‘ชัยธวัช’ คุย ‘กปปส.-เสื้อแดง’ ราบรื่น แนะ พรรคอื่นเสนอกม.นิรโทษฯประกบ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4304588
‘ชัยธวัช’ เผย หารือ กปปส.-เสื้อแดง หาเสียงหนุนพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแล้ว บอกราบรื่นดีแม้บางกลุ่มยังมีคำถาม หวัง ยังอยากเห็นพรรคการเมืองอื่นเสนอร่างประกบร่วม เชื่อ เป็นหนทางยุติความขัดแย้งได้
เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน นาย
ชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงกรณีการไปพูดคุยกับนาย
สุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือ พุทธะอิสระ อดีตเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม และอดีตแนวร่วม กปปส. เพื่อขอเสียงสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ว่า ช่วงที่ผ่านมาเราได้มีการพูดคุยกับกลุ่มพันธมิตร กปปส. เสื้อแดง เยาวชนที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง และนักกฎหมายอาวุโสหลายคนที่เคยเสนอเรื่องนิรโทษกรรมในอดีต รวมทั้งมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักสิทธิมนุษยชน เพื่อที่จะหาความเห็นร่วมที่เป็นไปได้ เพื่อให้สามารถเกิดการนิรโทษกรรมได้จริง
ส่วนผลการตอบรับโดยเฉพาะจากกลุ่ม กปปส. และกลุ่มพันธมิตร โดยภาพรวมถือว่าดี แม้ว่าอาจจะมีบางกลุ่มที่ยังคงมีคำถามอยู่บ้าง แต่อย่างน้อยก็ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ซึ่งมีทั้งคนเห็นด้วย และยังมีคำถามบางอย่างก่อนจะตัดสินใจ ถือว่าเราก็ได้โจทย์เพื่อที่จะได้ดำเนินงานต่อ
“
หวังว่ากระบวนการพูดคุยกับทุกฝ่ายที่มีความเกี่ยวข้อง รวมถึงฝ่ายความมั่นคง เมื่อสร้างความเห็นร่วมได้อย่างเป็นรูปธรรม จะทำให้พรรคการเมืองต่าง ๆ เสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของตัวเองเข้าสู่สภาฯ เพื่อพิจารณาร่วมกันกับร่างของพรรค ก.ก. นี่คือสิ่งที่เราอยากเห็น ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าหากยังมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน ก็เป็นเรื่องยากที่พรรคการเมืองต่าง ๆ จะขยับในเรื่องนี้” นาย
ชัยธวัช กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้มีเพียงพรรคก้าวไกลที่เสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม อยากให้พรรคการเมืองอื่นเสนอร่างประกบร่วมด้วยหรือไม่ เพื่อให้เนื้อหามีความครอบคลุมยิ่งขึ้น นาย
ชัยธวัช กล่าวว่า อยากเห็นเป็นแบบนั้น คิดว่าถ้ามีสัญญาณที่ดีจากหลาย ๆ ฝ่ายที่เคยขัดแย้งกัน หรือมีความเห็นทางการเมืองต่างกัน ถ้ามีจุดร่วมได้ และประเด็นนี้จะสามารถประสานพูดคุยกับพรรคการเมืองอื่นต่อไป
เมื่อถามว่า ตอนนี้มีพรรคการเมืองไหนที่สนใจจะเสนอร่างมาประกบร่วมหรือไม่ นาย
ชัยธวัช กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่ได้พูดคุยกับพรรคกับอื่น ๆ เพราะเห็นว่าสิ่งที่จะมีผลอย่างมีนัยยะสำคัญคือเสียงของกลุ่มการเมืองต่างๆที่เคยมีความขัดแย้งกัน ถ้ามีความเห็นร่วมกันของฝ่ายต่าง ๆ ที่เคยขัดแย้งกันได้ ตนคิดว่าจะทำให้พรรคการเมืองต่าง ๆ สบายใจมากขึ้นในการที่จะเสนอเรื่องนี้
เมื่อถามว่า ทางพรรคก้าวไกลยังเชื่อมั่นอยู่ใช่หรือไม่ว่า การเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะเป็นการสร้างความปรองดอง และสร้างความเข้าใจทางการเมืองได้ นาย
ชัยธวัช กล่าวว่า เราเชื่อว่าการนิรโทษกรรมคดีทางการเมืองจะเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่กระบวนการปรองดอง และสามารถคลี่คลายความขัดแย้งได้โดยสันติ ด้วยกระบวนการทางประชาธิปไตย แน่นอนว่าไม่สามารถทำให้ทุกคนมีความคิดเห็นทางการเมืองที่ตรงกันหมด แต่เราสามารถสร้างกระบวนการที่คลายความขัดแย้งหรือแข่งขันกันทางความคิดโดยสันติได้
จุดเริ่มต้นของจุดจบ รัฐบาลทหารเมียนมาอาจถูกโค่นล้ม?
