.
.
.
คลองระบายน้ำ ร.1
มาจากพระราชดำริ รัชกาลที่ 9
และทรงเห็นชอบ/ให้ความเห็นกับ
นายช่างกรมชลประทาน
ให้ขุดคลองอีก 5 เส้น ช่วยระบายน้ำหาดใหญ่
พระองค์ทรงอัจฉริยภาพในเรื่องแผนที่มาก
หลังจากน้ำท่วมหาดใหญ่หนักมากในปี 2543
ในปี 2540
คนหาดใหญ่ยังบอบช้ำ
จากวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง/ลดค่าเงิน
สินค้าชายแดนยอดขายลดลงไปจากเดิม
เพราะต้องลดภาษีสินค้านำเข้าจากนอก
ตามมติ WTO องค์กรการค้าโลก
ทำให้สินค้าในห้างสรรพสินค้า
กับสินค้าในสันติสุข/แผงทอง/ยงดี/ชีกิมหยง
ราคาเริ่มใกล้เคียงกันไม่แตกต่างกันมาก
ในปี 2543
คนหาดใหญ่ยังพบกับน้ำท่วมหนักมากอีก
ทำให้ตอนประกาศเวนคืนที่ดิน
เพื่อสร้างคลองระบายน้ำ
ราคาเวนคืนที่ดินยึดถือ
ตามราคาประเมินที่ดินของทางการ
จึงยังคงราคาสูง/ผลตอบแทนน่าพอใจ
เพราะการซื้อขายที่ดินเก็งกำไรหายไปมาก
การเวนคืนที่ดินจึงไรัคนคัดค้านราคาประเมิน
มีก็ส่วนน้อยมากที่เจ้าเล่ห์เพทุบาย
ยอมเสียค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์
ภาษีเงินได้จากขายที่ดินหลักร้อยล้านบาท
แต่คนของทางการไม่ยอม/ไม่เชื่อว่า
สุจริตมีค่าตอบแทนกันจริงในการโอน
จึงกำหนดราคาประเมินตามเดิมที่วางไว้
ผลคือ เจ้าของที่ดินรายนี้
จึง ตกควาย (เสียค่าโง่)
.
.
.
.
.
คลองระบายน้ำ ร.1
ระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลบ.ม./วินาที
ช่วยป้องกัน/บรรเทาปัญหาอุทกภัย
ในตัวเมืองหาดใหญ่ได้เป็นอย่างมาก
ทั้งยังเป็นแหล่งน้ำเพื่อสำรองน้ำ
ไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค การเกษตร
ผลิตน้ำประปาให้ 3 อำเภอในสงขลา
ในช่วงฤดูแล้งสำรองน้ำไว้ 5 ล้าน ลบ.ม.
คลองระบายน้ำ ร.1
มีความยาว 21.34 กิโลเมตร
ด้วยการขุดขยายความกว้าง
คลองดินจากเดิม 24 เมตร
เป็นคลองดาดคอนกรีตกว้าง 70 เมตร
ตามแนวเวนคืนที่ดินหลังปี 2543
เพราะปี 2553 เกิดน้ำท่วมหาดใหญ่
จากปริมาณฝนมากกว่าประมาณการ
จึงระบายน้ำไม่ทัน
คลองนี้เพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ
จากเดิม 465 ลบ.ม./วินาที
เป็น 1,200 ลบ.ม./วินาที
เมื่อไปรวมกับปริมาณน้ำ
ที่ระบายจากคลองอู่ตะเภา
อีก 465 ลบ.ม./วินาที
จะเพิ่มการระบายน้ำได้สูงสุด
ราว 1,665 ลบ.ม./วินาที
ที่มา กรมชลประทาน
.
.
.
.
.
คลองระบายน้ำในหาดใหญ่ มี 5 เส้น
ที่เป็นคลองขุด ด้วยเครื่องจักรในที่ดินเวนคืน
คลอง ร.2 น่าจะเป็นคลองอู่ตะเภา
เพราะเว้นว่างไปเลยไม่มีชื่อในแผนที่
ฝั่งตะวันตก
คลองร. 1
รับน้ำจากน้ำตกโตนงาช้าง/คลองต่ำ
กับคลองย่อย ๆ จากอำเภอคลองหอยโข่ง
ที่ไหลมารวมกับคลองอู่ตะเภา
กับดักน้ำคลองอู่ตะเภา
ที่ถนนสายเอเซียทางไปนาหม่อม
ก่อนตัดตรงไปลงทะเลสาบสงขลา
.
