“พิธา” ประเมินการเมืองปีหน้ายังพอไปได้ ถ้ารัฐบาลมีความสามารถ-แผนการชัด-เรียงลำดับปัญหา
https://ch3plus.com/news/political/morning/380672
“พิธา” ประเมินการเมืองปีหน้ายังพอไปได้ ถ้ารัฐบาลมีความสามารถ-แผนการชัด-เรียงลำดับปัญหา เย้ย หากประชาชนทุกข์ร้อน เขาจะนึกถึงเลือกตั้งปีนี้ที่เป็นเจตจำนงประชาชน ห่วงช่วงเปลี่ยนผ่าน สว. กฎหมายสำคัญตกค้าง ผ่านสภาฯล่างแล้วแต่ติดที่สภาฯสูง
31 ธ.ค. 2566 นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ในโอกาสขึ้นปีใหม่กับทีมข่าวการเมือง ช่อง 3 ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปีหน้า (พ.ศ.2567) ว่า การประเมินขึ้นอยู่กับปัจจัย 2-3 อย่าง อย่างแรกคือความสามารถของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาประชาชน ซึ่งจะมีปัญหาเก่าที่ค้างคามา รวมถึงสถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์โลก เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม ปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลกที่เกิดขึ้น ก็น่าจะมีผลต่อความทุกข์ร้อนของประชาชน เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องสังคม
เพราะฉะนั้น เสถียรภาพทางการเมืองจะเกิดขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเรื่องของในสภาฯ และเรื่องการขยับของนักการเมืองเอง ขณะเดียวกันก็มีปัญหาข้างนอก รวมไปถึงการบริหาร การเรียงลำดับความสำคัญ การมีแผนการที่ชัดเจนในการแก้ปัญหา การใช้งบประมาณแผ่นดินที่มาจากภาษีประชาชนให้มันถูกจุด ถ้าทำให้ดีก็จะยังเห็นว่าการเมืองจะยังพอไปได้
“
ขณะเดียวกันถ้าเกิดขึ้นตรงกันข้าม ประชาชนทุกข์ร้อน เดือดร้อน มันก็จะทำให้นึกถึงปีนี้ที่มันเป็นเจตจำนงของประชาชนที่มีการผ่านการเลือกตั้งว่าอยากเห็นใครเข้ามาบริหาร ก็เป็นข้อที่น่ากังวลใจพอสมควร” นาย
พิธา กล่าว
เมื่อถามว่าเดือน พ.ค. ปีหน้า สมาชิกวุฒิสภา (สว.) จะหมดวาระ มองการเมืองช่วงนั้นอย่างไร นาย
พิธา กล่าวว่า ก็เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน สว.ไปในช่วงต่อไป ตนกังวลเรื่องเฉพาะหน้าเกี่ยวกับกฎหมายหลายฉบับที่พอผ่านสภาฯล่างไปแล้ว ก็ต้องเข้าสู่สภาฯสูง คิดเร็วๆ ก็อย่างเช่น พ.ร.บ.อุ้มหายและซ้อมทรมาน สมรสเท่าเทียม ที่ถึงแม้จะผ่านวาระ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร สุดท้ายต้องขึ้นอยู่กับวุฒิสภา หากกฎหมายพวกนี้ผ่านเข้าสู่วุฒิสภาให้ สว.ได้พิจารณาในช่วงต้นปี ก่อนที่จะหมดวาระได้ คงมีโอกาสผ่านได้ง่าย
ปภ.รายงาน อุทกภัย 5 จชต. จม 34 อำเภอ ประชาชน 109,282 ครัวเรือน รับผลกระทบ เร่งช่วยเหลือเต็มกำลัง
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_8032869
ปภ.รายงาน สถานการณ์อุทกภัย พื้นที่ 5 จชต. จม 34 อำเภอ 196 ตำบล 1,324 หมู่บ้าน ประชาชน 109,282 ครัวเรือน รับผลกระทบ เร่งนำเครื่องจักรกล สาธารณภัย เข้าช่วยเหลือเต็มกำลัง
31 ธ.ค. 66 – ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส และ จ.ยะลา
ภาพรวมระดับน้ำลดลง ประสานพื้นที่และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่รับผิดชอบและพื้นที่ใกล้เคียง ระดมกำลังเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย เพื่อเร่งคลี่คลายสถานการณ์และให้การช่วยเหลือประชาชน ส่วนพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว เร่งฟื้นฟูพื้นที่ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพื่อประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว
นาย
ไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณเกาะสุมาตราและทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมาก
ส่งผลให้ระหว่างวันที่ 22 – 31 ธันวาคม 2566 มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 5 จังหวัด ได้แก่ จ.สตูล จ.สงขลา จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส รวม 34 อำเภอ 196 ตำบล 1,324 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบจำนวน 109,282 ครัวเรือน
โดยปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 31 ธ.ค. 66 เวลา 06.00 น.) ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ รวม 3 จังหวัด 10 อำเภอ 36 ตำบล 106 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,469 ครัวเรือน แยกเป็น
1. ปัตตานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอกะพ้อ อำเภอหนองจิก และอำเภอสายบุรี รวม 27 ตำบล 84 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 10,710 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2. นราธิวาส เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอตากใบ และอำเภอสุไหงโก-ลก รวม 7 ตำบล 20 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 1,653 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
และ 3. ยะลา น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยะลา และอำเภอรามัน รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 106 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ภาพรวมสถานการณ์ระดับน้ำลดลงเกือบทุกพื้นที่ สำหรับการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้ประสานขอรับการสนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยจากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่รับผิดชอบและพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 12 จ.สงขลา เขต 11 จ.สุราษฎร์ธานี และเขต 18 จ.ภูเก็ต รวมถึงประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน
โดยได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพร้อมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย อาทิ เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัย รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถผลิตน้ำดื่ม รถขุดตักไฮดรอลิค และเรือท้องแบน เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาโดยการระบายน้ำ และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”
เปิดการลงทุนปี 2567 อินเดีย - เวียดนาม เศรษฐกิจโต จีนส่อชะลอตัวจากภาคอสังหาฯ
https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1106267
การลงทุนในปี 2567 ถือได้ว่าเป็นปีที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้น่าสนใจอีกปี อินเดีย - เวียดนาม เศรษฐกิจโต จีนส่อชะลอตัวต่อเนื่องจากภาคอสังหาฯ ทิศทางการลงทุนปี 2567 การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงดูเหมือนมีแนวโน้มเป็นบวก โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยขาลง เช่น กลุ่มเติบโต และกลุ่มเทคโนโลยีฯ ขณะที่ในฝั่งตลาดหุ้นเอเชีย “กูรู” แนะควรกระจายการลงทุนออกจากจีนมากขึ้น เช่น ตลาดหุ้นอินเดีย และเวียดนาม
บดินทร์ พุทธอินทร์ ผู้อำนวยการส่วนกลยุทธ์การลงทุน ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลกับกรุงเทพธุรกิจว่า มุมมองการลงทุนในปี 2567 ถือได้ว่าเป็นปีที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้น่าสนใจอีกปี แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนในช่วงครึ่งปีแรกกับครึ่งปีหลังก็เป็นไปได้ที่อาจจะเป็นหนังคนละม้วน เนื่องจากจะเริ่มเห็นภาพความเสี่ยง และความผันผวนที่มาจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เริ่มชัดขึ้น ซึ่งเป็นผลจากเรื่องของการเลือกตั้งในหลายประเทศ ทั้งไต้หวัน อินโดนีเซีย อินเดีย และสหรัฐฯ รวมถึงมีโอกาสที่เกิดภาพของ Mini Rotation ของตราสารหนี้ที่อาจกลับมาโดดเด่น
มุมมองการลงทุนในปี 2567
สำหรับภาพรวมการลงทุนในปี 2567 มองว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด และการทำ soft landing จะยังคงเป็นปัจจัยหนุนให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ในปี 2567 นอกจากนี้จากสถิติของตลาดหุ้นสหรัฐฯแล้ว ในปีที่มีการเลือกตั้งตลอดช่วง 60 ปีที่ผ่านมา ดัชนี S&P500 สามารถปรับตัวขึ้นได้เกือบทุกครั้ง ยกเว้นแค่การเลือกตั้งในปี 2000 และ 2008 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
