ฮาลาล เป็นสัญลักษณ์ที่สอด แฝง จริงหรือ?

กระทู้สนทนา
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


อาหารที่เป็นที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลามได้แก่ สัตว์ที่ตายเอง และโลหิต และเนื้อสุกร และสัตว์ที่ถูกเปล่งนามอื่นจากอัลลอฮฺ ยามที่(เชือด)มัน และสัตว์ที่ถูกรัดคอตาย และสัตว์ที่ถูกตีตาย และสัตว์ที่ตกเหวตาย และสัตว์ที่ถูกขวิดตาย และสัตว์ที่ถูกสัตว์ร้ายกัดกิน นอกจากที่พวกเธอเชือด และสัตว์ที่ถูกเชือดบนแท่นหินบูชา และการที่พวกเธอเสี่ยงทายด้วยไม้ติ้ว; แต่มีเงื่อนไขว่า ผู้ใดได้รับความคับขันในความหิวโหย โดยไม่ใช่เป็นผู้จงใจกระทำบาป แน่นอนอัลลอฮฺคือพระผู้ทรงอภัยโทษ  นั้นหมายความว่า อาหารเหล่านั้นมุสลิมจะกินได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในสภาวะที่ขับขันถึงขั้นอาจจะเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ก็มีอะหารประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งยาเสพย์ติดต่างๆ วัตถุประสงค์ของการห้าม อาหารและเครื่องดื่ม ดังกล่าว ก็เพื่อป้องกันสุขภาพของผู้บริโภค การถูกหรือกระทบสิ่งเหล่านั้นไม่ผิดหลักการของอิสลาม เมื่อภายหลังได้ชำระล้างมือและร่างกาย หรืออาบน้ำละหมาด ก่อนทำการละหมาด เพื่อล้างสิ่งสกปรก (นะยิส)

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
   ยามปกติในชีวิตประจำวันของมุสลิมชาวบ้านและมุสลิมทั่วๆไป จะปฏิบัติตามข้อห้ามในอัลกุรอานในการบริโภคอาหารเหล่านั้นโดยเคร่งตรัด โดยการใช้สติปัญญาแยกแยะ และสั่งสอนลูกหลานต่อๆกันมา แต่ไม่ได้ทำการ ตรวจอาหารด้วยขบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปถึงอนุภาคของอาหารเพื่อหา Trace หรือ ริ้วรอย ของ อนุภาค DNA ของเนื้อหมู และ อนุภาคโมเลกุลของแอลกอฮอล์ หรือ ยาเสพย์ติดในอาหารหรือยาต่างๆ และในเครื่องสำอางค์ อย่างที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ซึ่งไม่มีความจำเป็นและก่อให้เกิดความยุ่งยากในชีวิตประจำวันของมุสลิม

  องค์การอาหารฮาล้าลเป็นองค์การเอกชน ไม่ใช่อาหารที่ปิดป้ายฮาล้าลจะได้รับการตรวจสอบ อนุภาคของหมูและแอลกอฮอล์ทุกๆร้านอาหารและทุกๆผลิตภันฑ์ก็หาไม่ เป็นสถาบันที่ตั้งขึ้น มาเพื่อหารายได้โดยอาศัยศาสนาเป็นเหตุผล เพราะรายได้ที่ได้จากการขายเครื่องหมายฮาล้าล ไม่ได้เป็นผลประโยชน์ให้กับประเทศชาติ  ถ้าจะทำเป็นอุตสาหกรรม สินค้าฮาล้าลควรเป็นหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยศาสตร์ของไทย โดยมีสำนักจุฬาราชมณตรึ ซึ่งได้รับเงินเดือนจากรัฐอยู่แล้ว เป็นที่ปรึกษาทางหลักการของศาสนาอิสลาม และคัดเลือกเจัาหน้าที่ๆมีคุณสมบัติที่เหมาะสมเป็นผู้ประสานและนิเทศงาน ซึ่งควรเป็นข้าราชการประจำ รายได้จากการออกใบรับรองสินค้าฮาล้าลเป็นรายได้ของรัฐ เอกชนไม่มีสิทธิที่จะออกใบรับรองสินค้าฮาล้าลนอกจากกระทรวงอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับการออกใบรับรองขององค์การอาหารและยาของกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับร้านขายอาหารมุสลิมหรือแม่ค้าพ่อค้าหาบเร่หรือร้านค้าขายอาหารไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไม่ก็ตามไม่มีความจำเป็นจะค้องติดเครื่องหมายฮาล้าล, ทั้งนี้ ให้ขึ้นอยู่กับ ประชาชนชาวไทยซึ่งเป็นมุสลิมจะต้องใช้ความคิดพิจารณาด้วยตัวเองว่าควรจะเลือกกินอะไรที่ไม่ขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม อย่างเช่นปู้ย่าตายายของชาวไทยมุสลิมทำตามกันมาหลายชั่วคนทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ถึงแม้จะไม่มีตราฮาลาลก็ไม่ได้แปลว่ามุสลิมกินไม่ได้    ฮาลาลนั้นเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่รับรองจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าอาหารชนิดนี้เป็นอาหารที่มีวัตถุดิบและวิธีการปรุงถูกต้องตามหลักอิสลาม   อาหารชนิดอื่นๆที่ไม่มีตราฮาลาลก็อาจจะเป็นอาหารที่ถูกหลักอิสลามได้เช่นกันเพียงแต่ไม่ได้ขอตราฮาลาลมาเนื่องด้วยไม่มีทุนทรัพย์พอที่จะจ่ายค่าตราฮาล้าลได้

ถ้าเป็นนโยบายของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีเพื่อใชัหลักการของศาสนาอิสลามเป็นข้ออ้างในการทำการค้า  โดยขายเครื่องหมายฮาล้าล ตามข้อความที่บรรยายโดยอาจารย์จรูญในคลิปแล้ว  คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยตวรที่จะคำนึงถึงหลักการคัาขายทีฺ่ อัลลอฮ์ตะอาลาได้บัญญัติไว้สำหรับ มุสลิมดังนี้

อัลกุรอานได้บัญญัติย้ำไว้อย่างชัดเจนถึงการค้าขายจะต้องกระทำด้วยความเที่ยงตรงและยุติธรรมระหว่างผู้ค้าขายกับผู้ซื้อ

“ถ้าเรา(ทำธุระกิจโดย)ไม่เอาเปรียบเขา เราก็จะไม่ถูกเขาเอาเปรียบ”(2:279)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
“อย่าโกงกินทรัพย์สินของกันและกันโดยวิธีการที่ทุจริต” (4:29)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
“จะต้องตวง,ชั่ง และวัดสินค้า ด้วยความเที่ยงตรง,อย่าคดโกงสินค้าของผู้อื่น”(11:85)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่