โรงงานสาคูคลองแงะ อ.สะเดา จ.สงขลา 87 ปีก่อน

.
1.
.

.
รถโดยสารของพวกเรา
ที่ทางหลวงสะเดา กิโลเมตรที่ 63
4 ตุลาคม 1936
8 1/25 G. Panatomic proms
.
.
2.
.

.
ชาวบ้านช้างทาง ที่ กิโลเมตร 63
4 ตุลาคม 1936
8 1/25 -. Panatomic proms
.
.
3.
.

.
รถบบรรทุกเศษมันสำปะหลังแห้ง
ของเหลือจากการผลิตในโรงงาน
เพื่อเตรียมเป็นอาหารหมู
4 ตุลาคม 1936
5.6 1/25 -. Panatomic proms
.
.
4.
.

.
เกวียนบรรทุกหัวมันสำปะหลัง
เพื่อส่งโรงงานแปรรูปแป้งสาคู
ทางหลวงระหว่างประเทศ
สถานีวิจัยหาดใหญ่-สะเดา
ที่กิโลเมตร 58
9 1/25 G. Panatomic proms
.
.
5.
.

.
โรงงานสาคูคลองแงะ ตำบลพังลา
อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
เป้าหมายปลายทางการเดินทาง
4 ตุลาคม 1936
8 1/25 G. Panatomic proms
.
.
6.
.

.
ด้านนอกโรงงานสาคูคลองแงะ
29 กันยายน  1936
Panatomic proms
.
.
7.
.

.
คนงานกำลังคัดแยกมันสำปะหลัง
และสับกิ่งไม้/รากส่วนเกินออก
ภายในโรงงานสาคูคลองแงะ
29 กันยายน 1936
Panatomic proms
.
.
8.
.

.
ถังไม้ทำความสะอาด
มันสำปะหลังที่ค้ดแยกแล้ว
พวกเปลือก/ผิว เศษดินจะร่วงหล่น
เหลือแต่มันสำปะหลัง
มีถังน้ำด้านบน ด้านขวามือคนงาน
น้ำ/เปลือกมัน/เศษดินที่ใช้แล้ว
จะไหลลงคูน้ำด้านซ้ายมือ
ภายในโรงงานสาคู คลองแงะ
Panatomic proms

เศษมัน/เศษดินจากถังนี้
ขายเป็นอาหารหมูได้
ทั้งแบบเปียก/แบบแห้ง
อาหารหมูชาวบ้านจะต้มก่อน
รอให้เย็นจึงจะให้หมูกิน
.
.
9.
.

.
ยังขาดภาพขั้นตอนนำมันสำปะหลัง
นำไปบดให้ละเอียดให้เป็นผง ๆ
แลัวนำมาแช่น้ำให้ตกตะกอน

ถังตกตะกอนคอนกรีต
ที่แข่ผงแป้งรอตกตะกอน
โรงงานสาคูคลองแงะ
4 ตุลาคม 1936
Panatomic proms

น้ำที่ตกตะกอนเหลวข้น
จะนำไปใส่ถังไม้ ในภาพหมายเลข 10.
.
.
10.
.

.
นำน้ำมันสำปะหลังที่ตกตะกอนเหลวข้น
นำมาใส่ถังไม้ให้จับตัวเป็นก้อน
การหยิบก้อนแป้งจากถังไม้
คนงานยืนทำงานในถังไม้
โรงงานสาคูคลองแงะ
4 ตุลาคม 1936

น้ำที่เหลือจากถังนี้จะไหลรวมกัน
รอเพื่อขายเป็นอาหารหมู
.
.
11.
.

.
ก้อนแป้งจากถังไม้
จะทิ้งไว้ราว 20-24 ชั่วโมง
ก่อนที่จะนำไปอบแห้งให้เป็นผงแป้ง
4 ตุลาคม 1936
.
.
12.
.

.
นำก้อนแป้งจากภาพ 11-12
มาเกลี่ยบนพื้นคอนกรีต
ด้านล่างเป็นเตาเตียงเพื่ออบแห้ง
สอดไม้ฟืนด้านล่างจุดไฟให้ความร้อน
ถังไม้ใส่ก้อนแป้งที่ด้านหลัง
4 ตุลาคม 1936
Panatomic proms
.
.
13.
.

.
เครื่องโม่หินด้วยมือ
เพื่อทดสอบมวลสารสาคู
หลังผ่านกระบวนการอบแห้ง
โดยเตาเตียงด้านหลังภาพ
(ใส่ไม้ฟืนด้านล่างกระจายความร้อน
แบบเตาเตียงของคนจีนในภาคเหนือ)
29 กันยายน 1936
Panatomic proms
.
.
14.
.

