JJNY : 5in1 สภาคึกครื้น! ฉลองวันรธน.│กัณวีร์หวังรธน.ใหม่│ทสท.แนะแก้รธน.│ก้าวไกล แถลงข้อเสนอ 1+2│

สภาคึกครื้น! ฉลองวันรธน. หมออ๋อง-สส.ก้าวไกล ร่วมวงสภากาแฟ พบปะประชาชน
https://www.khaosod.co.th/politics/news_8002631

ลานประชาชนคึกครื้น! รัฐสภาจัดงานวันฉลองรัฐธรรมนูญ ร้านดังแห่ออกบูธ-ตั้งวงสภากาแฟ “สส.ก้าวไกล-ปดิพัทธ์” ร่วมเฟรมถ่ายรูปกับประชาชน
 
เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2566 ที่รัฐสภา บริเวณลานประชาชน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รัฐสภาได้จัดงานวันฉลองรัฐธรรมนูญ ประจำปี 2566 ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยมีการจัดนิทรรศการ และการแสดงดนตรีสดจากวงพัชร์จุรี ระบัดใบ และสามัญชน
 
รวมถึงการจัดกิจกรรมรวมร้านเด่นร้านดัง จัดจำหน่ายอาหารจากร้านค้าในพื้นที่เขตดุสิต ชุมชนข้างเคียง และองค์กรเครือข่าย อาทิ สำนักพิมพ์มติชน ร้านค้าสวัสดิการสำนักงานฯ ไอลอว์ สถาบันพระปกเกล้า เป็นต้น
 
นอกจากนี้ยังมีการจัดสภากาแฟ ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พบปะพูดคุยกับนักการเมือง อาทิ นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ หัวหน้าพรรคเป็นธรรม (ปธ.) น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล
 
น.ส.ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สส.กทม. พรรคก้าวไกล นายศุภณัฐ มีนชัยอนันต์ สส.กทม. พรรคก้าวไกล โดยช่วงหนึ่ง นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ได้ลงมาพบปะและร่วมถ่ายรูปกับประชาชนที่มาร่วมงานด้วยความเป็นกันเอง



กัณวีร์ หวัง รธน.ใหม่ ต้องมาจากเสียงปชช.รบ.อย่าหมกเม็ด หรือขัดมติมหาชน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4324887

กัณวีร์ หวัง รธน.ใหม่ ต้องมาจากเสียง ปชช. รบ.อย่าหมกเม็ด หรือขัดมติมหาชน
 
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเป็นธรรม ร่วมพิธีวางพานประดับพุ่มดอกไม้ เนื่องในวันพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และงานวันฉลองรัฐธรรมนูญ ประจําปี 2566 ณ อาคารรัฐสภา
 
นายกัณวีร์กล่าวว่า วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี นอกจากเป็นวันรัฐธรรมนูญแล้ว ยังเป็น วันสิทธิมนุษยชนสากล ซึ่งมีความสอดคล้องกัน เพราะการกำหนดสิทธิมนุษยชนในรัฐธรรมนูญ กลายเป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองประชาชน แม้วันสิทธิมนุษยชนสากล มาหลังวันรัฐธรรมนูญไทย ถึง 10 ปี แต่กระบวนการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนได้ล้ำหน้ากว่าประชาธิปไตยในไทยอย่างน่ากังวล โดยเฉพาะกลไกการเลือกตั้งของไทยที่อาจกลับไปสู่การสืบทอดอำนาจของฝั่งเผด็จการ
 
ผลการเลือกตั้งทำให้ผมมองเห็นว่า ประชาชนได้แสดงเจตจำนงอย่างชัดเจน ถึงการไม่เอาอำนาจเผด็จการอีกต่อไป กว่า 24.5 ล้านเสียงแสดงความชัดเจนเรื่องนี้ที่เลือกสองพรรคหลักของฝ่ายค้านในรัฐบาลชุดก่อนมาเป็นผู้แทนและผู้รับใช้ประชาชน ซึ่งทั้งเพื่อไทยและก้าวไกลได้ ส.ส.รวมกันแล้วถึง 292 คน เกินครึ่งไปถึง 42 ที่นั่ง ผมคิดว่าผมคงวิเคราะห์ผิดไปอย่างมากว่ายังไงคงต้องมีการสืบทอดอำนาจแน่ๆ” นายกัณวีร์กล่าว

