“กัณวีร์” ชี้นิรโทษกรรมจำเป็นต้องผลักดัน
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_651513/
“กัณวีร์” เลขาฯพรรคเป็นธรรม มองพ.ร.บ.นิโทษกรรมจำเป็นต้องผลักดัน
นาย
กัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ เลขาฯพรรคเป็นธรรม เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ว่าหากดูจากหลักการและเหตุผลก็มีความจำเป็นที่ต้องผลักดัน พ.ร.บ.นิโทษกรรม และร่วมมือกันในการพิจารณา หากดูปัญหาในช่วง 8-9 ปี ที่ผ่านมา เราจะเห็นถึงการบังคับใช้กฎหมายซึ่งยังไม่มีความเป็นธรรม มีหลายคนที่โดนใช้กฎหมายต่างๆ
โดยเฉพาะเป็นเครื่องมือทางด้านการเมือง และเสรีภาพขั้นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะการแสดงออกของพี่น้องประชาชนหลายๆ ในช่วง 10ปีที่ผ่านมานี้ คนถูกการบังคับใช้กฎหมาย เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยตระหนักถึงความจำเป็นที่เราต้องผลักให้เปิดกว้างในการที่ต้องมีการนิรโทษกรรม ในการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้นาย
กัณวีร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อยากให้แยกกันระหว่าง ม.112 กับการนิรโทษกรรม อย่าไปมองที่ตัวกฎหมายว่ามาตราไหนผิดหรือไม่ผิด แต่ต้องดูเจตนารมณ์ในการบังคับใช้กฎหมายของผู้ถือกฎหมาย ตรงนี้แหละที่มันเป็นสิ่งที่ผิด หากเราแยกออกจากกันได้ เราจะเห็นว่าการบังคับใช้กฎมายที่ไม่เป็นธรรมมันเป็นปัญหาจริงๆ ดังนั้นต้องให้สังคมเข้าใจตรงนี้ แล้วเราจะมองข้ามออกไปว่าตรงนี้ไม่ใช่เรื่อง ม.112แล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องของความเป็นธรรม จะทำให้เราเดินหน้าต่อไปได้
โรม ร่ายยาว ยันตั้ง สามี ‘ทนายแจม’ เป็นเลขาฯกมธ.มั่นคง ใช้งานถูกคน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4322671
โรม ร่ายยาว ยันตั้ง สามี ‘ทนายแจม’ เป็นเลขาฯกมธ.มั่นคง ใช้งานถูกคน
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม นาย
รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ ได้เผยแพร่ข้อความผ่าน x ถึงกรณีคำถามว่า
ทำไมถึงตั้ง สามี ส.ส. พรรคตัวเอง มาเป็นเลขานุการของกรรมาธิการความมั่นคง ว่า
ผมทราบมาว่า ส.ว. อุปกิจหรือ ส.ว. ทรงเอ ได้ตั้งคำถามถึงผมว่า ได้มีการตั้ง พ.ต.ท.ธีรวัตร์ ปัญญาณ์ธรรมกุล ซึ่งเป็นสามีของคุณศศินันท์หรือทนายแจมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตสายไหมพรรคก้าวไกลมาเป็นเลขานุการของกรรมาธิการความมั่นคง ผมต้องขอบคุณมากที่วุฒิสมาชิกทรงเอได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา เพราะสังคมจะได้รู้ว่าตำรวจที่ผมตั้งมาเป็นเลขานุการของกรรมาธิการมีความสำคัญอย่างไรในช่วงเวลาแห่งความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมตำรวจ
ทุกท่านครับ พ.ต.ท.ธีรวัตร์ ปัญญาณ์ธรรมกุล เป็นหนึ่งในตำรวจที่ถูกเลือกให้ไปเป็นตำรวจราบ ซึ่งปรากฏว่า พ.ต.ท.ธีรวัตร์ ได้ตัดสินใจปฏิเสธการคัดเลือกดังกล่าวส่งผลให้ถูกทำโทษทำลงวินัยเป็นเวลาถึงเก้าเดือน แป๊กขั้นอีกเป็นเวลาสามปี
คุณคิดว่าผมจะตั้งตำรวจท่านนี้เพียงเพราะเขาเป็นสามีของเพื่อนสมาชิกของผมหรือต้องการให้ตำรวจท่านนี้เข้ามีบทบาทโดยตรงในฐานะของผู้ที่ถูกกระทำจากระบบที่ไม่เป็นธรรม เป็นคนที่ส่งเสียงโดยตรงของความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมตำรวจ จะมีใครเข้าใจความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นได้มากไปกว่าคนที่ถูกกระทำเสียเอง
พี่น้องประชาชนที่รักครับ ในวันที่ผมได้เชิญนายกรัฐมนตรีและปรากฏว่านายกรัฐมนตรีหนีสภาหนีการตรวจสอบ และส่งรองนายกรัฐมนตรีที่ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับกิจการตำรวจคือนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ปรากฏว่าพ.ต.ท.ธีรวัตร์ ปัญญาณ์ธรรมกุล ได้หยิบยกเรื่องที่เคยเกิดขึ้นกับตนเองและเพื่อนของตนเองขึ้นมาซักถามซึ่งแน่นอนพี่น้องประชาชนก็คงจะคาดหมายได้ว่าเราไม่ได้รับคำตอบอะไรจากเรื่องนี้
ผมยืนยันว่าผม Put the right man to the right job ซึ่งในหลายครั้งก่อนหน้านี้เขาก็ได้เป็นปากเป็นเสียงให้กับตำรวจ อย่างเรื่องทรงผมเขาก็ช่วยสื่อสารเป็นระยะ เขาได้แสดงถึงความกล้าหาญที่จะหยิบยกในเรื่องที่สังคมไทยไม่กล้าพูดถึง เป็นปากเป็นเสียงในหลายๆครั้งให้กับพี่น้องตำรวจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ผมเลือกเขาไม่ผิดหรอกครับผมเลือกได้ถูกต้องแล้ว
ผมขอใช้โอกาสนี้ส่งสารไปถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับตำรวจราบที่ไม่ได้มีมีความยินดีที่จะไปเป็นตำรวจราบเลย คืนพวกเขาสู่การเป็นตำรวจที่อยากทำหน้าที่เพื่อรับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง แล้วจะรอนะครับ
https://twitter.com/RangsimanRome/status/1733125350123815416
ผู้ว่า ธปท. ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้นช้า-โตต่ำ แนะลงทุนปฏิรูปโครงสร้าง
https://www.prachachat.net/finance/news-1456222
“เศรษฐพุฒิ” ผู้ว่าฯแบงก์ชาติเปิดมุมมองเศรษฐกิจไทยปี’67 จีดีพีโต 3.2% ย้ำภาพ “ฟื้นตัว-แต่ช้า” ภาคท่องเที่ยว-การผลิตยังไม่กลับมา ยอมรับศักยภาพเศรษฐกิจไทยโตต่ำ เหตุติดกับดักนโยบายกระตุ้นการบริโภค ขาดนโยบายเชิงโครงสร้าง ไม่ได้เพิ่มศักยภาพการผลิต เติบโตจากอุตสาหกรรมเดิม ๆ ประชากรวัยทำงานหดตัว สะท้อนภาพคนไทย “กรรมเก่า” เยอะจากช่วงโควิด ความมั่งคั่งหดหาย แถมหนี้เพิ่มขึ้น ย้ำเก็บกระสุน-รักษาเงินเฟ้อเป็นสิ่งจำเป็น ยอมรับดอกเบี้ยขาขึ้นทำภาระหนี้คนเพิ่ม ชี้ต้องชั่งน้ำหนักผลกระทบของ “ภาระหนี้” กับ “ค่าครองชีพ”
ดร.
เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2567 ประเมินอัตราการขยายตัวอยู่ในกรอบ 3.2% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับเข้ากรอบ 1-3% คาดการณ์จะอยู่ที่ 2% โดยภาพรวมเศรษฐกิจยังเป็นการฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ฟื้นตัวช้า โดยตัวเลขหลายตัวได้กลับมาในระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 แต่ไม่ใช่ทุกตัว ซึ่งหากดูในตัวเลขจีดีพีหลังจากที่ดรอปลงไปหนักสุดในช่วงไตรมาสที่ 2/2563 ปัจจุบันทยอยฟื้นตัวกลับมาสูงกว่าช่วงก่อนโควิดและสูงกว่าที่เคยเป็นอยู่ สะท้อนคำว่า “
ฟื้นตัว”
อย่างไรก็ดี ธปท.ไม่ได้ดูเฉพาะตัวเลขจีดีพี แต่หากดูในรายมิติจะเห็นภาพของการฟื้นตัว เช่น ฝั่งอุปสงค์ ทั้งการบริโภคเอกชน และการส่งออก ซึ่งเป็นตัวสำคัญและที่มีน้ำหนัก จะเห็นว่ากลับมาสูงกว่าช่วงโควิด-19 โดยหากเทียบการบริโภคเท่ากับ 100 ปัจจุบันกลับมาอยู่ที่ 115 สะท้อนว่า 15% กลับมาสูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 หลังจากที่ชะลอลงค่อนข้างแรงในไตรมาสที่ 2/2563 เช่นเดียวกับการส่งออก (ไม่รวมทองคำ) กลับมาสูงกว่าช่วงโควิด-19
ขณะที่ฝั่งอุปทาน ภาคบริการก็กลับมาฟื้นตัวดีกว่าก่อนโควิด ยังมีภาคการผลิต และการท่องเที่ยว ที่ยังไม่กลับมาเท่าช่วงก่อนโควิด ซึ่งปัจจัย 2 ตัวนี้เป็นตัวสำคัญที่สะท้อนเศรษฐกิจ คนดูแบบ “
ตาบอดคลำช้าง” คือคนจับตรงนี้บอกว่าดี แต่จับตรงโน้นบอกไม่ใช่
เสมือนว่างงาน 3 ล้านคน
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า อย่างไรก็ดี ท้ายที่สุดสิ่งที่แบงก์ชาติเป็นห่วงคือเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของคน อย่างเรื่องตัวเลขการจ้างงาน ตอนนี้การจ้างงานนอกภาคเกษตรกลับมาสูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 โดยภาพรวมอัตราการว่างงานอยู่ที่ประมาณ 1% จากช่วงโควิดอยู่ที่ 2% แต่ตัวที่สำคัญกว่าคือ ตัวเลข
“ผู้เสมือนว่างงาน” ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีงานทำ แต่มีงานน้อยกว่าที่ต้องการทำ เพราะสะท้อนถึงการฟื้นตัวไม่เท่ากัน แม้ว่าจะปรับดีขึ้น แต่ยังไม่เท่าก่อนโควิด-19 ซึ่งตัวเลขที่อยู่ราว 2 ล้านคน แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 3 ล้านคน แต่ดีขึ้น
กว่าเมื่อเทียบช่วงโควิด-19 ที่อยู่ประมาณ 6 ล้านคน สะท้อนว่าบางเซ็กเตอร์ยังไม่ได้กลับมา
“
ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งหมดอย่างที่บอกเป็นการฟื้น เพราะตัวเลขส่วนใหญ่กลับมาสูงกว่าก่อนโควิดแล้ว แต่การฟื้นช้า อันนี้ไม่เถียง และที่ช้า เนื่องจากเราโดนโควิดหนักกว่าคนอื่น เพราะเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาเรื่องท่องเที่ยวเยอะ แต่ตรงนั้นหายไปนาน แต่ภาพรวมยังเป็นการฟื้นตัว และเป็นการฟื้นตัวที่ค่อนข้างต่อเนื่อง”
กรรมเก่า-ปัญหาสะสม
ดร.
เศรษฐพุฒิกล่าวว่า เมื่อไปถามคนส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่า “
เศรษฐกิจไม่ดี” ซึ่งอธิบายได้ว่ามาจาก 2 เหตุผลด้วย คือ การฟื้นตัวของบางเซ็กเตอร์ที่ยังไม่กลับมา โดยเฉพาะที่ชัดเจนที่สุด คือ ภาคการท่องเที่ยว และภาคการผลิตที่อิงกับการส่งออก เนื่องจากยังเจอปัญหาอุปสงค์จากต่างประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการจ้างงาน รายได้ และหนี้ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ของที่สะสมหายไป หรือพูดง่าย ๆ คือ ความมั่งคั่งถูกบั่นทอนลงไปจากปัญหาโควิด-19 ที่ไทยเจอค่อนข้างหนัก ทำให้การฟื้นตัวช้า จึงเป็นเหตุผลให้คนไม่ได้รู้สึกว่ามันดี แม้ว่าตัวเลขจะฟื้นตัวก็ตาม