ส่วนในฝั่งยุโรปแม้ว่าจะมีโอกาสเข้าสู่ภาวะ technical recession ในไตรมาส 4/66 นี้ แต่ด้วย valuation ที่อยู่ในระดับต่ำ ประกอบการมุมมองการลดดอกเบี้ยของ ECB ในปี 2567 ส่งผลให้ downside ของตลาดหุ้นมีจำกัด และมีโอกาสฟื้นตัวได้เมื่อเศรษฐกิจกลับมาเติบโตอีกครั้ง ขณะที่อีกประเทศนึงในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วที่ควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดคือญี่ปุ่นอาจเผชิญแรงเทขายทำกำไรได้เมื่อ BoJ มีการปรับแนวทางการใช้นโยบายการเงิน แต่อย่างไรก็ตามจากการคาดการณ์กำไรในปีหน้าที่เติบโตได้ดีอาจทำให้ผลกระทบส่วนนี้ลดลง
ขณะที่ในฝั่งประเทศกำลังพัฒนานั้น เรายังชื่นชอบตลาดหุ้นเอเชียต่อเนื่องโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอินเดีย และเวียดนามที่ได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตออกจากจีน รวมถึงตลาดหุ้นเกาหลีใต้และไต้หวันที่ได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากเทรนด์ของปัญญาประดิษฐ์ที่เข้ามากระตุ้นความต้องการชิปประมวลขั้นสูงอีกเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงหลักของภูมิภาคนี้จะยังคงอยู่ที่การเติบโตของประเทศจีน ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตต่ำลงในปี 2567 หลังนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจยังคงออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และนโยบายขนานใหญ่ที่ออกมา เช่น นโยบายขาดดุลการคลัง 1 ล้านล้านหยวน, นโยบายกระตุ้นภาคอสังหาฯ และการอัดฉีดสภาพคล่องด้วยวงเงินสถิติ นั้นยังไม่ค่อยเห็นผลชัดเจนมากนักเนื่องจากเพิ่งมมีการประกาศออกมาในไตรมาส 4/66 นี้ ทำให้เรามองว่าน่าจะต้องใช้เวลาอีกซักระยะจนกว่านโยบายที่ประกาศออกมาจะเริ่มเห็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของนักลงทุน
อีกสินทรัพย์ที่เรามองว่ามีโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีคือกลุ่มของตราสารหนี้ โดยเฉพาะตราสารหนี้โลก เนื่องจากทั้ง FED และ ECB มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2567 หลังจากเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่ปี 2565 ทำให้ในตอนนี้ตราสารหนี้มีอัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับสูง และมีโอกาสได้รับ capital gain เมื่ออัตราดอกเบี้ยกลับทิศเป็นขาลงอีกเช่นกัน โดยกลุ่มที่เราชื่นชอบได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ investment grade ขณะที่กลุ่มที่เราแนะนำให้ระมัดระวังคือตราสารหนี้ในกลุ่ม High Yield เนื่องจากมีแนวโน้มที่อัตราการผิดนัดชำระหนี้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจในกลุ่ม DM จะเติบโตแบบชะลอตัวลง
ในด้านสินค้าโภคภัณฑ์อย่างทองคำที่ปี 2566 ทำผลตอบแทนได้เกือบ 15% และในช่วงต้นปี 2567 อาจได้ปรโยชน์ช่วงสั้นๆจากดอลลาร์ที่อ่อนค่า แต่โดยรวมอาจไม่ได้โดดเด่นเท่ากับปีที่ผ่านมาซึ่งอาจเป็นภาพไซด์เวย์ในปี 2567 ขณะที่น้ำมันดิบเราคาดว่าจากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวอาจทำให้ความต้องการการใช้น้ำมันไม่ได้เพิ่มขึ้น ส่งผลราคาพลังงานน่าจะวิ่งอยู่ในระดับ 70-80 เหรียญ/บาร์เรลล์ในปีหน้า
“
ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปี 2566 และในส่วนของเศรษฐกิจสหรัฐฯสามารถ Soft Landing ได้ แต่ยังมีความเสี่ยงที่ยังจะเกิดเศรษฐกิจถดถอยแบบบางๆ หรือ Mild Recession ได้อยู่บ้าง แต่จากการคาดการณ์ถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งด้านการเงินและด้านการคลัง อาจทำให้ภาวะถดถอยนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วระยะ แต่ในขณะที่กลุ่มประเทศในเอเชียอย่าง อินเดีย และเวียดนาม มีแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ยังเติบโตได้ในระดับ 6% และอาจได้ประโยชน์ในแง่ของ Global Supply Chain ที่เริ่มเข้ามายังอินเดียและเวียดนามที่เพิ่มขึ้น จากกรณีที่จีนยังมีแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากภาคอสังหาฯ”