ฝั่งตะวันออก
คลองระบายน้ำ ร.3 ร.4 ร.5 ร.6
หน้าที่หลักคือ รับน้ำจากควนจง/นาหม่อม
คลองร.3 ร.4 เชื่อม/ช่วยคลองอู่ตะเภา
ที่มีน้ำจากคลองขุดไหลมาเชื่อม
ช่วยระบายน้ำก่อนลงทะเล
คลองร. 6 เชื่อมคลอง 2 เส้น
คลองหวะ คลองเรียน/คลองเตย
ที่ไหลมาจากควนจง/นาหม่อม
เส้นคลองหวะตรงสะพานลอย
ข้ามรางรถไฟ ระหว่าง Makro กับ
โรงงานยางพาราทิ้งร้าง
เส้นคลองเรียน/คลองเตย
ตรงสะพานใกล้ตลาดคอหงส์
ทางไปสามแยกเข้าถนนปุณณกัณฑ์
-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คลองเตยวิ่งวกวนในหาดใหญ่
มีสายหนึ่งน้ำจะไปลงคลองหวะ
แถวทางลอดสะพานรถไฟสายปาดังเบซาร์
คลองหวะจะไหลไปเชื่อมกับคลองอู่ตะเภา
มีแก้มลิง/อ่างเก็บน้ำ ที่บ้านในไร่
ด้านหลังถนนปุณณกัณฑ์
(โรงฆ่าสัตว์(ร้าง) เทศบาลนครหาดใหญ่)
ก่อนให้น้ำบางส่วนไหลมาเชื่อมกับ
คลองหวะแล้วลงที่คลองอู่ตะเภา
คลองอีกเส้นไหลมาลงที่คลองเรียน/คลองเตย
.
.
ฝั่งหาดใหญ่
รับน้ำจากควนจง/นาหม่อม
(คลองเรียน/คลองเตย คลองหวะ)
คลองอู่ตะเภา คลอง ร.1
ฝั่งหาดใหญ่ใน
รับน้ำจากคลองร 1. คลองอู่ตะเภา
คลองเรียน/คลองเตย คลองหวะ
ข้อสังเกตเบื้องต้น
น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
ตามหลักแนวโน้มถ่วงโลก
แม่น้ำจะไหลตัดผ่านพื้นที่ลุ่ม
มากกว่าตัดผ่านพื้นที่โคก ควน
พื้นที่หาดใหญ่ใน
มีสภาพเป็นพื้นที่ที่ลุ่มกว่าพื้นที่หาดใหญ่
โคกเสม็ดชุม ที่ตั้งสถานีรถไฟ
วัดโคกสมานคุณ
คือ แนวกั้นน้ำจากคลองอู่ตะเภา
แต่คลองหวะ/คลองเตย
สายน้ำเชื่อมกับคลองอู่ตะเภา
ผ่านในตัวเมืองหาดใหญ่
นาน ๆ น้ำจากคลองอู่ตะเภา
จะไหลล้นเข้าคลองหวะ/คลองเตย
น้ำจึงท่วมฝั่งหาดใหญ่ในก่อน
และระดับน้ำท่วมมักจะสูงกว่าพื้นที่หาดใหญ่
.
.
.
.
.
แก้มลิงในรูปอ่างเก็บน้ำ
1. อ่างเก็บน้ำคลองโตนงาช้าง
ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
รับน้ำจากโตนงาช้าง
2. อ่างเก็บน้ำคลองต่ำ
ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
รับน้ำจากโตนงาช้าง
3. อ่างเก็บน้ำคลองตง
ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
มาลงที่คลองอู่ตะเภา
4. อ่างเก็บน้ำคลองลำ
ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา
มาลงที่คลองอู่ตะเภา
5. อ่างเก็บน้ำคลองหลาปัง
ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา
น้ำจากไทรบุรี มาเลย์
มาลงที่คลองอู่ตะเภา
6. อ่างเก็บน้ำบ้านในไร่
ต.คอหงษ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
น้ำจากควนจง/นาหม่อม
มาลงที่คลองหวะ คลองเรียน/คลองเตย
7. อ่างเก็บน้ำคลองจำไหร คลองหอยโข่ง
กับ โครงการคลองหลา ต.คลองหอยโข่ง
อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา
น้ำจากคลองย่อย ในอ.คลองหอยโข่ง
มาลงที่คลองอู่ตะเภา
.
.
การบริหารจัดการมวลน้ำ
ทำได้หลายแบบ เช่น คูคลอง
แนวกั้นมวลน้ำ ระบบสูบน้ำ
จะสามารถผลักดันให้น้ำไหล
ไปทิศทางใดก็ได้ ตามที่ต้องการ
สนามบินดอนเมือง ที่ดอนในอดีต
น้ำยังท่วมสนามบินได้
ในยุคนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
(ท่านให้สัมภาษณ์น้ำท่วมว่า เอาอยู่ค่ะ)
แต่สนามบินหนองงูเห่า (สุวรรณภูมิ)
ที่ลุ่มน้ำขัง ถมที่ดินทำสนามบิน
น้ำกลับไม่ท่วมแต่อย่างใดเลย
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
หาดใหญ่ มีชื่อเดิมว่า
บ้านทุ่งหาดใหญ่
ในพงศาวดารรัชกาลที่ 3
ตอนปราบกบฏแขกไทรบุรี
บ้านทุ่งหาดใหญ่มีการทำนากันมาก
ตั้งแต่คูเต่า น้ำน้อย บางหัก บางแฟบ
จนไปถึงแถวมหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ก่อนจะหันมาปลูกยางพาราในช่วงหลัง
เพราะยางเป็นพืชเงินสด กรีดยางวันไหน
ขายได้ตอนไหน รับเงินสด หลบ(กลับ)บ้าน
แต่ปลูกข้าวต้องรอหลายเดือนกว่าจะได้ขาย
บ้านทุ่งหาดใหญ่
เคยเป็นสนามรบครั้งสำคัญ
ระหว่างคนสยามกับคนแขกนายู(มลายู)
มีการรบกันในหลายจุดมาก
แถวบริเวณท่าเรือในอดีต
ตามคลองหลายสายรอบ ๆ หาดใหญ่
กับบริเวณปลักธง ควนจง
ใกล้กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มีชื่อสนามรบในหาดใหญ่
ในหนังสือของอดีตผู้ว่าราชการจังหวัด
นายเถกิงศักดิ์ พัฒโน
ปลักยีหมาน
แถวที่ทำการประปาหาดใหญ่
แต่เดิมเล่าลือกันว่า แถวนี้ผีดุมาก
เพราะ หะยีหมาน หัวหน้านักรบนายู
ถูกฆ่าตายที่ปลักแห่งนี้พร้อมกับทหารนายู
ที่มา ลุงลัพย์ หนูประดิษฐ๋
หะยี คือ คำนำหน้าผู้ชายมุสลิม
ที่ผ่านพิธีฮัจญ์ นครเมกกะ เมดิน่า
ในสมัยก่อนเดินทางลำบากมาก
ตายมากกว่าจะได้กลับบ้านเกิด
จึงเกิดธรรมเนียมญาติพี่น้อง
จะพร้อมใจเดินทางมาส่ง
คนที่จะเดินทางไปทำพิธีฮัจญ์
ตำรวจ/อำเภอ จะจับผู้ร้ายรายสำคัญ
มักจะมาซุ่มรอบริเวณที่คนมาชุมนุม
เพื่อส่งญาติพี่น้องไปทำพิธีฮัจญ์
แถวควนมดแดง/กับหลายจุด
ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ก็เคยขุดพบกระดูกคนตายจำนวนมาก
ฝังไว้แถวควนละแวกนั้น
ก่อนทำพิธีลอยน้ำไปหลังขุดพบ
ควนดำก่อนถึงควนจง(นาหม่อม)
เคยเป็นที่ตั้งวัดคลองเรียนในอดีต
ถูกกบฎมลายูเผาทิ้ง
เลยย้ายมาตั้งที่ใหม่ในทุกวันนี้
ที่นี่คือ ที่ตั้งโรงเรียนแห่งแรก
มีตำนาน
ย้ายวัดหนีเสียงระฆังตีบอกเวลา
.
.
รัชกาลที่ 5
เสด็จเยี่ยมไทรบุรี(เกดาห์) นายู
ก่อนตกเป็นอาณานิคมอังกฤษ
ทรงพระราชดำเนินทางบก
ตามถนนไทรบุรี-สงขลา
(ถนนกาญจนวนิชย์)
ทึ่วัดหัวถนนคือ
ถนนฝั่งสงขลา-คนสยาม
ฝั่งไทรบุรี-คนนายู
ตัดมาพบกันจึงสร้างวัดนี้ไว้
รัชกาลที่ 5 เสด็จกลับทางบก
ทรงมาขึ้นเรือที่ท่าทรายใหญ่
เพื่อกลับไปที่จวนเมืองสงขลา
สันนิษฐานว่า ท่าทรายใหญ่
น่าจะแถว ๆ หลังอำเภอหาดใหญ่
เดิมมีท่าทรายกว้างใหญ่มาก
มีสภาพหาดทรายขนาดเบ้ง
นม(ย่ายาย)เพื่อน เล่าว่า
เด็ก ๆ แกไปเก็บหอย
จับปลา งมกุ้ง ทึ่นั่น
ผมยังทันเห็นหาดทรายใหญ่
.
.
หาดใหญ่แยกเป็นสองฝั่ง คือ
หาดใหญ่ กับ หาดใหญ่ใน
เส้นทางรถไฟแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง
พื้นที่หาดใหญ่เดิมคือ
พื้นที่กักกันกรรมกรชาวจีน
เพื่อความปลอดภัย/ป้องกันการปล้นเมือง
แบบเคยเกิดขึ้นที่ระนอง ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา
มีในพงศาวดารสยาม
กรรมกรชาวจีนมาสร้างรางรถไฟ
กับสถานีรถไฟโคกเสม็ดชุม(หาดใหญ่)
จะมาพำนักกันทึ่ฝั่งหาดใหญ่
ที่ใดมีคนมาก จะมีการค้าคึกคัก
และความเจริญก็จะตามมาในภายหลัง
สถานีรถไฟเดิมอยู่ที่ อู่ตะเภา ใกล้หาดใหญ่
น้ำท่วมทุกปีในตอนนั้น และเป็นปลายทาง
จุดกลับรถไปสงขลา ควนเนียง พัทลุง กทม.
หลังจากรัชกาลที่ 6 ให้ขยายเส้นทางรถไฟ
ให้เชื่อมต่อถึงปาดังเบซาร์ สุไหงโกลค
ที่ติดกับมาเลย์ดินแดนของอังกฤษ
จึงให้ย้ายมาตั้งสถานีรถไฟทึ่โคกเสม็ดชุม
เพราะน้ำไม่ท่วม ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น
สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่
ที่นี่มีอู่ซ่อมรถไฟ วงเวียนกลับรถไฟ
ที่พักนายช่าง/คนงานรถไฟจำนวนหลายหลัง
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับมาเลย์
ทางรถไฟปาดังเบซาร์ในฝั่งไทย
ระยะทาง 10 กิโลเมตร
นายช่าง/คนงานมาเลย์
มีหน้าที่เข้ามาซ่อมบำรุงทางในฝั่งไทย
ทางรถไฟสุไหงโกลคในฝั่งมาเลย์
ระยะทาง 10 กิโลเมตร
นายช่าง/คนงานไทย
มีหน้าที่เข้าไปซ่อมบำรุงทางในฝั่งมาเลย์
.
.
หาดใหญ่มีการสะกดภาษาอังกฤษว่ว
Haadyai Hadyai Hatyai
Hatyai เพราะอำมาตย์บังคับให้ใช้คำนี้
ตัวย่อ สถานีรถไฟหาดใหญ่
คือ ห.ใ ไม่ใข่ ห.ญ.
เพราะคนงานรถไฟ/ชาวบ้านมักคิดลึก
ตะโกนกันเสียงดัง ๆ ว่า
เฮ่ คุณนาย ห ใย้ ห ใย้ มาแหล่ว ๆ
แต่ ห.ใ ตะโกนแล้วเหมือนคนกำลังไอ
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
ต้องใช้คำว่า ญ.ว. แทน ห.ญ หรือ ห.ว
เพราะมีผู้รู้/ผู้ปกครองทักท้วงกันว่า
ห้ามนำคำย่อว่า ห นำหน้าเด็ดขาด
ป้องกันคนอุบาทว์/จัxไร
คิดลึกล้อเลียนนักเรียน
.
.
ในอดีต มีการเดินเรือจากไทรบุรี
แล่นตามน้ำมาทางคลองอู่ตะเภา
ไปออกที่ทะเลสาบสงขลา หลังเกาะยอ
ทำให้หาดใหญ่เดิมมีชื่อว่า อำเภอเหนือ
ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอหาดใหญ่
คลอง/แม่น้ำส่วนใหญ่
จะไหลจากทิศเหนือลงทิศใต้
แต่คลองอู่ตะเภาไหลจาก
ทิศใต้ไปลงเลทางทิศเหนือ
สมัยก่อน คนไทรบุรี พัทลุง สงขลา
ระโนฏ/ตโนด (สะกดตามพงศาวดาร ร.3)
จะทิ้งพระ (คลอง/เรือชักพระ)
ถ้าจะหนีคดีความ ย้ายที่ทำมาหากิน
มักจะไปมาตามเส้นทางน้ำคลองอู่ตะเภา
มีคำพังเพยว่า
ทางเรือไล่ทางคนเดิน
ทางรถไฟไล่ทางเรือ
ทางรถยนต์ไล่ทางรถไฟ
ทางเรือบินไล่ทางรถยนต์
แต่ในญี่ปุ่น จีน ยุโรป
ทางรถไฟไล่ทางเรือบิน
.
.
.

.
ที่มา กระทรวงพลังงาน
.
หาดใหญ่เคยมีพื้นที่มากที่สุดในสงขลา
ต่อมามีการแบ่งเขตอีก 3 อำเภอ
นาหม่อม บางกล่ำ คลองหอยโข่ง
(สนามบินนานาชาติหาดใหญ่
สังกัดอำเภอคลองหอยโข่ง)
ระยะทางระหว่าง
ที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่
ถึงที่ว่าการสามอำเภอนี้
จะห่างกันราว 15-17 กิโลเมตร
แม้ว่าอำเภอหาดใหญ่
แบ่งพื้นที่ไปสามอำเภอ
ยังมีพื้นที่ลำดับที่ 4 ของสงขลา
เวลามีข่าวว่า
น้ำท่วมหาดใหญ่
บางทีอาจจะเป็นเขตรอบนอกตัวเมือง
ไม่ใช่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่
พื้นทึ่อำเภอหาดใหญ่ มี
เทศบาลนครหาดใหญ่
คอหงส์ คลองหวะ ทุ่งลุง
ควนลัง(หาดใหญ่ใน) ปริก
มีบางคนเสนอว่าให้ยกหาดใหญ่
ขึ้นเป็นมหานครแบบพัทยา กทม.
จะได้บริหารจัดการง่าย
ประหยัดงบประมาณจำนวนมาก
แต่นักการเมืองท้องถิ่นไม่เห็นด้วย
เพราะตำแหน่งหายไปหลายคน
กับเงินทอนต่าง ๆ ก็หายไปเช่นกัน
เผลอ ๆ ต้องจ่ายตังค์(สตางค์-เงิน)
ซื้อเสียงมากกว่าเก่า
หรือกลายเป็นพื้นที่ Cowboys จังโก้ ริงโก้
ไล่ล่ายิงกันอุตลุดเพื่อชิงตำแหน่งที่มีน้อยลง
กับจัดการหัวคะแนนที่เบี้ยวคะแนนเสียง
ไม่สมกับเงินทองที่จ่ายผ่านหัวคะแนน
คลองระบายน้ำเมืองหาดใหญ่
.
คลองระบายน้ำ ร.1
มาจากพระราชดำริ รัชกาลที่ 9
และทรงเห็นชอบ/ให้ความเห็นกับ
นายช่างกรมชลประทาน
ให้ขุดคลองอีก 5 เส้น ช่วยระบายน้ำหาดใหญ่
พระองค์ทรงอัจฉริยภาพในเรื่องแผนที่มาก
หลังจากน้ำท่วมหาดใหญ่หนักมากในปี 2543
ในปี 2540
คนหาดใหญ่ยังบอบช้ำ
จากวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง/ลดค่าเงิน
สินค้าชายแดนยอดขายลดลงไปจากเดิม
เพราะต้องลดภาษีสินค้านำเข้าจากนอก
ตามมติ WTO องค์กรการค้าโลก
ทำให้สินค้าในห้างสรรพสินค้า
กับสินค้าในสันติสุข/แผงทอง/ยงดี/ชีกิมหยง
ราคาเริ่มใกล้เคียงกันไม่แตกต่างกันมาก
ในปี 2543
คนหาดใหญ่ยังพบกับน้ำท่วมหนักมากอีก
ทำให้ตอนประกาศเวนคืนที่ดิน
เพื่อสร้างคลองระบายน้ำ
ราคาเวนคืนที่ดินยึดถือ
ตามราคาประเมินที่ดินของทางการ
จึงยังคงราคาสูง/ผลตอบแทนน่าพอใจ
เพราะการซื้อขายที่ดินเก็งกำไรหายไปมาก
การเวนคืนที่ดินจึงไรัคนคัดค้านราคาประเมิน
มีก็ส่วนน้อยมากที่เจ้าเล่ห์เพทุบาย
ยอมเสียค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์
ภาษีเงินได้จากขายที่ดินหลักร้อยล้านบาท
แต่คนของทางการไม่ยอม/ไม่เชื่อว่า
สุจริตมีค่าตอบแทนกันจริงในการโอน
จึงกำหนดราคาประเมินตามเดิมที่วางไว้
ผลคือ เจ้าของที่ดินรายนี้
จึง ตกควาย (เสียค่าโง่)
.
.
.
คลองระบายน้ำ ร.1
ระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลบ.ม./วินาที
ช่วยป้องกัน/บรรเทาปัญหาอุทกภัย
ในตัวเมืองหาดใหญ่ได้เป็นอย่างมาก
ทั้งยังเป็นแหล่งน้ำเพื่อสำรองน้ำ
ไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค การเกษตร
ผลิตน้ำประปาให้ 3 อำเภอในสงขลา
ในช่วงฤดูแล้งสำรองน้ำไว้ 5 ล้าน ลบ.ม.
คลองระบายน้ำ ร.1
มีความยาว 21.34 กิโลเมตร
ด้วยการขุดขยายความกว้าง
คลองดินจากเดิม 24 เมตร
เป็นคลองดาดคอนกรีตกว้าง 70 เมตร
ตามแนวเวนคืนที่ดินหลังปี 2543
เพราะปี 2553 เกิดน้ำท่วมหาดใหญ่
จากปริมาณฝนมากกว่าประมาณการ
จึงระบายน้ำไม่ทัน
คลองนี้เพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ
จากเดิม 465 ลบ.ม./วินาที
เป็น 1,200 ลบ.ม./วินาที
เมื่อไปรวมกับปริมาณน้ำ
ที่ระบายจากคลองอู่ตะเภา
อีก 465 ลบ.ม./วินาที
จะเพิ่มการระบายน้ำได้สูงสุด
ราว 1,665 ลบ.ม./วินาที
ที่มา กรมชลประทาน
.
.
.
คลองระบายน้ำในหาดใหญ่ มี 5 เส้น
ที่เป็นคลองขุด ด้วยเครื่องจักรในที่ดินเวนคืน
คลอง ร.2 น่าจะเป็นคลองอู่ตะเภา
เพราะเว้นว่างไปเลยไม่มีชื่อในแผนที่
ฝั่งตะวันตก
คลองร. 1
รับน้ำจากน้ำตกโตนงาช้าง/คลองต่ำ
กับคลองย่อย ๆ จากอำเภอคลองหอยโข่ง
ที่ไหลมารวมกับคลองอู่ตะเภา
กับดักน้ำคลองอู่ตะเภา
ที่ถนนสายเอเซียทางไปนาหม่อม
ก่อนตัดตรงไปลงทะเลสาบสงขลา
.
ฝั่งตะวันออก
คลองระบายน้ำ ร.3 ร.4 ร.5 ร.6
หน้าที่หลักคือ รับน้ำจากควนจง/นาหม่อม
คลองร.3 ร.4 เชื่อม/ช่วยคลองอู่ตะเภา
ที่มีน้ำจากคลองขุดไหลมาเชื่อม
ช่วยระบายน้ำก่อนลงทะเล
คลองร. 6 เชื่อมคลอง 2 เส้น
คลองหวะ คลองเรียน/คลองเตย
ที่ไหลมาจากควนจง/นาหม่อม
เส้นคลองหวะตรงสะพานลอย
ข้ามรางรถไฟ ระหว่าง Makro กับ
โรงงานยางพาราทิ้งร้าง
เส้นคลองเรียน/คลองเตย
ตรงสะพานใกล้ตลาดคอหงส์
ทางไปสามแยกเข้าถนนปุณณกัณฑ์
-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คลองเตยวิ่งวกวนในหาดใหญ่
มีสายหนึ่งน้ำจะไปลงคลองหวะ
แถวทางลอดสะพานรถไฟสายปาดังเบซาร์
คลองหวะจะไหลไปเชื่อมกับคลองอู่ตะเภา
มีแก้มลิง/อ่างเก็บน้ำ ที่บ้านในไร่
ด้านหลังถนนปุณณกัณฑ์
(โรงฆ่าสัตว์(ร้าง) เทศบาลนครหาดใหญ่)
ก่อนให้น้ำบางส่วนไหลมาเชื่อมกับ
คลองหวะแล้วลงที่คลองอู่ตะเภา
คลองอีกเส้นไหลมาลงที่คลองเรียน/คลองเตย
.
.
ฝั่งหาดใหญ่
รับน้ำจากควนจง/นาหม่อม
(คลองเรียน/คลองเตย คลองหวะ)
คลองอู่ตะเภา คลอง ร.1
ฝั่งหาดใหญ่ใน
รับน้ำจากคลองร 1. คลองอู่ตะเภา
คลองเรียน/คลองเตย คลองหวะ
ข้อสังเกตเบื้องต้น
น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
ตามหลักแนวโน้มถ่วงโลก
แม่น้ำจะไหลตัดผ่านพื้นที่ลุ่ม
มากกว่าตัดผ่านพื้นที่โคก ควน
พื้นที่หาดใหญ่ใน
มีสภาพเป็นพื้นที่ที่ลุ่มกว่าพื้นที่หาดใหญ่
โคกเสม็ดชุม ที่ตั้งสถานีรถไฟ
วัดโคกสมานคุณ
คือ แนวกั้นน้ำจากคลองอู่ตะเภา
แต่คลองหวะ/คลองเตย
สายน้ำเชื่อมกับคลองอู่ตะเภา
ผ่านในตัวเมืองหาดใหญ่
นาน ๆ น้ำจากคลองอู่ตะเภา
จะไหลล้นเข้าคลองหวะ/คลองเตย
น้ำจึงท่วมฝั่งหาดใหญ่ในก่อน
และระดับน้ำท่วมมักจะสูงกว่าพื้นที่หาดใหญ่
.
.
.
แก้มลิงในรูปอ่างเก็บน้ำ
1. อ่างเก็บน้ำคลองโตนงาช้าง
ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
รับน้ำจากโตนงาช้าง
2. อ่างเก็บน้ำคลองต่ำ
ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
รับน้ำจากโตนงาช้าง
3. อ่างเก็บน้ำคลองตง
ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
มาลงที่คลองอู่ตะเภา
4. อ่างเก็บน้ำคลองลำ
ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา
มาลงที่คลองอู่ตะเภา
5. อ่างเก็บน้ำคลองหลาปัง
ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา
น้ำจากไทรบุรี มาเลย์
มาลงที่คลองอู่ตะเภา
6. อ่างเก็บน้ำบ้านในไร่
ต.คอหงษ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
น้ำจากควนจง/นาหม่อม
มาลงที่คลองหวะ คลองเรียน/คลองเตย
7. อ่างเก็บน้ำคลองจำไหร คลองหอยโข่ง
กับ โครงการคลองหลา ต.คลองหอยโข่ง
อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา
น้ำจากคลองย่อย ในอ.คลองหอยโข่ง
มาลงที่คลองอู่ตะเภา
.
.
การบริหารจัดการมวลน้ำ
ทำได้หลายแบบ เช่น คูคลอง
แนวกั้นมวลน้ำ ระบบสูบน้ำ
จะสามารถผลักดันให้น้ำไหล
ไปทิศทางใดก็ได้ ตามที่ต้องการ
สนามบินดอนเมือง ที่ดอนในอดีต
น้ำยังท่วมสนามบินได้
ในยุคนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
(ท่านให้สัมภาษณ์น้ำท่วมว่า เอาอยู่ค่ะ)
แต่สนามบินหนองงูเห่า (สุวรรณภูมิ)
ที่ลุ่มน้ำขัง ถมที่ดินทำสนามบิน
น้ำกลับไม่ท่วมแต่อย่างใดเลย
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
หาดใหญ่ มีชื่อเดิมว่า บ้านทุ่งหาดใหญ่
ในพงศาวดารรัชกาลที่ 3
ตอนปราบกบฏแขกไทรบุรี
บ้านทุ่งหาดใหญ่มีการทำนากันมาก
ตั้งแต่คูเต่า น้ำน้อย บางหัก บางแฟบ
จนไปถึงแถวมหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ก่อนจะหันมาปลูกยางพาราในช่วงหลัง
เพราะยางเป็นพืชเงินสด กรีดยางวันไหน
ขายได้ตอนไหน รับเงินสด หลบ(กลับ)บ้าน
แต่ปลูกข้าวต้องรอหลายเดือนกว่าจะได้ขาย
บ้านทุ่งหาดใหญ่
เคยเป็นสนามรบครั้งสำคัญ
ระหว่างคนสยามกับคนแขกนายู(มลายู)
มีการรบกันในหลายจุดมาก
แถวบริเวณท่าเรือในอดีต
ตามคลองหลายสายรอบ ๆ หาดใหญ่
กับบริเวณปลักธง ควนจง
ใกล้กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มีชื่อสนามรบในหาดใหญ่
ในหนังสือของอดีตผู้ว่าราชการจังหวัด
นายเถกิงศักดิ์ พัฒโน
ปลักยีหมาน
แถวที่ทำการประปาหาดใหญ่
แต่เดิมเล่าลือกันว่า แถวนี้ผีดุมาก
เพราะ หะยีหมาน หัวหน้านักรบนายู
ถูกฆ่าตายที่ปลักแห่งนี้พร้อมกับทหารนายู
ที่มา ลุงลัพย์ หนูประดิษฐ๋
หะยี คือ คำนำหน้าผู้ชายมุสลิม
ที่ผ่านพิธีฮัจญ์ นครเมกกะ เมดิน่า
ในสมัยก่อนเดินทางลำบากมาก
ตายมากกว่าจะได้กลับบ้านเกิด
จึงเกิดธรรมเนียมญาติพี่น้อง
จะพร้อมใจเดินทางมาส่ง
คนที่จะเดินทางไปทำพิธีฮัจญ์
ตำรวจ/อำเภอ จะจับผู้ร้ายรายสำคัญ
มักจะมาซุ่มรอบริเวณที่คนมาชุมนุม
เพื่อส่งญาติพี่น้องไปทำพิธีฮัจญ์
แถวควนมดแดง/กับหลายจุด
ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ก็เคยขุดพบกระดูกคนตายจำนวนมาก
ฝังไว้แถวควนละแวกนั้น
ก่อนทำพิธีลอยน้ำไปหลังขุดพบ
ควนดำก่อนถึงควนจง(นาหม่อม)
เคยเป็นที่ตั้งวัดคลองเรียนในอดีต
ถูกกบฎมลายูเผาทิ้ง
เลยย้ายมาตั้งที่ใหม่ในทุกวันนี้
ที่นี่คือ ที่ตั้งโรงเรียนแห่งแรก
มีตำนาน ย้ายวัดหนีเสียงระฆังตีบอกเวลา
.
.
รัชกาลที่ 5
เสด็จเยี่ยมไทรบุรี(เกดาห์) นายู
ก่อนตกเป็นอาณานิคมอังกฤษ
ทรงพระราชดำเนินทางบก
ตามถนนไทรบุรี-สงขลา
(ถนนกาญจนวนิชย์)
ทึ่วัดหัวถนนคือ
ถนนฝั่งสงขลา-คนสยาม
ฝั่งไทรบุรี-คนนายู
ตัดมาพบกันจึงสร้างวัดนี้ไว้
รัชกาลที่ 5 เสด็จกลับทางบก
ทรงมาขึ้นเรือที่ท่าทรายใหญ่
เพื่อกลับไปที่จวนเมืองสงขลา
สันนิษฐานว่า ท่าทรายใหญ่
น่าจะแถว ๆ หลังอำเภอหาดใหญ่
เดิมมีท่าทรายกว้างใหญ่มาก
มีสภาพหาดทรายขนาดเบ้ง
นม(ย่ายาย)เพื่อน เล่าว่า
เด็ก ๆ แกไปเก็บหอย
จับปลา งมกุ้ง ทึ่นั่น
ผมยังทันเห็นหาดทรายใหญ่
.
.
หาดใหญ่แยกเป็นสองฝั่ง คือ
หาดใหญ่ กับ หาดใหญ่ใน
เส้นทางรถไฟแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง
พื้นที่หาดใหญ่เดิมคือ
พื้นที่กักกันกรรมกรชาวจีน
เพื่อความปลอดภัย/ป้องกันการปล้นเมือง
แบบเคยเกิดขึ้นที่ระนอง ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา
มีในพงศาวดารสยาม
กรรมกรชาวจีนมาสร้างรางรถไฟ
กับสถานีรถไฟโคกเสม็ดชุม(หาดใหญ่)
จะมาพำนักกันทึ่ฝั่งหาดใหญ่
ที่ใดมีคนมาก จะมีการค้าคึกคัก
และความเจริญก็จะตามมาในภายหลัง
สถานีรถไฟเดิมอยู่ที่ อู่ตะเภา ใกล้หาดใหญ่
น้ำท่วมทุกปีในตอนนั้น และเป็นปลายทาง
จุดกลับรถไปสงขลา ควนเนียง พัทลุง กทม.
หลังจากรัชกาลที่ 6 ให้ขยายเส้นทางรถไฟ
ให้เชื่อมต่อถึงปาดังเบซาร์ สุไหงโกลค
ที่ติดกับมาเลย์ดินแดนของอังกฤษ
จึงให้ย้ายมาตั้งสถานีรถไฟทึ่โคกเสม็ดชุม
เพราะน้ำไม่ท่วม ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น
สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่
ที่นี่มีอู่ซ่อมรถไฟ วงเวียนกลับรถไฟ
ที่พักนายช่าง/คนงานรถไฟจำนวนหลายหลัง
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับมาเลย์
ทางรถไฟปาดังเบซาร์ในฝั่งไทย
ระยะทาง 10 กิโลเมตร
นายช่าง/คนงานมาเลย์
มีหน้าที่เข้ามาซ่อมบำรุงทางในฝั่งไทย
ทางรถไฟสุไหงโกลคในฝั่งมาเลย์
ระยะทาง 10 กิโลเมตร
นายช่าง/คนงานไทย
มีหน้าที่เข้าไปซ่อมบำรุงทางในฝั่งมาเลย์
.
.
หาดใหญ่มีการสะกดภาษาอังกฤษว่ว
Haadyai Hadyai Hatyai
Hatyai เพราะอำมาตย์บังคับให้ใช้คำนี้
ตัวย่อ สถานีรถไฟหาดใหญ่
คือ ห.ใ ไม่ใข่ ห.ญ.
เพราะคนงานรถไฟ/ชาวบ้านมักคิดลึก
ตะโกนกันเสียงดัง ๆ ว่า
เฮ่ คุณนาย ห ใย้ ห ใย้ มาแหล่ว ๆ
แต่ ห.ใ ตะโกนแล้วเหมือนคนกำลังไอ
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
ต้องใช้คำว่า ญ.ว. แทน ห.ญ หรือ ห.ว
เพราะมีผู้รู้/ผู้ปกครองทักท้วงกันว่า
ห้ามนำคำย่อว่า ห นำหน้าเด็ดขาด
ป้องกันคนอุบาทว์/จัxไร
คิดลึกล้อเลียนนักเรียน
.
.
ในอดีต มีการเดินเรือจากไทรบุรี
แล่นตามน้ำมาทางคลองอู่ตะเภา
ไปออกที่ทะเลสาบสงขลา หลังเกาะยอ
ทำให้หาดใหญ่เดิมมีชื่อว่า อำเภอเหนือ
ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอหาดใหญ่
คลอง/แม่น้ำส่วนใหญ่
จะไหลจากทิศเหนือลงทิศใต้
แต่คลองอู่ตะเภาไหลจาก
ทิศใต้ไปลงเลทางทิศเหนือ
สมัยก่อน คนไทรบุรี พัทลุง สงขลา
ระโนฏ/ตโนด (สะกดตามพงศาวดาร ร.3)
จะทิ้งพระ (คลอง/เรือชักพระ)
ถ้าจะหนีคดีความ ย้ายที่ทำมาหากิน
มักจะไปมาตามเส้นทางน้ำคลองอู่ตะเภา
มีคำพังเพยว่า
ทางเรือไล่ทางคนเดิน
ทางรถไฟไล่ทางเรือ
ทางรถยนต์ไล่ทางรถไฟ
ทางเรือบินไล่ทางรถยนต์
แต่ในญี่ปุ่น จีน ยุโรป
ทางรถไฟไล่ทางเรือบิน
.
.
.
ที่มา กระทรวงพลังงาน
หาดใหญ่เคยมีพื้นที่มากที่สุดในสงขลา
ต่อมามีการแบ่งเขตอีก 3 อำเภอ
นาหม่อม บางกล่ำ คลองหอยโข่ง
(สนามบินนานาชาติหาดใหญ่
สังกัดอำเภอคลองหอยโข่ง)
ระยะทางระหว่าง
ที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่
ถึงที่ว่าการสามอำเภอนี้
จะห่างกันราว 15-17 กิโลเมตร
แม้ว่าอำเภอหาดใหญ่
แบ่งพื้นที่ไปสามอำเภอ
ยังมีพื้นที่ลำดับที่ 4 ของสงขลา
เวลามีข่าวว่า น้ำท่วมหาดใหญ่
บางทีอาจจะเป็นเขตรอบนอกตัวเมือง
ไม่ใช่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่
พื้นทึ่อำเภอหาดใหญ่ มี
เทศบาลนครหาดใหญ่
คอหงส์ คลองหวะ ทุ่งลุง
ควนลัง(หาดใหญ่ใน) ปริก
มีบางคนเสนอว่าให้ยกหาดใหญ่
ขึ้นเป็นมหานครแบบพัทยา กทม.
จะได้บริหารจัดการง่าย
ประหยัดงบประมาณจำนวนมาก
แต่นักการเมืองท้องถิ่นไม่เห็นด้วย
เพราะตำแหน่งหายไปหลายคน
กับเงินทอนต่าง ๆ ก็หายไปเช่นกัน
เผลอ ๆ ต้องจ่ายตังค์(สตางค์-เงิน)
ซื้อเสียงมากกว่าเก่า
หรือกลายเป็นพื้นที่ Cowboys จังโก้ ริงโก้
ไล่ล่ายิงกันอุตลุดเพื่อชิงตำแหน่งที่มีน้อยลง
กับจัดการหัวคะแนนที่เบี้ยวคะแนนเสียง
ไม่สมกับเงินทองที่จ่ายผ่านหัวคะแนน