยายามหา “เคล็ดลับ” ของ “เซียน” จึงต้องวิเคราะห์ให้ดีว่า เซียนคนไหนใช้เคล็ดลับอะไรที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ เป็นเคล็ดลับที่เขาใช้จริงหรือไม่ และเขาบอกหมดหรือเปล่า
จากประสบการณ์ของผม “เซียนตัวจริง” ที่เน้นลงทุนระยะยาวและอยู่ในตลาดมานานมากอย่าง วอเร็น บัฟเฟตต์ นั้น ดูเหมือนว่าจะ “ไม่มีเคล็ดลับ” หรือถ้ามีเขาก็บอกมานานหลายสิบปีแล้วและเป็นสิ่งที่ไม่มีความซับซ้อนอะไรนั่นคือ
1) มองหุ้นว่าเป็นบริษัท อย่าเลือกหุ้น (ซึ่งราคาจะผันผวนไปมาในระยะสั้น)
2) เลือกกิจการที่มีอนาคตที่ดีในระยะยาว อย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป
3) มีผู้บริหารที่ซื่อสัตย์และดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
4) มีราคาหุ้นที่สมเหตุผล
5) ซื้อแล้วก็ถือหุ้นไว้ตลอดไปตราบที่เหตุผล 4 ข้อยังเป็นความจริง
และวิธีที่จะเลือกบริษัทที่มีอนาคตที่ดีในระยะยาวก็คือ การหากิจการที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนเมื่อเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน
และนั่นก็คือ “เคล็ดลับ” ของบัฟเฟตต์ ที่ง่ายและธรรมดาจนนักลงทุนแทบไม่สนใจที่จะทำตาม อาจจะเพราะมันอาจจะต้องรอเป็น 10 ปี ถึงจะรู้ว่าใช้ได้ผลกับตนเองหรือไม่
เซียนตัวจริงอีกคนหนึ่งก็คือ คู่หูของบัฟเฟตต์ ชาลี มังเกอร์ ที่เพิ่งเสียชีวิตไป เขาบอกว่า “เคล็ดลับเดียวของการลงทุนคือการหาที่ ๆ ปลอดภัยและฉลาดสำหรับการลงทุน โดยไม่ต้องกระจายความเสี่ยงใด ๆ”
นี่ก็เป็น “เคล็ดลับ” อีกข้อหนึ่งที่จะทำให้รวยได้เพราะทำให้พอร์ตลงทุนนั้นเป็นแนว “Focus” หรือเน้นหนักในหุ้นจำนวนน้อยตัวมาก ๆ เช่น 5-6 ตัวใหญ่ที่สุดก็เท่ากับ 75% ไปแล้ว
“เคล็ดลับ” ทั้งของบัฟเฟตต์กับมังเกอร์ดูเหมือนว่าจะถูกนำมาใช้ในเบิร์กไชร์อย่างต่อเนื่องยาวนาน เห็นได้จากการที่เบิร์กไชร์ถือแต่หุ้นของบริษัทที่ยอดเยี่ยม มีความสามารถในการแข่งขันเหนือคู่แข่งในระยะยาวอย่างชัดเจน อย่างเช่นหุ้นแอปเปิลหรือโค๊ก มีผู้บริหารที่ซื่อสัตย์ ทั้งหมดซื้อมาในราคาที่สมเหตุผลไม่แพง ซื้อแล้วถือไว้ตลอดไม่ขาย และหุ้นใหญ่ที่สุดไม่กี่ตัวก็เกิน 50-70% ของพอร์ต
เคล็ดลับของเซียนที่เป็นแนว “นักเก็งกำไร” ระดับโลกนั้น ที่เด่นที่สุดน่าจะเป็นจอร์จ โซรอส ซึ่งก็แน่นอนว่าเน้นการทำกำไรอย่างรวดเร็วในระยะสั้น เคล็ดลับของโซรอสนั้น เขาคงไม่ได้เปิดเผยเอง แต่จากการวิเคราะห์ทางด้านความคิดและการกระทำหรือการลงทุนของเขาก็อาจจะบอกได้ว่า เขาน่าจะเชื่อในทฤษฎี “Reflexivity” ที่เขาเขียนในหนังสือชื่อ “Alchemy of Finance” ตั้งแต่ปี 1987 ซึ่งผมอ่านตั้งแต่เริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยแล้วก็ยังงงอยู่ทุกวันนี้