นายกัณวีร์กล่าวว่า ประเทศไทยอยู่ช่วงของจุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญที่กำลังเปลี่ยนจากการเมืองเก่าไปสู่การเมืองใหม่ ที่ทางการเมืองเห็นความสำคัญของการมีประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง เพราะประชาชนได้ตื่นรู้ทางการเมืองอย่างมาก และรวมถึงฝ่ายการเมืองเองตระหนักถึงพลังและความสำคัญของประชาชนมากยิ่งขึ้นเช่นกัน
 
นายกัณวีร์ระบุว่า ในขณะที่การทำงานด้านสิทธิมนุษยชนอาจดูเหมือนก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปของกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ และทั้งในรูปแบบของกฎหมาย รวมถึงการผลักดันต่างๆ แต่ปัญหาหลักๆ ของการทำงานด้านสิทธิ นั่นคือประสิทธิภาพการทำงานด้านสิทธินั้นจะถูกลดทอนไปเรื่อยๆ หากระดับของประชาธิปไตยในประเทศนั้นๆ ต่ำเพราะประชาธิปไตยจะถูกละเมิดหากการละเมิดสิทธิต่อเพื่อนมนุษย์มีมาก ดังนั้น ความสำคัญของสิทธิและเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงเป็นรากเหง้าแห่งประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนไปพร้อมๆ กัน
นายกัณวีร์ย้ำว่า เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากลและวันรัฐธรรมนูญไทยในปี 2566 นี้ ไม่อยากให้ประชาชนผิดหวังกับการเมืองไทย ขอจงยึดมั่นต่อไปกับความสำคัญแห่งประชาธิปไตย ที่มีรากฐานของหลักการด้านสิทธิมนุษยชน
 
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายกัณวีร์ระบุว่า เป็นสิ่งที่ทุกพรรคการเมืองพูดไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ด้วยความเข้าใจตรงกันว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 หรือฉบับปัจจุบันนี้ ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องผลักดันและแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถึงแม้มีการผลักดันหลายรูปแบบและหลายกลุ่ม อย่างรัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการจัดทำประชามติ และอย่างฝ่ายค้านโดยพรรคก้าวไกล ก็พยายามผลักดันร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด แต่ยังไม่ตกผลึกกันว่าจะเป็นรูปแบบใด
 
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องมาจากการฟังเสียงพี่น้องประชาชน มติมหาชนส่วนใหญ่ที่มีความต้องการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ต้องได้รับความสำคัญ ต้องเป็นส่วนกลางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เราไม่ควรหมกเม็ดอีกต่อไป มิฉะนั้น อำนาจจะไม่กลับมาสู่ประชาชน” นายกัณวีร์กล่าวย้ำ รวมถึงการทำประชามติ ที่ให้เกิดการยอมรับ
 
ส่วนกรณีบางส่วนมีความคาดหวังให้ทุกภาคส่วนร่วมกับรัฐบาล ในการผลักดันการจัดทำประชามติเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้โดยเร็วนั้น นายกัณวีร์เห็นว่า ความรวดเร็วเป็นสิ่งที่เราต้องการอยู่แล้ว แต่ต้องไม่ตกหล่นที่ขาดความต้องการของประชาชน ประชามติเป็นสิ่งที่ดี แต่ด้วยกลไกการจัดทำประชามตินั้นมีหลายสูตร หลายสมการ
 
การจะทำประชามติมีเรื่องสัดส่วนอยู่ ต้องศึกษาและนำสัดส่วนให้สาธารณะรับทราบว่า หากจัดทำประชามติแล้วไม่แสดงถึงความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ผลกระทบก็จะกลับมาที่ประชาชนเหมือนเดิม ผมว่าน่าจะมีการพูดคุยเร็วๆ นี้ หากก้าวไกลมีข้อเสนออย่างไร ผมยังสนับสนุนก้าวไกล ให้เสนอรัฐบาลด้วย เพื่อบอกว่าสัดส่วนที่คิดอยู่นั้น ผิดตรงไหน และจะเสริมตรงไหน ให้ประชาชนส่วนมากในประเทศไทยมีส่วนร่วมจริงๆ” นายกัณวีร์กล่าว
 
สำหรับที่มาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) นั้น นายกัณวีร์ย้ำว่า ต้องมีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. 100% เพราะเป็นพื้นฐานในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา หากไม่มี ส.ส.ร.จากการเลือกตั้ง ก็แสดงว่าเป็นการเลือกคนมาทำหน้าที่ ส.ส.ร.
 
