ศิริกัญญา ทวีต 7 คำถาม หลังลาออก กมธ.แลนด์บริดจ์ ที่ยังรอสนข.มาตอบ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4372268
ศิริกัญญา ทวีต 7 คำถาม หลังลาออก กมธ.แลนด์บริดจ์ ที่ยังรอ สนข.มาตอบ
เมื่อวันที่ 12 มกราคม สืบเนื่องจากกรณี 4 ส.ส.พรรคก้าวไกล ลาออกจาก กมธ.แลนด์บริดจ์ ได้แก่ นางสาว
ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นาย
ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล นาย
จุลพงศ์ อยู่เกษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นักวิชาการ และที่ปรึกษาของพรรคก้าวไกล มีผลทันทีในวันนี้
ต่อมา นางสาว
ศิริกัญญา ตันสกุล ได้ทวีตผ่านแอพพ์เอ็กซ์ Sirikanya Tansakun ข้อความว่า
“
[7 คำถามที่ยังรอสนข.มาตอบ แม้จะไม่ได้เป็นกมธ.แลนด์บริดจ์]
โครงการแลนด์บริดจ์ฝากความหวังไว้ที่การถ่ายลำ 80% ขนส่งสินค้าจากไทยเพียง 20% เราจึงต้องโฟกัสเรื่องคาดการณ์สินค้าที่จะมาถ่ายลำเป็นหลัก
คำถามแรก : เส้นทางเดินเรือที่จะมาใช้ท่าเรือฝั่งระนอง มีการรวมเอาเส้นทางที่มีจุดหมายที่จะมาเอเชียใต้ (SA) ทั้งที่มาจากยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง จะมาใช้ท่าเรือฝั่งระนองทำไม ในเมื่อมี Port Colombo ที่เป็น hub และมีเรือ Direct service อยู่แล้ว หากไม่มีการเดินเรือจริงจะมีผลอย่างมากต่อประมาณการ เพราะยอดส่งออกนำเข้ารวมกัน 105.22 ล้านตัน
คำถามที่ 2 : เส้นทางเดินเรือที่จะมาใช้ท่าเรือฝั่งชุมพร มีการรวมเอาเส้นทางที่มีจุดหมายที่จะมาออสเตรเลีย (AUS) ทั้งที่มาจากเอเชียตะวันออก และอาเซียน สายเดินเรือจะมาใช้ท่าเรือฝั่งชุมพรทำไม ในเมื่อมีเรือ direct service ไปและมาจากท่าเรือในออสเตรเลีย และช่องแคบมะละกาใกล้กว่า หากไม่มีการเดินเรือจริงจะมีผลอย่างมากต่อประมาณการ เพราะยอดส่งออกนำเข้ารวมกัน 29.21 ล้านตัน
คำถามที่ 3 : เส้นทางเดินเรือที่จะมาใช้ท่าเรือฝั่งชุมพร มีการรวมเอาเส้นทางที่มีจุดหมายที่จะมาอาเซียน (ASEAN) สายเดินเรือที่จะมา ASEAN โซนล่าง อย่างอินโด มาเลย์ สิงคโปร์ จะมาใช้ท่าเรือฝั่งชุมพรทำไม ในเมื่อช่องแคบมะละกาใกล้กว่า
คำถามที่ 4 : ส่วนปริมาณสินค้าจากในประเทศ สรุปแล้วการศึกษารวมสินค้าเทกองหรือไม่ ในการศึกษาได้รวมสินค้าเหล่านั้นมาด้วย จากภาพแรกมาจากสไลด์ของรายงาน ซึ่งรวมสินค้าเทกองอย่างปูน ไม้ เหล็ก ถ้าไม่รวมสินค้าเทกองดีมานด์ในประเทศฝั่งระนองลดลงเหลือ 3.4 ล้านตู้ ดีมานด์ฝั่งชุมพรเหลือ 1 ล้านตู้
คำถามที่ 5 เหตุใด การถ่ายลำที่ Landbridge จึงไม่มีเวลาในการรอเรือและเผื่อเวลาถ่ายลำ
หากไม่ได้คิดเวลารอเรือเท่ากับมีเรือออกจากแลนด์บริดจ์ทุกนาที แต่เรือออกจากระนองไม่ได้มีทุกวัน และต้องเผื่อเวลาในการทำ transhipment ตามปกติสายเดินเรือกำหนดสัปดาห์ละประมาณ 1 เที่ยว แต่ในการศึกษากลับไม่คิดเรื่องระยะทาง กับเวลาในการขนส่ง ที่รวมเวลาในทะเล และเวลาที่ขนจากท่าเรือลงสู่เรือ
