นิพพาน ชั่วคราว

กระทู้สนทนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

Cr. (http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B5%B7%D1%A7%A4&detail=on)


แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 6
ตทังคนิพพาน “นิพพานด้วยองค์นั้น”,
       นิพพานด้วยองค์ธรรมจำเพาะ เช่น มองเห็นขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์แล้วหายทุกข์ร้อน ใจสงบสบายมีความสุขอยู่ตลอดชั่วคราวนั้นๆ,
       นิพพานเฉพาะกรณี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 6
ตทังคปหาน “การละด้วยองค์นั้น”,
       การละกิเลสด้วยองค์ธรรมที่จำเพาะกันนั้น คือละกิเลสด้วยองค์ธรรมจำเพาะที่เป็นคู่ปรับกัน
       แปลง่ายๆ ว่า “การละกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ” เช่น ละโกรธด้วยเมตตา
       (แปลกันมาว่า “การละกิเลสได้ชั่วคราว”)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 6
ตทังควิมุตติ “พ้นด้วยองค์นั้นๆ”
       หมายความว่า พ้นจากกิเลสด้วยอาศัยธรรมตรงกันข้ามที่เป็นคู่ปรับกัน เช่น เกิดเมตตา หายโกรธ เกิดสังเวช หายกำหนัด เป็นต้น
       เป็นการหลุดพ้นชั่วคราว และเป็นโลกิยวิมุตติ
       ดู วิมุตติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 6
โลกิยวิมุตติ วิมุตติที่เป็นโลกีย์ คือความพ้นอย่างโลกๆ ไม่เด็ดขาด ไม่สิ้นเชิง กิเลสและความทุกข์ยังกลับครอบงำได้อีก ได้แก่วิมุตติ ๒ อย่างแรกคือ ตทังควิมุตติ และ วิกขัมภนวิมุตติ;
       ดู วิมุตติ, โลกุตตรวิมุตติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 6
วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดไว้
       ได้แก่ ความพ้นจากกิเลสและอกุศลธรรมได้ด้วยกำลังฌาน อาจสะกดไว้ได้นานกว่าตทังควิมุตติ แต่เมื่อฌานเสื่อมแล้ว กิเลสอาจเกิดขึ้นอีก จัดเป็นโลกิยวิมุตติ
       (ข้อ ๒ ในวิมุตติ ๕; ในบาลีเป็นข้อ ๑ ถึงชั้นอรรถกถา จึงกลายมาเป็นข้อ ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 6
วิมุตติ ความหลุดพ้น, ความพ้นจากกิเลส มี ๕ อย่าง คือ
       ๑. ตทังควิมุตติ พ้นด้วยธรรมคู่ปรับหรือพ้นชั่วคราว
       ๒. วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดได้
       ๓. สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยตัดขาด
       ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ
       ๕. นิสฺสรณวิมุตติ พ้นด้วยออกไป;
           ๒ อย่างแรก เป็น โลกิยวิมุตติ
           ๓ อย่างหลังเป็น โลกุตตรวิมุตติ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่