ซึ่งหากดูตัวเลขนักท่องเที่ยวก่อนโควิด-19 อยู่ที่ราว 40 ล้านคน ซึ่งปีนี้คาดการณ์ไว้ที่ประมาณ 29-30 ล้านคน แม้ว่าจะฟื้นตัวกลับมาดีกว่าปีก่อนที่อยู่ 10 ล้านคน แต่หากดูช่วงที่มีการปิดประเทศช่วงเดือน เม.ย. 63-ธ.ค. 64 หรือประมาณ 20 เดือน มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพียง 4.3 แสนคน ซึ่งคิดเป็น 1% ของเดิมที่ไทยเคยทำได้
ดังนั้น รายได้ของคนหายไปมหาศาล ความมั่งคั่งของคนก็หายไป ซึ่งเป็นของที่สะสมมา แม้ว่าตัวเลขจะทยอยฟื้นตัว แต่เทียบกับ “กรรมเก่า” ปัญหาที่สะสมมาในช่วงโควิดมีเยอะกว่า และหนี้ก็เพิ่มขึ้น โดยช่วงก่อนโควิด-19 ตัวเลขหนี้ครัวเรือนสูงสุด (พีก) อยู่ที่ 95% ต่อจีดีพี แม้ปัจจุบันสัดส่วนหนี้ครัวเรือนลงมาอยู่ที่ราว 90% ต่อจีดีพี แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับสูง
“
ธปท.เข้าใจตอนที่เราดูตัวเลขอะไรต่าง ๆ และคนจึงรู้สึกว่า ธปท.มองดีไปหรือเปล่า แต่หน้าที่เราในการทำงานจะต้องดูเรื่องของภาพรวมเศรษฐกิจ แต่เราก็เข้าใจว่ามีบางกลุ่ม บางหมวดที่ยังมีปัญหาอยู่ และเข้าใจด้วยว่ามีปัญหาที่เป็นกรรมเก่าสะสมอะไรต่าง ๆ มา แต่ตอนที่ตัดสินใจเรื่องนโยบาย เราก็ต้องดูภาพรวมด้วย”
เก็บกระสุน-ดูแลเงินเฟ้อ
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า จากรายงานคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ประเมินว่า เศรษฐกิจฟื้นตัวสมดุลมากขึ้น แต่มองไปข้างหน้ายังคงมีความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นการดูแลขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy Space) เป็นสิ่งสำคัญ แต่เข้าใจว่า “
ไม่มีคนชอบดอกเบี้ย” แต่ต้องยอมรับว่าเป็นหน้าที่ของ ธปท.ในการดูแลเสถียรภาพ โดยเฉพาะเสถียรภาพด้านราคา
หาก ธปท.ปล่อยให้อัตราเงินเฟ้อวิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ จะยิ่งทำให้ “
ค่าครองชีพ” ยิ่งสูงขึ้น คนมีปัญหา ความยากลำบากจะเพิ่มขึ้น ซึ่งผลของการขึ้นดอกเบี้ยแม้ว่าจะมีผลต่อภาระหนี้ของคน แต่ถ้าเทียบกับผลระหว่างที่ไม่ดูแลเงินเฟ้อจะมีปัญหามากกว่า
ตัวเลขล่าสุดเดือนตุลาคม อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ -0.31% ซึ่งต่ำผิดปกติ เป็นผลมาจากมาตรการอุดหนุนภาครัฐในเรื่องของไฟฟ้าและพลังงาน แต่หากถอดมาตรการเหล่านี้ อัตราเงินเฟ้อจะกลับมาเป็นบวก แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงจากที่เคยพีก 8% มาอยู่ที่ -0.31% แต่ผลสะสมของอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ ราคาสินค้าต่าง ๆ ไม่ได้ปรับลง และหากดูตัวเลขดัชนีราคาจะเห็นว่าเทียบปัจจุบันกับช่วงโควิด-19 ถือว่าสูงอย่างมีนัยสำคัญ
“
เงินเฟ้อจะเป็นตัวสะท้อนที่ทำให้คนรู้สึกว่าเศรษฐกิจไม่ดี ถึงแม้ว่าตัวเลขการเติบโตต่าง ๆ จะดีขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อที่สะสมที่ผ่านมาทำให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น ในขณะที่รายได้ของคนหายไปค่อนข้างเยอะในช่วงโควิด-19 ซึ่งตอนเดือนสิงหาคมปีก่อน เงินเฟ้อพีกขึ้นไปที่ระดับ 8% สูงสุดในภูมิภาค ตอนนั้น ธปท.ก็โดนวิพากษ์วิจารณ์เยอะว่า ขึ้นดอกเบี้ยช้าไปหรือเปล่า หรือ Behind the Curve แต่เราก็ได้คิดว่าแนวทางที่ดีที่สุด คือการขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร็วและแรงแบบชาวบ้าน