JJNY : “พิธา”ประเมินการเมืองปีหน้า│ปภ.รายงานอุทกภัย5จชต.│เปิดการลงทุนปี 2567│เกาหลีเหนือลั่น“ไม่ประนีประนอม-ไม่รวมชาติ”
https://ch3plus.com/news/political/morning/380672
“พิธา” ประเมินการเมืองปีหน้ายังพอไปได้ ถ้ารัฐบาลมีความสามารถ-แผนการชัด-เรียงลำดับปัญหา เย้ย หากประชาชนทุกข์ร้อน เขาจะนึกถึงเลือกตั้งปีนี้ที่เป็นเจตจำนงประชาชน ห่วงช่วงเปลี่ยนผ่าน สว. กฎหมายสำคัญตกค้าง ผ่านสภาฯล่างแล้วแต่ติดที่สภาฯสูง
31 ธ.ค. 2566 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ในโอกาสขึ้นปีใหม่กับทีมข่าวการเมือง ช่อง 3 ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปีหน้า (พ.ศ.2567) ว่า การประเมินขึ้นอยู่กับปัจจัย 2-3 อย่าง อย่างแรกคือความสามารถของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาประชาชน ซึ่งจะมีปัญหาเก่าที่ค้างคามา รวมถึงสถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์โลก เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม ปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลกที่เกิดขึ้น ก็น่าจะมีผลต่อความทุกข์ร้อนของประชาชน เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องสังคม
เพราะฉะนั้น เสถียรภาพทางการเมืองจะเกิดขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเรื่องของในสภาฯ และเรื่องการขยับของนักการเมืองเอง ขณะเดียวกันก็มีปัญหาข้างนอก รวมไปถึงการบริหาร การเรียงลำดับความสำคัญ การมีแผนการที่ชัดเจนในการแก้ปัญหา การใช้งบประมาณแผ่นดินที่มาจากภาษีประชาชนให้มันถูกจุด ถ้าทำให้ดีก็จะยังเห็นว่าการเมืองจะยังพอไปได้
“ขณะเดียวกันถ้าเกิดขึ้นตรงกันข้าม ประชาชนทุกข์ร้อน เดือดร้อน มันก็จะทำให้นึกถึงปีนี้ที่มันเป็นเจตจำนงของประชาชนที่มีการผ่านการเลือกตั้งว่าอยากเห็นใครเข้ามาบริหาร ก็เป็นข้อที่น่ากังวลใจพอสมควร” นายพิธา กล่าว
เมื่อถามว่าเดือน พ.ค. ปีหน้า สมาชิกวุฒิสภา (สว.) จะหมดวาระ มองการเมืองช่วงนั้นอย่างไร นายพิธา กล่าวว่า ก็เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน สว.ไปในช่วงต่อไป ตนกังวลเรื่องเฉพาะหน้าเกี่ยวกับกฎหมายหลายฉบับที่พอผ่านสภาฯล่างไปแล้ว ก็ต้องเข้าสู่สภาฯสูง คิดเร็วๆ ก็อย่างเช่น พ.ร.บ.อุ้มหายและซ้อมทรมาน สมรสเท่าเทียม ที่ถึงแม้จะผ่านวาระ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร สุดท้ายต้องขึ้นอยู่กับวุฒิสภา หากกฎหมายพวกนี้ผ่านเข้าสู่วุฒิสภาให้ สว.ได้พิจารณาในช่วงต้นปี ก่อนที่จะหมดวาระได้ คงมีโอกาสผ่านได้ง่าย
ปภ.รายงาน อุทกภัย 5 จชต. จม 34 อำเภอ ประชาชน 109,282 ครัวเรือน รับผลกระทบ เร่งช่วยเหลือเต็มกำลัง
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_8032869
ปภ.รายงาน สถานการณ์อุทกภัย พื้นที่ 5 จชต. จม 34 อำเภอ 196 ตำบล 1,324 หมู่บ้าน ประชาชน 109,282 ครัวเรือน รับผลกระทบ เร่งนำเครื่องจักรกล สาธารณภัย เข้าช่วยเหลือเต็มกำลัง
31 ธ.ค. 66 – ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส และ จ.ยะลา
ภาพรวมระดับน้ำลดลง ประสานพื้นที่และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่รับผิดชอบและพื้นที่ใกล้เคียง ระดมกำลังเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย เพื่อเร่งคลี่คลายสถานการณ์และให้การช่วยเหลือประชาชน ส่วนพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว เร่งฟื้นฟูพื้นที่ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพื่อประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว
นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณเกาะสุมาตราและทะเลอันดามันตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมาก
ส่งผลให้ระหว่างวันที่ 22 – 31 ธันวาคม 2566 มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 5 จังหวัด ได้แก่ จ.สตูล จ.สงขลา จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส รวม 34 อำเภอ 196 ตำบล 1,324 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบจำนวน 109,282 ครัวเรือน
โดยปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 31 ธ.ค. 66 เวลา 06.00 น.) ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ รวม 3 จังหวัด 10 อำเภอ 36 ตำบล 106 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,469 ครัวเรือน แยกเป็น
1. ปัตตานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอกะพ้อ อำเภอหนองจิก และอำเภอสายบุรี รวม 27 ตำบล 84 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 10,710 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
2. นราธิวาส เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอตากใบ และอำเภอสุไหงโก-ลก รวม 7 ตำบล 20 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 1,653 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
และ 3. ยะลา น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยะลา และอำเภอรามัน รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 106 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ภาพรวมสถานการณ์ระดับน้ำลดลงเกือบทุกพื้นที่ สำหรับการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้ประสานขอรับการสนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยจากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่รับผิดชอบและพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 12 จ.สงขลา เขต 11 จ.สุราษฎร์ธานี และเขต 18 จ.ภูเก็ต รวมถึงประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน
โดยได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพร้อมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย อาทิ เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัย รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถผลิตน้ำดื่ม รถขุดตักไฮดรอลิค และเรือท้องแบน เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาโดยการระบายน้ำ และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”
เปิดการลงทุนปี 2567 อินเดีย - เวียดนาม เศรษฐกิจโต จีนส่อชะลอตัวจากภาคอสังหาฯ
https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1106267
การลงทุนในปี 2567 ถือได้ว่าเป็นปีที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้น่าสนใจอีกปี อินเดีย - เวียดนาม เศรษฐกิจโต จีนส่อชะลอตัวต่อเนื่องจากภาคอสังหาฯ ทิศทางการลงทุนปี 2567 การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงดูเหมือนมีแนวโน้มเป็นบวก โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยขาลง เช่น กลุ่มเติบโต และกลุ่มเทคโนโลยีฯ ขณะที่ในฝั่งตลาดหุ้นเอเชีย “กูรู” แนะควรกระจายการลงทุนออกจากจีนมากขึ้น เช่น ตลาดหุ้นอินเดีย และเวียดนาม
บดินทร์ พุทธอินทร์ ผู้อำนวยการส่วนกลยุทธ์การลงทุน ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลกับกรุงเทพธุรกิจว่า มุมมองการลงทุนในปี 2567 ถือได้ว่าเป็นปีที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้น่าสนใจอีกปี แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนในช่วงครึ่งปีแรกกับครึ่งปีหลังก็เป็นไปได้ที่อาจจะเป็นหนังคนละม้วน เนื่องจากจะเริ่มเห็นภาพความเสี่ยง และความผันผวนที่มาจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เริ่มชัดขึ้น ซึ่งเป็นผลจากเรื่องของการเลือกตั้งในหลายประเทศ ทั้งไต้หวัน อินโดนีเซีย อินเดีย และสหรัฐฯ รวมถึงมีโอกาสที่เกิดภาพของ Mini Rotation ของตราสารหนี้ที่อาจกลับมาโดดเด่น
มุมมองการลงทุนในปี 2567
สำหรับภาพรวมการลงทุนในปี 2567 มองว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด และการทำ soft landing จะยังคงเป็นปัจจัยหนุนให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ในปี 2567 นอกจากนี้จากสถิติของตลาดหุ้นสหรัฐฯแล้ว ในปีที่มีการเลือกตั้งตลอดช่วง 60 ปีที่ผ่านมา ดัชนี S&P500 สามารถปรับตัวขึ้นได้เกือบทุกครั้ง ยกเว้นแค่การเลือกตั้งในปี 2000 และ 2008 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