เคล็ดลับของโซรอสก็คือ เขาเชื่อว่าในตลาดหลักทรัพย์นั้น จิตวิทยาของคนสะท้อนกลับไปมาหรือเป็น “Reflexive” เช่น ถ้าหลักทรัพย์วิ่งขึ้นไปแรงก็จะไปดึงดูดคนซื้อ ซึ่งก็ทำให้หลักทรัพย์นั้นวิ่งแรงขึ้นไปอีกเป็นวงจรจนถึงจุดที่มันสูงจนอยู่ต่อไปไม่ได้ หลังจากนั้นมันก็จะลง และเมื่อหลักทรัพย์ลง คนที่ถือก็จะขายและกระบวนการทั้งหมดก็กลับข้าง ในที่สุดหลักทรัพย์นั้นก็จะตกลงมาอย่างหายนะ
ประเด็นก็คือ โซรอสก็จะคอยหาว่าหุ้นหรือค่าเงินหรือตราสารอะไรก็แล้วแต่ที่อาจจะมีความอ่อนแอหรือราคาถูกหรือแพงเกินไปหรือแพงกว่าพื้นฐาน เสร็จแล้วเขาก็เข้าไป “โจมตี” โดยที่จะต้องใช้เงิน “ก้อนโต” เพื่อที่จะทำให้ราคา “เปลี่ยน” อย่างแรง ซึ่งนั่นก็จะนำให้คนเล่นรายอื่นตกใจและเปลี่ยนใจขายหรือซื้อตราสารนั้นตาม ซึ่งก็จะทำให้ราคาตกหรือขึ้นแรงไปอีกจนถึงจุดสูงจนอยู่ไม่ได้ และนั่นก็เป็นเวลาที่เขาจะกำไรมหาศาล
ทั้งหมดนั้นก็เป็นเคล็ดลับของนักลงทุน 2 ด้านคือด้านของนักลงทุนระยะยาวกับนักลงทุนระยะสั้นระดับโลก ซึ่งผมคิดว่านักลงทุนทั้งในตลาดไทยและประเทศขนาดเล็กอื่น ๆ ก็คงจะมีแนวทางใกล้เคียงกัน
“เคล็ดลับ” ของนักลงทุน “VI” ของไทยนั้น ผมอยากจะแบ่งเป็นยุคแรกที่เริ่มตั้งแต่ประมาณปี 2543 หรือปี 2000 ขึ้นไปที่เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตต้มยำกุ้งอย่างเต็มที่แล้วจนถึงประมาณสิ้นปี 2008 หรือปี 2551 ที่เกิดวิกฤตซับไพร์ม กับช่วงตั้งแต่ปี 2552 จนถึงวันนี้ที่เป็นช่วงตลาดหุ้นคึกคักและมีการเก็งกำไรสูงของนักลงทุนส่วนบุคคลจำนวนมาก
เคล็ดลับของ “VI รุ่นแรก” ส่วนใหญ่เท่าที่ผมจำได้นั้นก็คือ เน้นลงทุนในหุ้น “VI” ซึ่งในช่วงนั้นก็คือหุ้นของบริษัท “รุ่นใหม่” ที่มีการบริหารงานแบบ “สมัยใหม่” มีการขยายงานอย่างรวดเร็วและในกรณีที่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคก็จะเป็นการขยายสาขาเป็นเครือข่ายไปทั่วประเทศ ระบบบัญชีและการบริหารงานจะมีระบบการควบคุมหรือบรรษัทภิบาลสูง ไม่เหมือนรุ่นก่อนที่ผู้บริหารหรือเจ้าของยังตักตวงผลประโยชน์จากบริษัทและไม่มีความโปร่งใส ตัวอย่างมีมากมาย รวมถึงธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เปลี่ยนจากการที่ผู้บริหารไป “จับที่” ก่อนขายให้บริษัท มาเป็นประกาศซื้อจากบริษัทโดยตรง เป็นต้น
ผมยังจำได้ว่าช่วงเวลานั้น เข้าไปซื้อหุ้นโดยเฉพาะ “ค้าปลีกสมัยใหม่” ที่กำลังบูมทุกส่วนตั้งแต่ร้านอุปกรณ์ปรับปรุงบ้าน ร้านหนังสือ ร้านสะดวกซื้อ ต่างก็ขึ้นหมด และก็มีการขายและซื้อเปลี่ยนตัวหุ้นไปเรื่อย ๆ และทุกครั้งที่เปลี่ยน ราคาหุ้นตัวใหม่ก็ขึ้น ดังนั้น จึงแทบไม่เคยมีเงินสดเหลือ นอกจากนั้น การลงทุนก็เป็นการ Focus ถือหุ้นเพียงไม่กี่ตัวในแต่ละช่วงเวลา และนั่นก็ทำกำไรหรือผลตอบแทนมหาศาล
