การพิจารณากิเลสในรูปแบบหนึ่ง

การมีหรือไม่มีกิเลสอยู่นั้น เราอาจพุ่งเป้าไปที่การหมดกิเลสในรูปแบบของสังโยชน์ที่ผู้ปฏิบัติมักใช้เป็นเครื่องชี้วัดความเป็นพระอริยะเจ้าของตน

หากแต่ว่า ก็ยังมีการปรากฏของกิเลสอีกรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะแบบให้ผลตรงกันข้ามกันเรียกว่า "ข้าศึก"

คือ อกุศลที่เป็นศัตรูคู่ปรับเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำลายธรรมนั้นๆ(กุศล)ที่มีอยู่ให้เสียไป แล้วข่มธรรมนั้นๆ(อกุศล)ที่ตรงกันข้ามไม่ให้เกิดขึ้น

จึงขอนำแสดงไว้เพื่อการพิจารณาดังนี้

https://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%A2%E9%D2%C8%D6%A1%E3%A1%C5%E9&detail=on

ง. ข้าศึก คือ อกุศลซึ่งเป็นศัตรูคู่ปรับที่จะทำลายหรือทำธรรมนั้นๆ ให้เสียไป
      
1.เมตตา

ข้าศึกใกล้ = ราคะ
ข้าศึกไกล = พยาบาท คือความขัดเคืองไม่พอใจ
       
2.กรุณา

ข้าศึกใกล้ = โทมนัส คือความโศกเศร้าเสียใจ
ข้าศึกไกล = วิหิงสา
      
3.มุทิตา

ข้าศึกใกล้ = โสมนัส (เช่น ดีใจว่าตนจะพลอยได้รับผลประโยชน์)
ข้าศึกไกล = อรติ คือความไม่ยินดี ไม่ใยดี ริษยา
       
4.อุเบกขา

ข้าศึกใกล้ = อัญญาณุเบกขา (เฉยไม่รู้เรื่อง เฉยโง่ เฉยเมย)
ข้าศึกไกล = ราคะ (ความใคร่) และปฏิฆะ (ความเคือง) หรือชอบใจและขัดใจ

ดอกไม้ดอกไม้ดอกไม้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่