คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล ประธานองค์การรถไฟฟ้ามหานคร ปี 2537 ได้ผลักดันใช้คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ เมื่อ 17 พฤษภาคม 2537 เรื่อง
พื้นที่ ❝ต้อง❞ สร้างระบบใต้ดิน คือ ส่วนกลาง 25 ตารางเมตร
และ พื้นที่ ❝ควร❞ สร้างระบบใต้ดิน คือ 87 ตารางกิโลเมตร
เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม และ อุบัติเหตุต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ต่อเนื่องตลอดอายุการใช้งานของระบบรถไฟฟ้า
ในฐานะลูกสาวของคุณพ่อ ข้าพเจ้าทราบดีถึงการทำงานแบบปิดทองหลังพระ ปรารถนาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน อย่างยั่งยืน ดังนั้นทุกสิ่งซึ่งคุณพ่อทำจะผ่านกระบวนการศึกษาความเป็นไปได้ สิ่งยังคงปรากฎ ออนไลน์ในปัจจุบันเช่น โครงการศึกษารถไฟความเร็วสูงในปี2537 ซึ่งการทางพิเศษเเห่งประเทศไทยได้มอบหมายให้สภาพัฒน์ฯ ในยุค ดร.พิสิษฐ์ เป็นผู้ดูแลการศึกษาความเป็นไปได้
https://www.nesdc.go.th/suvarnabhumi/articles_center/rapid_train_in_thailand/rapid_train_summary%20-%20march2537.pdf
พันธกิจของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยนอกเหนือจากทางพิเศษแล้วยังมีรางพิเศษด้วยค่ะ ดังนั้นเมื่อคุณพ่อได้รับเชิญมาแก้ไขปัญหาจราจร เมื่อมิถุนายน 2536 ในฐานะผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นตั้งมา21 ปี แต่มีทางด่วนบริการประชาชนเพียง 27.1 กิโลเมตร มีระบบขนส่งมวลชนร้าง คือ ลาวาลิน และ โฮปเวลล์ เนื่องจากไม่มีการศึกษาความเป็นไปได้และจัดทำแผนอย่างถูกต้อง ขออนุญาตให้ข้อมูลตรงนี้ว่า เป็นจุดเริ่มต้นของคุณพ่อในการผลักดันให้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 รวมภารกิจในการปฏิรูปราชการ และภายหลังได้ถูกเขียนให้เป็นภารกิจของรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540ด้วยค่ะ
ในที่สุดคุณพ่อสามารถผลักดันแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑลให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบได้สำเร็จเมื่อ 27 กันยายน 2537 และ กรุงเทพมหานครจึงมีรถไฟฟ้าสายแรก ซึ่งขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรี 17 พฤษภาคม 2537 หรือ ได้ตัดส่วนซึ่งได้รับผลประโยชน์สูงสุด ของแผนแม่บท MRT ไปเป็น BTS
ข้าพเจ้าเขียนกระทู้นี้เนื่องจากมีอุบัติเหตุวัสดุตกของรถไฟฟ้า 2 สี วันที่ 24 ธันวาคม 2566 และ สีเหลืองเมื่อวานค่ะ
การยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี 17 พฤษภาคม 2537
พื้นที่ ❝ต้อง❞ สร้างระบบใต้ดิน คือ ส่วนกลาง 25 ตารางเมตร
และ พื้นที่ ❝ควร❞ สร้างระบบใต้ดิน คือ 87 ตารางกิโลเมตร
เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม และ อุบัติเหตุต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ต่อเนื่องตลอดอายุการใช้งานของระบบรถไฟฟ้า
ในฐานะลูกสาวของคุณพ่อ ข้าพเจ้าทราบดีถึงการทำงานแบบปิดทองหลังพระ ปรารถนาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน อย่างยั่งยืน ดังนั้นทุกสิ่งซึ่งคุณพ่อทำจะผ่านกระบวนการศึกษาความเป็นไปได้ สิ่งยังคงปรากฎ ออนไลน์ในปัจจุบันเช่น โครงการศึกษารถไฟความเร็วสูงในปี2537 ซึ่งการทางพิเศษเเห่งประเทศไทยได้มอบหมายให้สภาพัฒน์ฯ ในยุค ดร.พิสิษฐ์ เป็นผู้ดูแลการศึกษาความเป็นไปได้ https://www.nesdc.go.th/suvarnabhumi/articles_center/rapid_train_in_thailand/rapid_train_summary%20-%20march2537.pdf
พันธกิจของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยนอกเหนือจากทางพิเศษแล้วยังมีรางพิเศษด้วยค่ะ ดังนั้นเมื่อคุณพ่อได้รับเชิญมาแก้ไขปัญหาจราจร เมื่อมิถุนายน 2536 ในฐานะผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นตั้งมา21 ปี แต่มีทางด่วนบริการประชาชนเพียง 27.1 กิโลเมตร มีระบบขนส่งมวลชนร้าง คือ ลาวาลิน และ โฮปเวลล์ เนื่องจากไม่มีการศึกษาความเป็นไปได้และจัดทำแผนอย่างถูกต้อง ขออนุญาตให้ข้อมูลตรงนี้ว่า เป็นจุดเริ่มต้นของคุณพ่อในการผลักดันให้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 รวมภารกิจในการปฏิรูปราชการ และภายหลังได้ถูกเขียนให้เป็นภารกิจของรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540ด้วยค่ะ
ในที่สุดคุณพ่อสามารถผลักดันแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑลให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบได้สำเร็จเมื่อ 27 กันยายน 2537 และ กรุงเทพมหานครจึงมีรถไฟฟ้าสายแรก ซึ่งขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรี 17 พฤษภาคม 2537 หรือ ได้ตัดส่วนซึ่งได้รับผลประโยชน์สูงสุด ของแผนแม่บท MRT ไปเป็น BTS
ข้าพเจ้าเขียนกระทู้นี้เนื่องจากมีอุบัติเหตุวัสดุตกของรถไฟฟ้า 2 สี วันที่ 24 ธันวาคม 2566 และ สีเหลืองเมื่อวานค่ะ