เพราะโครงสร้างต่าง ๆ การฟื้นตัวช้ากว่าเพื่อนบ้าน หากตอนนั้นเราขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงจะหนักแค่ไหน แต่ไม่ขึ้นเลยก็ไม่ได้ เพราะจะทำให้การคาดการณ์เงินเฟ้อหลุด และแพร่ไปในระบบ ทำให้เครื่องยนต์เงินเฟ้อติด จึงต้องจัดการด้วยนโยบายดอกเบี้ย และในท้ายที่สุด เงินเฟ้อก็ลดลง”
JJNY : นิรโทษกรรมจำเป็นต้องผลักดัน│โรม ร่ายยาว ใช้งานถูกคน│ผู้ว่า ธปท.ชี้ศก.ไทยฟื้นช้า-โตต่ำ│สถานทูตสหรัฐในอิรักถูกยิง
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_651513/
“กัณวีร์” เลขาฯพรรคเป็นธรรม มองพ.ร.บ.นิโทษกรรมจำเป็นต้องผลักดัน
นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ เลขาฯพรรคเป็นธรรม เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ว่าหากดูจากหลักการและเหตุผลก็มีความจำเป็นที่ต้องผลักดัน พ.ร.บ.นิโทษกรรม และร่วมมือกันในการพิจารณา หากดูปัญหาในช่วง 8-9 ปี ที่ผ่านมา เราจะเห็นถึงการบังคับใช้กฎหมายซึ่งยังไม่มีความเป็นธรรม มีหลายคนที่โดนใช้กฎหมายต่างๆ
โดยเฉพาะเป็นเครื่องมือทางด้านการเมือง และเสรีภาพขั้นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะการแสดงออกของพี่น้องประชาชนหลายๆ ในช่วง 10ปีที่ผ่านมานี้ คนถูกการบังคับใช้กฎหมาย เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยตระหนักถึงความจำเป็นที่เราต้องผลักให้เปิดกว้างในการที่ต้องมีการนิรโทษกรรม ในการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้นายกัณวีร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อยากให้แยกกันระหว่าง ม.112 กับการนิรโทษกรรม อย่าไปมองที่ตัวกฎหมายว่ามาตราไหนผิดหรือไม่ผิด แต่ต้องดูเจตนารมณ์ในการบังคับใช้กฎหมายของผู้ถือกฎหมาย ตรงนี้แหละที่มันเป็นสิ่งที่ผิด หากเราแยกออกจากกันได้ เราจะเห็นว่าการบังคับใช้กฎมายที่ไม่เป็นธรรมมันเป็นปัญหาจริงๆ ดังนั้นต้องให้สังคมเข้าใจตรงนี้ แล้วเราจะมองข้ามออกไปว่าตรงนี้ไม่ใช่เรื่อง ม.112แล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องของความเป็นธรรม จะทำให้เราเดินหน้าต่อไปได้
โรม ร่ายยาว ยันตั้ง สามี ‘ทนายแจม’ เป็นเลขาฯกมธ.มั่นคง ใช้งานถูกคน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4322671
โรม ร่ายยาว ยันตั้ง สามี ‘ทนายแจม’ เป็นเลขาฯกมธ.มั่นคง ใช้งานถูกคน
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ ได้เผยแพร่ข้อความผ่าน x ถึงกรณีคำถามว่า
ทำไมถึงตั้ง สามี ส.ส. พรรคตัวเอง มาเป็นเลขานุการของกรรมาธิการความมั่นคง ว่า
ผมทราบมาว่า ส.ว. อุปกิจหรือ ส.ว. ทรงเอ ได้ตั้งคำถามถึงผมว่า ได้มีการตั้ง พ.ต.ท.ธีรวัตร์ ปัญญาณ์ธรรมกุล ซึ่งเป็นสามีของคุณศศินันท์หรือทนายแจมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตสายไหมพรรคก้าวไกลมาเป็นเลขานุการของกรรมาธิการความมั่นคง ผมต้องขอบคุณมากที่วุฒิสมาชิกทรงเอได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา เพราะสังคมจะได้รู้ว่าตำรวจที่ผมตั้งมาเป็นเลขานุการของกรรมาธิการมีความสำคัญอย่างไรในช่วงเวลาแห่งความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมตำรวจ
ทุกท่านครับ พ.ต.ท.ธีรวัตร์ ปัญญาณ์ธรรมกุล เป็นหนึ่งในตำรวจที่ถูกเลือกให้ไปเป็นตำรวจราบ ซึ่งปรากฏว่า พ.ต.ท.ธีรวัตร์ ได้ตัดสินใจปฏิเสธการคัดเลือกดังกล่าวส่งผลให้ถูกทำโทษทำลงวินัยเป็นเวลาถึงเก้าเดือน แป๊กขั้นอีกเป็นเวลาสามปี
คุณคิดว่าผมจะตั้งตำรวจท่านนี้เพียงเพราะเขาเป็นสามีของเพื่อนสมาชิกของผมหรือต้องการให้ตำรวจท่านนี้เข้ามีบทบาทโดยตรงในฐานะของผู้ที่ถูกกระทำจากระบบที่ไม่เป็นธรรม เป็นคนที่ส่งเสียงโดยตรงของความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมตำรวจ จะมีใครเข้าใจความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นได้มากไปกว่าคนที่ถูกกระทำเสียเอง
พี่น้องประชาชนที่รักครับ ในวันที่ผมได้เชิญนายกรัฐมนตรีและปรากฏว่านายกรัฐมนตรีหนีสภาหนีการตรวจสอบ และส่งรองนายกรัฐมนตรีที่ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับกิจการตำรวจคือนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ปรากฏว่าพ.ต.ท.ธีรวัตร์ ปัญญาณ์ธรรมกุล ได้หยิบยกเรื่องที่เคยเกิดขึ้นกับตนเองและเพื่อนของตนเองขึ้นมาซักถามซึ่งแน่นอนพี่น้องประชาชนก็คงจะคาดหมายได้ว่าเราไม่ได้รับคำตอบอะไรจากเรื่องนี้
ผมยืนยันว่าผม Put the right man to the right job ซึ่งในหลายครั้งก่อนหน้านี้เขาก็ได้เป็นปากเป็นเสียงให้กับตำรวจ อย่างเรื่องทรงผมเขาก็ช่วยสื่อสารเป็นระยะ เขาได้แสดงถึงความกล้าหาญที่จะหยิบยกในเรื่องที่สังคมไทยไม่กล้าพูดถึง เป็นปากเป็นเสียงในหลายๆครั้งให้กับพี่น้องตำรวจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ผมเลือกเขาไม่ผิดหรอกครับผมเลือกได้ถูกต้องแล้ว
ผมขอใช้โอกาสนี้ส่งสารไปถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับตำรวจราบที่ไม่ได้มีมีความยินดีที่จะไปเป็นตำรวจราบเลย คืนพวกเขาสู่การเป็นตำรวจที่อยากทำหน้าที่เพื่อรับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง แล้วจะรอนะครับ
https://twitter.com/RangsimanRome/status/1733125350123815416
ผู้ว่า ธปท. ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้นช้า-โตต่ำ แนะลงทุนปฏิรูปโครงสร้าง
https://www.prachachat.net/finance/news-1456222
“เศรษฐพุฒิ” ผู้ว่าฯแบงก์ชาติเปิดมุมมองเศรษฐกิจไทยปี’67 จีดีพีโต 3.2% ย้ำภาพ “ฟื้นตัว-แต่ช้า” ภาคท่องเที่ยว-การผลิตยังไม่กลับมา ยอมรับศักยภาพเศรษฐกิจไทยโตต่ำ เหตุติดกับดักนโยบายกระตุ้นการบริโภค ขาดนโยบายเชิงโครงสร้าง ไม่ได้เพิ่มศักยภาพการผลิต เติบโตจากอุตสาหกรรมเดิม ๆ ประชากรวัยทำงานหดตัว สะท้อนภาพคนไทย “กรรมเก่า” เยอะจากช่วงโควิด ความมั่งคั่งหดหาย แถมหนี้เพิ่มขึ้น ย้ำเก็บกระสุน-รักษาเงินเฟ้อเป็นสิ่งจำเป็น ยอมรับดอกเบี้ยขาขึ้นทำภาระหนี้คนเพิ่ม ชี้ต้องชั่งน้ำหนักผลกระทบของ “ภาระหนี้” กับ “ค่าครองชีพ”
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2567 ประเมินอัตราการขยายตัวอยู่ในกรอบ 3.2% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับเข้ากรอบ 1-3% คาดการณ์จะอยู่ที่ 2% โดยภาพรวมเศรษฐกิจยังเป็นการฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ฟื้นตัวช้า โดยตัวเลขหลายตัวได้กลับมาในระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 แต่ไม่ใช่ทุกตัว ซึ่งหากดูในตัวเลขจีดีพีหลังจากที่ดรอปลงไปหนักสุดในช่วงไตรมาสที่ 2/2563 ปัจจุบันทยอยฟื้นตัวกลับมาสูงกว่าช่วงก่อนโควิดและสูงกว่าที่เคยเป็นอยู่ สะท้อนคำว่า “ฟื้นตัว”