เราไม่สามารถจะให้มีคนส่วนน้อย เลือกคนส่วนน้อย มาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อคนส่วนน้อยอีกต่อไป ส.ส.ร. จะเป็นพื้นฐานให้ประชาชนเลือกคนที่มีวุฒิภาวะ คุณวุฒิ คุณสมบัติต่างๆ นานา ที่เป็นตัวแทนประชาชน เสนอมาตราต่างๆ ให้ผลประโยชน์กลับมาสู่ประชาชน เพราะฉะนั้น ต้องมาจากการเลือกตั้ง 100% หรือให้เป็นส่วนมากที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และอาจมีส่วนน้อยเป็นนักวิชาการ ผู้มีคุณวุฒิ คุณสมบัติ ประสบการณ์ในการร่างรัฐธรรมนูญสมัยก่อน มาช่วยให้คำแนะนำด้านกลไกและทฤษฎีต่างๆ ก็เป็นไปได้” นายกัณวีร์กล่าว และยังอยากเห็นรัฐธรรมนูญใหม่เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชน


ทสท. แนะ แก้รธน. ต้องกำหนดชัด เอาผิดคนทำรัฐประหาร นิรโทษกรรมไม่ได้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8002947

รัฐสภา จัดเสวนาวันรัฐธรรมนูญ ไทยสร้างไทย แนะ แก้รธน. ต้องกำหนดชัด คนยึดอำนาจผิดหนัก นิรโทษกรรมไม่ได้ ด้าน “พงศ์เทพ” ขออย่าปิดทางแก้หมวด 1 หมวด 2
 
เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2566 ที่รัฐสภา มีการเสวนา “พัฒนาการของรัฐธรรมนูญ” เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ 10 ธ.ค. โดยนายโภคิน พลกุล ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศ พรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญจะทำโดยคน 3 กลุ่ม คือ 1.คณะราษฎร 2.คณะรัฐประหาร และ 3.รัฐสภาและประชาชน
  
โดยฉบับที่คณะราษฎรทำมีจุดเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ เปลี่ยนอำนาจเป็นของประชาชน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไม่ว่ายึดอำนาจกี่ร้อยครั้งก็ไม่เคยเปลี่ยนตอนเซ็ปต์นี้ ไม่มีใครกล้าเขียนใหม่ว่าอำนาจไม่ใช่ของประชาชน นี่คือสิ่งที่พัฒนาในทางที่ดี แต่ในทางปฏิบัติก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
 
ส่วนฉบับที่คณะรัฐประหารทำ แน่นอนว่าทำเพื่อสืบทอดอำนาจ ที่เห็นได้ชัดคือการให้มีวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งและให้อำนาจมาก เรียกว่าไม่มีพัฒนาการเลย แต่ที่เป็นพัฒนาการสุดยอด คือ การนิรโทษกรรมตัวเอง ผ่านพระราชบัญญัติ
 
แต่ที่บ้าไปกว่านั้น ตั้งแต่ฉบับปี 2550 ปี 2560 ก็ยังบอกว่าการยึดอำนาจทั้งหลาย รัฐธรรมนูญก็ให้ถือว่า “ชอบ” หมด รัฐธรรมนูญที่บังคับใช้อยู่ขณะนี้จึงเกิดปัญหา
 
นายโภคิน กล่าวต่อว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มีการถกเถียงกันมาก แต่ที่ต้องโฟกัส คือ ที่เกิดรัฐประหารตลอดเวลา เพราะศาลฎีกาในปี 2496 ตีความว่าใครรัฐประหารสำเร็จคนนั้นเป็นรัฏฐาธิปัตย์ กลายเป็นบรรทัดฐานมาถึงปัจจุบัน
 