คำถามที่ 6 : สมมุติฐานว่าท่าเรือจะโตเร็วโดยใช้ข้อมูลแหลมฉบังเป็นกรณีฐาน และข้อมูลตันจุงเปเลปัสเป็นกรณีสูง นำไปสู่ข้อสรุปว่า เราต้องท่าเรือความจุ 20 ล้านตันสองท่า ข้อมูลจริงคือ ตันจุงเปเลปัสโตเฉลี่ยเพียงปีละ 19% ในช่วง 5 ปีแรก มีการลดค่าบริการลง 50% และมีข้อตกลงกับ MAERSK ว่าจะมาใช้บริการปีละไม่ต่ำกว่า 2 ล้านตู้
คำถามที่ 7 : ด้วยสมมุติฐานและประมาณการความต้องการใช้ landbridge ที่สูงเกินจริง ประกอบกับการรวมรายได้ที่ไม่ใช่รายได้ของ landbridge อย่าง Terminal Handling Charge เข้าไปอีก 2,800 บาท/ตู้ จึงต้องคำถามว่า ความเหมาะสมทางการเงินของโครงการยังอยู่ที่ 8.62% คืนทุนใน 24 ปี เป็นตัวเลขที่สมเหตุสมผลหรือไม่”
ทั้งนี้ น.ส.
ศิริกัญญายังได้ตอบกลับข้อความใต้โพสต์ดังกล่าวอีกว่า “
รีรันอีกรอบว่า ดิฉันยืนยันว่าเราต้องพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ จะเป็นการยกระดับท่าเรือระนอง รถไฟทางคู่สำหรับขนส่งสินค้า หรือการสร้างนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เห็นด้วยหมด แต่สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์ ในเมื่อรายงานการศึกษาความเป็นไปได้มันออกมาเป็นแบบนี้ คงจำเป็นต้องทบทวนกันใหม่ก่อนจะออกไปทำโรดโชว์ค่ะ
ถ้าใครบอกว่าเราไม่ต้องศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่า หรือยึดติดกับตัวเลข เราต้องใช้จินตนาการมากกว่า ดิฉันขออนุญาตตัดงบรายงานการศึกษาของ สนข.ฉบับนี้ ที่ของบสำหรับงวดสุดท้าย 5 ล้านบาทในงบปี’67 ท่านคงไม่ว่าอะไรนะคะ”
https://twitter.com/SirikanyaTansa1/status/1745693547532284122
โรม ชี้ต้องตัดตอน หลักสูตรคอนเนคชั่น เอาผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ออกให้ห่างนักธุรกิจ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4371551
โรม ชี้ต้องตัดตอน หลักสูตรคอนเนคชั่น เอาผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ออกให้ห่างๆนักธุรกิจ
เมื่อวันที่ 12 มกราคา 2567 นาย
รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้โพสต์ข้อเขียน เรื่อง
[ ถึงเวลายกเลิกหลักสูตร วปอ. – มินิวปอ. หรือยัง? ] ผ่านเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้
ตอนนี้มีหลายคนในสังคมกำลังตั้งข้อสงสัย เกี่ยวกับหลักสูตรวปอ. และมินิ วปอ. (วปอ.บอ.) เนื่องจากปรากฏชื่อของคุณแพรทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จากพรรคเพื่อไทย ลงสมัครเข้าเรียนหลักสูตรดังกล่าวด้วย
เดิมหลักสูตร วปอ. มีขึ้นมาตั้งแต่สมัยจอมพล ป. ที่จัดตั้งมาเพื่อให้ความรู้ในการป้องกันราชอาณาจักร แก่ข้าราชผู้ใหญ่ จากฝ่ายทหารและพลเรือน ซึ่งผมเชื่อว่า ความตั้งใจแต่แรกคือการอยากให้ทหารเข้าใจความคิดของพลเรือน พลเรือนเข้าใจความคิดของทหาร และแลกเปลี่ยนมุมมองด้านความมั่นคงเพื่อใช้ในการปกป้องประเทศ