อย่างไรก็ดี ธปท.ไม่ได้ดูเฉพาะตัวเลขจีดีพี แต่หากดูในรายมิติจะเห็นภาพของการฟื้นตัว เช่น ฝั่งอุปสงค์ ทั้งการบริโภคเอกชน และการส่งออก ซึ่งเป็นตัวสำคัญและที่มีน้ำหนัก จะเห็นว่ากลับมาสูงกว่าช่วงโควิด-19 โดยหากเทียบการบริโภคเท่ากับ 100 ปัจจุบันกลับมาอยู่ที่ 115 สะท้อนว่า 15% กลับมาสูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 หลังจากที่ชะลอลงค่อนข้างแรงในไตรมาสที่ 2/2563 เช่นเดียวกับการส่งออก (ไม่รวมทองคำ) กลับมาสูงกว่าช่วงโควิด-19
ขณะที่ฝั่งอุปทาน ภาคบริการก็กลับมาฟื้นตัวดีกว่าก่อนโควิด ยังมีภาคการผลิต และการท่องเที่ยว ที่ยังไม่กลับมาเท่าช่วงก่อนโควิด ซึ่งปัจจัย 2 ตัวนี้เป็นตัวสำคัญที่สะท้อนเศรษฐกิจ คนดูแบบ “ตาบอดคลำช้าง” คือคนจับตรงนี้บอกว่าดี แต่จับตรงโน้นบอกไม่ใช่
เสมือนว่างงาน 3 ล้านคน
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า อย่างไรก็ดี ท้ายที่สุดสิ่งที่แบงก์ชาติเป็นห่วงคือเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของคน อย่างเรื่องตัวเลขการจ้างงาน ตอนนี้การจ้างงานนอกภาคเกษตรกลับมาสูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 โดยภาพรวมอัตราการว่างงานอยู่ที่ประมาณ 1% จากช่วงโควิดอยู่ที่ 2% แต่ตัวที่สำคัญกว่าคือ ตัวเลข “ผู้เสมือนว่างงาน” ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีงานทำ แต่มีงานน้อยกว่าที่ต้องการทำ เพราะสะท้อนถึงการฟื้นตัวไม่เท่ากัน แม้ว่าจะปรับดีขึ้น แต่ยังไม่เท่าก่อนโควิด-19 ซึ่งตัวเลขที่อยู่ราว 2 ล้านคน แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 3 ล้านคน แต่ดีขึ้น กว่าเมื่อเทียบช่วงโควิด-19 ที่อยู่ประมาณ 6 ล้านคน สะท้อนว่าบางเซ็กเตอร์ยังไม่ได้กลับมา
“ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งหมดอย่างที่บอกเป็นการฟื้น เพราะตัวเลขส่วนใหญ่กลับมาสูงกว่าก่อนโควิดแล้ว แต่การฟื้นช้า อันนี้ไม่เถียง และที่ช้า เนื่องจากเราโดนโควิดหนักกว่าคนอื่น เพราะเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาเรื่องท่องเที่ยวเยอะ แต่ตรงนั้นหายไปนาน แต่ภาพรวมยังเป็นการฟื้นตัว และเป็นการฟื้นตัวที่ค่อนข้างต่อเนื่อง”
กรรมเก่า-ปัญหาสะสม
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า เมื่อไปถามคนส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่า “เศรษฐกิจไม่ดี” ซึ่งอธิบายได้ว่ามาจาก 2 เหตุผลด้วย คือ การฟื้นตัวของบางเซ็กเตอร์ที่ยังไม่กลับมา โดยเฉพาะที่ชัดเจนที่สุด คือ ภาคการท่องเที่ยว และภาคการผลิตที่อิงกับการส่งออก เนื่องจากยังเจอปัญหาอุปสงค์จากต่างประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการจ้างงาน รายได้ และหนี้ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ของที่สะสมหายไป หรือพูดง่าย ๆ คือ ความมั่งคั่งถูกบั่นทอนลงไปจากปัญหาโควิด-19 ที่ไทยเจอค่อนข้างหนัก ทำให้การฟื้นตัวช้า จึงเป็นเหตุผลให้คนไม่ได้รู้สึกว่ามันดี แม้ว่าตัวเลขจะฟื้นตัวก็ตาม
ซึ่งหากดูตัวเลขนักท่องเที่ยวก่อนโควิด-19 อยู่ที่ราว 40 ล้านคน ซึ่งปีนี้คาดการณ์ไว้ที่ประมาณ 29-30 ล้านคน แม้ว่าจะฟื้นตัวกลับมาดีกว่าปีก่อนที่อยู่ 10 ล้านคน แต่หากดูช่วงที่มีการปิดประเทศช่วงเดือน เม.ย. 63-ธ.ค. 64 หรือประมาณ 20 เดือน มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพียง 4.3 แสนคน ซึ่งคิดเป็น 1% ของเดิมที่ไทยเคยทำได้