ส่วนในฝั่งยุโรปแม้ว่าจะมีโอกาสเข้าสู่ภาวะ technical recession ในไตรมาส 4/66 นี้ แต่ด้วย valuation ที่อยู่ในระดับต่ำ ประกอบการมุมมองการลดดอกเบี้ยของ ECB ในปี 2567 ส่งผลให้ downside ของตลาดหุ้นมีจำกัด และมีโอกาสฟื้นตัวได้เมื่อเศรษฐกิจกลับมาเติบโตอีกครั้ง ขณะที่อีกประเทศนึงในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วที่ควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดคือญี่ปุ่นอาจเผชิญแรงเทขายทำกำไรได้เมื่อ BoJ มีการปรับแนวทางการใช้นโยบายการเงิน แต่อย่างไรก็ตามจากการคาดการณ์กำไรในปีหน้าที่เติบโตได้ดีอาจทำให้ผลกระทบส่วนนี้ลดลง
ขณะที่ในฝั่งประเทศกำลังพัฒนานั้น เรายังชื่นชอบตลาดหุ้นเอเชียต่อเนื่องโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอินเดีย และเวียดนามที่ได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตออกจากจีน รวมถึงตลาดหุ้นเกาหลีใต้และไต้หวันที่ได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากเทรนด์ของปัญญาประดิษฐ์ที่เข้ามากระตุ้นความต้องการชิปประมวลขั้นสูงอีกเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงหลักของภูมิภาคนี้จะยังคงอยู่ที่การเติบโตของประเทศจีน ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตต่ำลงในปี 2567 หลังนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจยังคงออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และนโยบายขนานใหญ่ที่ออกมา เช่น นโยบายขาดดุลการคลัง 1 ล้านล้านหยวน, นโยบายกระตุ้นภาคอสังหาฯ และการอัดฉีดสภาพคล่องด้วยวงเงินสถิติ นั้นยังไม่ค่อยเห็นผลชัดเจนมากนักเนื่องจากเพิ่งมมีการประกาศออกมาในไตรมาส 4/66 นี้ ทำให้เรามองว่าน่าจะต้องใช้เวลาอีกซักระยะจนกว่านโยบายที่ประกาศออกมาจะเริ่มเห็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของนักลงทุน
อีกสินทรัพย์ที่เรามองว่ามีโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีคือกลุ่มของตราสารหนี้ โดยเฉพาะตราสารหนี้โลก เนื่องจากทั้ง FED และ ECB มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2567 หลังจากเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่ปี 2565 ทำให้ในตอนนี้ตราสารหนี้มีอัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับสูง และมีโอกาสได้รับ capital gain เมื่ออัตราดอกเบี้ยกลับทิศเป็นขาลงอีกเช่นกัน โดยกลุ่มที่เราชื่นชอบได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ investment grade ขณะที่กลุ่มที่เราแนะนำให้ระมัดระวังคือตราสารหนี้ในกลุ่ม High Yield เนื่องจากมีแนวโน้มที่อัตราการผิดนัดชำระหนี้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจในกลุ่ม DM จะเติบโตแบบชะลอตัวลง
ในด้านสินค้าโภคภัณฑ์อย่างทองคำที่ปี 2566 ทำผลตอบแทนได้เกือบ 15% และในช่วงต้นปี 2567 อาจได้ปรโยชน์ช่วงสั้นๆจากดอลลาร์ที่อ่อนค่า แต่โดยรวมอาจไม่ได้โดดเด่นเท่ากับปีที่ผ่านมาซึ่งอาจเป็นภาพไซด์เวย์ในปี 2567 ขณะที่น้ำมันดิบเราคาดว่าจากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวอาจทำให้ความต้องการการใช้น้ำมันไม่ได้เพิ่มขึ้น ส่งผลราคาพลังงานน่าจะวิ่งอยู่ในระดับ 70-80 เหรียญ/บาร์เรลล์ในปีหน้า
“ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปี 2566 และในส่วนของเศรษฐกิจสหรัฐฯสามารถ Soft Landing ได้ แต่ยังมีความเสี่ยงที่ยังจะเกิดเศรษฐกิจถดถอยแบบบางๆ หรือ Mild Recession ได้อยู่บ้าง แต่จากการคาดการณ์ถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งด้านการเงินและด้านการคลัง อาจทำให้ภาวะถดถอยนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วระยะ แต่ในขณะที่กลุ่มประเทศในเอเชียอย่าง อินเดีย และเวียดนาม มีแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ยังเติบโตได้ในระดับ 6% และอาจได้ประโยชน์ในแง่ของ Global Supply Chain ที่เริ่มเข้ามายังอินเดียและเวียดนามที่เพิ่มขึ้น จากกรณีที่จีนยังมีแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากภาคอสังหาฯ”