ตลาดอาหารฮาลาล (Halal Food)

อาหารที่ฮาลาลหรืออาหารที่สะอาดที่มุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลามที่อัลลอฮ์ (GOD) ทรงอนุมัตให้กินได้มีบัญญัติไว้ในอัลกุรอาน ซึ่ง
เป็นบัญญัติสำหรับมุสลิมทั่งโลก ไม่ใช่เฉพาะอรับทะเลทรายเท่านั้น มีระบุไว้อย่างชัดเจนเข้าใจได้ง่าย  ตามบัญญัติข้างล่างนี้เท่านั้น
นอกนั้นมุสลิมจะต้องพิจารณาอาหารที่มุสลิมสามารถกินได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต และที่หาได้ภายในภูมิลำเนา ถิ่นฐานที่อยู่อาศัย
การห้ามบริโภคอาหารดังกล่าวห้ามในสภาวะปกติเท่านั้น แต่ถ้ามุสลิมมีความจำเป็นเพื่อการประทังชีวิต ที่ไม่อาจจะหาอาหารอื่นมาทด
แทนโปรตีนได้  อาหารต้องห้ามตามบัญญัติเหล่านี้ อนุมัติให้มุสลิมกินได้โดยไม่ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนบัญญัติของอัลลอฮ์/พระเจ้า

1. อาหารโดยทั่วๆไป

 

2. อาหารประเภทอาหารทะเลทุกๆชนิดไม่มีข้อห้าม ใดๆทั้งสิ้น:

  
{5:96} ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเธอ ซึ่งสัตว์ล่าในทะเลและอาหารจากทะเล ทั้งนี้เพื่อเป็นสิ่งอํานวยประโยชน์แก่พวกเธอ และแก่บรรดาผู้เดินทาง และได้ถูกห้ามแก่พวกเธอ ซึ่งสัตว์ล่าบนบกตราบใดที่ พวกเธอครองอิฮฺรอมอยู่ (ห้ามล่าสัตว์ขณะทำฮัจจฺ) และจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด ซึ่งสู่พระองค์ พวกเธอจะถูกรวบรวม

อัลกุรอานเป็นบัญญัติสูงสุดที่มุสลิมจะต้องปฏิบัติตาม  อาหารใดก็ตามที่ไม่มีข้อห้ามในอัลกุรอานถ้าผิดไปจากธรรมดามุสลิมจะต้องพิจารณาดูก่อนที่จะดื่มกินว่า ฮาลาลตามอัลกุรอานหรือไม่? จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตหรือไม่? และมีความจำเป็นจะต้องกินหรือไม่? อยู่ที่การพิจารณาของมุสลิมเอง ถ้าอัลลอฮ์ไม่ห้ามแล้วไม่มีผู้ใดจะออกบัญญัติห้ามได้แม้แต่ทานศาสดามูฮัมมัดก็ตาม ซึ่งท่านศาสดามูฮัมมัดเข้าใจได้ดีในเรื่องนี้

 
ถ้าผู้ใดก็ตามไม่พอใจในการผลิตและจำหน่ายอาหารฮาลาลในประเทศไทยเรา กรุณาหาคำตอบ ได้ที่ https://ppantip.com/topic/33237652 
 
.......................................................................

ตลาดอาหารฮาลาล (Halal Food) หรือตลาดอาหารสาหรับผู้นับถือศาสนาอิสลาม (มุสลิม) ทวีความสาคัญขึ้นเร่ือยๆ กระท่ั้ง สามารถขยับจากการเป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ไปเป็นตลาดหลัก (Mass Market) หรือตลาดที่มีผู้บริโภคเป้าหมาย จำนวนมากและหลากหลายกลุ่มได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่ก่ี่ทศวรรษ โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจากการเพ่ิ่มขึ้นของจำนวน ประชากรมุสลิมโลก และกระแสบริโภคอาหารปลอดภัย ซึ่งเป็นกระแสท่ี่มาแรงในช่วงท่ีมีการระบาดของ COVID-19 ทั้งน้ี ในอนาคต คาดว่าตลาดอาหารฮาลาลโลกจะเติบโตย่ิ่งข้ึ้นตามความต้องการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และตรวจสอบแหล่งที่มาได้ จากผู้บริโภคท้ั้งท่ีเป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม และในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกอาหารช้ั้นนำของโลก ท้ั้งยังมีช่ือ เสียง ด้านเทคโนโลยีการผลิตอาหารที่ทันสมัย ผู้ประกอบการสินค้าอาหารในไทยจึงไม่ควรพลาดโอกาสท่ีจะขยายการส่งออกไปยัง ตลาดดังกล่าว 
จากข้อมูลสถิติประชากรโลกของ Pew Research Center (Washington, DC) คาดว่ากลุ่มคนที่นับถือศาสนาอิสลามจะเพิ่มจำนวนเร็วที่สุดในโลก ดังนั้น ผลิตภัณฑ์และสินค้าที่ได้รับตรารับรองฮาลาล ตามหลักศาสนาอิสลาม จึงมีความต้องการมากขึ้นไปด้วย
ปัจจุบันไทยมีการผลิตอาหารฮาลาลเพื่อจำหน่ายแก่มุสลิมภายในประเทศ รวมถึงส่งออกไปต่างประเทศ อาหารฮาลาลของไทย มีจุดแข็งด้านคุณภาพวัตถุดิบ อุตสาหกรรมอาหารของไทยยังมีความเข้มแข็ง มีชื่อเสียงในตลาดโลก ทั้งในด้านมาตรฐาน คุณภาพ และรสชาติ โดยไทยได้ส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารไปยังกลุ่มประเทศองค์การความร่วมมืออิสลาม (Organisation of Islamic Cooperation-OIC) จำนวน 57 ประเทศ
ในปี 2564 ไทยมีมูลค่าการส่งออกอาหารฮาลาล รวม 4,188.37 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นสัดส่วน 12.13% ของมูลค่าการส่งออกอาหารทั้งหมดของไทย ขยายตัวจากปีที่ผ่านมา 4.12%

ปี 2565 ช่วง 9 เดือนแรก (มกราคม – กันยายน) มีมูลค่าการส่งออก 4,681.23 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 64.65%
ประเภทสินค้าอาหารฮาลาลที่ประเทศไทยส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ OIC ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของปี 2564 ได้แก่ 
ธัญพืช
ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลา สัตว์น้ำฯ
น้ำตาลและขนมทำจากน้ำตาล
ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้ง สตาร์ช หรือนม ผลิตภัณฑ์อาหารจำพวกพาย
ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ด ที่บริโภคได้
ในปี 2564 ประเทศไทยส่งออกสินค้าฮาลาล ไปยังประเทศกลุ่ม OIC โดยมีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
1. มาเลเซีย มูลค่าส่งออก 1,193.57 ล้านเหรียญสหรัฐ
อินโดนีเซีย 885.77 ล้านเหรียญสหรัฐ
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 228.64 ล้านเหรียญสหรัฐ
อียิปต์ 225.18 ล้านเหรียญสหรัฐ
เยเมน 165.00 ล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากตลาดในกลุ่มประเทศ OIC ประเทศไทยยังมีโอกาสขยายตลาดไปยังประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม ได้แก่ อินเดีย จีน สิงคโปร์ รวมถึงประเทศไทยเอง โดยตลาดกลุ่มนี้ ก็เป็นตลาดเป้าหมายส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลที่สำคัญเนื่องจากล้วนมีกลุ่มชาวมุสลิมที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำหนดนโยบาย “อาหารไทย อาหารโลก” ซึ่งส่วนหนึ่งของการดำเนินตามนโยบายนี้คือ เห็นโอกาสและช่องทางขยายตลาดสินค้าฮาลาล (Halal) เนื่องจากประชากรในกลุ่มประเทศมุสลิม มีแนวโน้มเติบโต และมีกำลังซื้อมากขึ้น
นอกจากการส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลไปยังตลาดต่างประเทศแล้ว ตลาดอาหารฮาลาลในประเทศก็มีความน่าสนใจ เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมเดินทางมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยจำนวนมาก และอาหารไทยก็ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยว ดังนั้น สินค้าอาหารฮาลาลที่ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ ก็เป็นตลาดที่สำคัญ สำหรับชาวไทยมุสลิม และนักท่องเที่ยวมุสลิม เช่นเดียวกัน
อ้างอิง https://www.pewresearch.org/religion/2017/04/05/the-changing-global-religious-landscape/pf_17-04-05_projectionsupdate_change310px/
https://workpointtoday.com/halal/
ขณะที่อาหารฮาลาลกำลังนำรายได้เข้าสู่ประทศ และทำรายได้ให้แก่ชาวไทยที่ไม่ใช่มุสลิมผู้ผลิต แต่ก็ยังมีคนไทยส่วนน้อยมากที่พยายามต่อต้านขบวนการอาหารฮาลาล โดยเข้าใจว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่