https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/211345
นักวิเคราะห์ประเมิน สถานการณ์การสู้รบในเมียนมาขณะนี้ อาจเป็นสัญญาณจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของรัฐบาลทหาร
ผ่านมาเกือบ 3 ปีแล้วนับตั้งแต่ที่กองทัพเมียนมาก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของ อองซาน ซูจี แต่ล่าสุดขณะนี้ รัฐบาลทหารเมียนมากำลังเผชิญกับภัยคุกคามครั้งใหญ่ที่สุดต่ออำนาจของตน
โดยตั้งแต่วันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมา กลุ่ม “
สามพันธมิตรภราดรภาพ” (Three Brotherhood Alliance) ได้เปิดฉากปฏิบัติการ “1027” บุกโจมตีฝ่ายกองทัพเมียนมาจากหลายแนวรบทั่วประเทศ
สามพันธมิตรภราดรภาพ ประกอบด้วย กองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์ 3 กลุ่มคือ กองทัพอาระกัน กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา หรือกลุ่มโกก้าง และกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติ “ดาละอั้ง” (Ta'ang)
ปฏิบัติการประสานงานจู่โจมแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เผยให้เห็นขีดจำกัดความสามารถของรัฐบาลทหารเมียนมาที่ดูเหมือนจะไม่อาจต้านทานการโจมตีที่โหมกระหน่ำเข้ามาได้
รัฐบาลทหารเมียนมาขณะนี้สูญเสียเมืองยุทธศาสตร์ชายแดนบางแห่ง เสียตำแหน่งทางการทหารที่สำคัญ และเส้นทางการค้าที่สำคัญในระดับที่ไม่เคยพบเห็น ในรอบหลายทศวรรษ
แมทธิว อาร์โนลด์ นักวิเคราะห์อิสระในเมียนมา กล่าวว่า “
รัฐบาลเผด็จการกำลังล่มสลายในขณะนี้ และนั่นจะเกิดขึ้นหากมีความพยายามโจมตีที่กว้างขวางกว่านี้ทั่วประเทศ”
อาร์โนลด์กล่าวว่า “
กลุ่มต่อต้านกำลังมุ่งเน้นไปที่การยึดเมืองใหญ่ ๆ เพื่อเอาชนะรัฐบาลเผด็จการทหาร”
สงครามกลางเมืองระหว่างกองทัพชาติพันธุ์จำนวนนับไม่ถ้วนของเมียนมและรัฐบาลทหารเกิดขึ้นมานานหลายทศวรรษแล้ว แต่ความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้จากการที่ประชาชนทั่วประเทศต่อต้านการทำรัฐประหารของผู้บัญชาการทหารบก
มิน อ่อง หล่าย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021
การปราบปรามผู้ประท้วงและความโหดร้ายต่อพลเรือน กระตุ้นให้ประชาชนจับอาวุธและปกป้องเมืองและชุมชนของตน
ตั้งแต่นั้นมา การต่อสู้ระหว่างกองทัพและกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารก็เกิดขึ้นทุกวัน การโจมตีทางอากาศและการโจมตีภาคพื้นดินของรัฐบาลทหารได้สังหารพลเรือนหลายพันคนจนถึงปัจจุบัน
ผู้ที่อยู่ในพื้นที่กล่าวว่า ท้ายที่สุดแล้วพวกเขากำลังต่อสู้เพื่อกำจัดรัฐบาลเผด็จการทหาร และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ ซึ่งประชาชนเมียนมาทุกคนมีจะสิทธิและเสียงได้อย่างเต็มที่
จากข้อมูลของสำนักงานกิจการด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (OCHA) การปะทะกันด้วยอาวุธในเมียนมาขณะนี้ ถือเป็นครั้งใหญ่ที่สุดและขยายเป็นวงกว้างที่สุดนับตั้งแต่เกิดรัฐประหาร