.
งานคัดแยกแป้งหยาบและแป้งละเอียด
โดยร่อนสิ่งสกปรกชิ้นใหญ่ออก
ค่าแรง 30 หาบ จะได้ 18 บาท
3-4 ตุลาคม 1936
Panatomic proms
.
.
15.

.
การร่อนแป้งสาคู ผ่านผ้ากรอง
ภายในโรงงานสาคูคลองแงะ
3-4 ตุลาคม 1936
Panatomic proms
.
.
16.
.

.
ผงแป้งบนพื้นโรงงาน 
รอการคัดแยก/กรอง
โรงงานสาคูคลองแงะ
4 ตุลาคม 1936
Panatomic proms
.
.
17.
.

.
นำแป้งที่ร่อนละเอียดแล้ว
มาเข้าตะแกรงหมุน/พรมน้ำ
เพื่อให้แป้งจับตัวกันเป้นก้อนกลม
(ขนมบางชนิดจะใช้ก้อนแป้งกลม)
ตะแกรงบางส่วนถูกถอดออก
เพื่อทำความสะอาดหลังเลิกงาน
โรงงานสาคูคลองแงะ
4 ตุลาคม 1936
Panatomic proms
.
.
18.
.

.
ตะแกรงหมุนที่ถอดด้าหนึ่งออก
เพื่อทำความสะอาด/เขี่ยก้อนแป้งที่ติด
4 ตุลาคม 1936
.
.
19.
.

.
แป้งที่เป็นเม็ดกลมจะนำมาคั่วกับ
ไขมันของวัว/น้ำมันวัว น้ำมันเนย ให้หอม
กับแป้งจะได้ยึดติดจับเป็นก้อนกลม ๆ
ในกะทะเหล็กหล่อที่ทาน้ำมันวัว/น้ำมันเนย
ใช้ไม้ฟืนเผาเตาจากด้านนอก
ที่โรงงานสาคูคลองแงะ
(งานนี้ต้องใช้ทักษะ/ประสบการณ์)
4  ตุลาคม 1936
Panatomic proms
.
.
20.
.

.
ถังไม้ที่ใส่เม็ดมันสำปะหลังกลม
ที่นำขึ้นจากกะทะที่คั่วเม็ดมันสำปะหลัง
ให้เป็นเม็ดกลม ๆ ขนาดใหญ่/เล็ก
โรงงานสาคูคลองแงะ
4 ตุลาคม 1936
Panatomic proms
.
.
21.
.

.
แป้งที่ร่อนละเอียดแล้ว
จะตักใส่กระสอบรอขาย
โรงงานสาคูคลองแงะ
29 กันยายน 1936
Panatomic proms
.
.

.
.

Pendleton, Robert Larimore
(25 มิถุนายน 1890 - 23 มิถุนายน 1957

ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านดิน
เกิดที่ Mineaplois รัฐ Minnesota
และไปเติบโตที่รัฐ California
ขณะที่เรียนปริญญาเอกที่
Univesity of California-Berkeley
ผลงานสำรวจที่ดิน 4 ครั้ง
ทำให้ท่านได้ยอมรับว่า
เป็นเจ้าของผลงานรุ่นเยาว์/วัยรุ่นพุ่งแรง
รวมทั้งบทวิจารณ์เกี่ยวกับการจำแนกดิน
ของผลงานดั้งเดิมของท่านอื่น

ในปี 1917
ท่านได้รับปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์ดิน
หลังจากนั้นท่านได้เดินทางไปอินเดีย
เพื่อทำหน้าที่สอนเรื่องดิน
ที่ Ewing Christain College
ทั้งยังเป็นผู้อำนวยการด้านเกษตรกรรม
ของรัฐ Gwakior จนถึงปี 1923

ในปี 1923
ท่านย้ายไปทำงานที่ฟิลิปปินส์
จนถึงปี 1935
ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้
ท่านเว้นวรรคไปทำงานที่จีน 2 ปี
เพื่อทำหน้าที่เป็นหัวหน้านักเทคโนโลยี
สำหรับการสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งชาติจีน
ท่านเขียนบทความ 15 ฉบับให้กับจีน
และเขียนบทความ 50 ฉบับให้กับฟิลิปปินส์

ในปี 1935
ท่านย้ายมาอยู่ที่สยาม
(เปลี่ยนชื่อเป็นไทย 24 มิย.1939)
ทำหน้าที่เป็นนักเทคโนโลยีดินและเกษตรกร
สังกัดกรมวิชาการเกษตรและประมง
สยามคือ บ้านของท่าน
ท่านรักผู้คนและแผ่นดินสยาม
ท่านถูกจับกุมคุมขังในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
แต่ท่านก็กลับสหรัฐอเมริกาได้ในปี 1942

ท่านทำงานที่สำนักงานความสัมพันธ์การเกษตรต่างประเทศ
ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
ซึ่งส่งตัวท่านไปทำงานที่ทวีปอเมริกากลางและเปรู