ขณะที่ปี 2510 ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตีความ มาตรา 17 ซึ่งเหมือนมาตรา 44 ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า การใช้อำนาจนั้นมีกรอบกำหนดอยู่ แม้จะเป็นเผด็จการ หากไม่เข้าตามกรอบก็ไม่ถูกศาลฎีกาตีความ ดังนั้น ต้องผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ โดยกำหนดว่าการรัฐประหารเป็นกบฏ มีความผิดร้ายแรง จะนิรโทษกรรมไม่ได้
 
โดยบทบัญญัติเช่นนี้ให้ถือเป็นประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่สำคัญที่สุด แม้ว่าไม่มีรัฐธรรมนูญหรือรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นใหม่ๆ ต่อไป ก็ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ หากมีการยึดอำนาจเมื่อไหร่ พ้นจากอำนาจจะต้องติดคุก
 
ด้าน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาพรรค พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่มีการบอกว่าจะไม่แก้หมวด 1 หมวด 2 ถือเป็นกรณีพิเศษที่เราไม่เคยทำมาก่อน แต่การเขียนแบบนี้อาจทำให้มีปัญหาได้ เพราะรัฐธรรมนูญยึดโยงกันทั้งฉบับ และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ มีบทบัญญัติที่ว่าด้วยองคมนตรี จะต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา
 
สมมติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บอกว่าไม่จำเป็นต้องมีสมาชิกวุฒิสภาแล้ว หรือจะเปลี่ยนชื่อเป็นอย่างอื่น ก็ต้องแก้ในหมวด 2 ดังนั้น ให้ยึดเฉพาะหลักการใหญ่คือรูปแบบของรัฐ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข แค่นั้นก็กว้างพอสมควรแล้ว แต่ถ้าไปลงว่าจะแก้อะไรไม่ได้เลยในหมวด 1 หมวด 2 อาจมีปัญหาได้
 
นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า สังคมไทยต้องยอมรับว่า เรามีความแตกแยก มีความเห็นต่าง โดยที่ไม่ฟังอีกฝ่ายเลย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดี ประเทศอยู่ไม่สงบสุข พัฒนาไม่ได้ ดังนั้น การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นจังหวะดีที่คนในสังคมไทยจะเปิดใจฟังกันด้วยเหตุด้วยผล ไม่คำนึงว่าเป็นใคร ใส่เสื้อสีอะไร ทำให้เรามีโอกาสช่วยกันคิด ช่วยกันทำมีความปรองดองได้
 
อย่างไรก็ตาม ยังมีคำถามการทำประชามติว่าต้องทำกี่ครั้ง ซึ่งต้องใช้งบประมาณมากกว่า 3 พันล้านบาท ตนเคยถามนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ขอให้ท่านยื่นญัตติด่วนบรรจุเข้าพิจารณาในสภา แม้จะยังไม่มีการทำประชามติก็ตาม เพื่อส่งเรื่องนี้ไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้มีการวินิจฉัย
 
นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า ซึ่งที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยโดยใช้เวลาไม่ถึง 1 เดือน เชื่อว่าถ้าไปถึงศาลรัฐธรรมนูญก็จะใช้เวลาไม่ถึง 1 เดือนเช่นกัน ทำให้เรามีโอกาสไม่ต้องเสียเงิน 3,000 กว่าล้านบาท และประหยัดเวลาไปกว่า 4-5 เดือน เพื่อให้เกิดความคืบหน้าในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
 
ขณะที่ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การฉลองรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ฉลองในตัวรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการฉลองที่ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายถึงหลักการที่ว่าปวงชนชาวไทยคือเจ้าของอำนาจสูงสุดของประเทศ และทุกคนมีความเสมอภาค มีสันติภาพ โดยประชาชนมีสิทธิอออกเสียงในการเลือกรัฐบาลและนโยบายที่แต่ละรัฐบาลเสนอมา นั่นคือการฉลองรัฐธรรมนูญ
 
ทั้งนี้ มองว่าที่ผ่านมา สิ่งที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ และไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลง คือ การเขียนรัฐธรรมนุญในอ่านและเข้าใจง่าย ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 60 ให้อำนาจ สว.แต่งตั้ง เทียบเท่ากับ สว.เลือกตั้ง แต่มีที่มาจากคณะรัฐประหาร ตนมองว่านี่คือปัญหาใหญ่ และอำ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่