โบ นาการ์ ผู้บัญชาการกองทัพปฏิวัติแห่งชาติพม่า (BNRA) ซึ่งกำลังต่อสู้กับกองทัพในพื้นที่ตอนกลางของเมียนมา กล่าวว่า “
มันเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของสภาบริหารแห่งรัฐ เราเห็นมันแล้ว”
ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดี
มิน ส่วย ที่ได้รับแต่งตั้งโดยรัฐบาลทหาร เคยเตือนว่า หากรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมียนมาจะถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายดินแดน
มีรายงานว่า รัฐบาลทหารได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ที่มีประสบการณ์ทางทหารในเมืองหลวงเตรียมพร้อมรับราชการในกรณีฉุกเฉิน นอกจากนี้ ยังบังคับใช้กฎอัยการศึกในหลายเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือด้วย
กองทัพระบุว่า “
เราจะดำเนินมาตรการรักษาความปลอดภัยที่จำเป็นอย่างต่อเนื่องเพื่อประกันสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค”
รัฐบาลเผด็จการทหารยังปฏิเสธคำกล่าวอ้างที่ระบุว่า ได้ส่งทหาร 14,000 นายประจำการในเมืองหลวงเนปิดอว์ เพื่อปกป้องกองบัญชาการทหารหลักจากการถูกโจมตี และปฏิเสธว่าไม่ได้รับสมัครข้าราชการเพื่อเข้ารับการฝึกทหาร
ในพื้นที่ชายแดนทางตอนเหนือที่เต็มไปด้วยภูเขาของรัฐฉาน รัฐบาลทหารได้สูญเสียการควบคุมเมืองอย่างน้อย 6 เมือง ถนนสายหลัก และด่านหน้าและค่ายทหารมากกว่า 100 แห่ง
ในรัฐยะไข่ทางตะวันตก กลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ กองทัพอาระกัน (AA) กลับมาสู้รบอีกครั้ง หลังจากการหยุดยิงชั่วคราวนานหนึ่งปีสิ้นสุดลง และเปิดแนวรบใหม่ การปะทะกับกองกำลังเผด็จการยังคงดำเนินต่อไปในหลายเมือง นอกจากนี้ยังมีรายงานการแปรพักตร์ของทหารในกองทัพและทหารหลายนายยอมจำนน
ในรัฐชินทางตะวันตก ผู้คนหลายพันคนได้หลบหนีการสู้รบและข้ามชายแดนอินเดีย ในจำนวนนี้มีทหารเมียนมา 43 นายที่หลบหนีหลังจากค่ายทหารของพวกเขาถูกกลุ่มต่อต้านยึด มีหลายสิบคนถูกส่งกลับไปยังเมียนมา
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความสูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องบ่งชี้ว่า กองทัพเมียนมาไม่มีทั้งกำลังคนและความสามารถในการสู้รบในการยึดพื้นที่ต่าง ๆ คืนจากกลุ่มต่อต้าน แม้จะอาศัยการโจมตีทางอากาศและอาวุธหนักก็ตาม
เย เมียว ไฮ นักวิจัยจากสถาบันสันติภาพแห่งสหรัฐอเมริกาและศูนย์วิลสัน กล่าวว่า “
การคาดการณ์ผลลัพธ์สุดท้ายในสถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่นั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากผมเห็นว่า มันยังอยู่ในช่วงเริ่มแรกของกลยุทธ์ของกลุ่มต่อต้าน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แน่นอนประการหนึ่งก็คือ ปฏิบัติการ 1027 ได้เปลี่ยนสมดุลทางการทหาร”
เขาเสริมว่า “
กองทัพเมียนมาขณะนี้ตกอยู่ภายใต้การถูกโจมตีแบบ 360 องศาอย่างไม่หยุดยั้งทั่วประเทศ”
เย เมียว ไฮ บอกอีกว่า “
ที่น่าสังเกตคือ ในระหว่างความขัดแย้งในรัฐฉานตอนเหนือ การส่งกำลังทหารจากพื้นที่นั้นไปยังกะเรนนี (กะเหรี่ยงแดง) และสะกาย ทำให้กลุ่มต่าง ๆ ในรัฐฉานตอนเหนือได้รับชัยชนะทางทหารอย่างมีนัยสำคัญอย่างรวดเร็ว การเคลื่อนกำลังทหารใด ๆ ออกไปอีก คาดว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มต่อต้านมีความก้าวหน้าอย่างมากในพื้นที่เหล่านั้น”
เรียบเรียงจาก
CNN
6 สส.ดันก้น “ญาติ” เป็นผู้ช่วย
https://www.innnews.co.th/video/general-news-clips/news_646597/
จากกรณีสส.หญิงค่ายก้าวไกลแต่งตั้งสามี เป็นผู้ช่วย สส. และถูกกล่าวหาว่ามีความเชื่อมโยงรับงานเอนเตอร์เทน และจัดหาเด็กชงเหล้าปาร์ตี้ชาย-หญิง ซึ่งเมื่อส่องไปสส.ของปี 2566 แล้วพบว่า มี 6 สส.ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่มีข่าวหรือมีดราม่าเกี่ยวกับการตั้งญาติพี่น้อง สามีภรรยา เข้าไปเป็นผู้ช่วยสส.ภายใต้ตรรกะการนำคนในครอบครัวที่ไว้ใจได้มาช่วยงาน เพื่อทำให้การประสานงานมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล อีกทั้งไม่ได้ผิดกฎหมายแต่อย่างใด
เริ่มที่ฝั่งรัฐบาล คนแรกคือ “
หมอชลน่าน ศรีแก้ว” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามคำสั่ง ลงวันที่ 14 ก.ย. 66 แต่งตั้ง
”หมอก้อย” น.ส.นวลสกุล บำรุงพงษ์ ซึ่งเป็น ภรรยา ของ หมอชลน่าน เป็น คณะที่ปรึกษา รมว.สธ. โดยระบุเหตุผลว่า เพื่อให้การบริหารราชการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ด้านสุขภาพอนามัย และถืออว่าเป็น บุคคลที่ความมุ่งมั่นกับการทำงาน
คนที่ 2 คือ”
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” หัวจ่ายในตำนาน บิ๊กบอสกระทรวงคมนาคม จากพรรคเพื่อไทย ได้แต่งตั้ง “
พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ”รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย หลานในไส้ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งทั้ง
สุริยะและ
พงศ์กวิน จะแพกเป็นคู่มาตั้งแต่สมัยช่วยงานลุงป้อม ค่ายพรรคพลังประชารัฐ ต่อมาเมื่อลมเปลี่ยนทิศแน่ ทางสุริยะและพงศ์กวิน และทีมสมศักดิ์ ก็ย้ายขั้วกลับมาอยู่ค่ายเพื่อไทย และได้อำนาจสมใจ
คนที่ 3 คือ “
เสี่ยท๊อป-วราวุธ ศิลปอาชา” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้แต่งตั้ง พี่สาว “หนูนา-กัญจนา ศิลปอาชา” สส.สุพรรรบุรี 4 สมัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย นอกจากนี้เธอยังเป็นอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ปัจจุบันเป็นประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา โดย กัญจนา และวราวุธ นั้นป็นลูกของบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21
ต่อที่ฝ่ายค้าน อย่างค่ายก้าวไกล คนแรก “น.ส.
ญาณธิชา บัวเผื่อน” สส.จันทบุรี เขต 3 แต่งตั้งสามี เป็นผู้ช่วย สส. โดยเธอโพสต์ให้เหตุผล ว่า “
1.สามีดิฉัน สามารถช่วยในการทำงานด้านสื่อ เช่นถ่ายรูป ทำกราฟิก ทำคลิป รวมถึงการประสานงานได้ตามที่ดิฉันคาดหวัง และ 2.ในฐานะ ส.ส.เขตหลายครั้งจำเป็นต้องเดินทางไกลในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งอาจรวมถึงการพักข้ามคืนระหว่างทาง ดังนั้น กา
JJNY : ‘ชัยธวัช’คุย‘กปปส.-เสื้อแดง’ราบรื่น│รบ.ทหารเมียนมาอาจถูกโค่น?│6สส.ดันก้น“ญาติ”เป็นผู้ช่วย│ประชุมกสทช.ล่มครั้งที่6
https://www.matichon.co.th/politics/news_4304588
‘ชัยธวัช’ เผย หารือ กปปส.-เสื้อแดง หาเสียงหนุนพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแล้ว บอกราบรื่นดีแม้บางกลุ่มยังมีคำถาม หวัง ยังอยากเห็นพรรคการเมืองอื่นเสนอร่างประกบร่วม เชื่อ เป็นหนทางยุติความขัดแย้งได้
เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงกรณีการไปพูดคุยกับนายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือ พุทธะอิสระ อดีตเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม และอดีตแนวร่วม กปปส. เพื่อขอเสียงสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ว่า ช่วงที่ผ่านมาเราได้มีการพูดคุยกับกลุ่มพันธมิตร กปปส. เสื้อแดง เยาวชนที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง และนักกฎหมายอาวุโสหลายคนที่เคยเสนอเรื่องนิรโทษกรรมในอดีต รวมทั้งมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักสิทธิมนุษยชน เพื่อที่จะหาความเห็นร่วมที่เป็นไปได้ เพื่อให้สามารถเกิดการนิรโทษกรรมได้จริง
ส่วนผลการตอบรับโดยเฉพาะจากกลุ่ม กปปส. และกลุ่มพันธมิตร โดยภาพรวมถือว่าดี แม้ว่าอาจจะมีบางกลุ่มที่ยังคงมีคำถามอยู่บ้าง แต่อย่างน้อยก็ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ซึ่งมีทั้งคนเห็นด้วย และยังมีคำถามบางอย่างก่อนจะตัดสินใจ ถือว่าเราก็ได้โจทย์เพื่อที่จะได้ดำเนินงานต่อ
“หวังว่ากระบวนการพูดคุยกับทุกฝ่ายที่มีความเกี่ยวข้อง รวมถึงฝ่ายความมั่นคง เมื่อสร้างความเห็นร่วมได้อย่างเป็นรูปธรรม จะทำให้พรรคการเมืองต่าง ๆ เสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของตัวเองเข้าสู่สภาฯ เพื่อพิจารณาร่วมกันกับร่างของพรรค ก.ก. นี่คือสิ่งที่เราอยากเห็น ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าหากยังมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน ก็เป็นเรื่องยากที่พรรคการเมืองต่าง ๆ จะขยับในเรื่องนี้” นายชัยธวัช กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้มีเพียงพรรคก้าวไกลที่เสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม อยากให้พรรคการเมืองอื่นเสนอร่างประกบร่วมด้วยหรือไม่ เพื่อให้เนื้อหามีความครอบคลุมยิ่งขึ้น นายชัยธวัช กล่าวว่า อยากเห็นเป็นแบบนั้น คิดว่าถ้ามีสัญญาณที่ดีจากหลาย ๆ ฝ่ายที่เคยขัดแย้งกัน หรือมีความเห็นทางการเมืองต่างกัน ถ้ามีจุดร่วมได้ และประเด็นนี้จะสามารถประสานพูดคุยกับพรรคการเมืองอื่นต่อไป
เมื่อถามว่า ตอนนี้มีพรรคการเมืองไหนที่สนใจจะเสนอร่างมาประกบร่วมหรือไม่ นายชัยธวัช กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่ได้พูดคุยกับพรรคกับอื่น ๆ เพราะเห็นว่าสิ่งที่จะมีผลอย่างมีนัยยะสำคัญคือเสียงของกลุ่มการเมืองต่างๆที่เคยมีความขัดแย้งกัน ถ้ามีความเห็นร่วมกันของฝ่ายต่าง ๆ ที่เคยขัดแย้งกันได้ ตนคิดว่าจะทำให้พรรคการเมืองต่าง ๆ สบายใจมากขึ้นในการที่จะเสนอเรื่องนี้
เมื่อถามว่า ทางพรรคก้าวไกลยังเชื่อมั่นอยู่ใช่หรือไม่ว่า การเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะเป็นการสร้างความปรองดอง และสร้างความเข้าใจทางการเมืองได้ นายชัยธวัช กล่าวว่า เราเชื่อว่าการนิรโทษกรรมคดีทางการเมืองจะเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่กระบวนการปรองดอง และสามารถคลี่คลายความขัดแย้งได้โดยสันติ ด้วยกระบวนการทางประชาธิปไตย แน่นอนว่าไม่สามารถทำให้ทุกคนมีความคิดเห็นทางการเมืองที่ตรงกันหมด แต่เราสามารถสร้างกระบวนการที่คลายความขัดแย้งหรือแข่งขันกันทางความคิดโดยสันติได้
จุดเริ่มต้นของจุดจบ รัฐบาลทหารเมียนมาอาจถูกโค่นล้ม?