แต่เมื่อมาถึงวันนี้ ผู้ที่เข้าร่วมหลักสูตรดังกล่าว กำหนดคุณสมบัติให้ผู้ที่มาจากกระบวนการยุติธรรม ผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ รวมทั้งพ่อค้า นักธุรกิจให้เข้ามาสู่หลักสูตรนี้ได้ จึงทำให้กลายเป็นพื้นที่ให้พ่อค้า นักธุรกิจ ที่มีเงินมีทรัพย์สิน เข้ามาแสวงหาสิ่งที่ไม่มีคืออำนาจบางอย่างที่ผู้มีอำนาจรัฐมี
การหาคอนเนคชั่นแบบนี้ ที่มีผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ อยู่ในเครือข่าย คือหลักสูตรที่สร้างความเสี่ยงต่อการนำคอนเนคชั่นมาใช้ในทางทุจริต โดยมีผลประโยชน์ของประชาชนเป็นเดิมพัน ทำให้ประเทศของเราอยู่ในอันตราย ทำให้กระบวนการยุติธรรมอยู่ในความเสี่ยง
แม้ว่าหลักสูตรมินิ วปอ. จะไม่มีผู้พิพากษา อัยการ ก็ตาม แต่สิ่งที่ยังคงอยู่คือการหวงห้ามความรู้ สงวนสิทธิ์เหล่านี้ให้แก่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น โดยอ้างอิงจากคำพูดของนายกฯว่า ผู้ที่จบหลักสูตร วปอ. คือ 1% ของประเทศนี้ หากประเทศของเราอยากสร้างความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ การเดินหน้าจัดหลักสูตรมินิ วปอ. ด้วยการกีดกันคุณสมบัติเช่นนี้ ยิ่งทำให้ 1% เหล่านี้เหนียวแน่นกัน ยิ่งตอกย้ำความเหลื่อมล้ำ และทำให้การเลือกปฏิบัติชัดเจนยิ่งขึ้นในสังคม
ดังนั้นหากเราจะให้หลักสูตรแบบนี้เดินหน้ากันต่อ ขั้นต่ำที่สุดที่เราต้องทำ คือการนำผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ออกจากหลักสูตร ตัดตอนเครือข่ายคอนเนคชั่น ให้นักธุรกิจออกห่างจากผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม หรือหากจะปฏิรูปหลักสูตรกันอย่างจริงจัง เราก็อาจจะตั้งเป็นมหาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ที่ดำเนินการวิชาการ มีการวัดผล และสุดท้ายไม่ว่าจะทำแนวทางไหน ก็ต้องเปิดให้บุคคลทั่วไปที่สนใจในเรื่องของความมั่นคง ที่นามสกุลไม่ดัง ได้มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ได้เท่าเทียมกัน
ผมยังเชื่อว่าในเนื้อหาของหลักสูตรวปอ. ยังมีส่วนที่น่าสนใจ ในเรื่องของความมั่นคงอยู่จริง แต่การมีอยู่ของวปอ.เช่นนี้ต่อไป ก็ทำให้ผลประโยชน์ของประชาชนอยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน เพื่อไม่ให้นำคอนเนคชั่นเหล่านี้ไปเอื้อการทุจริต เพื่อไม่ให้วิทยาลัยปัองกันราชอาณาจักร กลายเป็นวิทยาลัยกินรวบราชอาณาจักร ติดตามกันต่อไปครับ
https://www.facebook.com/rangsimanrome/posts/pfbid02bgwHjnuPjh1DcojHiVcEM4tDvha6Heqa36MxFqmi5B7DK7ohnvUeWWUfNgMggKeul
‘ถา ไอลอว์’ หวั่นคำถามซับซ้อน เสี่ยงไม่ผ่าน ท้ารัฐบาลลาออก ถ้าแก้รธน.ไม่สำเร็จ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4372744
‘ถา ไอลอว์’ หวั่นคำถามซับซ้อน เสี่ยงไม่ผ่าน ท้ารัฐบาลลาออก ถ้าแก้รัฐธรรมนูญไม่สำเร็จ
เมื่อวันที่ 12 มกราคม ที่อาคาร All Rise หมู่บ้านกลางเมือง แยกรัชดา-ลาดพร้าว กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ หรือ #Conforall แถลงถึงการเตรียมยื่นหนังสือขอเข้าพบ นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 15 มกราคมนี้ เพื่อหารือทางออกแนวทางคำถามประชามติ แก้รัฐธรรมนูญ
ในตอนหนึ่ง นาย
ณัชปกร นามเมือง หรือ ถา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) กล่าวถึง ประเด็นคำถาม ประชามติ เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยระบุว่า การถามคำถาม 1 คำถาม จะมี 2 ประเด็น ซึ่งมีแนวโน้มที่ผู้ออกเสียงจะเห็นด้วยประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เพียงแค่ประเด็นเดียว มีทั้งโหวตแบบเห็นชอบและไม่เห็นชอบ ซึ่งเราได้ทำโพลว่า ประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไร ‘
เห็นด้วยกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่’ ประชาชนโหวต ‘
Yes ’ ถ้าหากจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยไม่แก้กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 112 ทุกคนโหวต ‘
No’
“
เราเห็นว่าคำถามที่ใกล้เคียงกัน แต่เงื่อนไขที่แตกต่างกันก็จะโหวตไม่เหมือนกัน การตั้งคำถามในเชิงที่ซับซ้อน และเงื่อนไขที่ไม่ได้ยอมรับความคิดเห็นต่างๆ มันกลายเป็นแนวทางที่จะทำให้ประชามติไม่ผ่าน เพราะฉะนั้น ถ้ารัฐบาลยืนยันว่าตั้งคำถามแบบนี้และจะผ่าน และถ้าเกิดมันไม่ผ่าน เราคาดหวังอยากเห็นความรับผิดชอบของรัฐบาล เพราะสิ่งนี้คือนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล” นาย
ณัชปกรระบุ
นาย
ณัชปกรกล่าวต่อไปว่า สิ่งสำคัญในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลบอกชัดว่า ต้องการความเห็นที่แตกต่าง เราเห็นว่าทิศทางของคำถามเป็นการปฎิเสธความคิดเห็นที่แตกต่าง และข้อเรียกร้องพื้นฐานของเรานั้นไม่ได้ซับซ้อน เราถามแค่เลนส์เดียว จะถามหลายคำถามก็ได้แต่ถามแค่เลนส์เดียว อยากจะถามเรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 112 ก็ถามได้ แต่อย่าควบเงื่อนไขไปด้วยกัน ที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถแสดงเจตนารมณ์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ประชามติไม่ผ่าน เพราะเราเองก็ได้เดินทางไปพูดคุยกับเครือข่ายในประชาชนหลายๆ พื้นที่ และได้ทำโพลหลายพื้นที่ เราพบว่ามันมีก้อนความคิดเห็นแบบนี้อยู่เหมือนกัน ฉะนั้น ถ้าเราได้ไปหารือกับรัฐบาล ถ้านาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ยอมพบกับเรา
นาย
ณัชปกรเผยว่า เดิมมีการนัดหมายกันแล้ว วันที่ 15 มกราคมนี้ ทางเครือข่ายฯ จะได้พบกับ นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ซึ่งเป็นการหารือรอบแรก เพื่อที่นัดหมายได้เจอกับนายเศรษฐา ทวีสิน และ นายภูมิธรรม เวชยชัย ซึ่งก็จะได้รู้ว่าเราคิดเห็นอย่างไร มีปัญหาข้อกฎหมายอย่างไร สิ่งสำคัญมากกว่านั้นคือ เราต้องการความโปร่งใส่ และคำชี้แจงที่ชัดเจน ว่าปัญหาที่ทำให้ก้าวเข้ามาสู่ การทำประชามตินั้น คืออะไร
JJNY : 5in1 ศิริกัญญาทวีต 7คำถาม│โรมชี้ต้องตัดตอน│‘ถา ไอลอว์’หวั่นคำถามซับซ้อน│ทริสประกาศเครดิตITD│พลังงานหมุนเวียนไม่พอ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4372268
ศิริกัญญา ทวีต 7 คำถาม หลังลาออก กมธ.แลนด์บริดจ์ ที่ยังรอ สนข.มาตอบ
เมื่อวันที่ 12 มกราคม สืบเนื่องจากกรณี 4 ส.ส.พรรคก้าวไกล ลาออกจาก กมธ.แลนด์บริดจ์ ได้แก่ นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล นายจุลพงศ์ อยู่เกษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นักวิชาการ และที่ปรึกษาของพรรคก้าวไกล มีผลทันทีในวันนี้
ต่อมา นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล ได้ทวีตผ่านแอพพ์เอ็กซ์ Sirikanya Tansakun ข้อความว่า
“[7 คำถามที่ยังรอสนข.มาตอบ แม้จะไม่ได้เป็นกมธ.แลนด์บริดจ์]
โครงการแลนด์บริดจ์ฝากความหวังไว้ที่การถ่ายลำ 80% ขนส่งสินค้าจากไทยเพียง 20% เราจึงต้องโฟกัสเรื่องคาดการณ์สินค้าที่จะมาถ่ายลำเป็นหลัก
คำถามแรก : เส้นทางเดินเรือที่จะมาใช้ท่าเรือฝั่งระนอง มีการรวมเอาเส้นทางที่มีจุดหมายที่จะมาเอเชียใต้ (SA) ทั้งที่มาจากยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง จะมาใช้ท่าเรือฝั่งระนองทำไม ในเมื่อมี Port Colombo ที่เป็น hub และมีเรือ Direct service อยู่แล้ว หากไม่มีการเดินเรือจริงจะมีผลอย่างมากต่อประมาณการ เพราะยอดส่งออกนำเข้ารวมกัน 105.22 ล้านตัน
คำถามที่ 2 : เส้นทางเดินเรือที่จะมาใช้ท่าเรือฝั่งชุมพร มีการรวมเอาเส้นทางที่มีจุดหมายที่จะมาออสเตรเลีย (AUS) ทั้งที่มาจากเอเชียตะวันออก และอาเซียน สายเดินเรือจะมาใช้ท่าเรือฝั่งชุมพรทำไม ในเมื่อมีเรือ direct service ไปและมาจากท่าเรือในออสเตรเลีย และช่องแคบมะละกาใกล้กว่า หากไม่มีการเดินเรือจริงจะมีผลอย่างมากต่อประมาณการ เพราะยอดส่งออกนำเข้ารวมกัน 29.21 ล้านตัน
คำถามที่ 3 : เส้นทางเดินเรือที่จะมาใช้ท่าเรือฝั่งชุมพร มีการรวมเอาเส้นทางที่มีจุดหมายที่จะมาอาเซียน (ASEAN) สายเดินเรือที่จะมา ASEAN โซนล่าง อย่างอินโด มาเลย์ สิงคโปร์ จะมาใช้ท่าเรือฝั่งชุมพรทำไม ในเมื่อช่องแคบมะละกาใกล้กว่า
คำถามที่ 4 : ส่วนปริมาณสินค้าจากในประเทศ สรุปแล้วการศึกษารวมสินค้าเทกองหรือไม่ ในการศึกษาได้รวมสินค้าเหล่านั้นมาด้วย จากภาพแรกมาจากสไลด์ของรายงาน ซึ่งรวมสินค้าเทกองอย่างปูน ไม้ เหล็ก ถ้าไม่รวมสินค้าเทกองดีมานด์ในประเทศฝั่งระนองลดลงเหลือ 3.4 ล้านตู้ ดีมานด์ฝั่งชุมพรเหลือ 1 ล้านตู้
คำถามที่ 5 เหตุใด การถ่ายลำที่ Landbridge จึงไม่มีเวลาในการรอเรือและเผื่อเวลาถ่ายลำ
หากไม่ได้คิดเวลารอเรือเท่ากับมีเรือออกจากแลนด์บริดจ์ทุกนาที แต่เรือออกจากระนองไม่ได้มีทุกวัน และต้องเผื่อเวลาในการทำ transhipment ตามปกติสายเดินเรือกำหนดสัปดาห์ละประมาณ 1 เที่ยว แต่ในการศึกษากลับไม่คิดเรื่องระยะทาง กับเวลาในการขนส่ง ที่รวมเวลาในทะเล และเวลาที่ขนจากท่าเรือลงสู่เรือ
คำถามที่ 6 : สมมุติฐานว่าท่าเรือจะโตเร็วโดยใช้ข้อมูลแหลมฉบังเป็นกรณีฐาน และข้อมูลตันจุงเปเลปัสเป็นกรณีสูง นำไปสู่ข้อสรุปว่า เราต้องท่าเรือความจุ 20 ล้านตันสองท่า ข้อมูลจริงคือ ตันจุงเปเลปัสโตเฉลี่ยเพียงปีละ 19% ในช่วง 5 ปีแรก มีการลดค่าบริการลง 50% และมีข้อตกลงกับ MAERSK ว่าจะมาใช้บริการปีละไม่ต่ำกว่า 2 ล้านตู้
คำถามที่ 7 : ด้วยสมมุติฐานและประมาณการความต้องการใช้ landbridge ที่สูงเกินจริง ประกอบกับการรวมรายได้ที่ไม่ใช่รายได้ของ landbridge อย่าง Terminal Handling Charge เข้าไปอีก 2,800 บาท/ตู้ จึงต้องคำถามว่า ความเหมาะสมทางการเงินของโครงการยังอยู่ที่ 8.62% คืนทุนใน 24 ปี เป็นตัวเลขที่สมเหตุสมผลหรือไม่”
ทั้งนี้ น.ส.ศิริกัญญายังได้ตอบกลับข้อความใต้โพสต์ดังกล่าวอีกว่า “รีรันอีกรอบว่า ดิฉันยืนยันว่าเราต้องพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ จะเป็นการยกระดับท่าเรือระนอง รถไฟทางคู่สำหรับขนส่งสินค้า หรือการสร้างนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เห็นด้วยหมด แต่สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์ ในเมื่อรายงานการศึกษาความเป็นไปได้มันออกมาเป็นแบบนี้ คงจำเป็นต้องทบทวนกันใหม่ก่อนจะออกไปทำโรดโชว์ค่ะ
ถ้าใครบอกว่าเราไม่ต้องศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่า หรือยึดติดกับตัวเลข เราต้องใช้จินตนาการมากกว่า ดิฉันขออนุญาตตัดงบรายงานการศึกษาของ สนข.ฉบับนี้ ที่ของบสำหรับงวดสุดท้าย 5 ล้านบาทในงบปี’67 ท่านคงไม่ว่าอะไรนะคะ”
https://twitter.com/SirikanyaTansa1/status/1745693547532284122
โรม ชี้ต้องตัดตอน หลักสูตรคอนเนคชั่น เอาผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ออกให้ห่างนักธุรกิจ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4371551
โรม ชี้ต้องตัดตอน หลักสูตรคอนเนคชั่น เอาผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ออกให้ห่างๆนักธุรกิจ
เมื่อวันที่ 12 มกราคา 2567 นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้โพสต์ข้อเขียน เรื่อง [ ถึงเวลายกเลิกหลักสูตร วปอ. – มินิวปอ. หรือยัง? ] ผ่านเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้
ตอนนี้มีหลายคนในสังคมกำลังตั้งข้อสงสัย เกี่ยวกับหลักสูตรวปอ. และมินิ วปอ. (วปอ.บอ.) เนื่องจากปรากฏชื่อของคุณแพรทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จากพรรคเพื่อไทย ลงสมัครเข้าเรียนหลักสูตรดังกล่าวด้วย
เดิมหลักสูตร วปอ. มีขึ้นมาตั้งแต่สมัยจอมพล ป. ที่จัดตั้งมาเพื่อให้ความรู้ในการป้องกันราชอาณาจักร แก่ข้าราชผู้ใหญ่ จากฝ่ายทหารและพลเรือน ซึ่งผมเชื่อว่า ความตั้งใจแต่แรกคือการอยากให้ทหารเข้าใจความคิดของพลเรือน พลเรือนเข้าใจความคิดของทหาร และแลกเปลี่ยนมุมมองด้านความมั่นคงเพื่อใช้ในการปกป้องประเทศ
แต่เมื่อมาถึงวันนี้ ผู้ที่เข้าร่วมหลักสูตรดังกล่าว กำหนดคุณสมบัติให้ผู้ที่มาจากกระบวนการยุติธรรม ผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ รวมทั้งพ่อค้า นักธุรกิจให้เข้ามาสู่หลักสูตรนี้ได้ จึงทำให้กลายเป็นพื้นที่ให้พ่อค้า นักธุรกิจ ที่มีเงินมีทรัพย์สิน เข้ามาแสวงหาสิ่งที่ไม่มีคืออำนาจบางอย่างที่ผู้มีอำนาจรัฐมี
การหาคอนเนคชั่นแบบนี้ ที่มีผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ อยู่ในเครือข่าย คือหลักสูตรที่สร้างความเสี่ยงต่อการนำคอนเนคชั่นมาใช้ในทางทุจริต โดยมีผลประโยชน์ของประชาชนเป็นเดิมพัน ทำให้ประเทศของเราอยู่ในอันตราย ทำให้กระบวนการยุติธรรมอยู่ในความเสี่ยง
แม้ว่าหลักสูตรมินิ วปอ. จะไม่มีผู้พิพากษา อัยการ ก็ตาม แต่สิ่งที่ยังคงอยู่คือการหวงห้ามความรู้ สงวนสิทธิ์เหล่านี้ให้แก่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น โดยอ้างอิงจากคำพูดของนายกฯว่า ผู้ที่จบหลักสูตร วปอ. คือ 1% ของประเทศนี้ หากประเทศของเราอยากสร้างความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ การเดินหน้าจัดหลักสูตรมินิ วปอ. ด้วยการกีดกันคุณสมบัติเช่นนี้ ยิ่งทำให้ 1% เหล่านี้เหนียวแน่นกัน ยิ่งตอกย้ำความเหลื่อมล้ำ และทำให้การเลือกปฏิบัติชัดเจนยิ่งขึ้นในสังคม
ดังนั้นหากเราจะให้หลักสูตรแบบนี้เดินหน้ากันต่อ ขั้นต่ำที่สุดที่เราต้องทำ คือการนำผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ออกจากหลักสูตร ตัดตอนเครือข่ายคอนเนคชั่น ให้นักธุรกิจออกห่างจากผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม หรือหากจะปฏิรูปหลักสูตรกันอย่างจริงจัง เราก็อาจจะตั้งเป็นมหาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ที่ดำเนินการวิชาการ มีการวัดผล และสุดท้ายไม่ว่าจะทำแนวทางไหน ก็ต้องเปิดให้บุคคลทั่วไปที่สนใจในเรื่องของความมั่นคง ที่นามสกุลไม่ดัง ได้มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ได้เท่าเทียมกัน
ผมยังเชื่อว่าในเนื้อหาของหลักสูตรวปอ. ยังมีส่วนที่น่าสนใจ ในเรื่องของความมั่นคงอยู่จริง แต่การมีอยู่ของวปอ.เช่นนี้ต่อไป ก็ทำให้ผลประโยชน์ของประชาชนอยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน เพื่อไม่ให้นำคอนเนคชั่นเหล่านี้ไปเอื้อการทุจริต เพื่อไม่ให้วิทยาลัยปัองกันราชอาณาจักร กลายเป็นวิทยาลัยกินรวบราชอาณาจักร ติดตามกันต่อไปครับ
https://www.facebook.com/rangsimanrome/posts/pfbid02bgwHjnuPjh1DcojHiVcEM4tDvha6Heqa36MxFqmi5B7DK7ohnvUeWWUfNgMggKeul
‘ถา ไอลอว์’ หวั่นคำถามซับซ้อน เสี่ยงไม่ผ่าน ท้ารัฐบาลลาออก ถ้าแก้รธน.ไม่สำเร็จ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4372744
‘ถา ไอลอว์’ หวั่นคำถามซับซ้อน เสี่ยงไม่ผ่าน ท้ารัฐบาลลาออก ถ้าแก้รัฐธรรมนูญไม่สำเร็จ
เมื่อวันที่ 12 มกราคม ที่อาคาร All Rise หมู่บ้านกลางเมือง แยกรัชดา-ลาดพร้าว กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ หรือ #Conforall แถลงถึงการเตรียมยื่นหนังสือขอเข้าพบ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 15 มกราคมนี้ เพื่อหารือทางออกแนวทางคำถามประชามติ แก้รัฐธรรมนูญ
ในตอนหนึ่ง นายณัชปกร นามเมือง หรือ ถา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) กล่าวถึง ประเด็นคำถาม ประชามติ เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยระบุว่า การถามคำถาม 1 คำถาม จะมี 2 ประเด็น ซึ่งมีแนวโน้มที่ผู้ออกเสียงจะเห็นด้วยประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เพียงแค่ประเด็นเดียว มีทั้งโหวตแบบเห็นชอบและไม่เห็นชอบ ซึ่งเราได้ทำโพลว่า ประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไร ‘เห็นด้วยกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่’ ประชาชนโหวต ‘ Yes ’ ถ้าหากจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยไม่แก้กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 112 ทุกคนโหวต ‘No’
“เราเห็นว่าคำถามที่ใกล้เคียงกัน แต่เงื่อนไขที่แตกต่างกันก็จะโหวตไม่เหมือนกัน การตั้งคำถามในเชิงที่ซับซ้อน และเงื่อนไขที่ไม่ได้ยอมรับความคิดเห็นต่างๆ มันกลายเป็นแนวทางที่จะทำให้ประชามติไม่ผ่าน เพราะฉะนั้น ถ้ารัฐบาลยืนยันว่าตั้งคำถามแบบนี้และจะผ่าน และถ้าเกิดมันไม่ผ่าน เราคาดหวังอยากเห็นความรับผิดชอบของรัฐบาล เพราะสิ่งนี้คือนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล” นายณัชปกรระบุ
นายณัชปกรกล่าวต่อไปว่า สิ่งสำคัญในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลบอกชัดว่า ต้องการความเห็นที่แตกต่าง เราเห็นว่าทิศทางของคำถามเป็นการปฎิเสธความคิดเห็นที่แตกต่าง และข้อเรียกร้องพื้นฐานของเรานั้นไม่ได้ซับซ้อน เราถามแค่เลนส์เดียว จะถามหลายคำถามก็ได้แต่ถามแค่เลนส์เดียว อยากจะถามเรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 112 ก็ถามได้ แต่อย่าควบเงื่อนไขไปด้วยกัน ที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถแสดงเจตนารมณ์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ประชามติไม่ผ่าน เพราะเราเองก็ได้เดินทางไปพูดคุยกับเครือข่ายในประชาชนหลายๆ พื้นที่ และได้ทำโพลหลายพื้นที่ เราพบว่ามันมีก้อนความคิดเห็นแบบนี้อยู่เหมือนกัน ฉะนั้น ถ้าเราได้ไปหารือกับรัฐบาล ถ้านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ยอมพบกับเรา
นายณัชปกรเผยว่า เดิมมีการนัดหมายกันแล้ว วันที่ 15 มกราคมนี้ ทางเครือข่ายฯ จะได้พบกับ นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ซึ่งเป็นการหารือรอบแรก เพื่อที่นัดหมายได้เจอกับนายเศรษฐา ทวีสิน และ นายภูมิธรรม เวชยชัย ซึ่งก็จะได้รู้ว่าเราคิดเห็นอย่างไร มีปัญหาข้อกฎหมายอย่างไร สิ่งสำคัญมากกว่านั้นคือ เราต้องการความโปร่งใส่ และคำชี้แจงที่ชัดเจน ว่าปัญหาที่ทำให้ก้าวเข้ามาสู่ การทำประชามตินั้น คืออะไร