ดังนั้น รายได้ของคนหายไปมหาศาล ความมั่งคั่งของคนก็หายไป ซึ่งเป็นของที่สะสมมา แม้ว่าตัวเลขจะทยอยฟื้นตัว แต่เทียบกับ “กรรมเก่า” ปัญหาที่สะสมมาในช่วงโควิดมีเยอะกว่า และหนี้ก็เพิ่มขึ้น โดยช่วงก่อนโควิด-19 ตัวเลขหนี้ครัวเรือนสูงสุด (พีก) อยู่ที่ 95% ต่อจีดีพี แม้ปัจจุบันสัดส่วนหนี้ครัวเรือนลงมาอยู่ที่ราว 90% ต่อจีดีพี แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับสูง
“ธปท.เข้าใจตอนที่เราดูตัวเลขอะไรต่าง ๆ และคนจึงรู้สึกว่า ธปท.มองดีไปหรือเปล่า แต่หน้าที่เราในการทำงานจะต้องดูเรื่องของภาพรวมเศรษฐกิจ แต่เราก็เข้าใจว่ามีบางกลุ่ม บางหมวดที่ยังมีปัญหาอยู่ และเข้าใจด้วยว่ามีปัญหาที่เป็นกรรมเก่าสะสมอะไรต่าง ๆ มา แต่ตอนที่ตัดสินใจเรื่องนโยบาย เราก็ต้องดูภาพรวมด้วย”
เก็บกระสุน-ดูแลเงินเฟ้อ
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า จากรายงานคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ประเมินว่า เศรษฐกิจฟื้นตัวสมดุลมากขึ้น แต่มองไปข้างหน้ายังคงมีความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นการดูแลขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy Space) เป็นสิ่งสำคัญ แต่เข้าใจว่า “ไม่มีคนชอบดอกเบี้ย” แต่ต้องยอมรับว่าเป็นหน้าที่ของ ธปท.ในการดูแลเสถียรภาพ โดยเฉพาะเสถียรภาพด้านราคา
หาก ธปท.ปล่อยให้อัตราเงินเฟ้อวิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ จะยิ่งทำให้ “ค่าครองชีพ” ยิ่งสูงขึ้น คนมีปัญหา ความยากลำบากจะเพิ่มขึ้น ซึ่งผลของการขึ้นดอกเบี้ยแม้ว่าจะมีผลต่อภาระหนี้ของคน แต่ถ้าเทียบกับผลระหว่างที่ไม่ดูแลเงินเฟ้อจะมีปัญหามากกว่า
ตัวเลขล่าสุดเดือนตุลาคม อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ -0.31% ซึ่งต่ำผิดปกติ เป็นผลมาจากมาตรการอุดหนุนภาครัฐในเรื่องของไฟฟ้าและพลังงาน แต่หากถอดมาตรการเหล่านี้ อัตราเงินเฟ้อจะกลับมาเป็นบวก แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงจากที่เคยพีก 8% มาอยู่ที่ -0.31% แต่ผลสะสมของอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ ราคาสินค้าต่าง ๆ ไม่ได้ปรับลง และหากดูตัวเลขดัชนีราคาจะเห็นว่าเทียบปัจจุบันกับช่วงโควิด-19 ถือว่าสูงอย่างมีนัยสำคัญ
“เงินเฟ้อจะเป็นตัวสะท้อนที่ทำให้คนรู้สึกว่าเศรษฐกิจไม่ดี ถึงแม้ว่าตัวเลขการเติบโตต่าง ๆ จะดีขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อที่สะสมที่ผ่านมาทำให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น ในขณะที่รายได้ของคนหายไปค่อนข้างเยอะในช่วงโควิด-19 ซึ่งตอนเดือนสิงหาคมปีก่อน เงินเฟ้อพีกขึ้นไปที่ระดับ 8% สูงสุดในภูมิภาค ตอนนั้น ธปท.ก็โดนวิพากษ์วิจารณ์เยอะว่า ขึ้นดอกเบี้ยช้าไปหรือเปล่า หรือ Behind the Curve แต่เราก็ได้คิดว่าแนวทางที่ดีที่สุด คือการขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร็วและแรงแบบชาวบ้าน เพราะโครงสร้างต่าง ๆ การฟื้นตัวช้ากว่าเพื่อนบ้าน หากตอนนั้นเราขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงจะหนักแค่ไหน แต่ไม่ขึ้นเลยก็ไม่ได้ เพราะจะทำให้การคาดการณ์เงินเฟ้อหลุด และแพร่ไปในระบบ ทำให้เครื่องยนต์เงินเฟ้อติด จึงต้องจัดการด้วยนโยบายดอกเบี้ย และในท้ายที่สุด เงินเฟ้อก็ลดลง”