https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/211345
นักวิเคราะห์ประเมิน สถานการณ์การสู้รบในเมียนมาขณะนี้ อาจเป็นสัญญาณจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของรัฐบาลทหาร
ผ่านมาเกือบ 3 ปีแล้วนับตั้งแต่ที่กองทัพเมียนมาก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของ อองซาน ซูจี แต่ล่าสุดขณะนี้ รัฐบาลทหารเมียนมากำลังเผชิญกับภัยคุกคามครั้งใหญ่ที่สุดต่ออำนาจของตน
โดยตั้งแต่วันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมา กลุ่ม “สามพันธมิตรภราดรภาพ” (Three Brotherhood Alliance) ได้เปิดฉากปฏิบัติการ “1027” บุกโจมตีฝ่ายกองทัพเมียนมาจากหลายแนวรบทั่วประเทศ
สามพันธมิตรภราดรภาพ ประกอบด้วย กองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์ 3 กลุ่มคือ กองทัพอาระกัน กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา หรือกลุ่มโกก้าง และกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติ “ดาละอั้ง” (Ta'ang)
ปฏิบัติการประสานงานจู่โจมแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เผยให้เห็นขีดจำกัดความสามารถของรัฐบาลทหารเมียนมาที่ดูเหมือนจะไม่อาจต้านทานการโจมตีที่โหมกระหน่ำเข้ามาได้
รัฐบาลทหารเมียนมาขณะนี้สูญเสียเมืองยุทธศาสตร์ชายแดนบางแห่ง เสียตำแหน่งทางการทหารที่สำคัญ และเส้นทางการค้าที่สำคัญในระดับที่ไม่เคยพบเห็น ในรอบหลายทศวรรษ
แมทธิว อาร์โนลด์ นักวิเคราะห์อิสระในเมียนมา กล่าวว่า “รัฐบาลเผด็จการกำลังล่มสลายในขณะนี้ และนั่นจะเกิดขึ้นหากมีความพยายามโจมตีที่กว้างขวางกว่านี้ทั่วประเทศ”
อาร์โนลด์กล่าวว่า “กลุ่มต่อต้านกำลังมุ่งเน้นไปที่การยึดเมืองใหญ่ ๆ เพื่อเอาชนะรัฐบาลเผด็จการทหาร”
สงครามกลางเมืองระหว่างกองทัพชาติพันธุ์จำนวนนับไม่ถ้วนของเมียนมและรัฐบาลทหารเกิดขึ้นมานานหลายทศวรรษแล้ว แต่ความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้จากการที่ประชาชนทั่วประเทศต่อต้านการทำรัฐประหารของผู้บัญชาการทหารบก มิน อ่อง หล่าย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021
การปราบปรามผู้ประท้วงและความโหดร้ายต่อพลเรือน กระตุ้นให้ประชาชนจับอาวุธและปกป้องเมืองและชุมชนของตน
ตั้งแต่นั้นมา การต่อสู้ระหว่างกองทัพและกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารก็เกิดขึ้นทุกวัน การโจมตีทางอากาศและการโจมตีภาคพื้นดินของรัฐบาลทหารได้สังหารพลเรือนหลายพันคนจนถึงปัจจุบัน
ผู้ที่อยู่ในพื้นที่กล่าวว่า ท้ายที่สุดแล้วพวกเขากำลังต่อสู้เพื่อกำจัดรัฐบาลเผด็จการทหาร และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ ซึ่งประชาชนเมียนมาทุกคนมีจะสิทธิและเสียงได้อย่างเต็มที่
จากข้อมูลของสำนักงานกิจการด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (OCHA) การปะทะกันด้วยอาวุธในเมียนมาขณะนี้ ถือเป็นครั้งใหญ่ที่สุดและขยายเป็นวงกว้างที่สุดนับตั้งแต่เกิดรัฐประหาร