เคล็ดลับ VI รุ่นหลังซับไพร์มนั้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญก็คือ คนรวยซึ่งมักจะมีฐานจากการเป็นนักธุรกิจหรือลูกเจ้าของธุรกิจที่มีเงินสะสมมากเริ่มเข้ามาลงทุน “แนว VI” เช่นเดียวกับนักลงทุน VI รุ่นก่อนที่ถึงวันนั้นก็มีเงินหรือความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นมากอย่างไม่น่าเชื่อ สิ่งนั้นประกอบกับการที่สังคมไทยเริ่มโตเต็มที่จนใกล้จะอิ่มตัว คนชั้นกลางเริ่มเข้ามาอาศัยตลาดหุ้นลงทุนเพื่อการเกษียณประกอบกับรัฐก็ส่งเสริมตลาดทุนเต็มที่ ทำให้เม็ดเงินที่ต้องการลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นมหาศาลและเป็นเงินที่ต้องการลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณ โดยที่ไม่ได้ต้องการเก็งกำไรรายวัน
เคล็ดลับของนักลงทุนซึ่งอายุน้อยลงและกล้ารับความเสี่ยงมากขึ้นมาก เนื่องจากมีฐานเงินสะสมและมีความมั่งคั่งสูงทั้งจากครอบครัวและตนเอง “เซียน” รุ่นนี้จึงมีเคล็ดลับสำคัญก็คือการวิเคราะห์หาหุ้นที่มีโอกาสที่จะสร้างความตื่นเต้นให้กับนักลงทุนแบบเป็นหมู่หรือที่เรียกว่า “Hype” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุตสาหกรรมที่จะเติบโตเร็ว หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทุกคนอยากใช้ หรือเป็นหุ้นที่ “เซียน” แห่กันเข้าไปซื้อ เป็นต้น
เคล็ดลับข้อต่อมาก็คือ การโหมเข้าซื้อหุ้นแบบที่แทบจะกวาดหมดซึ่งจะทำให้เกิดสถานการณ์ “คอร์เนอร์หุ้น” ซึ่งจะดันให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปแรงมากและจะเกิด Reflexivity ตามทฤษฎีของโซรอสทำให้หุ้นวิ่งแรงขึ้นไปอีกซึ่งทำให้คนที่เข้าไปทำกำไรมหาศาล แต่ในกรณีแบบนี้ก็จะต้องมีเคล็ดลับเพิ่มอีกข้อหนึ่งก็คือ การใช้ Leverage หรือการกู้เงินมาซื้อหุ้นแบบมาร์จินหรือการเล่นบล็อกเทรดเพื่อเพิ่มพลังในการซื้อหุ้นด้วย
และนั่นก็ทำกำไรมหาศาลให้กับ “VI” และ/หรือ “เซียน” ที่ใช้เคล็ดลับนี้ อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยที่ตกลงมาต่อเนื่องและรุนแรงโดยเฉพาะในกลุ่มหุ้นเก็งกำไรในช่วง 1-2 ปีมานี้ ซึ่งทำให้หุ้นที่ขึ้นไปแบบที่รักษาระดับราคาไว้ไม่ได้ตกลงมาเป็น “หายนะ” ก็ทำให้ “เซียน” จำนวนมากเจ็บตัวอย่างหนัก และเคล็ดลับก็ใช้ไม่ได้อีกต่อไป อาจจะคล้าย ๆ กับโซรอส ที่ความมั่งคั่งและชื่อชั้นแทบจะไม่เหลือในช่วงหลัง ๆ นี้
Cr. https://www.vietnamvi.com/2024/01/27/secret/