ในปี 1946
ท่านกลับไปทำงานที่ภาควิชาภูมิศาสตร์
Johns Hopkins University
จนกระทั่งเกษียณในปี 1955
ท่านเดินทางทำงานไปมาระหว่าง
Balitimore กับ กรุงเทพฯ

ในปี 1946
ท่านยังมาทำงานที่ไทย 4 เดือน
เป็นที่ปรึกษากระทรวงเกษตร

ตั้งแต่ปี 1947-1948
เป็นที่ปรึกษาด้านการเกษตรของ
คณะผู้แทนองค์การอาหารและเกษตร
แห่งสหประชาชาติประจำสยาม

ตั้งแต่ปี 1952-1953
ท่านร่วมเป็นคณะผู้แทนพิเศษ
ด้านเทคนิคและเศรษฐกิจ ของ
United States Mutual Securiy Agency

ท่านตีพิมพ์ผลงานกว่า 160 ชิ้น

หลังจากท่านเกษียณอายุทำงานแล้ว
ท่านเดินทางกลับประเทศไทย
และมรณกรรมที่เมืองไทย
.

ที่มาของภาพ

Pendleton, Robert Larimore
https://tinyurl.com/f3b2phu6

.
.

ขั้นตอนการผลิตแป้งสาคู
(ผลิตผลจากมันสำปะหลัง
แต่การตลาดจะเรียกว่า แป้งสาคู)

นำมันสำปะหลังมาคัดแยก
สับกิ่งไม้ที่ติดมากับมันออก
นำมันสำปะหลังไปล้างขัดผิวออก

นำมันสำปะหลังเข้าเครื่องบดละเอียด
ให้ได้ก้อนมันสำปะหลังเปียก ๆ

จากนั้นนำก้อนมันสำปะหลังไปแช่น้ำ
เพื่อให้แป้งจับตัวและตกตะกอนนอนก้น
จะใช้เวลาราว 2-3 วัน

ควักก้อนแป้งที่ตกตะกอนดีแล้ว
นำใส่ถังไม้รอตกตะกอนเป็นก้อนแป้ง
ใช้เวลา 1 วัน (ราว 20 ชั่วโมง +/-)
นำมารีดน้ำในถุงผ้าราว 5 นาที
แล้วพาไปเทกองบนพื้นให้คาย/ระเหยน้ำ
จากนั้นนำแป้งไปเกลี่ยนบนเตียงเตา
อบแห้งบนเตาเตียงราว 24 ชั่วโมง

นำแป้งจากเตาเตียงที่เป็นผงมาร่อน
เพื่ิอคัดสิ่งสกปรก/ขนาดใหญ่ออก
นำแป้งที่ร่อนเบื้องต้น
ไปร่อนอีกครั้งผ่านผ้ากรองลงไป
ขั้นตอนนี้บรรจุขสยได้เลย

นำแป้งละเอียดมาพรมน้ำ
เข้าเครื่องเขย่าปั้นให้เป็นเม็ดกลม
นำเม็ดกลมไปคั่วกับกะทะเหล็ก
ทาด้วยไขมันจากวัว หรือเนย
เพื่อให้มีกลิ่นหอม จับตัวเป็นก้อนกลม
นำไปเป็นสารตั้งต้นขนมหลายชนิด
ราคาขายจะดีกว่าแป้งเป็นผง


ข้อมูล/ที่มา

สนธิศาสตร์ เจนวราพงษ์
ครอบครัวเคยมีโรงงานแป้งสาคู
สายคลองแงะ-สะเดา
.
.

ในอดีตตามสวนยางพาราบุกเบิก
จะมีการปลูกมันสำปะหลัง ข้าวไร่
ปลูกพร้อมกับยางพารา
เพื่อนำผลผลิตส่วนหนึ่งมาเป็นอาหาร
ส่วนที่เหลือจึงจะนำไปขายโรงงาน

ในอดีตที่คลองแงะ-สะเดา
จะมีโรงงานสาคู (แป้งสาคู) หลายโรง
แต่ต่อมาผลผลิตมันสำปะหลัง
หายากมีจำนวนคนขายน้อยลง
แม้ว่าจะไปตัดต้นสาคูมาทำแป้ง
ก็ไม่คุ้มรายจ่ายและการขนส่ง

กอปรกับโรงงานผลิตแป้งต่าง ๆ
ในส่วนกลางมีจำนวนมากขึ้น
ทำแป้งได้ละเอียด/สะอาดกว่า
ต้นทุนในการผลิตแป้งก็ต่ำกว่า
พร้อมกับมีราคาขายถูกกว่าแป้งสาคู

โรงงานสาคูจึงทะยอดปิดกิจการ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่