โบ นาการ์ ผู้บัญชาการกองทัพปฏิวัติแห่งชาติพม่า (BNRA) ซึ่งกำลังต่อสู้กับกองทัพในพื้นที่ตอนกลางของเมียนมา กล่าวว่า “มันเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของสภาบริหารแห่งรัฐ เราเห็นมันแล้ว”
ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดี มิน ส่วย ที่ได้รับแต่งตั้งโดยรัฐบาลทหาร เคยเตือนว่า หากรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมียนมาจะถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายดินแดน
มีรายงานว่า รัฐบาลทหารได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ที่มีประสบการณ์ทางทหารในเมืองหลวงเตรียมพร้อมรับราชการในกรณีฉุกเฉิน นอกจากนี้ ยังบังคับใช้กฎอัยการศึกในหลายเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือด้วย
กองทัพระบุว่า “เราจะดำเนินมาตรการรักษาความปลอดภัยที่จำเป็นอย่างต่อเนื่องเพื่อประกันสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค”
รัฐบาลเผด็จการทหารยังปฏิเสธคำกล่าวอ้างที่ระบุว่า ได้ส่งทหาร 14,000 นายประจำการในเมืองหลวงเนปิดอว์ เพื่อปกป้องกองบัญชาการทหารหลักจากการถูกโจมตี และปฏิเสธว่าไม่ได้รับสมัครข้าราชการเพื่อเข้ารับการฝึกทหาร
ในพื้นที่ชายแดนทางตอนเหนือที่เต็มไปด้วยภูเขาของรัฐฉาน รัฐบาลทหารได้สูญเสียการควบคุมเมืองอย่างน้อย 6 เมือง ถนนสายหลัก และด่านหน้าและค่ายทหารมากกว่า 100 แห่ง
ในรัฐยะไข่ทางตะวันตก กลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ กองทัพอาระกัน (AA) กลับมาสู้รบอีกครั้ง หลังจากการหยุดยิงชั่วคราวนานหนึ่งปีสิ้นสุดลง และเปิดแนวรบใหม่ การปะทะกับกองกำลังเผด็จการยังคงดำเนินต่อไปในหลายเมือง นอกจากนี้ยังมีรายงานการแปรพักตร์ของทหารในกองทัพและทหารหลายนายยอมจำนน
ในรัฐชินทางตะวันตก ผู้คนหลายพันคนได้หลบหนีการสู้รบและข้ามชายแดนอินเดีย ในจำนวนนี้มีทหารเมียนมา 43 นายที่หลบหนีหลังจากค่ายทหารของพวกเขาถูกกลุ่มต่อต้านยึด มีหลายสิบคนถูกส่งกลับไปยังเมียนมา
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความสูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องบ่งชี้ว่า กองทัพเมียนมาไม่มีทั้งกำลังคนและความสามารถในการสู้รบในการยึดพื้นที่ต่าง ๆ คืนจากกลุ่มต่อต้าน แม้จะอาศัยการโจมตีทางอากาศและอาวุธหนักก็ตาม
เย เมียว ไฮ นักวิจัยจากสถาบันสันติภาพแห่งสหรัฐอเมริกาและศูนย์วิลสัน กล่าวว่า “การคาดการณ์ผลลัพธ์สุดท้ายในสถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่นั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากผมเห็นว่า มันยังอยู่ในช่วงเริ่มแรกของกลยุทธ์ของกลุ่มต่อต้าน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แน่นอนประการหนึ่งก็คือ ปฏิบัติการ 1027 ได้เปลี่ยนสมดุลทางการทหาร”
เขาเสริมว่า “กองทัพเมียนมาขณะนี้ตกอยู่ภายใต้การถูกโจมตีแบบ 360 องศาอย่างไม่หยุดยั้งทั่วประเทศ”
เย เมียว ไฮ บอกอีกว่า “ที่น่าสังเกตคือ ในระหว่างความขัดแย้งในรัฐฉานตอนเหนือ การส่งกำลังทหารจากพื้นที่นั้นไปยังกะเรนนี (กะเหรี่ยงแดง) และสะกาย ทำให้กลุ่มต่าง ๆ ในรัฐฉานตอนเหนือได้รับชัยชนะทางทหารอย่างมีนัยสำคัญอย่างรวดเร็ว การเคลื่อนกำลังทหารใด ๆ ออกไปอีก คาดว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มต่อต้านมีความก้าวหน้าอย่างมากในพื้นที่เหล่านั้น”
เรียบเรียงจาก CNN
6 สส.ดันก้น “ญาติ” เป็นผู้ช่วย
https://www.innnews.co.th/video/general-news-clips/news_646597/
จากกรณีสส.หญิงค่ายก้าวไกลแต่งตั้งสามี เป็นผู้ช่วย สส. และถูกกล่าวหาว่ามีความเชื่อมโยงรับงานเอนเตอร์เทน และจัดหาเด็กชงเหล้าปาร์ตี้ชาย-หญิง ซึ่งเมื่อส่องไปสส.ของปี 2566 แล้วพบว่า มี 6 สส.ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่มีข่าวหรือมีดราม่าเกี่ยวกับการตั้งญาติพี่น้อง สามีภรรยา เข้าไปเป็นผู้ช่วยสส.ภายใต้ตรรกะการนำคนในครอบครัวที่ไว้ใจได้มาช่วยงาน เพื่อทำให้การประสานงานมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล อีกทั้งไม่ได้ผิดกฎหมายแต่อย่างใด
เริ่มที่ฝั่งรัฐบาล คนแรกคือ “หมอชลน่าน ศรีแก้ว” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามคำสั่ง ลงวันที่ 14 ก.ย. 66 แต่งตั้ง”หมอก้อย” น.ส.นวลสกุล บำรุงพงษ์ ซึ่งเป็น ภรรยา ของ หมอชลน่าน เป็น คณะที่ปรึกษา รมว.สธ. โดยระบุเหตุผลว่า เพื่อให้การบริหารราชการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ด้านสุขภาพอนามัย และถืออว่าเป็น บุคคลที่ความมุ่งมั่นกับการทำงาน
คนที่ 2 คือ”สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” หัวจ่ายในตำนาน บิ๊กบอสกระทรวงคมนาคม จากพรรคเพื่อไทย ได้แต่งตั้ง “พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ”รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย หลานในไส้ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งทั้งสุริยะและพงศ์กวิน จะแพกเป็นคู่มาตั้งแต่สมัยช่วยงานลุงป้อม ค่ายพรรคพลังประชารัฐ ต่อมาเมื่อลมเปลี่ยนทิศแน่ ทางสุริยะและพงศ์กวิน และทีมสมศักดิ์ ก็ย้ายขั้วกลับมาอยู่ค่ายเพื่อไทย และได้อำนาจสมใจ
คนที่ 3 คือ “เสี่ยท๊อป-วราวุธ ศิลปอาชา” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้แต่งตั้ง พี่สาว “หนูนา-กัญจนา ศิลปอาชา” สส.สุพรรรบุรี 4 สมัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย นอกจากนี้เธอยังเป็นอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ปัจจุบันเป็นประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา โดย กัญจนา และวราวุธ นั้นป็นลูกของบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21
ต่อที่ฝ่ายค้าน อย่างค่ายก้าวไกล คนแรก “น.ส.ญาณธิชา บัวเผื่อน” สส.จันทบุรี เขต 3 แต่งตั้งสามี เป็นผู้ช่วย สส. โดยเธอโพสต์ให้เหตุผล ว่า “1.สามีดิฉัน สามารถช่วยในการทำงานด้านสื่อ เช่นถ่ายรูป ทำกราฟิก ทำคลิป รวมถึงการประสานงานได้ตามที่ดิฉันคาดหวัง และ 2.ในฐานะ ส.ส.เขตหลายครั้งจำเป็นต้องเดินทางไกลในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งอาจรวมถึงการพักข้ามคืนระหว่างทาง ดังนั้น กา